Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 พฤษภาคม 2556 วท.เดินหน้าใช้เทคโนโลยีอวกาศ (GISTDA) ตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติ เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว เฝ้าระวังติดตาม เตือนภัย คาดการณ์ภัยพิบัติได้อย่างต่อเนื่อง


ประเด็นหลัก



รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ศูนย์เตือนภัยพิบัติโดยใช้เทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งเป็นแผนงานหลักแผนงานหนึ่งใน 47 แผนงานตามเป้าหมายของ รมว.วท. ด้วยการนำข้อมูลเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ มาป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว GISTDA จึงได้นำข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจโลก ไทยโชต และดาวเทียมดวงอื่นๆ  ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลพื้นที่ครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างภายในเวลาอันรวดเร็วในลักษณะเรียลไทม์ (Real Time) อีกทั้งยังสามารถถ่ายภาพซ้ำที่เดิมได้ในเวลาอันสั้น เพื่อนำมาประมวลผล และนำไปใช้ในการติดตามสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ รวมถึงการนำมาใช้ในการบริหารจัดการภัยพิบัติและติดตามสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การคาดการณ์สถานการณ์เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น การเตือนภัย การสนับสนุนข้อมูลเพื่อการวางแผนอพยพ การประเมินความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติ การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางชายฝั่งทะเล และเมื่อนำภาพถ่ายจากดาวเทียมมาเชื่อมโยงซ้อนทับกับข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน และข้อมูลครัวเรือนของฐานข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน/ชุมชน จากกรมพัฒนาชุมชน จะทำให้ทราบขอบเขตพื้นที่ จำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ทำให้สามารถนำมาติดตามและตรวจสอบการจ่ายเงินชดเชยและการเยียวยาของรัฐบาลและธุรกิจประกันภัยได้


รายงานข่าวแจ้งอีกว่า หลังจากการจัดทำโครงการศูนย์เครือข่ายเตือนภัยพิบัติเสร็จสิ้น จะทำให้ได้ฐานข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศที่รวดเร็วและทันต่อสถานการณ์สำหรับการเฝ้าระวังติดตาม เตือนภัย คาดการณ์ภัยพิบัติได้อย่างต่อเนื่องในทุกสภาพอากาศ อีกทั้งยังสามารถสร้างเครือข่ายจากการใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่มีหน้าที่บริหารจัดการภัยพิบัติในด้านต่างๆ ผ่านเครือข่ายออนไลน์ รวมถึงการเชื่อมโยงให้ภาคสังคมและประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันภัยพิบัติ








______________________________________







ดึงเทคโนโลยีอวกาศ ตั้งศูนย์เตือนภัยแก้ปัญหาระยะยาว


วท.เดินหน้าใช้เทคโนโลยีอวกาศ ตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติ หวังนำระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ ใช้เฝ้าระวัง ติดตาม เตือนภัย ทันต่อสถานการณ์และแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติที่มากขึ้นและต่อเนื่องระยะยาว...


รายงานข่าวแจ้งว่า สืบเนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาภัยธรรมชาติมากขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำเกือบทุกปี เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งทรัพย์สิน สาธารณูปโภค พื้นที่การเกษตร ตลอดจนอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหาย เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในเขตมรสุม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั่วโลกในปัจจุบัน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) จึงได้ดำเนินโครงการศูนย์เตือนภัยพิบัติโดยใช้เทคโนโลยีอวกาศ ตามนโยบายของ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเน้นการนำวิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์เพื่อสนับสนุนงาน 5 ด้าน ประกอบด้วย การสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอนาคต สร้างคุณภาพชีวิต และสร้างฐานความรู้


รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ศูนย์เตือนภัยพิบัติโดยใช้เทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งเป็นแผนงานหลักแผนงานหนึ่งใน 47 แผนงานตามเป้าหมายของ รมว.วท. ด้วยการนำข้อมูลเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ มาป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว GISTDA จึงได้นำข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจโลก ไทยโชต และดาวเทียมดวงอื่นๆ  ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลพื้นที่ครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างภายในเวลาอันรวดเร็วในลักษณะเรียลไทม์ (Real Time) อีกทั้งยังสามารถถ่ายภาพซ้ำที่เดิมได้ในเวลาอันสั้น เพื่อนำมาประมวลผล และนำไปใช้ในการติดตามสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ รวมถึงการนำมาใช้ในการบริหารจัดการภัยพิบัติและติดตามสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การคาดการณ์สถานการณ์เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น การเตือนภัย การสนับสนุนข้อมูลเพื่อการวางแผนอพยพ การประเมินความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติ การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางชายฝั่งทะเล และเมื่อนำภาพถ่ายจากดาวเทียมมาเชื่อมโยงซ้อนทับกับข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน และข้อมูลครัวเรือนของฐานข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน/ชุมชน จากกรมพัฒนาชุมชน จะทำให้ทราบขอบเขตพื้นที่ จำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ทำให้สามารถนำมาติดตามและตรวจสอบการจ่ายเงินชดเชยและการเยียวยาของรัฐบาลและธุรกิจประกันภัยได้


รายงานข่าวแจ้งอีกว่า หลังจากการจัดทำโครงการศูนย์เครือข่ายเตือนภัยพิบัติเสร็จสิ้น จะทำให้ได้ฐานข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศที่รวดเร็วและทันต่อสถานการณ์สำหรับการเฝ้าระวังติดตาม เตือนภัย คาดการณ์ภัยพิบัติได้อย่างต่อเนื่องในทุกสภาพอากาศ อีกทั้งยังสามารถสร้างเครือข่ายจากการใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่มีหน้าที่บริหารจัดการภัยพิบัติในด้านต่างๆ ผ่านเครือข่ายออนไลน์ รวมถึงการเชื่อมโยงให้ภาคสังคมและประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันภัยพิบัติ





โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/344399

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.