Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

8 เมษายน 2556 ผู้บริหารAISและTOTพร้อมเลียนแบบ(สัปทานจำแลงCAT-TRUE)นำคลื่น2.3 GHz(คงจะทำ4G)แยกเสาแยกการตลาดเลี่ยงพรบ.ร่วมทุนและประมูล


ประเด็นหลัก



ประเด็นหลัก


Last week's conclusion that the network rental service of BFKT (Thailand) to CAT Telecom does not breach the telecom law, and the national telecom watchdog's plan to issue network rental regulations, are expected to set the stage for other companies, including Advanced Info Service (AIS), to adopt the BFKT model to offer telecom services.

AIS chief marketing officer Somchai Lertsutiwong said that AIS would consider following a similar model, but declined to specify details. He said AIS had closely watched the final conclusion of the BFKT case.



นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส กล่าวว่าเอไอเอสกำลังศึกษารูปแบบของกรณีบีเอฟเคที ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่เอไอเอสจะเสนอความร่วมมือในลักษณะเดียวกันนี้ไปยังบริษัท ทีโอที ซึ่งเป็นคู่สัญญาสัมปทานเพื่อให้บริการในย่านความถี่ 2.3 GHz ที่ทีโอทีมีความถี่ในมือจำนวนมาก เพราะกทค.สร้างมาตรฐานเช่นนี้ขึ้นมาให้ปฎิบัติตามได้ถูกกฎหมายแล้ว
      
       แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าวว่าหากมองภาพรวมการทำหน้าที่ของ 4 กทค.ชุดนี้ผ่าน 2 เหตุการณ์ใหญ่ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดนโยบาย วิธีการที่เอื้อประโยชน์ให้เอกชนอย่างชัดเจน โดยไม่สนใจเสียงท้วงติงจากสังคมรอบด้าน เริ่มจากเหตุการณ์แรก การประมูลความถึ่ 2.1 GHz กำหนดจำนวนความถี่ที่เอกชนจะเข้าประมูลได้รายละไม่เกิน 15 MHz ซึ่งเท่ากับ 3 เอกชนไม่ต้องแย่งกันประมูลเนื่องจากมีจำนวนความถี่ 45 MHz พอดี ในขณะที่กำหนดราคาเริ่มต้นประมูลเพียง 5 MHz ละ 4,500 ล้านบาทเท่านั้น ทั้งๆที่สามารถกำหนดราคาได้สูงถึง 6,440 ล้านบาททำให้ 3 เอกชนไม่ต้องแข่งขันด้านราคาอย่างเต็มที่ เท่ากับรัฐเสียผลประโยชน์ที่สมควรได้
      
       เหตุการณ์ที่ 2 คือการอุ้มบีเอฟเคทีเป็นแค่สัญญาเช่า ไม่ใช่บริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคม ทั้งๆที่กทค.เป็นคนบอกเองว่ากสทผิดมาตรา 46 และจำเป็น ต้องเร่งรัดดำเนินการให้ตนเองเป็นผู้ควบคุมและบริหารจัดการคลื่นความถี่ด้วยตนเองอย่างสมบูรณ์ผ่านกระบวนการสร้าง และจัดหาความจุของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย)โดยรวมถึง frequency planning, network roll-out และnetwork operation ด้วย ซึ่งหมายถึงบีเอฟเคทีเป็นคนบริหารจัดการเรื่องโครงข่ายทั้งหมด ไม่ใช่แค่ซื้อของอย่างรถหรือโต๊ะเก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์มาให้กสทเช่า
      
       การที่กทค.มีมติเช่นนี้ เป็นการเปิดทางให้เอกชนทั้งเอไอเอสและดีแทค เดินตามด้วยการสร้างสัญญาหลายๆฉบับ แยกเรื่องการเช่าอุปกรณ์ การทำตลาด ออกจากกัน เพื่อไม่ต้องเข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไม่เข้าข่ายเป็นบริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคม ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างๆให้กสทช. เท่ากับช่วยประหยัดต้นทุนให้เอกชนทางตรง ถึงแม้จะแก้เกี้ยวว่าจะยกร่างประกาศมาควบคุม ซึ่งก็อาจหมายถึงให้กลุ่มทรูทำได้บริษัทเดียว ไม่ให้บริษัทอื่นทำตาม หรือ อาจจะให้ทำตามได้ หากมีแท็กติกยืดเวลายกร่างออกไปไม่มีกำหนด เหมือน กรณีกสทแก้ไขสัญญา 6 ประเด็นที่ยืดเป็นหนังยาง แต่ 4 กทค.ก็ไม่ทุกข์ร้อนที่จะกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด
      
       แถมให้อีก 1 เรื่องคือการเร่งเรื่องการย้ายค่ายเบอร์เดิม ให้ย้ายได้วันละ 4 หมื่นเลขหมายต่อราย เพราะคงเห็นว่าลูกค้าน่าจะอยากย้ายออกจากระบบสัมปทานของรัฐไปสู่บริการใหม่ภายใต้ใบอนุญาตกสทช.เรียกได้ว่ากทค.บริการเอกชนแบบวันสต็อปเซอร์วิส ที่เดียวครบวงจร
      
       ‘มีผู้ใหญ่ในวงการโทรคมนาคมพูดว่าของทุกสิ่งในโลกนี้ มีมูลค่าในตัวของมัน อยู่ที่ว่าเท่าไหร่แค่นั้น เห็นท่าจะจริง’

นายยงยุทธ วัฒนสินธุิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ส่วนการทำสัญญาการทำธุรกิจระหว่างทีโอทีกับเอไอเอสนั้น จะเป็นลักษณะเดียวกับกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ได้ทำสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3 จี รูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยีเอสเอชพีเอ กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือไม่นั้น คงต้องหารือกับคณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอที ที่มีนายอุดม พัวสกุล เป็นประธาน รวมถึงต้องนำหารือ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ด้วย เพราะเป็นเรื่องระดับนโยบาย.


สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.nationmultimedia.com/business/More-firms-may-adopt-BFKT-model-30203554.html
http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000041649
http://m.thairath.co.th/content/eco/337483

_________________________________




More firms may adopt BFKT model


Usanee Mongkolporn


AIS among companies mulling options after NBTC's clean chit on network rental service



Last week's conclusion that the network rental service of BFKT (Thailand) to CAT Telecom does not breach the telecom law, and the national telecom watchdog's plan to issue network rental regulations, are expected to set the stage for other companies, including Advanced Info Service (AIS), to adopt the BFKT model to offer telecom services.

AIS chief marketing officer Somchai Lertsutiwong said that AIS would consider following a similar model, but declined to specify details. He said AIS had closely watched the final conclusion of the BFKT case.

AIS and TOT are in talks on the possible formation of the Tower Co joint venture. Under its concession contract with TOT, AIS operates its network on a build-transfer-operate basis. Under the Tower Co initial concept, AIS would transfer its 13,000 telecom towers to TOT before its concession ends in late 2015. Then TOT would rent these towers to AIS to continue providing cellular service on a network rental fee basis, instead of a concession fee basis.

TOT president Yongyuth Wattanasin said last week that if the talks with AIS are successful, TOT will incorporate AIS' fibre network into Tower Co and will also discuss a possible partnership to offer 3G-2.1-gigahertz telecom services.

The conclusions of the telecom committee of the National Broad-casting and Telecommunications Commission (NBTC) said the BFKT network rental service could not be deemed as "telecom business" defined under Article 4 (2) of the 2001 Telecom Law, as it has exclusively rented the network to CAT, not to any companies in general. As a result, it is not bound by Article 7 of the same law that obliges any company that wants to operate a telecom business to apply for the licence. There is also not enough evidence to prove its guilt and to file a legal suit against the company.

But the nature of its network rental service is subject to Article 4 (1), which defines telecom service as under the 2010 Frequency Allocation Law. NBTC secretary-general Takorn Tantasit said BFKT has not breached the telecom law but could be deemed to be circumventing the telecom law.

The telecom committee also ordered NBTC's office to draw up regulations to govern the network rental service to oblige the companies that have rented the networks in a similar manner to BFKT to apply for its operation licence. The office will propose the regulations draft for the committee's consideration in next 30 days.

BFKT has rented the 850-megahertz network for CAT and True Group to provide third-generation cellular service under CAT-True partnership contracts. The NBTC had investigated since last June whether BFKT had breached the telecom law by operating a network rental service without a telecom licence.

http://www.nationmultimedia.com/business/More-firms-may-adopt-BFKT-model-30203554.html

_______________________________________



4 สุดยอดกทค.ในฝัน สีข้างถลอก แถข้อกม.ช่วยเอกชน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 เมษายน 2556 00:16 น.





คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

สุดยอด 4 กทค.ในฝันของเอกชน ‘เศรษฐพงค์-สุทธิพล-ประเสริฐ-สุกิจ’ สร้างมาตรฐานใหม่ให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคม เปิดประตูสัมปทานจำแลง หลังมีมติ 4 ต่อ 1 อุ้มบีเอฟเคทีเป็นแค่สัญญาเช่าอุปกรณ์หรือบริษัทโทรคมนาคม ไม่ถือเป็นบริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ขนาดเลขาฯฐากร ยังหลุดปาก ‘ถือว่าหลีกเลี่ยงกฎหมาย แต่ไม่ผิดกฎหมาย’ คนในวงการชี้ถึงเวลาเอไอเอส ดีแทค เดินตามกลุ่มทรูสร้างชุดสัญญาแยกระหว่างการเช่าอุปกรณ์กับการให้บริการทำตลาดกับทีโอที/กสท งานนี้ถือว่ากทค.ประสบความสำเร็จในการขุดหลุมฝังทีโอทีกับกสท ให้เร็วขึ้น อย่างว่าทุกอย่างในโลกนี้มีมูลค่าของตัวเองอยู่ที่ว่าเท่าไหร่แค่นั้น
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดนัดพิเศษเพื่อพิจารณากรณีผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัดกรณีการทำสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ 800 MHz กับบริษัท กสท โทรคมนาคม โดยที่ประชุมมีการลงมติ 4 ต่อ1 ว่า บีเอฟเคทีไม่เข้าข่ายขัดกฏหมายมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ในคำจำกัดความที่ว่าการประกอบกิจการโทรคมนาคมหมายถึง การประกอบกิจการในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการด้านกิจการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป ขณะที่กรณี บีเอฟเคที เป็นเพียงกิจการโทรคมนาคม และเป็นเพียงผู้ดำเนินการตามสัญญาเช่าระหว่างบีเอฟเคที และ กสท เท่านั้น จึงไม่ขัดต่อกฏหมายดังกล่าว
     
       ทั้งนี้ที่ประชุมยังมีมติให้ยกร่างหลักเกณฑ์ที่จะเข้ามากำกับดูแลในกิจการโทรคมนาคม โดยให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการยกร่างภายใน 30 วันจากนั้นสำนักงานจะนำเข้าเสนอบอร์ดกทค.และกสทช.ต่อไปซึ่งคาดว่าจะสามารถนำร่างฯดังกล่าวมาประกาศใช้ได้จริงประมาณสิ้นเดือนพ.ค.2556 นี้
     
       อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบกิจการรายอื่นอาศัยช่องว่างจากกรณีดังกล่าวทำบ้างในตอนนี้ก็ไม่มีความผิด เนื่องจากในตอนนี้ยังไม่มีร่างหลักเกณฑ์ใดๆเข้ามากำกับดูแล แต่หากร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วผู้ประกอบการ จะต้องปฏิบัติตามร่างหลักเกณฑ์ที่จะออกมาจากนี้
     
       ‘เรื่องนี้ถือว่าหลีกเลี่ยงกฏหมาย แต่ไม่ผิดกฏหมายเนื่องจากเราหาที่จับผิดไม่ได้ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544’ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวในระหว่างการแถลงข่าว ซึ่งไม่รู้ว่าจะหัวเราะหรือร้องไห้ดีกับเหตุผลของคนที่เป็นถึงเลขาธิการกสทช.
     
       นายสุทธิพล ทวีชัยการ บอร์ดกทค.กล่าวอีกว่า ส่วนตัวไม่กลัวเรื่องการฟ้องร้องหลังผลพิจารณากรณีดังกล่าวออกไป เพราะกระบวนการทุกอย่างเราดำเนินการตามกฏหมายอย่างครบถ้วนแล้ว
     
       ****“หมอลี่”จี้ใจดำผิดมาตรา 46
     
       น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และกรรมการกทค.กล่าวว่า มติดังกล่าวที่ระบุว่าบีเอฟเคทีไม่มีความผิดตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 นั้น ตนเองเป็นหนึ่งเสียงที่ไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว ซึ่งส่วนตัวมองว่ากทค.เคยชี้ว่าบริษัท กสท โทรคมนาคม มีความผิดตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 โดยให้กลับไปแก้ไขใน 6 ข้อ โดยเฉพาะในข้อที่ กสท ต้องเร่งรัดดำเนินการให้ตนเองเป็นผู้ควบคุมและบริหารจัดการคลื่นความถี่ด้วยตนเองอย่างสมบูรณ์ผ่านกระบวนการสร้าง และจัดหาความจุของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย)โดยรวมถึงfrequency planning, network roll-out และnetwork operation ด้วย
     
       ขณะที่ในตอนนี้ บีเอฟเคที กลับยังคงเป็นผู้ควบคุม และบริหารจัดการคลื่นความถี่อยู่ จึงอาจส่งผลกระทบต่อไป เนื่องจากจะมีบริษัทอื่นๆกระทำตามแบบบีเอฟเคที คือ ตั้งบริษัทขึ้นมาให้เช่าเสาสัญญาณ โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม USO และไม่ต้องจ่ายค่าใบอนุญาตโทรคมนาคมแต่อย่างใด พร้อมทั้งยังสามารถบริหารคลื่นความถี่ได้ด้วย ดังนั้นจึงถือว่ากรณีบีเอฟเคทีผิดกฏหมายอยู่ดี
     
       อย่างไรก็ตามล่าสุดกรณีมาตรา46 นั้น กสท ยังไม่สามารถจัดทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมได้ แต่คู่สัญญาได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันแล้วและได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อยืนยันถึงเจตนาที่จะแก้ไขสัญญาต่อไป
     
       ส่วนการที่จะยกร่างหลักเกณฑ์ขึ้นมาอุดช่องโหว่ของกฏหมายนั้น คงต้องรอดูกันต่อไปว่าภายหลัง 30 วัน ร่างดังกล่าวจะมีหน้าตาอย่างไร และจะควบคุมได้จริงหรือไม่ ไม่เช่นนั้นก็จะมีผู้ประกอบการรายอื่นหาช่องโหว่เพื่อหาประโยชน์ให้ตัวเองต่อไปอีก
     
       นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส กล่าวว่าเอไอเอสกำลังศึกษารูปแบบของกรณีบีเอฟเคที ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่เอไอเอสจะเสนอความร่วมมือในลักษณะเดียวกันนี้ไปยังบริษัท ทีโอที ซึ่งเป็นคู่สัญญาสัมปทานเพื่อให้บริการในย่านความถี่ 2.3 GHz ที่ทีโอทีมีความถี่ในมือจำนวนมาก เพราะกทค.สร้างมาตรฐานเช่นนี้ขึ้นมาให้ปฎิบัติตามได้ถูกกฎหมายแล้ว
     
       แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าวว่าหากมองภาพรวมการทำหน้าที่ของ 4 กทค.ชุดนี้ผ่าน 2 เหตุการณ์ใหญ่ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดนโยบาย วิธีการที่เอื้อประโยชน์ให้เอกชนอย่างชัดเจน โดยไม่สนใจเสียงท้วงติงจากสังคมรอบด้าน เริ่มจากเหตุการณ์แรก การประมูลความถึ่ 2.1 GHz กำหนดจำนวนความถี่ที่เอกชนจะเข้าประมูลได้รายละไม่เกิน 15 MHz ซึ่งเท่ากับ 3 เอกชนไม่ต้องแย่งกันประมูลเนื่องจากมีจำนวนความถี่ 45 MHz พอดี ในขณะที่กำหนดราคาเริ่มต้นประมูลเพียง 5 MHz ละ 4,500 ล้านบาทเท่านั้น ทั้งๆที่สามารถกำหนดราคาได้สูงถึง 6,440 ล้านบาททำให้ 3 เอกชนไม่ต้องแข่งขันด้านราคาอย่างเต็มที่ เท่ากับรัฐเสียผลประโยชน์ที่สมควรได้
     
       เหตุการณ์ที่ 2 คือการอุ้มบีเอฟเคทีเป็นแค่สัญญาเช่า ไม่ใช่บริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคม ทั้งๆที่กทค.เป็นคนบอกเองว่ากสทผิดมาตรา 46 และจำเป็น ต้องเร่งรัดดำเนินการให้ตนเองเป็นผู้ควบคุมและบริหารจัดการคลื่นความถี่ด้วยตนเองอย่างสมบูรณ์ผ่านกระบวนการสร้าง และจัดหาความจุของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย)โดยรวมถึง frequency planning, network roll-out และnetwork operation ด้วย ซึ่งหมายถึงบีเอฟเคทีเป็นคนบริหารจัดการเรื่องโครงข่ายทั้งหมด ไม่ใช่แค่ซื้อของอย่างรถหรือโต๊ะเก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์มาให้กสทเช่า
     
       การที่กทค.มีมติเช่นนี้ เป็นการเปิดทางให้เอกชนทั้งเอไอเอสและดีแทค เดินตามด้วยการสร้างสัญญาหลายๆฉบับ แยกเรื่องการเช่าอุปกรณ์ การทำตลาด ออกจากกัน เพื่อไม่ต้องเข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไม่เข้าข่ายเป็นบริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคม ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างๆให้กสทช. เท่ากับช่วยประหยัดต้นทุนให้เอกชนทางตรง ถึงแม้จะแก้เกี้ยวว่าจะยกร่างประกาศมาควบคุม ซึ่งก็อาจหมายถึงให้กลุ่มทรูทำได้บริษัทเดียว ไม่ให้บริษัทอื่นทำตาม หรือ อาจจะให้ทำตามได้ หากมีแท็กติกยืดเวลายกร่างออกไปไม่มีกำหนด เหมือน กรณีกสทแก้ไขสัญญา 6 ประเด็นที่ยืดเป็นหนังยาง แต่ 4 กทค.ก็ไม่ทุกข์ร้อนที่จะกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด
     
       แถมให้อีก 1 เรื่องคือการเร่งเรื่องการย้ายค่ายเบอร์เดิม ให้ย้ายได้วันละ 4 หมื่นเลขหมายต่อราย เพราะคงเห็นว่าลูกค้าน่าจะอยากย้ายออกจากระบบสัมปทานของรัฐไปสู่บริการใหม่ภายใต้ใบอนุญาตกสทช.เรียกได้ว่ากทค.บริการเอกชนแบบวันสต็อปเซอร์วิส ที่เดียวครบวงจร
     
       ‘มีผู้ใหญ่ในวงการโทรคมนาคมพูดว่าของทุกสิ่งในโลกนี้ มีมูลค่าในตัวของมัน อยู่ที่ว่าเท่าไหร่แค่นั้น เห็นท่าจะจริง’
     

http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000041649

_____________________________________



"ทีโอที" พล่านเร่งให้เช่าเสามือถือ
หน้าหลัก » เศรษฐกิจ


นายยงยุทธ วัฒนสินธุิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทีโอที อยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ในฐานะคู่สัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ เพื่อร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกันอย่างต่อเนื่อง แม้สัญญาจะสิ้นสุดก็ตาม โดยสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือจะสิ้นสุดในเดือน ก.ย.2558 ดังนั้นในช่วงนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีจะมีการเจรจาธุรกิจร่วมกัน ในเบื้องต้นเอไอเอสจะคืน
กรรมสิทธิ์ในเสาโทรคมนาคมกว่า 13,000 เสาทั่วประเทศให้กับทีโอที เพื่อทีโอทีสามารถนำไปสร้างรายได้เพิ่มเติมด้วยการให้เช่า เพื่อติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคมให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ได้ ซึ่งจะทำให้ทีโอทีมีรายได้จากค่าเช่าเสาโทรคมนาคมดังกล่าว โดยคาดว่าภายในปี 2556 นี้จะมีข้อสรุปที่ชัดเจนอย่างแน่นอน

“นับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป ทีโอทีจะไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทานอีกต่อไป โดยแต่ละปีมีรายได้จากสัญญาสัมปทาน 22,000 ล้านบาท เมื่อไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทานทีโอที ก็จะประสบปัญหาการขาดทุนทันที 8,000 ล้านบาท และหากไม่เร่งหารายได้เข้ามาทดแทน ก็จะขาดทุนมากกว่านี้ ฉะนั้นการให้เช่าเสาโทรคมนาคม จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการหารายได้เพิ่ม”

นายยงยุทธกล่าวต่อว่า ส่วนการทำสัญญาการทำธุรกิจระหว่างทีโอทีกับเอไอเอสนั้น จะเป็นลักษณะเดียวกับกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ได้ทำสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3 จี รูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยีเอสเอชพีเอ กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือไม่นั้น คงต้องหารือกับคณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอที ที่มีนายอุดม พัวสกุล เป็นประธาน รวมถึงต้องนำหารือ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ด้วย เพราะเป็นเรื่องระดับนโยบาย.

โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
http://m.thairath.co.th/content/eco/337483


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.