Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

5 เมษายน 2556 (แก้ CAT TRUEผ่านไป279วันแล้ว) เครือข่ายสื่อมวลชนฯ ต้าน กทค.ไม่สำเร็จ!! เตรียมเดินหน้ายื่น สตง. และ ป.ป.ช. (ชี้เอื้อประโยชน์ต่อเอกชน)


ประเด็นหลัก


สำหรับ เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ มีข้อสังเกตต่อการทำสัญญาของ บีเอฟเคที กับ กสท ที่อาจเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังนี้

1.เป็นสัญญาที่เป็นโมฆะ เพราะการทำสัญญาที่ขัดต่อกฎหมายย่อมส่งผลให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ ไม่สามารถให้สัตยาบัน หรือแก้ไขให้กลับมามีผลบังคับใช้ได้

2.การกระทำความผิดทางอาญา เช่น ให้บริการโดยไม่ได้รับใบอนุญาตต้องมีองค์ประกอบภายนอก คือ การกระทำ และองค์ประกอบภายใน คือ เจตนาครบถ้วนก่อน ดังนั้นหากมีการกระทำแล้วอ้างว่า ไม่รู้หรือไม่มีเจตนา เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถร้องทุกข์ กล่าวโทษ หรือดำเนินการใดๆ ได้เลยหรือไม่

3.การที่ผู้ประกอบการนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตตามกฎหมายที่ประกาศใช้ จะอ้างไม่มาขอรับใบอนุญาตไม่ได้


อย่างไรก็ตาม ตามใจความของหนังสือที่ยื่นให้ประธาน กสทช. ข้างต้น เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ จึงขอให้ กสทช. ระงับและพิจารณาทบทวนการพิจารณาผลตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่มีความโน้มเอียงจะเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนครั้งนี้ โดยภายหลังเสร็จประชุม บอร์ด กทค.จะแถลงข่าวต่อส่อมวลชนเวลา 15.00 น. ณ สำนักงาน กสทช.

นายณัชพล กล่าว จากการติดตามตรวจสอบข้อมูลของ  ส.ท.ช. และ เครือข่ายภาคประชาชนฯ ต่อกรณีดังกล่าวพบว่า การประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) นัดพิเศษครั้งนี้ น่าจะดำเนินการไปภายใต้แรงกดดันที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือขององค์กร กทค. และ กสทช. เอง  รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมของกิจการโทรคมนาคมของประเทศอีกด้วย จึงใคร่ขอให้ กสทช. ระงับและพิจารณาทบทวนผลตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฏหมาย พร้อมกันนี้ ส.ท.ช. จะติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด  และจะนำเรื่องนี้ไปยื่นต่อ คณะกรรมาธิการ วุฒิสภา สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อไป





_____________________________________________




“สทช.”กดดันบอร์ดกทค. ระงับบริการ “บีเอฟเคที”



เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา นายณัชพล โรจน์ถาวร ประธานเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ" (ส.ท.ช.)  ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ  พลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ให้ระงับ และพิจารณาทบทวนมติการดำเนินกิจการของ บริษัท บีเอฟเคที ประเทศไทย จำกัด กับ บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

การยื่นหนังสือของส.ท.ช. ครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการประชุม คณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคม(กทค.) ในวันที่ 5 เมษายน 2556 เพื่อพิจารณากรณี  บีเอฟเคที ทำสัญญาเช่าโครงข่ายโทรคมนาคมกับ  กสท เพื่อให้บริการ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSPA (เอสเอชพีเอ) บนคลื่นความถี่ 850เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ว่า มีใบอนุญาตประกอบกิจการหรือไม่ ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่า คณะทำงานที่ กสทช.ตั้งขึ้นชี้ว่า ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า บีเอฟเคที มีเจตนาใช้คลื่นความถี่โดยไม่ได้อนุญาต หรือประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต

นายณัชพล กล่าว จากการติดตามตรวจสอบข้อมูลของ  ส.ท.ช. และ เครือข่ายภาคประชาชนฯ ต่อกรณีดังกล่าวพบว่า การประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) นัดพิเศษครั้งนี้ น่าจะดำเนินการไปภายใต้แรงกดดันที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือขององค์กร กทค. และ กสทช. เอง  รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมของกิจการโทรคมนาคมของประเทศอีกด้วย จึงใคร่ขอให้ กสทช. ระงับและพิจารณาทบทวนผลตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฏหมาย พร้อมกันนี้ ส.ท.ช. จะติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด  และจะนำเรื่องนี้ไปยื่นต่อ คณะกรรมาธิการ วุฒิสภา สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อไป

http://www.naewna.com/business/47402


__________________________________________________



เครือข่ายสื่อมวลชนฯ จี้ บอร์ด กทค.ตัดสิน “บีเอฟเคที” ตามข้อเท็จจริง


เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ ยื่นหนังสือปธ. กสทช. พร้อมจี้บอร์ด กทค. พิจารณาการทำสัญญาบีเอฟเคที เกี่ยวกับการให้บริการมือถือความถี่ 800 MHz ตามข้อเท็จจริง ขณะที่บอร์ดกทค.เตรียมแถลงข่าวหลังประชุม 15.00 น.วันนี้...

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (4 เม.ย.) เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (ส.ท.ช.) ได้ส่งหนังสือถึง พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขอให้ระงับและพิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เกี่ยวกับการดำเนินการของ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด กรณีการทำสัญญาเกี่ยวกับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่น 800 MHz





เนื่องจากการที่กทค. จะมีการพิจารณากรณีการดำเนินการของ บีเอฟเคที (BFKT) กรณีการทำสัญญาเกี่ยวกับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่น 800 MHz กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ในการประชุมคณะกรรมการวาระพิเศษวันที่ 5 เม.ย.นี้ หลังจากที่ กทค. ได้มอบหมายให้ คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของ บีเอฟเคที ดังกล่าว ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว




ทั้งนี้ ภาคประชาชนฯ ต่อกรณีดังกล่าวพบว่า การประชุมนัดพิเศษของ กทค. ครั้งนี้ น่าจะดำเนินการภายใต้แรงกดดันที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อขององค์กร กทค. และ กสทช. รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมของกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทยด้วย โดยจากการตรวจสอบข้อมูลการดำเนินโครงการดังกล่าว เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ พบว่า การดำเนินการเข้าทำสัญญาของ บีเอฟเคที กับ กสท เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย และมีเจตนาหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามกฎหมายในการประมูลคลื่นความถี่ และจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเข้ารัฐ รวมทั้งการขอรับใบอนุญาตตามกฎหมาย ซึ่งคณะกรรมการฯ (กทค. และ กสทช.) มีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เพื่อกำกับดูแลประกอบกิจการโทรคมนาคมให้เป็นไปตามกฎหมายและเป็นธรรม ไม่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะและภาครัฐ





แต่จากการติดตามข่าวที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ ได้เคยพิจารณาชี้ขาดแล้วว่าการดำเนินการของบีเอฟเคทีดังกล่าว ขัดต่อกฎหมาย จึงได้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ดำเนินการพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อเอาผิดต่อผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้กระทำสมรู้ร่วมคิด แต่ภายหลังกลับมีแนวโน้มว่า การพิจารณาของคณะกรรมการฯ มีท่าทีเปลี่ยนไปโดยไม่มีสาเหตุและมีความโน้มเอียงไปเข้าข้างภาคเอกชนให้ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย




สำหรับ เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ มีข้อสังเกตต่อการทำสัญญาของ บีเอฟเคที กับ กสท ที่อาจเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังนี้

1.เป็นสัญญาที่เป็นโมฆะ เพราะการทำสัญญาที่ขัดต่อกฎหมายย่อมส่งผลให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ ไม่สามารถให้สัตยาบัน หรือแก้ไขให้กลับมามีผลบังคับใช้ได้

2.การกระทำความผิดทางอาญา เช่น ให้บริการโดยไม่ได้รับใบอนุญาตต้องมีองค์ประกอบภายนอก คือ การกระทำ และองค์ประกอบภายใน คือ เจตนาครบถ้วนก่อน ดังนั้นหากมีการกระทำแล้วอ้างว่า ไม่รู้หรือไม่มีเจตนา เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถร้องทุกข์ กล่าวโทษ หรือดำเนินการใดๆ ได้เลยหรือไม่

3.การที่ผู้ประกอบการนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตตามกฎหมายที่ประกาศใช้ จะอ้างไม่มาขอรับใบอนุญาตไม่ได้


อย่างไรก็ตาม ตามใจความของหนังสือที่ยื่นให้ประธาน กสทช. ข้างต้น เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ จึงขอให้ กสทช. ระงับและพิจารณาทบทวนการพิจารณาผลตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่มีความโน้มเอียงจะเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนครั้งนี้ โดยภายหลังเสร็จประชุม บอร์ด กทค.จะแถลงข่าวต่อส่อมวลชนเวลา 15.00 น. ณ สำนักงาน กสทช.




โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/337029


_________________________________________________



เครือข่ายสื่อมวลชนฯ จี้ กทค.พิจารณาสัญญา “บีเอฟเคที” ให้รอบคอบ


เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ จี้บอร์ด กทค. ที่จัดประชุมวาระพิเศษบ่ายวันนี้! พิจารณาการทำสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการมือบนความถี่ 800 เมกะเฮิร์ตซให้รอบคอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (4 เม.ย.) เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (ส.ท.ช.) ได้ส่งหนังสือถึงประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขอให้ระงับและพิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เกี่ยวกับการดำเนินการของ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด กรณีการทำสัญญาเกี่ยวกับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่น 800 เมกะเฮิร์ตซ

เนื่องจากการที่กทค. จะมีการพิจารณากรณีการดำเนินการของ บีเอฟเคที (BFKT) กรณีการทำสัญญาเกี่ยวกับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่น 800 เมกะเฮิร์ตซ กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในการประชุมคณะกรรมการนัดพิเศษวันที่ 5 เม.ย.นี้ หลังจากที่ กทค. ได้มอบหมายให้ คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของ บีเอฟเคที ดังกล่าว ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว

จากการติดตามตรวจสอบข้อมูลของ เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ และเครือข่ายภาคประชาชนฯ ต่อกรณีดังกล่าวพบว่า การประชุมนัดพิเศษของ กทค. ครั้งนี้ น่าจะดำเนินการภายใต้แรงกดดันที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อขององค์กร กทค. และ กสทช. รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมของกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทยด้วย โดยจากการตรวจสอบข้อมูลการดำเนินโครงการดังกล่าว เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ พบว่า การดำเนินการเข้าทำสัญญาของ บีเอฟเคที กับ กสท เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย และมีเจตนาหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามกฎหมายในการประมูลคลื่นความถี่ และจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเข้ารัฐ รวมทั้งการขอรับใบอนุญาตตามกฎหมาย ซึ่งคณะกรรมการฯ (กทค. และ กสทช.) มีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เพื่อกำกับดูแลประกอบกิจการโทรคมนาคมให้เป็นไปตามกฎหมายและเป็นธรรม ไม่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะและภาครัฐ

แต่จากการติดตามข่าวที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ ได้เคยพิจารณาชี้ขาดแล้วว่าการดำเนินการของบีเอฟเคทีดังกล่าว ขัดต่อกฎหมาย จึงได้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ดำเนินการพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อเอาผิดต่อผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้กระทำสมรู้ร่วมคิด แต่ภายหลังกลับมีแนวโน้มว่า การพิจารณาของคณะกรรมการฯ มีท่าทีเปลี่ยนไปโดยไม่มีสาเหตุและมีความโน้มเอียงไปเข้าข้างภาคเอกชนให้ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

ทั้งนี้ “เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ” มีข้อสังเกตต่อการทำสัญญาของ บีเอฟเคที กับ กสท ที่อาจเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังนี้
1.เป็นสัญญาที่เป็นโมฆะ เพราะการทำสัญญาที่ขัดต่อกฎหมายย่อมส่งผลให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ ไม่สามารถให้สัตยาบัน หรือแก้ไขให้กลับมามีผลบังคับใช้ได้
2.การกระทำความผิดทางอาญา เช่น ให้บริการโดยไม่ได้รับใบอนุญาตต้องมีองค์ประกอบภายนอก คือ การกระทำ และองค์ประกอบภายใน คือ เจตนาครบถ้วนก่อน ดังนั้นหากมีการกระทำแล้วอ้างว่า ไม่รู้หรือไม่มีเจตนา เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถร้องทุกข์ กล่าวโทษ หรือดำเนินการใดๆ ได้เลยหรือไม่
3.การที่ผู้ประกอบการนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตตามกฎหมายที่ประกาศใช้ จะอ้างไม่มาขอรับใบอนุญาตไม่ได้

จากที่กล่าวมาตามใจความของหนังสือที่ยื่นให้ประธานกสทช. ข้างต้น เครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ จึงขอให้ กสทช. ระงับและพิจารณาทบทวนการพิจารณาผลตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่มีความโน้มเอียงจะเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนครั้งนี้

สำหรับวันนี้  (5 เม.ย.) บอร์ด กทค. จะมีการประชุมนัดพิเศษ และแถลงข่าวผลการประชุมในเวลา 15.00 น.

http://www.dailynews.co.th/technology/195433

________________________________________________



กสทช.สรุปสัญญาระหว่าง กสท - ทรู ผิดจริงแต่ไม่เจตนา


       วันนี้ (5 เม.ย.) ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ อร์ด กทค.ของ กสทช. นัดประชุมวาระพิเศษ เพื่อสรุปผลพิจารณาการทำสัญญาธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ เพื่อให้บริการ 3G บนคลื่น 850 เมกกะเฮิร์ต ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ กับกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เอกชน ซึ่งการทำสัญญาที่มีรัฐวิสาหกิจเกี่ยวข้อง ที่ทำให้ถูกหลายฝ่ายตรวจสอบ เพราะเป็นโครงการที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ไม่ได้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี รวมถึงการพิจารณาจากสภาพัฒน์ตามขั้นตอน และทำให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. สอบสวนอยู่ขณะนี้
        ทั้งนี้ มีรายงานว่าผลสอบที่ออกมาจากคณะทำงานที่กสทช.ตั้งขึ้น สรุปว่า การทำสัญญาณดังกล่าว เข้าข่ายมีความผิดจริง แต่เป็นการกระทำที่ไม่เจตนา
        ประธานสถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า หาก กสทช.สรุปว่าสัญญาดังกล่าวผิดจริง แต่ไม่เจตนา จะกลายเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้คดีอื่นๆ ที่จะเกิดในอนาคต เกี่ยวกับการทำสัญญาทางโทรคมนาคม หรือกิจการกระจายเสียงได้
        ทั้งนี้ การทำสัญญามีขึ้นเมื่อปี 2555 บริษัท กสท โทรคมนาคม ประกาศยุติการขยายโครงข่าย 3G เพื่อให้ได้ข้อยุติทางกฎหมายก่อน ขณะที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ภาคเอกชนจะมีรายได้ถึงร้อยละ 80 ในการทำสัญญา ขณะที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จะสูญเสียรายได้ส่วนนี้เป็น 14 ปี


http://manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000041372&Keyword=%a1%ca%b7






ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.