Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 พฤษภาคม 2556 DTAC มั่นใจ เปิดตัว 3G คลื่น 2100 ช้า (( ไม่ทำให้ลูกค้าย้ายเครือข่ายแน่นอน )) และไม่เอาคลื่น 2100 ทำ 4G แน่นอนมั่นใจไม่เสียเปรียบอย่างแน่นอน


ประเด็นหลัก


"การเปิด 3จี 2100 เมกะเฮิรตซ์ ของดีแทคถือเป็นการเปิดบริการเพิ่มจาก 3จี คลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น ปัจจุบันเรามีลูกค้าใช้งาน 3จี อยู่แล้ว 3.5 ล้านราย จึงไม่ได้รู้สึกเสียเปรียบรายอื่น 3จี คลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ถือเป็นการเสริมบริการมากกว่า ขณะเดียวกันก็เป็นการช่วยลูกค้าที่ไม่มีมือถือที่รองรับคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้งานบนคลื่นใหม่แทนได้ เรามั่นใจว่าความเร็วของ 3จี คลื่น 850 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ไม่ได้มีใครเร็วกว่าใครเพียงแต่แตกต่างกันตรงการใช้งานที่วิ่งอยู่บนคลื่นความถี่เก่าหรือคลื่นความถี่ใหม่เท่านั้น เชื่อว่าหากมี 3จีใหม่ในวันนี้แต่ไม่มีความพร้อมด้านเครือข่ายก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน แม้เราจะเปิดบริการ 2100 เมกะเฮิรตซ์ หลังรายอื่นแต่ก็มั่นใจว่าไม่ทำให้ลูกค้าย้ายเครือข่ายแน่นอน"

นายปกรณ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการเปิดให้บริการ 4จี ของโอเปอเรเตอร์อื่นนั้น มองว่าประเด็นดังกล่าวขึ้นอยู่กับความสำเร็จว่ามีผู้ใช้งานมากเพียงใด การเปิดตัวเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเรื่องดีที่ทำให้ผู้บริโภคได้รู้จักเทคโนโลยีใหม่ แต่อย่างไรก็ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมในการให้บริการซึ่งหากไม่สามารถตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภคได้ก็จะทำให้เกิดผลเสียกลับไปยังผู้ให้บริการ แต่สำหรับดีแทคมองว่าคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ จากการประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) 3จี นั้นควรนำมาให้บริการ 3จี ก่อน เพราะสามารถให้ความเร็วได้ดี แต่การแบ่งส่วนหนึ่งไปทำเทคโนโลยีอื่น อาจทำให้ได้ความเร็วที่ไม่ต่างจาก 3จี ที่ให้บริการในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามถือเป็นวิธีการบริหารและลงทุนต่อคลื่นความถี่ซึ่งแต่ละโอเปอเรเตอร์ที่ได้รับไลเซ่นส์ สามารถบริหารจัดการคลื่นความถี่ภายใต้แนวทางที่แตกต่างกันไป แต่เชื่อว่าไม่ได้ทำให้ดีแทครู้สึกเสียเปรียบอย่างแน่นอน




______________________________________







ดีแทคหายห่วง ออก3Gคลื่น2100ช้า เชื่อลูกค้าไม่หนี


ดีแทค ไม่หวั่นออกตัว 3จี 2100 เมกะเฮิรตซ์ ช้ากว่ารายอื่น ยันความพร้อม 5 มิ.ย.นี้ เชื่อลูกค้าเข้าใจ การันตีแพ็กเกจปรับราคาถูกตามระเบียบ กสทช. ไร้ปัญหา...

เมื่อวันที่ 14 พ.ค. นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า แม้บริการ 3จี บนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ของดีแทคจะเปิดให้บริการวันที่ 5 มิ.ย.นี้ ซึ่งถือเป็นผู้ให้บริการเครือข่าย (โอเปอเรเตอร์) รายสุดท้ายที่เปิดให้บริการ แต่บริษัทไม่ได้มองว่าเป็นความเสียเปรียบแต่อย่างใด เนื่องจากดีแทคได้เปิดให้บริการ 3จี คลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ ตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคม 2555 โดยมีสถานีฐานราว 5,200 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ ส่วนสถานีฐานของ 3จี 2100 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะมีราว 1,000 สถานี ในช่วงแรกของการเปิดให้บริการ

"การเปิด 3จี 2100 เมกะเฮิรตซ์ ของดีแทคถือเป็นการเปิดบริการเพิ่มจาก 3จี คลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น ปัจจุบันเรามีลูกค้าใช้งาน 3จี อยู่แล้ว 3.5 ล้านราย จึงไม่ได้รู้สึกเสียเปรียบรายอื่น 3จี คลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ถือเป็นการเสริมบริการมากกว่า ขณะเดียวกันก็เป็นการช่วยลูกค้าที่ไม่มีมือถือที่รองรับคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้งานบนคลื่นใหม่แทนได้ เรามั่นใจว่าความเร็วของ 3จี คลื่น 850 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ไม่ได้มีใครเร็วกว่าใครเพียงแต่แตกต่างกันตรงการใช้งานที่วิ่งอยู่บนคลื่นความถี่เก่าหรือคลื่นความถี่ใหม่เท่านั้น เชื่อว่าหากมี 3จีใหม่ในวันนี้แต่ไม่มีความพร้อมด้านเครือข่ายก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน แม้เราจะเปิดบริการ 2100 เมกะเฮิรตซ์ หลังรายอื่นแต่ก็มั่นใจว่าไม่ทำให้ลูกค้าย้ายเครือข่ายแน่นอน"

นายปกรณ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการเปิดให้บริการ 4จี ของโอเปอเรเตอร์อื่นนั้น มองว่าประเด็นดังกล่าวขึ้นอยู่กับความสำเร็จว่ามีผู้ใช้งานมากเพียงใด การเปิดตัวเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเรื่องดีที่ทำให้ผู้บริโภคได้รู้จักเทคโนโลยีใหม่ แต่อย่างไรก็ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมในการให้บริการซึ่งหากไม่สามารถตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภคได้ก็จะทำให้เกิดผลเสียกลับไปยังผู้ให้บริการ แต่สำหรับดีแทคมองว่าคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ จากการประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) 3จี นั้นควรนำมาให้บริการ 3จี ก่อน เพราะสามารถให้ความเร็วได้ดี แต่การแบ่งส่วนหนึ่งไปทำเทคโนโลยีอื่น อาจทำให้ได้ความเร็วที่ไม่ต่างจาก 3จี ที่ให้บริการในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามถือเป็นวิธีการบริหารและลงทุนต่อคลื่นความถี่ซึ่งแต่ละโอเปอเรเตอร์ที่ได้รับไลเซ่นส์ สามารถบริหารจัดการคลื่นความถี่ภายใต้แนวทางที่แตกต่างกันไป แต่เชื่อว่าไม่ได้ทำให้ดีแทครู้สึกเสียเปรียบอย่างแน่นอน

ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาด กล่าวด้วยว่า โดยส่วนตัวมองว่าประเด็นการปรับลดค่าบริการ 15% ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกค้าว่าพิจารณาอย่างไร เนื่องจากราคาแพ็กเกจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและไม่ได้จำกัดราคาตายตัว การออกแบบแพ็กเกจแต่ละครั้งอาจมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกัน ทั้งนี้บริษัทไม่ได้กังวลกับระเบียบของ กสทช. แต่ก็ไม่ได้ละเลยประเด็นดังกล่าว ส่วนการทำความเข้าใจกับผู้บริโภคนั้นเชื่อว่าลูกค้าจะเข้าใจ บริษัทเน้นทำราคาแตกต่างจากโอเปอเรเตอร์รายอื่น โดยมีราคาให้เลือกที่ 299 บาท และ 399 บาท นอกจากนั้นก็ให้ลูกค้าเลือกแพ็กเกจเองว่าจะเน้นใช้งานวอยซ์หรือดาต้า

"ถามว่าเราลดราคามั้ย ส่วนใหญ่ก็ถือว่าเป็นการลดราคาโดยเฉลี่ยก็จะเห็นว่าราคาดีขึ้น บางแพ็กเกจลดลงกว่า 60-70% เมื่อเทียบกับแพ็กเกจในอดีต โดยปกติราคาแพ็กเกจก็มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยอยู่แล้ว ประมาณทุกๆ 3 เดือน ในช่วงนี้ก็ถือเป็นช่วงเวลาที่ควรเปลี่ยนแพ็กเกจพอดี แต่อย่างไรประเด็นดังกล่าวขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ กสทช.ด้วย" นายปกรณ์ กล่าว.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/344806
     

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.