Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

8 เมษายน 2556 กทค.มีมติให้ ทุกค่ายมือถือลงทุนเพิ่มคนละ200ลบ. // CAT TOT ไม่ยอมเปลี่ยนมาเป็นการย้ายแบบ general port ให้ลูกค้าย้ายตามใจ


ประเด็นหลัก



มติวันนี้เป็นผลมาจากการให้ค่ายมือถือทั้ง 5 รายในเคลียริ่งเฮาส์ไปเจรจากันให้ได้ข้อสรุป ทั้งเรื่องรูปแบบการโอนย้ายที่เดิมต้องการให้ย้ายแบบ Agree port คือโอนย้ายภายในระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งทีโอทีและ บมจ. กสท โทรคมนาคม ไม่เห็นด้วย ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นแบบ general port ที่จะย้ายไปค่ายไหนก็ได้ แล้วแต่ผู้ใช้บริการเป็นการส่งเสริมการแข่งขัน ส่วนขีดความสามารถของเคลียริ่งเฮาส์ ปัจจุบันรองรับได้ 40,000 เลขหมายอยู่แล้ว แต่ศักยภาพของระบบแต่ละค่ายมีไม่ถึง กทค.จึงให้แต่ละรายไปขยายให้ได้ 40,000 ราย"

ส่วนการลงทุนขยายระบบ MNP เพิ่ม ขณะนี้แต่ละค่ายมองว่า ถ้าความต้องการยังไม่เกิดก็จะยังไม่ขยายระบบ โดยพิจารณาเป็นรายไตรมาส

"ตอนนี้ทุกค่ายลงมติร่วมกันว่า จะลงทุนระบบเพิ่ม ถ้าต่อไป กทค.เห็นได้ชัดว่ามีอุปสรรคเพราะบางรายไม่ลงทุนก็จะมีคำสั่งออกไป ถ้าขยายถึง 40,000 ราย/วัน แต่ละรายต้องลงทุน 200 ล้านบาท"







_________________________________


ลุ้นประกาศ"อินฟราแชริ่ง-โรมมิ่ง"สิ้นเม.ย.


"กทค." หนุนเปิด 3G สั่งทุกค่ายเพิ่มระบบให้บริการคงสิทธิเลขหมาย ให้ได้ 4 หมื่นต่อวัน เตรียมอนุมัติสัญญามาตรฐานบริการดันอินฟราแชริ่ง-โรมมิ่ง-เอ็มวีเอ็นโอเข้าบอร์ด กสทช.

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กทค.ล่าสุด (3 เม.ย.) มีมติรับทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับการปรับปรุงการให้บริการคงสิทธิเลขหมาย (Mobile Number Portability : MNP) พร้อมมีมติอนุมัติให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายเพิ่มประสิทธิภาพระบบ เพื่อให้ลูกค้าโอนย้ายเลขหมายได้ทั่วไป โดยไม่จำกัดผู้ให้บริการปลายทาง (general port) ไม่น้อยกว่า 40,000 เลขหมายต่อวัน พร้อมขยายประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค

ทั้งกรณีของการเปิดให้บริการ 3G คลื่น 2.1 GHz และการสิ้นสุดสัมปทานและเห็นชอบให้โอนย้ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งทางอีเมล์ และ SMS โดยทุกช่องทางต้องมีระบบป้องกันความปลอดภัย และตรวจสอบความถูกต้องได้

"มติวันนี้เป็นผลมาจากการให้ค่ายมือถือทั้ง 5 รายในเคลียริ่งเฮาส์ไปเจรจากันให้ได้ข้อสรุป ทั้งเรื่องรูปแบบการโอนย้ายที่เดิมต้องการให้ย้ายแบบ Agree port คือโอนย้ายภายในระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งทีโอทีและ บมจ. กสท โทรคมนาคม ไม่เห็นด้วย ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นแบบ general port ที่จะย้ายไปค่ายไหนก็ได้ แล้วแต่ผู้ใช้บริการเป็นการส่งเสริมการแข่งขัน ส่วนขีดความสามารถของเคลียริ่งเฮาส์ ปัจจุบันรองรับได้ 40,000 เลขหมายอยู่แล้ว แต่ศักยภาพของระบบแต่ละค่ายมีไม่ถึง กทค.จึงให้แต่ละรายไปขยายให้ได้ 40,000 ราย"

ส่วนการลงทุนขยายระบบ MNP เพิ่ม ขณะนี้แต่ละค่ายมองว่า ถ้าความต้องการยังไม่เกิดก็จะยังไม่ขยายระบบ โดยพิจารณาเป็นรายไตรมาส

"ตอนนี้ทุกค่ายลงมติร่วมกันว่า จะลงทุนระบบเพิ่ม ถ้าต่อไป กทค.เห็นได้ชัดว่ามีอุปสรรคเพราะบางรายไม่ลงทุนก็จะมีคำสั่งออกไป ถ้าขยายถึง 40,000 ราย/วัน แต่ละรายต้องลงทุน 200 ล้านบาท"

และในวันศุกร์ที่ 5 เม.ย.นี้จะมีการประชุม กทค.นัดพิเศษเพื่อพิจารณาสัญญามาตรฐานการให้บริการบนคลื่น 2.1 GHz เพื่อให้การทำสัญญากับลูกค้ามีมาตรฐานเดียวกัน ส่วนการกำกับให้ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้คลื่น 2.1 GHz ต้องลดค่าบริการลง 15% จะมีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปครั้งถัดไป ทั้งการกำหนดค่าบริการเฉลี่ยที่ใช้เป็นฐานในการลด การนิยามว่าส่วนลด 15% คืออะไร จะมีมาตรฐานกำกับดูแลอย่างไร

ส่วนการกำหนดราคาเพดานขั้นสูง ยังทำไม่ได้ต้องรอให้มีการเปิดให้บริการและ กทค.รู้ต้นทุนก่อน และวันที่ 19 เม.ย.นี้ กทค.จะนำ 3 ร่างประกาศที่ได้ประชาพิจารณ์แล้ว ให้บอร์ด กสทช.พิจารณา ได้แก่ ร่างประกาศเรื่อง การใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ร่างประกาศเรื่อง การใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ และร่างประกาศเรื่อง บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน คาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ภายในสิ้นเดือนนี้

นอกจากนี้ บอร์ด กทค.นัดพิเศษ (5 เม.ย.) จะพิจารณาหาแนวทางดำเนินการกับบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการโครงข่ายสถานีฐานภายใต้สัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่ HSPA บนคลื่น 800 MHz ระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม และกลุ่มทรูว่าประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่

ก่อนหน้านี้ กทค.ได้มอบหมายให้คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาดังกล่าวทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอเข้า กทค.พิจารณา และให้สำนักงาน กสทช.ส่งความเห็นประกอบด้วย รายงานทั้ง 2 ฉบับเห็นสอดคล้องกันว่า บีเอฟเคทีเข้าข่ายเป็นผู้ประกอบการที่ให้บริการโทรคมที่ต้องขอรับใบอนุญาต เนื่องจากบริหารควบคุมดูแลโครงข่าย ระบบโครงข่าย สถานีฐาน รวมถึงสร้างโครงข่ายหรือสร้างระบบสื่อสัญญาณ จึงมีพฤติกรรมเข้าข่ายองค์ประกอบความผิดฐานประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ยังไม่ปรากฏว่ามีเจตนาจะกระทำความผิด

ขณะที่เลขาธิการ กสทช.ได้เสนอแนวทางแก้ไขไว้ 2 รูปแบบ คือ หาก กทค.เห็นว่าบีเอฟเคทีไม่ได้เข้าข่ายความผิดในการให้บริการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ควรมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.กำหนดเกณฑ์ในการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการในลักษณะเดียวกับบีเอฟเคที เพื่อไม่ให้เป็นช่องทางเลี่ยงกฎหมายเพื่อไม่ต้องมาอยู่ภายใต้การกำกับของ กสทช.

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1365408996&grpid=&catid=06&subcatid=0603

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.