Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

5 เมษายน 2556 ทุเรศ+ใหญ่จริง+ฟอกขาว!! กทค.บอกBFTKไม่ขัดต่อกฎหมาย แต่จะยกร่างกม.ใหม่ภายใน30วันรองรับการกระทำBFTK แถมไม่ส่งศาลอาญาตรวจสอบ (แก้ CAT TRUEผ่านไป279วันแล้ว)


ประเด็นหลัก



พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กสทช.และประธาน กทค. กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กทค. ว่า ที่ประชุมมีมติลงความเห็น 4 ต่อ 1 ว่า บีเอฟเคที เมื่อพิจารณาบทบัญญัติในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 ที่ระบุว่า คำนิยาม การประกอบกิจการโทรคมนาคม หมายถึง การประกอบกิจการในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการด้านกิจการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป ซึ่งบีเอฟเคที เป็นเพียงกิจการโทรคมนาคม และเป็นผู้ดำเนินการตามสัญญาเช่าระหว่าง บีเอฟเคที และ กสท เท่านั้น จึงไม่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าว

แต่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลีกเลี่ยงเข้าสู่กระบวนการกำกับดูแล ซึ่งจะกระทบกับประโยชน์สาธารณะ จึงมีเหตุผลและความจำเป็นที่ กสทช. จะวางแนวทางในการกำกับดูแลการประกอบกิจการในลักษณะนี้ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้เช่าเครื่องอุปกรณ์โทรคมเข้ามาอยู่ในกำกับดูแลของ กสทช. และเมื่อมีการออกประกาศหลักเกณฑ์แล้ว ให้บีเอฟเคที และผู้ดำเนินการในรูปแบบเดียวกันนั้นจะต้องเข้ามาอยู่ในกำกับดูแลของ กสทช. ต่อไป จึงให้สำนักงาน กสทช. ยกร่างประกาศที่เกี่ยวข้องภายใน 30 วัน โดยในระหว่างการยกร่างยังไม่แล้วเสร็จ ให้ สำนักงาน กสทช. เร่งรัดให้ทั้ง บมจ. กสท โทรคมนาคม เข้าไปแก้ไขสัญญาดังกล่าว เพื่อให้ กสท มีอำนาจเข้าไปดูแลและบริหารคลื่นความถี่อย่างสมบูรณ์

ทั้งนี้ที่ประชุมยังมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. เร่งดำเนินการยกร่างหลักเกณฑ์ที่จะกำกับดูแลในกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้การดำเนินกิจการให้เช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะดังกล่าวของบุคคลใดๆ เข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. โดยให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการ เพื่อเสนอที่ประชุมภายใน 30 วัน

นายฐากร ตัณฑ์สิทธิ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า กรณีดังกล่าว เป็นการหลีกเลี่ยงกฏหมาย แต่ไม่ผิดกฏหมาย กสทช. เอาผิดบีเอฟเคทีไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544






ที่ประชุม กทค. มีความเห็นต่างกับคณะทำงาน ในประเด็นการตีความเกี่ยวกับการประกอบกิจการโทรคมว่าต้องตีความตามตัวอักษรและเจตนารมย์ของกฎหมาย ดังนั้น การประกอบกิจการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป ย่อมต้องตีความตามวิญญูชนทั่วไปเข้าใจได้ และตามความหมายของพจนานุกรรม บุคคลอื่นทั่วไป หมายถึงบุคคลอื่นทั่วไปที่ไม่เจาะจง และเนื่องจากความผิดตามมาตรา 7 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม มีโทษทางอาญา ที่ประชุม กทค. มีความเห็นสอดคล้องกับคณะทำงานฯ ว่า กสทช. จะต้องใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบในการใช้อำนาจในการแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญา ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่ายังไม่มีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอที่จะนำกรณีของ บีเอฟเคที เข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีอาญา



























_____________________________________________



กสทช.ร่ายยาว ฟอกขาว บีเอฟเคที ไม่ผิด

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กทค. วาระพิเศษ (5 เม.ย.) การตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแนวทางดำเนินการกับบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการโครงข่าย สถานีฐานภายใต้สัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่รูปแบบใหม่ HSPA บนคลื่น 800 MHz ระหว่างบมจ.กสท โทรคมนาคม และกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่น ว่าได้ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่


กทค. ได้พิจารณาจากรายงานของคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาดังกล่าว ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอเข้า กทค. พิจารณา รวมถึงให้ทางสำนักงาน กสทช. ส่งความเห็นเข้ามาประกอบ รวมถึงข้อเท็จจริงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ


ที่ประชุม กทค. มีความเห็นต่างกับคณะทำงาน ในประเด็นการตีความเกี่ยวกับการประกอบกิจการโทรคมว่าต้องตีความตามตัวอักษรและเจตนารมย์ของกฎหมาย ดังนั้น การประกอบกิจการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป ย่อมต้องตีความตามวิญญูชนทั่วไปเข้าใจได้ และตามความหมายของพจนานุกรรม บุคคลอื่นทั่วไป หมายถึงบุคคลอื่นทั่วไปที่ไม่เจาะจง และเนื่องจากความผิดตามมาตรา 7 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม มีโทษทางอาญา ที่ประชุม กทค. มีความเห็นสอดคล้องกับคณะทำงานฯ ว่า กสทช. จะต้องใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบในการใช้อำนาจในการแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญา ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่ายังไม่มีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอที่จะนำกรณีของ บีเอฟเคที เข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีอาญา


เนื่องจากบีเอฟเคทีเป็นเพียงผู้รับจ้างจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม ในการให้เช่าเครื่องอุปกรณ์เพื่อนำไปให้ กสท โทรคมนาคมใช้เพียงรายเดียว ไม่ใช่เปิดให้บริการเป็นการทั่วไป ดังนั้น การประกอบกิจการเพื่อให้เช่าเครื่องอุปกรณ์โทรคมนาคมของบีเอฟเคที จึงไม่ใช่การให้บริการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป


แต่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลีกเลี่ยงเข้าสู่กระบวนการกำกับดูแล ซึ่งจะกระทบกับประโยชน์สาธารณะ จึงมีเหตุผลและความจำเป็นที่ กสทช. จะวางแนวทางในการกำกับดูแลการประกอบกิจการในลักษณะนี้ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้เช่าเครื่องอุปกรณ์โทรคมเข้ามาอยู่ในกำกับดูแลของ กสทช. และเมื่อมีการออกประกาศหลักเกณฑ์แล้ว ให้บีเอฟเคที และผู้ดำเนินการในรูปแบบเดียวกันนั้นจะต้องเข้ามาอยู่ในกำกับดูแลของ กสทช. ต่อไป จึงให้สำนักงาน กสทช. ยกร่างประกาศที่เกี่ยวข้องภายใน 30 วัน โดยในระหว่างการยกร่างยังไม่แล้วเสร็จ ให้ สำนักงาน กสทช. เร่งรัดให้ทั้ง บมจ. กสท โทรคมนาคม เข้าไปแก้ไขสัญญาดังกล่าว เพื่อให้ กสท มีอำนาจเข้าไปดูแลและบริหารคลื่นความถี่อย่างสมบูรณ์

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1365164549&grpid=03&catid=00&subcatid=0000



_____________________________________________





กทค ชี้ 'บีเอฟเคที' ไม่ขัดกฏหมาย

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


กทค ชี้บีเอฟเคที ไม่ขัดกฏหมายประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 “ฐากร” ระบุ เลี่ยงกฎหมาย แต่เอาผิดไม่ได้


ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ว่า วันที่ 5 เมษายน 2556 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค) ได้ประชุมบอร์ด กทค.เป็นวาระพิเศษ เรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด กรณีการทำสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ 800 เมกะเฮิรตซ์ กับ บมจ. กสท โทรคมนาคม และบมจ. ทรูคอร์ปอเรชั่น

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กสทช.และประธาน กทค. กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กทค. ว่า ที่ประชุมมีมติลงความเห็น 4 ต่อ 1 ว่า บีเอฟเคที เมื่อพิจารณาบทบัญญัติในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 ที่ระบุว่า คำนิยาม การประกอบกิจการโทรคมนาคม หมายถึง การประกอบกิจการในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการด้านกิจการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป ซึ่งบีเอฟเคที เป็นเพียงกิจการโทรคมนาคม และเป็นผู้ดำเนินการตามสัญญาเช่าระหว่าง บีเอฟเคที และ กสท เท่านั้น จึงไม่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าว

ทั้งนี้ที่ประชุมยังมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. เร่งดำเนินการยกร่างหลักเกณฑ์ที่จะกำกับดูแลในกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้การดำเนินกิจการให้เช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะดังกล่าวของบุคคลใดๆ เข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. โดยให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการ เพื่อเสนอที่ประชุมภายใน 30 วัน

ขณะเดียวกันระหว่างการยกร่างดังกล่าวไม่เสร็จ ให้ กสทช. ติดตาม เร่งรัดการดำเนินการตามมติ กทค. วันที่ 20 มิ.ย. 2556 เพื่อให้ กสท บริหารจัดการคลื่นความถี่ด้วยตนเองตามมาตรา 46 แห่งพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 หากมีการฝ่าฝืน

นายฐากร ตัณฑ์สิทธิ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า กรณีดังกล่าว เป็นการหลีกเลี่ยงกฏหมาย แต่ไม่ผิดกฏหมาย กสทช. เอาผิดบีเอฟเคทีไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130405/499187/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%84-
%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89-
%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B
8%B5-
%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B
8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html






___________________________________________________




กสทช.ร่ายยาว ฟอกขาว บีเอฟเคที ไม่ผิด

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กทค. วาระพิเศษ (5 เม.ย.) การตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแนวทางดำเนินการกับบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการโครงข่าย สถานีฐานภายใต้สัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่รูปแบบใหม่ HSPA บนคลื่น 800 MHz ระหว่างบมจ.กสท โทรคมนาคม และกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่น ว่าได้ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่

กทค. ได้พิจารณาจากรายงานของคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาดังกล่าว ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอเข้า กทค. พิจารณา รวมถึงให้ทางสำนักงาน กสทช. ส่งความเห็นเข้ามาประกอบ รวมถึงข้อเท็จจริงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ


ที่ประชุม กทค. มีความเห็นต่างกับคณะทำงาน ในประเด็นการตีความเกี่ยวกับการประกอบกิจการโทรคมว่าต้องตีความตามตัวอักษรและเจตนารมย์ของกฎหมาย ดังนั้น การประกอบกิจการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป ย่อมต้องตีความตามวิญญูชนทั่วไปเข้าใจได้ และตามความหมายของพจนานุกรรม บุคคลอื่นทั่วไป หมายถึงบุคคลอื่นทั่วไปที่ไม่เจาะจง และเนื่องจากความผิดตามมาตรา 7 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม มีโทษทางอาญา ที่ประชุม กทค. มีความเห็นสอดคล้องกับคณะทำงานฯ ว่า กสทช. จะต้องใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบในการใช้อำนาจในการแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญา ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่ายังไม่มีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอที่จะนำกรณีของ บีเอฟเคที เข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีอาญา


เนื่องจากบีเอฟเคทีเป็นเพียงผู้รับจ้างจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม ในการให้เช่าเครื่องอุปกรณ์เพื่อนำไปให้ กสท โทรคมนาคมใช้เพียงรายเดียว ไม่ใช่เปิดให้บริการเป็นการทั่วไป ดังนั้น การประกอบกิจการเพื่อให้เช่าเครื่องอุปกรณ์โทรคมนาคมของบีเอฟเคที จึงไม่ใช่การให้บริการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป


แต่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลีกเลี่ยงเข้าสู่กระบวนการกำกับดูแล ซึ่งจะกระทบกับประโยชน์สาธารณะ จึงมีเหตุผลและความจำเป็นที่ กสทช. จะวางแนวทางในการกำกับดูแลการประกอบกิจการในลักษณะนี้ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้เช่าเครื่องอุปกรณ์โทรคมเข้ามาอยู่ในกำกับดูแลของ กสทช. และเมื่อมีการออกประกาศหลักเกณฑ์แล้ว ให้บีเอฟเคที และผู้ดำเนินการในรูปแบบเดียวกันนั้นจะต้องเข้ามาอยู่ในกำกับดูแลของ กสทช. ต่อไป จึงให้สำนักงาน กสทช. ยกร่างประกาศที่เกี่ยวข้องภายใน 30 วัน โดยในระหว่างการยกร่างยังไม่แล้วเสร็จ ให้ สำนักงาน กสทช. เร่งรัดให้ทั้ง บมจ. กสท โทรคมนาคม เข้าไปแก้ไขสัญญาดังกล่าว เพื่อให้ กสท มีอำนาจเข้าไปดูแลและบริหารคลื่นความถี่อย่างสมบูรณ์

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365164284&grpid=03&catid=03



ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.