Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 พฤษภาคม 2556 AIS ยอมรับมีปัญหา(การย้ายเลขหมายไป AIS3Gใหม่(AWN)ซึ่งไม่สามารถย่ายได้ครั้งละมหาศาล) ขอให้ลูกค้าใจเย็นๆ (โดยการย้ายค่ายลูกค้าไม่เสียค่าบริการ)


ประเด็นหลัก



 ทั้งนี้ เอไอเอส ได้เตรียมงบลงทุนรวมกว่า 7 หมื่นล้าน สำหรับลงทุนขยายโครงข่ายในช่วง 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันสามารถให้บริการครอบคลุม 20 จังหวัด ซึ่งถือว่าครอบคลุมมากกว่า AIS 3G บนความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ เดิมจำนวน 20% และคาดว่าจะมีลูกค้าใหม่ 10 ล้านรายภายในสิ้นปีนี้ และภายในสิ้นปี 2556 จะสามารถให้บริการครอบคลุม 77 จังหวัด หรือคิดเป็น 70% ของประชากร ซึ่งการติดตั้งเครือข่ายเร็วกว่าที่ กสทช.กำหนดไว้ 2 ปี และจะขยายเพิ่มขึ้นเป็นครอบคลุม 90% ของประชากร ภายในครึ่งปีแรกของปี 2557
     ปัจจุบันเอไอเอสมีสถานีฐานที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G บนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ทั้งหมดประมาณ 5,000 สถานีฐาน และจะขยายเพิ่ม 800 สถานีฐานต่อเดือน ส่งผลให้ถึงสิ้นปี 2556 จะมีสถานีฐานทั้งหมด 11,000 สถานีฐาน ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ
    นายวิเชียร ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  เอไอเอส คาดว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในเครือข่ายของ เอไอเอส จากจำนวนผู้ใช้บริการ 12 ล้านรายในปี 2555 จะเพิ่มเป็น 15 ล้านรายภายในสิ้นปี 2556 ซึ่งรวมถึงผู้ใช้บริการของ เอดับบลิวเอ็น
    สำหรับลูกค้าที่ลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์การอัพเกรดเครือข่ายไปใช้งาน AIS 3G 2100 มีผู้ขอลงทะเบียน 1.7 ล้านราย โดยในจำนวนนี้ 30% เป็นลูกค้าที่อยู่นอกพื้นที่ให้บริการ 20 จังหวัด ขณะที่ปัจจุบันเอไอเอสได้ทำการอัพเกรดให้ลูกค้าไปทั้งหมด 8 แสนราย นับตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2556 ถึงสิ้นปี เอไอเอส จะมีลูกค้าใหม่เข้ามาในระบบ 3 จี จำนวน 10 ล้านเลขหมาย  
    อย่างไรก็ตามการอัพเกรดลูกค้าจำวน 8 แสนรายนั้น เอไอเอส ใช้วิธีบริหารจัดการระบบภายในของ เอไอเอส ด้วยการย้ายหมายเลขลูกค้าไปใช้งานบน AIS 3G 2100 เนื่องจากระบบเคลียริ่งเฮาส์ยังไม่สามารถรองรับการย้ายค่ายเบอร์เดิมปริมาณมหาศาลได้ จึงใช้วิธีการเชื่อมต่อเบอร์จากระบบเดิมไปยังระบบใหม่เป็นการภายในแทนซึ่งที่สุดแล้วถ้าเคลียริ่งเฮาส์พร้อม ก็จะทยอยย้ายลูกค้ากลุ่มนี้ไปใช้ระบบปกติแทน
    นายวิเชียร ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การย้ายค่ายเบอร์เดิม สิ่งที่เคลียริ่งเฮาส์ต้องทำ คือ การแจ้งไปยังผู้ให้บริการเครือข่ายทุกรายทราบว่า หมายเลขนี้ได้มีการแจ้งย้ายเครือข่าย เพื่อให้เวลามีการต่อสายเข้าจะได้เชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการที่ถูกต้อง สิ่งที่ เอไอเอส ทำได้ในเบื้องต้นคือการใช้วิธีคอลล์ฟอร์เวิร์ดเลขหมายที่มีการโทร.เข้ามาในระบบเดิมไปยัง เอดับบลิวเอ็น แทนซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ทาง เอดับบลิวเอ็น รับหน้าที่ในการชำระค่าเชื่อมต่อ







______________________________________






3ค่ายมือถืองัดกลยุทธ์การตลาดหลังกดปุ่ม3จี

ในที่สุดบรรดาผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย ไล่เลียงตั้งแต่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น ในเครือบริษัทเอไอเอสฯ, บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด หรือ ดีทีเอ็น ในเครือดีแทค และ บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือกลุ่มบริษัททรูฯ เปิดตัวอย่างเป็นทางการ

    ภายหลังจากได้รับใบอนุญาตจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 7-8-9 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา
    ทั้ง 3 ค่ายวางแผนกลยุทธ์การตลาดอย่างไรนั้นเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมแผนการตลาดของทั้ง 3 ค่ายมือถือติดตามจากบรรทัดถัดจากนี้
*** เอไอเอส เน้นคุณภาพล้วนๆ
    แม้จะมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 มีจำนวนฐานลูกค้า 36 ล้านราย และเป็นผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายสุดท้ายที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี หากแต่ เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เชื่อว่าการได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์จาก กสทช. เป็นใบอนุญาตที่ได้มาตามกระบวนการแบบตรงไปตรงมา ต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น
    ทั้งนี้ เอไอเอส ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยนายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร ของ เอไอเอส เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การทำตลาด "AIS 3G 2100 ตัวจริง มาตรฐานโลก" ภายใต้การบริหารจัดการของ  เอดับบลิวเอ็น ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพและการบริการเป็นหลัก  ในเบื้องต้นจะเปิดให้บริการ 20 จังหวัด จำนวนสถานีฐาน 5,000 สถานี และถึงสิ้นปีจะเปิดให้บริการครบ 77 จังหวัด
    ทั้งนี้ เอไอเอส ได้เตรียมงบลงทุนรวมกว่า 7 หมื่นล้าน สำหรับลงทุนขยายโครงข่ายในช่วง 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันสามารถให้บริการครอบคลุม 20 จังหวัด ซึ่งถือว่าครอบคลุมมากกว่า AIS 3G บนความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ เดิมจำนวน 20% และคาดว่าจะมีลูกค้าใหม่ 10 ล้านรายภายในสิ้นปีนี้ และภายในสิ้นปี 2556 จะสามารถให้บริการครอบคลุม 77 จังหวัด หรือคิดเป็น 70% ของประชากร ซึ่งการติดตั้งเครือข่ายเร็วกว่าที่ กสทช.กำหนดไว้ 2 ปี และจะขยายเพิ่มขึ้นเป็นครอบคลุม 90% ของประชากร ภายในครึ่งปีแรกของปี 2557
     ปัจจุบันเอไอเอสมีสถานีฐานที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G บนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ทั้งหมดประมาณ 5,000 สถานีฐาน และจะขยายเพิ่ม 800 สถานีฐานต่อเดือน ส่งผลให้ถึงสิ้นปี 2556 จะมีสถานีฐานทั้งหมด 11,000 สถานีฐาน ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ
    นายวิเชียร ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  เอไอเอส คาดว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในเครือข่ายของ เอไอเอส จากจำนวนผู้ใช้บริการ 12 ล้านรายในปี 2555 จะเพิ่มเป็น 15 ล้านรายภายในสิ้นปี 2556 ซึ่งรวมถึงผู้ใช้บริการของ เอดับบลิวเอ็น
    สำหรับลูกค้าที่ลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์การอัพเกรดเครือข่ายไปใช้งาน AIS 3G 2100 มีผู้ขอลงทะเบียน 1.7 ล้านราย โดยในจำนวนนี้ 30% เป็นลูกค้าที่อยู่นอกพื้นที่ให้บริการ 20 จังหวัด ขณะที่ปัจจุบันเอไอเอสได้ทำการอัพเกรดให้ลูกค้าไปทั้งหมด 8 แสนราย นับตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2556 ถึงสิ้นปี เอไอเอส จะมีลูกค้าใหม่เข้ามาในระบบ 3 จี จำนวน 10 ล้านเลขหมาย  
    อย่างไรก็ตามการอัพเกรดลูกค้าจำวน 8 แสนรายนั้น เอไอเอส ใช้วิธีบริหารจัดการระบบภายในของ เอไอเอส ด้วยการย้ายหมายเลขลูกค้าไปใช้งานบน AIS 3G 2100 เนื่องจากระบบเคลียริ่งเฮาส์ยังไม่สามารถรองรับการย้ายค่ายเบอร์เดิมปริมาณมหาศาลได้ จึงใช้วิธีการเชื่อมต่อเบอร์จากระบบเดิมไปยังระบบใหม่เป็นการภายในแทนซึ่งที่สุดแล้วถ้าเคลียริ่งเฮาส์พร้อม ก็จะทยอยย้ายลูกค้ากลุ่มนี้ไปใช้ระบบปกติแทน
    นายวิเชียร ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การย้ายค่ายเบอร์เดิม สิ่งที่เคลียริ่งเฮาส์ต้องทำ คือ การแจ้งไปยังผู้ให้บริการเครือข่ายทุกรายทราบว่า หมายเลขนี้ได้มีการแจ้งย้ายเครือข่าย เพื่อให้เวลามีการต่อสายเข้าจะได้เชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการที่ถูกต้อง สิ่งที่ เอไอเอส ทำได้ในเบื้องต้นคือการใช้วิธีคอลล์ฟอร์เวิร์ดเลขหมายที่มีการโทร.เข้ามาในระบบเดิมไปยัง เอดับบลิวเอ็น แทนซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ทาง เอดับบลิวเอ็น รับหน้าที่ในการชำระค่าเชื่อมต่อ
           สำหรับแพ็กเกจให้บริการ AIS 3G 2100 รายเดือน เริ่มต้นที่ 299 บาท โทร.ทุกเครือข่าย / วิดีโอคอลล์ 100 นาที สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ไม่จำกัดบนความเร็วสูงสุด 500 MB 6 เดือนแรก หลังจากนั้นจำกัดเดือนละ 500 MB ไปจนถึง 999 บาทโทร.ทุกเครือข่าย / วิดีโอคอลล์ 500 นาที อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดบนความเร็วสูงสุด 3 GB ฟรีไว-ไฟ e-books 10 เล่ม และ HD Movies 20 เรื่อง
 *** ทรูมูฟ เอช ข้ามช็อตเปิด 4 จีรายแรก
    ขณะที่ เอไอเอส และ ดีแทค เปิดตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ แต่สำหรับค่ายทรู นั้นกลับมองข้ามช็อตและเกทับคู่แข่งด้วยการเปิดตัว ทรูมูฟ เอช 4 จีเป็นรายแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา
           นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเหตุผลที่เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี ด้วยเทคโนโลยี LTE (Long-Term Evolution เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายความเร็วสูงเพื่อใช้กับอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟน หรือเครื่องที่รองรับสัญญาณได้ โดยเทคโนโลยีนี้ออกมาเพื่อทลายข้อจำกัดความเร็วของเทคโนโลยีที่เราใช้อยู่ปัจจุบันอย่าง GSM/GPRS/EDGE หรือแม้กระทั่ง 3จี)  เนื่องจาก ทรูมูฟ เอช ได้เปิดให้บริการ 3 จี บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ร่วมกับ กสท(บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)) เมื่อปี 2552 และ ยังเป็นรายแรกที่ทำการตลาดการให้บริการ 3 จี บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ภายใต้ Reseller Agreement บนโครงข่ายของ กสท เมื่อเดือนสิงหาคม 2554
    สำหรับการเปิดตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จีสิ้นเดือนพฤษภาคมได้ติดตั้งไปแล้ว 500 สถานี และติดตั้งเพิ่มเป็น 2,000 แห่งภายในสิ้นปีนี้ ส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมตั้งไปแล้ว 500 สถานีถึงสิ้นปีจะติดตั้งทั้งสิ้น 5,000 สถานี ส่วนระบบ 3 จี ย่านความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ติดตั้งไปแล้ว 13,000 สถานี สิ้นปีเพิ่มเป็น 14,000 สถานี
    การเปิดให้บริการ 4G LTE อย่างเป็นทางการของกลุ่มทรูในวันที่ 8 พฤษภาคมนี้ ถือเป็นการให้บริการอย่างเป็นทางการ
** รักษาผู้นำ 3 และ 4 จี
    ถามว่า  ทรูมูฟ เอช จะเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดได้หรือไม่นั้น ได้รับคำตอบจาก "ศุภชัย" ว่า "ตอนนี้ขอรักษาการเป็นผู้นำ 3 จี และ 4 จี ส่วนจะเป็นเบอร์หนึ่งได้หรือไม่นั้นยังตอบไม่ได้"
    ด้านแผนการลงทุนในระบบ 3 จี และ 4 จี นั้น ศุภชัย บอกว่าจะใช้งบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 1.5 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าหมายลูกค้าทั้งหมด 6 ล้านราย ภายใต้แบรนด์ ทรูมูฟ เอช จากปัจจุบันที่มีลูกค้าประมาณ 3.2 ล้านราย แต่ยังไม่สามารถระบุได้ชัดว่าจะเป็นลูกค้าของบริษัท เรียล มูฟ จำกัด บนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ หรือ บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เพียงแต่ให้ดูตามพื้นที่การใช้งานเป็นหลัก
    สำหรับจำนวนผู้ใช้บริการ 3.2 ล้านราย อยู่ภายใต้บริษัท เรียลมูฟฯ แต่ถ้าในอนาคตบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ฯ ขยายพื้นที่ครอบคลุมไปในจังหวัดใดก็จะให้บริการภายใต้ เรียล ฟิวเจอร์ แต่ทุกระบบจะเชื่อมโยงโครงข่ายกันหมด ทำให้เมื่อเข้าไปใช้งานในจุดที่คลื่นใดมีสัญญาณแรงกว่าก็จะจับเสาคลื่นนั้นทดแทน
    ปัจจุบัน ทรูมูฟ เอช ให้บริการ 3G ครอบคลุมทั่วประเทศใน 77 จังหวัด 928 อำเภอ 7,029 ตำบล 65,691 หมู่บ้าน และจะขยาย 3G บนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ เพิ่มเป็น 14,000 สถานีฐานภายในสิ้นปี เมื่อรวมกับ 3G บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ อีกจำนวน 5,000 สถานี และ 4G บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ อีก 2,000 สถานี (รองรับลูกค้าได้ราว 5 ล้านราย) ทำให้ ทรูมูฟ เอช มีสถานีฐานรวมกว่า 21,000 สถานีฐานภายในสิ้นปี    
     พื้นที่ให้บริการ 4G จะครอบคลุม ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น สยามสแควร์ สีสม และสาทร และอีก 15 หัวเมืองหลัก ภายในสิ้นปี 2556 ได้แก่ พัทยา หัวหิน ชะอำ เชียงใหม่ ภูเก็ต สมุย นครปฐม อยุธยา พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา
    โดยมีแพ็กเกจที่ให้บริการ 2 ส่วนคือ iSmart ที่เป็นแพ็กเกจโทร.พ่วงเน็ตเริ่มต้นที่ 699 บาท โทร.ได้ 300 นาที อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดที่ความเร็วสูงสุด 2 GB ไปจนถึง 1,099 บาท โทร.ได้ 550 นาที อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดที่ความเร็วสูงสุด 4 GB และอีกส่วนคือ iNet 999 บาทใช้เน็ต 4G ความเร็วสูงสุดได้ 5 GB และ 1,199 บาท ใช้เน็ต 4G ได้ 7 GB หลังจากนั้นจะปรับความเร็วลงเหลือ 128 Kbps
     ด้าน นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโมบาย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า เทคโนโลยีทั้ง 3 จี และ 4 จี  ช่วยเข้ามาเติมเต็มประสบการณ์ใช้งานเครือข่ายสื่อสารไร้สายที่แต่เดิมใช้งานอยู่บน 850 เมกะเฮิรตซ์
    สำหรับอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน 4G บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ประกอบด้วย  Nokia Lumia 920 Lumia 820 Sony Xperia V และแอร์การ์ดรุ่นที่รองรับ ส่วนผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลทั้ง iPhone 5 iPad with Retina และ iPad Mini ต้องรอการอัพเกรดเฟิร์มแวร์จากทางแอปเปิลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงจะเริ่มใช้งานได้
*** ดีแทค ชูจุดขาย 3 โครงข่าย
    สำหรับ ดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เปิดตัว 3 จีอย่างเป็นทางการเป็นรายสุดท้าย คือ วันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ ดีแทค กล่าวว่า ได้เปิดตัว 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ภายใต้ชื่อ "dtac new era" รวม 3 โครงข่าย ใช้งานบนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์, 850 เมกะเฮิรตซ์ และ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ รวมเข้าไว้ด้วยกันภายใต้ "Dtac TriNet" ซึ่งทั้ง 3 โครงข่ายสลับการใช้งานพื้นที่อย่างอัตโนมัติ
    โดยในเดือนมิถุนายนนี้ ดีแทค จะเปิดตัวโทรศัพท์มือถือใหม่ 3 รุ่นเพื่อรองรับการใช้งาน Trinet ทั้งนี้เครือข่ายใหม่เน้นการใช้งานโทรศัพท์และรับ-ส่งข้อมูล (ดาต้า) ให้บริการทั้งเทคโนโลยีและคอนเทนต์ครบวงจร
    ส่วนแพ็กเกจของดีแทค ที่ใช้ชื่อว่า "choice" ให้ลูกค้าเลือกตามความต้องการ ด้วยการเปลี่ยนจากระบบ Fix เป็น choice ถ้าโทร.อย่างเดียวเรียก voice ค่าโทร.เฉลี่ย 0.74 บาท/นาที ซึ่งการใช้งาน Trinet ได้ปรับลด โดยเปรียบเทียบกับราคาของเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และ มีแพ็กเกจ choice สำหรับลูกค้า ดีแทค ที่ใช้แอร์การ์ด,แท็บเลต และ โทร.อย่างเดียว
    และทั้งหมด คือ กลยุทธ์การตลาดของ 3 ค่ายมือถือที่เริ่มเปิดเกมการตลาดแล้วในขณะนี้

 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=182322:33&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.