Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

9 เมษายน 2556 (มั่นใจเช่าเสาเป็นกลางทุกค่าย)กนร.อนุมัติ TOT ตั้งบริษัทลูก ให้บริการเช่าโครงข่ายมือถือ(ทาวเวอร์โค)จะไม่ให้ค่ายใดถือหุ้น


ประเด็นหลัก



น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ภายในเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม2556 นี้ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)จะสามารถตั้งบริษัทลูกในชื่อ “ทาวเวอร์ คัมพะนี จำกัด” หรือทาวเวอร์ โค แล้วเสร็จ ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการบริหารนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ได้อนุมัติแผนงานการดำเนินงาน และแนวททางการบริหารธุรกิจทุกอย่างเสร็จหมดแล้ว

ทาวเวอร์ โค จะเป็นผู้ดำเนินธุรกิจในลักษณะของการบริหารจัดการเสาโทรคมนาคมที่จะมาจากการโอนทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน (บีทีโอ) เช่น เสาสัญญาณ อุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยขณะนี้ การเจรจาระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ได้ข้อสรุปในการเจรจาแล้ว ดังนั้น ทีโอที จะมีทาวเวอร์โคเพื่อให้ผู้ประกอบการเอกชนมาเช่าใช้โครงข่าย ซึ่งเป็นสถานีฐานของเอไอเอสที่โอนให้ตามบีทีโอจำนวน 15,000 แห่ง




ทั้งนี้ การจัดตั้งบริษัทบริหารจัดการเสาโทรคมนาคมของ ทีโอที กับ ?กสท ในครั้งนี้ก็เพื่อที่จะดำเนินธุรกิจเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย (เน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์) ซึ่งจะต้องเป็นบริษัทที่เป็นกลาง โดยไม่มีบริษัทเอกชนที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มาร่วมถือหุ้น แต่จะเป็นในลักษณะนำนักลงทุนต่างชาติที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้เข้ามาร่วมทุนในบริษัทลูกดังกล่าว

“หากเราให้ผู้ให้บริการรายเดิมในตลาดเป็นผู้ถือหุ้นด้วย ก็จะทำให้ไม่มีผู้ให้บริการรายอื่นมาเช่าใช้โครงข่ายเพราะอาจไม่มั่นใจ” รมว.ไอซีที กล่าว


รมว.ไอซีที กล่าวว่า กระทรวงฯยังได้ให้ทีโอทีไปศึกษาการลงทุนสร้างโครงข่ายเชื่อมต่อวงจรต่างประเทศ (อินเตอร์เนตเกตเวย์) เพื่อรองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต เนื่องจากยอดผู้ใช้บริการอินเตอร์เนตมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจะสร้างความมั่นคงสำหรับระบบโทรคมนาคมของประเทศ เพราะปัจจุบันประเทศไทยเช่าวงจรเชื่อมต่อจากต่างประเทศเพียงรายเดียว และเชื่อมต่อวงจรอินเตอร์เน็ตต่างประเทศเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้น หากเกิดปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติก็จะทำให้ระบบของไทยไม่สามารถเชื่อมโยงต่างประเทศได้





_______________________________________




กนร.ไฟเขียวTOT ตั้งบริษัทลูก ให้บริการเช่าโครงข่ายมือถือ ในชื่อ “ทาวเวอร์ โค”สค.นี้



น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ภายในเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม2556 นี้ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)จะสามารถตั้งบริษัทลูกในชื่อ “ทาวเวอร์ คัมพะนี จำกัด” หรือทาวเวอร์ โค แล้วเสร็จ ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการบริหารนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ได้อนุมัติแผนงานการดำเนินงาน และแนวททางการบริหารธุรกิจทุกอย่างเสร็จหมดแล้ว

ทาวเวอร์ โค จะเป็นผู้ดำเนินธุรกิจในลักษณะของการบริหารจัดการเสาโทรคมนาคมที่จะมาจากการโอนทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน (บีทีโอ) เช่น เสาสัญญาณ อุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยขณะนี้ การเจรจาระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ได้ข้อสรุปในการเจรจาแล้ว ดังนั้น ทีโอที จะมีทาวเวอร์โคเพื่อให้ผู้ประกอบการเอกชนมาเช่าใช้โครงข่าย ซึ่งเป็นสถานีฐานของเอไอเอสที่โอนให้ตามบีทีโอจำนวน 15,000 แห่ง

รมว.ไอซีที กล่าวว่า ในส่วนของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)จะจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเช่นกันโดยรับโอนเสาสถานีฐานจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ จำกัดมาบริหารหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงแต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกัน เพราะติดปัญหาเรื่องการเจรจา

ทั้งนี้ การจัดตั้งบริษัทบริหารจัดการเสาโทรคมนาคมของ ทีโอที กับ ?กสท ในครั้งนี้ก็เพื่อที่จะดำเนินธุรกิจเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย (เน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์) ซึ่งจะต้องเป็นบริษัทที่เป็นกลาง โดยไม่มีบริษัทเอกชนที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มาร่วมถือหุ้น แต่จะเป็นในลักษณะนำนักลงทุนต่างชาติที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้เข้ามาร่วมทุนในบริษัทลูกดังกล่าว

“หากเราให้ผู้ให้บริการรายเดิมในตลาดเป็นผู้ถือหุ้นด้วย ก็จะทำให้ไม่มีผู้ให้บริการรายอื่นมาเช่าใช้โครงข่ายเพราะอาจไม่มั่นใจ” รมว.ไอซีที กล่าว

นอกจากนี้การตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาก็เพื่อให้สององค์กรอยู่รอด หลังจากรายได้ที่ได้จากจากสัมปทานใกล้สิ้นสุดลงตามสัญญาสัมปทาน ถึงแม้ ทีโอที และ กสท จะทำธุรกิจในลักษณะเดียวกันแต่ไม่ใช่เป็นการแข่งขันกันเอง เนื่องจากปัจจุบันการบริโภค และใช้งานด้านสื่อสารข้อมูลมียอดการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน เอไอเอส ซึ่งเป็นคู่สัญญาสัมปทาน ทีโอที มีเสาโทรคมนาคมทั้งหมดมากกว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ โอนให้ ทีโอทีแล้ว 13,000 แห่ง ขณะที่ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) มีเสาโทรคมนาคม 2,000 แห่ง โอนให้ กสท 180 แห่ง , ดีแทค มีเสาโทรคมนาคม 12,000 แห่ง แต่โอนให้ กสท เพียง1,100 แห่งเท่านั้น ส่วนกลุ่มทรูมีเสาโทรคมนาคม 11,000 แห่งแต่ยังไม่ได้โอนให้ กสท แต่อย่างใด ซึ่งประเด็นนี้เป็นเหตุให้การเจรจาตั้งทาวเวอร์โคของ กสท ยังไม่ลงตัว

รมว.ไอซีที กล่าวว่า กระทรวงฯยังได้ให้ทีโอทีไปศึกษาการลงทุนสร้างโครงข่ายเชื่อมต่อวงจรต่างประเทศ (อินเตอร์เนตเกตเวย์) เพื่อรองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต เนื่องจากยอดผู้ใช้บริการอินเตอร์เนตมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจะสร้างความมั่นคงสำหรับระบบโทรคมนาคมของประเทศ เพราะปัจจุบันประเทศไทยเช่าวงจรเชื่อมต่อจากต่างประเทศเพียงรายเดียว และเชื่อมต่อวงจรอินเตอร์เน็ตต่างประเทศเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้น หากเกิดปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติก็จะทำให้ระบบของไทยไม่สามารถเชื่อมโยงต่างประเทศได้

http://www.naewna.com/business/47794

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.