Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

5 เมษายน 2556 ข่าวค่ำ!! TECHTVTHAILAND โทรคมนาคมและการสือสาร 3 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 05/04/2556 By So Magawn ( โส มกร )


ข่าวค่ำ!! TECHTVTHAILAND โทรคมนาคมและการสือสาร 3 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 05/04/2556 By So Magawn ( โส มกร )

1....  กทค.บอกBFTKไม่ขัดต่อกฎหมาย แต่จะยกร่างกม.ใหม่ภายใน30วันรองรับการกระทำBFTK แถมไม่ส่งศาลอาญาตรวจสอบ (แก้ CAT TRUEผ่านไป279วันแล้ว)
2....  ตะลึง!!! AIS DTAC ดื้อแพ่งและไม่ยอมควักกระเป๋าจ่ายน้อยกว่า 25 ล้านบาทให้ กสทช. (หลังศาลปกครองชี้กสทช.มีสิทธิปรับ1แสนบาทหลังจากค่ายมือถือกำหนดวันหมดอายุ)
3....   RS หักหน้า กสทช. ชี้จอดำFREE TV บางคู่แน่นอนเพราะได้ทำการตกลงค่าลิขสิทธิ์ต่างๆกับ ฟีฟา แล้ว



กทค.บอกBFTKไม่ขัดต่อกฎหมาย แต่จะยกร่างกม.ใหม่ภายใน30วันรองรับการกระทำBFTK แถมไม่ส่งศาลอาญาตรวจสอบ (แก้ CAT TRUEผ่านไป279วันแล้ว)

ประเด็นหลัก



พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กสทช.และประธาน กทค. กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กทค. ว่า ที่ประชุมมีมติลงความเห็น 4 ต่อ 1 ว่า บีเอฟเคที เมื่อพิจารณาบทบัญญัติในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 ที่ระบุว่า คำนิยาม การประกอบกิจการโทรคมนาคม หมายถึง การประกอบกิจการในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการด้านกิจการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป ซึ่งบีเอฟเคที เป็นเพียงกิจการโทรคมนาคม และเป็นผู้ดำเนินการตามสัญญาเช่าระหว่าง บีเอฟเคที และ กสท เท่านั้น จึงไม่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าว

แต่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลีกเลี่ยงเข้าสู่กระบวนการกำกับดูแล ซึ่งจะกระทบกับประโยชน์สาธารณะ จึงมีเหตุผลและความจำเป็นที่ กสทช. จะวางแนวทางในการกำกับดูแลการประกอบกิจการในลักษณะนี้ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้เช่าเครื่องอุปกรณ์โทรคมเข้ามาอยู่ในกำกับดูแลของ กสทช. และเมื่อมีการออกประกาศหลักเกณฑ์แล้ว ให้บีเอฟเคที และผู้ดำเนินการในรูปแบบเดียวกันนั้นจะต้องเข้ามาอยู่ในกำกับดูแลของ กสทช. ต่อไป จึงให้สำนักงาน กสทช. ยกร่างประกาศที่เกี่ยวข้องภายใน 30 วัน โดยในระหว่างการยกร่างยังไม่แล้วเสร็จ ให้ สำนักงาน กสทช. เร่งรัดให้ทั้ง บมจ. กสท โทรคมนาคม เข้าไปแก้ไขสัญญาดังกล่าว เพื่อให้ กสท มีอำนาจเข้าไปดูแลและบริหารคลื่นความถี่อย่างสมบูรณ์

ทั้งนี้ที่ประชุมยังมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. เร่งดำเนินการยกร่างหลักเกณฑ์ที่จะกำกับดูแลในกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้การดำเนินกิจการให้เช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะดังกล่าวของบุคคลใดๆ เข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. โดยให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการ เพื่อเสนอที่ประชุมภายใน 30 วัน

นายฐากร ตัณฑ์สิทธิ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า กรณีดังกล่าว เป็นการหลีกเลี่ยงกฏหมาย แต่ไม่ผิดกฏหมาย กสทช. เอาผิดบีเอฟเคทีไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544






ที่ประชุม กทค. มีความเห็นต่างกับคณะทำงาน ในประเด็นการตีความเกี่ยวกับการประกอบกิจการโทรคมว่าต้องตีความตามตัวอักษรและเจตนารมย์ของกฎหมาย ดังนั้น การประกอบกิจการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป ย่อมต้องตีความตามวิญญูชนทั่วไปเข้าใจได้ และตามความหมายของพจนานุกรรม บุคคลอื่นทั่วไป หมายถึงบุคคลอื่นทั่วไปที่ไม่เจาะจง และเนื่องจากความผิดตามมาตรา 7 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม มีโทษทางอาญา ที่ประชุม กทค. มีความเห็นสอดคล้องกับคณะทำงานฯ ว่า กสทช. จะต้องใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบในการใช้อำนาจในการแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญา ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่ายังไม่มีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอที่จะนำกรณีของ บีเอฟเคที เข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีอาญา


สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1365164549&grpid=03&catid=00&subcatid=0000
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130405/499187/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%84-
%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89-
%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B
8%B5-
%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B
8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365164284&grpid=03&catid=03




_____________________________________________

RS หักหน้า กสทช. ชี้จอดำFREE TV บางคู่แน่นอนเพราะได้ทำการตกลงค่าลิขสิทธิ์ต่างๆกับ ฟีฟา แล้ว

ประเด็นหลัก




       ล่าสุด นาย องอาจ สิงห์ลำพอง รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานสถานีโทรทัศน์ ช่อง 8 และ ซัน แชลเนล ของบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เผยกับ MGR Sport ว่าตนได้ยื่นเรื่องผ่อนผันกับทาง กสทช. แล้วว่าจะขอปล่อยสัญญาณภาพให้แฟนบอลได้ชมผ่านฟรีทีวี แต่อาจไม่ครบทุกคู่ โดยกล่าวว่า "ก่อนหน้านี้บริษัทของเราได้ทำการตกลงค่าลิขสิทธิ์ต่างๆกับ ฟีฟา แล้ว เราต้องยึดถือสัญญาดังกล่าวเป็นสำคัญ ซึ่งอยากให้ กสทช. เข้าใจถึงเรื่องนี้"
       
       "เรามีนโยบายปล่อยสัญญาณภาพให้แฟนบอลได้รับชมผ่านทางฟรีทีวีอยู่แล้วนอกจากกล่องสัญญาณ ซัน บ็อกซ์ แม้ไม่ครบทุกคู่แต่ก็ถือว่าเป็นไปตามกฏที่ ฟีฟา ระบุไว้ จะทำอะไรก็ต้องนึกถึงเจ้าของสัญญา หาก กสทช. ต้องการให้ถ่ายครบทุกคู่ก็ควรซื้อลิขสิทธิ์เป็นของตัวเอง ส่วนเรื่องถ่ายทอดสดแน่นอนว่าเราจะปล่อยแมตซ์สำคัญรวมถึงเกมชิงชนะเลิศให้แฟนๆชมทางฟรีทีวีด้วย" องอาจ กล่าว
       
       ส่วนเรื่องของการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกในปีหน้า องอาจ ทิ้งท้ายว่าอาจมีการเรียกเก็บค่ารับชมเกมแต่ละนัดในลักษณะของ เปย์ เปอร์ วิว "เราประชุมกับทางผู้บริหาร และมีแนวคิดว่าจะใช้วิธีเก็บค่าชมแบบ เปย์ เปอร์ วิว เหมือนต่างประเทศ แม้ยังไม่มีการสรุปราคา แต่ก็ไม่อยากให้แฟนบอลกังวล เราจะไม่เรียกเก็บในอัตราแพง เพราะจุดประสงค์คือต้องการให้แฟนบอลชมกันเยอะๆ ก่อนต่อยอดไปสู่กีฬาชนิดอื่นต่อไป"



องอาจ สิงห์ลำพอง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานสถานีโทรทัศน์ บมจ.อาร์เอส กล่าวว่าช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อาร์เอสได้ขยาย "ช่องทีวีดาวเทียม" รวม 5 ช่อง คือ คือ สบายดีทีวี ,ช่อง8 , ยู แชนแนล ,สตาร์แม็กซ์ และล่าสุด ซัน แชนแนล (Sun Channel) ซึ่ง "รีแบรนด์" มาจาก "อาร์เอส สปอร์ต ลาลีกา" ช่องทีวีดาวเทียมหลักถ่ายทอดสดการแข่งขัน "ลาลีกา สเปน" ที่อาร์เอสได้รับลิขสิทธิ์แพร่ภาพในทุกแพลตฟอร์มเป็นเวลา 3 ปีนับจากฤดูกาล 2012-2015 ซึ่งเดิมกำหนดให้ผู้ที่รับชมช่องอาร์เอส สปอร์ต ลาลีกา ต้องรับชมผ่านกล่องรับสัญญาณ "ซันบ็อกซ์" เท่านั้น เนื่องจากกำหนดให้ธุรกิจในรูปแบบ "เพย์ทีวี" มีรายได้จากฐานสมาชิกที่จ่ายเงินเพื่อรับชมลีกดัง

แต่จากการสถานการณ์การเติบโตของตลาดจานดาวเทียม ทำให้ช่องทีวีดาวเทียมประเภท "ฟรีทูแอร์" สามารถเข้าถึงผู้ชมได้ครอบคลุมกว่า 50 ล้านครัวเรือน ช่อง "ซัน แชนแนล" จึงปรับตัวมาอยู่บนแพลตฟอร์มฟรีทูแอร์ที่รับชมได้ทุกช่องทางและทุกกล่องรับสัญญาณ ภายใต้คอนเซปต์ใหม่ "เอ็กซ์ตรีม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ วาไรตี้" (Extreme Entertainment Variety) มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ วัยทำงานตอนต้นและกลุ่มผู้ใหญ่ที่รักความทันสมัย ใช้ชีวิตแบบอิสระ ชื่นชอบความบันเทิงและกีฬา


"ซัน แชนแนลยังมีแม่เหล็กเป็นคอนเทนท์กีฬาทั้งลีกลาลีกา และกีฬาอื่นๆ ในสัดส่วน 40% และเสริมทัพด้วยคอนเทนท์บันเทิงและข่าว 60% ในรูปแบบผังรายการช่องฟรีทีวีปัจจุบัน ตอบโจทย์ผู้ชมกลุ่มแมสในตลาดจานดาวเทียม"
อีกทั้งยังเป็นช่องทางสำคัญในการปรับโครงสร้างการหารายได้ใหม่ จากรูปแบบเพย์ทีวี มาเป็นรายได้จากโฆษณาเป็นหลักในอัตรา 60% ด้วยมั่นใจรูปแบบการนำเสนอคอนเทนท์ที่ตอบโจทย์ผู้ชม และเชื่อว่าจะสร้างเรทติ้งติดอันดับท็อปเทน พร้อมเป้าหมายคืนทุนและสร้างรายได้ 100 ล้านบาทในปีแรก

ขณะที่รายได้จากฐานสมาชิกจากฝั่งเพย์ทีวี ที่กำหนดสัดส่วนไว้ 40% จะมีแรงดึงดูดจากผู้ที่ต้องการรับชมแมทช์การถ่ายทอดสดฟุตบอลลาลีกา เพราะแม้จะเป็นช่องฟรีทูแอร์ แต่ในช่วงที่ถ่ายทอดสดลาลีกาสัปดาห์ละ 10 แมทช์ ผู้ชมที่ไม่ได้ซื้อแพ็คเกจรายเดือนก็ไม่สามารถรับชมได้ อย่างไรก็ตามได้เปิดกว้างให้กล่องรับสัญญาณทุกรุ่นที่มีระบบเข้ารหัสสัญญาณ ซื้อแพ็คเกจการรับชมรายเดือนๆ 100 บาท ขณะที่ผู้ที่ซื้อกล่องซันบ็อกซ์ ยังคงสิทธิประโยชน์ได้รับชมฟรี 1 ฤดูกาล



โดยทั้งช่อง8 และช่องซัน แชนแนล ถือเป็น 2 ช่องทีวีดาวเทียม ที่พร้อมจะก้าวสู่แพลตฟอร์ม "ทีวีดิจิทัล" ตามแผนที่อาร์เอส ได้เตรียมประมูลช่องรายการประเภทวาไรตี้ในปีนี้



สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsID=9560000041076&Keyword=%cd%d2%c3%ec%e0%cd%ca
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/media/20130401/497920/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A
3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%
B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%
E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%
B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%
B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%AD%
E0%B8%A3%E0%B9%8C.html


_____________________________________________

ตะลึง!!! AIS DTAC ดื้อแพ่งและไม่ยอมควักกระเป๋าจ่ายน้อยกว่า 25 ล้านบาทให้ กสทช. (หลังศาลปกครองชี้กสทช.มีสิทธิปรับ1แสนบาทหลังจากค่ายมือถือกำหนดวันหมดอายุ)

ประเด็นหลัก



สำหรับกรณีการออกคำสั่งปรับค่ายมือถือวันละ 100,000 บาทนี้ เกี่ยวเนื่องกับปัญหาเรื่องการกำหนดอายุของเงินเติมในระบบบริการโทรศัพท์แบบจ่ายเงินล่วงหน้า หรือพรีเพด ที่ยืดเยื้อมานาน โดยผู้บริโภคได้เรียกร้องมาตลอดระยะเวลาหลายปีให้ กสทช. บังคับผู้ให้บริการทำตามข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 จนในที่สุดสำนักงาน กสทช. ต้องออกมาตรการสั่งปรับดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 แต่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ได้มีมติอนุญาตการกำหนดระยะเวลา 30 วันสำหรับการเติมเงินทุกมูลค่าให้แก่บริษัททรูมูฟ AIS และ DTAC ตามลำดับ ส่งผลให้มาตรการปรับดังกล่าวสิ้นผลลง อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลานับแต่สำนักงาน กสทช มีคำสั่งปรับจนถึงเวลาที่ กทค. มีมติ บริษัทมือถือที่ละเมิดประกาศของ กทช. ย่อมต้องจ่ายค่าปรับในอัตราวันละ 100,000 บาท ซึ่งคิดอย่างคร่าวๆ แต่ละบริษัทจะต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาท โดยอัตรานี้ในมุมมองของนักคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคยังเห็นว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการกำหนดระยะเวลาเร่งให้มีการใช้บริการโดยที่มีการริบเงินของผู้บริโภคไปด้วย หากไม่ได้เติมเงินในกำหนดเวลา อย่างไรก็ตาม จนถึงทุกวันนี้ทุกรายยังคงพร้อมใจกันดื้อแพ่งและไม่ยอมควักกระเป๋าจ่ายให้ กสทช. เรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่องที่ต้องรอดูน้ำยาเลขาธิการสำนักงาน กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ในฐานะผู้มีอำนาจในการบังคับคดี และตั้งท่าเงื้อดาบผ่านสื่อมาโดยตลอด


สำหรับกรณีการออกคำสั่งปรับค่ายมือถือวันละ 100,000 บาทนี้ เกี่ยวเนื่องกับปัญหาเรื่องการกำหนดอายุของเงินเติมในระบบบริการโทรศัพท์แบบจ่ายเงินล่วงหน้า หรือพรีเพด ที่ยืดเยื้อมานาน โดยผู้บริโภคได้เรียกร้องมาตลอดระยะเวลาหลายปีให้ กสทช. บังคับผู้ให้บริการทำตามข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 จนในที่สุดสำนักงาน กสทช. ต้องออกมาตรการสั่งปรับดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 แต่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ได้มีมติอนุญาตการกำหนดระยะเวลา 30 วันสำหรับการเติมเงินทุกมูลค่าให้แก่บริษัททรูมูฟ AIS และ DTAC ตามลำดับ ส่งผลให้มาตรการปรับดังกล่าวสิ้นผลลง อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลานับแต่สำนักงาน กสทช มีคำสั่งปรับจนถึงเวลาที่ กทค. มีมติ บริษัทมือถือที่ละเมิดประกาศของ กทช. ย่อมต้องจ่ายค่าปรับในอัตราวันละ 100,000 บาท ซึ่งคิดอย่างคร่าวๆ แต่ละบริษัทจะต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาท โดยอัตรานี้ในมุมมองของนักคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคยังเห็นว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการกำหนดระยะเวลาเร่งให้มีการใช้บริการโดยที่มีการริบเงินของผู้บริโภคไปด้วย หากไม่ได้เติมเงินในกำหนดเวลา อย่างไรก็ตาม จนถึงทุกวันนี้ทุกรายยังคงพร้อมใจกันดื้อแพ่งและไม่ยอมควักกระเป๋าจ่ายให้ กสทช. เรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่องที่ต้องรอดูน้ำยาเลขาธิการสำนักงาน กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ในฐานะผู้มีอำนาจในการบังคับคดี และตั้งท่าเงื้อดาบผ่านสื่อมาโดยตลอด



สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.ryt9.com/s/prg/1624685

________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.