13 พฤษภาคม 2556 ประเทศไทย!! เตรียมนำเทคโนโลยีการปรับเทียบเวลามาตรฐาน (โดยใช้สถานีวิทยุ อสมท FM 95.0 MHz (กรุงเทพ) กองทัพอากาศ FM 102.5 MHz(กรุงเทพ) เป็นแม่ข่ายทั่วประเทศ )
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ห้องปฏิบัติการด้านเวลาและความถี่ ของสถาบัน ฯ มีหน้าที่รักษามาตรฐานแห่งชาติด้านเวลาและความถี่ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้พัฒนารูปแบบการเข้าถึงเวลามาตรฐานให้เข้าถึงได้ง่าย ครอบคลุมพื้นที่สำคัญทั่วประเทศเพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ใช้งาน โดยการนำเทคโนโลยีการปรับเทียบเวลามาตรฐาน ผ่านทางคลื่นวิทยุในระบบ FM/RDS (Radio Data System) ทำการส่งข้อมูลเวลามาตรฐานออกอากาศ โดยผสมเข้ากับคลื่นความถี่หลักในตำแหน่ง RDS sub-carrier ซึ่งปัจจุบันมีสถานีวิทยุในโครงการดังกล่าวจำนวน 40 สถานีทั่วประเทศ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สงขลา เป็นต้น สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สามารถรับสัญญาณเพื่อปรับเทียบเวลามาตรฐานได้ผ่านคลื่น อสมท FM 95.0 MHz และคลื่นวิทยุกระจายเสียงทหารอากาศ FM 102.5 MHz โดยสามารถดูแผนที่สถานีที่มีการถ่ายทอดเวลามาตรฐานผ่านระบบ FM/RDS เพิ่มเติมได้ที่ www.nimt.or.th
______________________________________
ปรับเวลามาตรฐานอัตโนมัติผ่านวิทยุเอฟเอ็ม
สถาบันมาตรวิทยาฯ พัฒนารูปแบบการเข้าถึงเวลามาตรฐาน ล่าสุด ส่งสัญญาณผ่านวิทยุเอฟเอ็มทั่วประเทศ ให้ผู้ใช้ปรับเวลามาตรฐานอัตโนมัติ ได้สะดวกมากขึ้น
รายงานข่าวจากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แจ้งว่า สถาบันฯ ร่วมกับกรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ กองทัพอากาศ และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จัดตั้งโครงการ “ถ่ายทอดเวลามาตรฐานประเทศไทยผ่านสัญญาณวิทยุด้วยระบบ FM/RDS” เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อถ่ายทอดเวลามาตรฐานประเทศไทยให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปให้สามารถเข้าถึงระบบเวลามาตรฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกมากขึ้น
ทั้งนี้ห้องปฏิบัติการด้านเวลาและความถี่ ของสถาบัน ฯ มีหน้าที่รักษามาตรฐานแห่งชาติด้านเวลาและความถี่ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้พัฒนารูปแบบการเข้าถึงเวลามาตรฐานให้เข้าถึงได้ง่าย ครอบคลุมพื้นที่สำคัญทั่วประเทศเพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ใช้งาน โดยการนำเทคโนโลยีการปรับเทียบเวลามาตรฐาน ผ่านทางคลื่นวิทยุในระบบ FM/RDS (Radio Data System) ทำการส่งข้อมูลเวลามาตรฐานออกอากาศ โดยผสมเข้ากับคลื่นความถี่หลักในตำแหน่ง RDS sub-carrier ซึ่งปัจจุบันมีสถานีวิทยุในโครงการดังกล่าวจำนวน 40 สถานีทั่วประเทศ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สงขลา เป็นต้น สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สามารถรับสัญญาณเพื่อปรับเทียบเวลามาตรฐานได้ผ่านคลื่น อสมท FM 95.0 MHz และคลื่นวิทยุกระจายเสียงทหารอากาศ FM 102.5 MHz โดยสามารถดูแผนที่สถานีที่มีการถ่ายทอดเวลามาตรฐานผ่านระบบ FM/RDS เพิ่มเติมได้ที่ www.nimt.or.th
สำหรับการรับสัญญาณเพื่อปรับเทียบเวลามาตรฐานนั้น จะต้องมีเครื่องรับสัญญาณวิทยุเอฟเอ็ม ที่สามารถถอดรหัสสัญญาณ RDS ได้ ซึ่งอุปกรณ์เครื่องรับดังกล่าวมีอยู่หลายชนิด เช่น เครื่องรับวิทยุในชุดเครื่องเสียง วิทยุติดรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ หรือนาฬิกา เมื่อเครื่องรับดังกล่าวปรับความถี่ให้ตรงกับคลื่นวิทยุของสถานีที่ส่งสัญญาณเวลามาตรฐานในระบบ FM/RDS แล้ว เวลาภายในเครื่องรับจะถูกปรับให้ตรงกับเวลามาตรฐานประเทศไทยโดยอัตโนมัติ.
http://www.dailynews.co.th/technology/203897
ไม่มีความคิดเห็น: