Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) เคาะแล้ว ค่าใบอนุญาตรวมผ่อนจ่ายใช้เวลา 6 ปี จากอายุสัญญา 15 ปีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯชี้เม็คเงินโฆษณาโตอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%


ประเด็นหลัก



นี่คือ ภาพที่ชัดเจนนับตั้งแต่ต้นปี 2557 หลังจากที่ประมูลทีวีดิจิทัลแล้วเสร็จ มีการแจกใบอนุญาต และกล่องทีวีดิจิทัลถึงมือผู้ชมตั้งแต่ต้นปีหน้า

แลนด์สเคปของอุตสาหกรรมทีวีที่มีการปรับเปลี่ยนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ทีมที่ปรึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำมาเป็นปัจจัยการหาราคาตั้งต้นประมูลใบอนุญาต ซึ่งเป็นด่านสำคัญที่ชี้อนาคตว่า ทีวีดิจิทัลจะเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะหากใบอนุญาตแพง นั่นหมายถึงต้นทุนผู้ประกอบการสูง แต่หากถูกเกินไป ก็หมายถึงคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรสำคัญของชาติ ถูกจัดสรรอย่างไม่คุ้มค่า

นอกจากจำนวนผู้แข่งขันในอุตสาหกรรมทีวีแล้ว ทีมที่ปรึกษายังคำนวณแนวโน้มการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาในอนาคต โดย นายไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์ หัวหน้าทีมที่ปรึกษา เปิดเผยว่าได้คาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาในอุตสาหกรรมทีวี ว่ามีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ จาก อังกฤษ ออสเตรเลีย และสวีเดน ที่มีการว่าจ้างมาช่วยในการศึกษาตัวเลขราคาตั้งต้นประมูลครั้งนี้ ยังพบว่าผู้ประกอบการระบบทีวีดิจิทัลยังสามารถทำรายได้จากส่วนอื่นๆ เช่น รายได้จากการค่าเช่าอุปกรณ์ รายได้จากระบบอินเตอร์แอ็คทีฟในอนาคต ซึ่งในส่วนนี้มีอัตราเติบโตถึง 10% ต่อปี

แม้ในช่วงแรกรายได้จากส่วนอื่นที่ไม่ใช่โฆษณาจะสัดส่วนน้อย แต่ก็ถือว่าเป็นรายได้สำคัญ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กที่มีอำนาจต่อรองในตลาดโฆษณาน้อยกว่ารายใหญ่ โดยคาดว่าในปี 1-5 สัดส่วนรายได้จากที่ไม่ใช่โฆษณามี 5% ปีที่ 6-10 จำนวน 10% และปีที่ 11-15 สัดส่วน 12% ของรายได้ทั้งหมด


ทั้งหมดนี้ทีมที่ปรึกษาคำนวณราคาตั้งต้นประมูลออกมาครั้งแรกที่รวม 24 ช่อง แล้วคิดเป็น 20,797 ล้านบาท แต่เมื่อมีเงื่อนไขของ Must Carry ที่ช่องทีวีดิจิทัลต้องไปออกอากาศในแพลตฟอร์มอื่นด้วย ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีค่าเช่าโครงข่ายเพิ่ม กสท.จึงต้องเคาะราคาตั้งต้นประมูลใหม่ โดยเฉลี่ยลดลง 30% ทำให้เม็ดเงินรวมของราคาตั้งต้นประมูลสรุปออกมาที่ 15,190 ล้านบาท โดยช่องความคมชัดละเอียดสูง หรือ เอชดี เริ่มต้นที่ช่องละ 1,510 ล้านบาท ช่องวาไรตี้ ช่องคมชัดมาตรฐาน 380 ล้านบาท ช่องข่าว 220 ล้านบาท และช่องเด็ก 140 ล้านบาท

ราคาที่ออกมา เมื่อรวมกับการผ่อนจ่ายค่าใบอนุญาตรวมใช้เวลา 6 ปี จากอายุสัญญา 15 ปี จุดเริ่มต้นนี้จึงชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเอกชน ในการหาจุดความคุ้มค่าการลงทุน แม้โจทย์ที่เหลืออยู่ยังต้องได้ทำการบ้าน คือ การแจกกล่องแปลงสัญญาณเป็นทีวีดิจิทัล

ยิ่งกระจายกล่องได้มากและเร็วเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ความหวังของผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้ และการเป็นเจ้าของช่องทีวีดิจิทัล เป็นจริงเร็วยิ่งขึ้น



______________________________________







เบื้องหลังเคาะราคาทีวีดิจิทัล


เปิดโมเดล "รายได้-ต้นทุน-การแข่งขัน" เบื้องหลังเคาะราคาทีวีดิจิทัล


คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้อนุมัติร่างประกาศ หลักเกณฑ์ และ วิธีการประมูลใบอนุญาต เพื่อได้สิทธิประกอบกิจการทีวีดิจิทัลช่องธุรกิจ 24 ช่อง เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยสมมติฐานการประเมินเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีดังนี้

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) อนุมัติร่างประกาศ หลักเกณฑ์ และวิธีการประมูล ทีวีดิจิทัลธุรกิจ 24 ช่อง ถือเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมทีวียุคใหม่ และกำลังกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของวงการทีวีไทย

อนาคตที่กำลังจะมาถึง คือ ผู้ชมทีวีจะมีฟรีทีวีให้ชมเพิ่มขึ้นอีก 48 ช่อง เป็นช่องที่เอกชนเข้าดำเนินการเองอย่างเต็มรูปแบบของการทำธุรกิจ 24 ช่อง คือ การหารายได้จากโฆษณาจำนวน 24 ช่อง ไม่ต่างจากโมเดลธุรกิจของฟรีทีวีในปัจจุบัน อย่างกรณีของช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 และช่อง 9

ส่วนอีก 24 ช่องที่เหลือคือช่องรายการเพื่อบริการสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา ความมั่นคง เยาวชน และเพื่อสังคม โดยบางประเภทในกลุ่มนี้จะมีรายได้จากโฆษณาที่มีการจำกัดรูปแบบและเวลาโฆษณา คล้ายกับกรณีของช่อง 11 ในปัจจุบัน

ผู้มาใหม่ในวงการทีวีอย่างทีวีดิจิทัล คือคู่แข่งคนสำคัญของฟรีทีวีในปัจจุบัน นอกเหนือจากปัจจุบันที่มีคู่แข่งทางอ้อม อย่างกลุ่มทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีอยู่แล้ว

ปัจจุบันจากผลศึกษาพบว่าผู้ชม และเม็ดเงินโฆษณาในอุตสาหกรรมนี้ 95% อยู่ที่ผู้เล่นรายใหญ่ อย่างช่อง 3 และ ช่อง 7 นั่นหมายถึงส่วนที่เหลืออีกเพียง 5% ถูกแย่งชิงโดยผู้เล่นอีกจำนวนหลายสิบรายในอุตสาหกรรมนี้

หากเส้นทางการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลราบรื่น คาดว่าในปีที่ 8 ของทีวีดิจิทัล ช่อง 3 และช่อง 7 รวมทั้งฟรีทีวีเดิม จะเหลือส่วนแบ่งผู้ชม และเม็ดเงินโฆษณาเพียง 42% เพราะทางเลือกที่มากขึ้นของผู้ชม คือช่องทางที่หลากหลายให้เลือกซื้อเวลาของผู้โฆษณา

นี่คือ ภาพที่ชัดเจนนับตั้งแต่ต้นปี 2557 หลังจากที่ประมูลทีวีดิจิทัลแล้วเสร็จ มีการแจกใบอนุญาต และกล่องทีวีดิจิทัลถึงมือผู้ชมตั้งแต่ต้นปีหน้า

แลนด์สเคปของอุตสาหกรรมทีวีที่มีการปรับเปลี่ยนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ทีมที่ปรึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำมาเป็นปัจจัยการหาราคาตั้งต้นประมูลใบอนุญาต ซึ่งเป็นด่านสำคัญที่ชี้อนาคตว่า ทีวีดิจิทัลจะเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะหากใบอนุญาตแพง นั่นหมายถึงต้นทุนผู้ประกอบการสูง แต่หากถูกเกินไป ก็หมายถึงคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรสำคัญของชาติ ถูกจัดสรรอย่างไม่คุ้มค่า

นอกจากจำนวนผู้แข่งขันในอุตสาหกรรมทีวีแล้ว ทีมที่ปรึกษายังคำนวณแนวโน้มการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาในอนาคต โดย นายไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์ หัวหน้าทีมที่ปรึกษา เปิดเผยว่าได้คาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาในอุตสาหกรรมทีวี ว่ามีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ จาก อังกฤษ ออสเตรเลีย และสวีเดน ที่มีการว่าจ้างมาช่วยในการศึกษาตัวเลขราคาตั้งต้นประมูลครั้งนี้ ยังพบว่าผู้ประกอบการระบบทีวีดิจิทัลยังสามารถทำรายได้จากส่วนอื่นๆ เช่น รายได้จากการค่าเช่าอุปกรณ์ รายได้จากระบบอินเตอร์แอ็คทีฟในอนาคต ซึ่งในส่วนนี้มีอัตราเติบโตถึง 10% ต่อปี

แม้ในช่วงแรกรายได้จากส่วนอื่นที่ไม่ใช่โฆษณาจะสัดส่วนน้อย แต่ก็ถือว่าเป็นรายได้สำคัญ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กที่มีอำนาจต่อรองในตลาดโฆษณาน้อยกว่ารายใหญ่ โดยคาดว่าในปี 1-5 สัดส่วนรายได้จากที่ไม่ใช่โฆษณามี 5% ปีที่ 6-10 จำนวน 10% และปีที่ 11-15 สัดส่วน 12% ของรายได้ทั้งหมด

สำหรับระยะเวลาเปลี่ยนผ่านระบบทีวี จากอนาล็อกสู่ดิจิทัลนั้น คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 7 ปี ผู้ชมทั้งประเทศ 22 ล้านครัวเรือนจึงจะรับชมทีวีระบบดิจิทัลทั้งหมด

นอกจากจำนวนผู้ชม ที่มา และแนวโน้มรายได้แล้ว ทีมที่ปรึกษายังคำนวณราคาตั้งต้นใบอนุญาตที่ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย หรือ ต้นทุนดำเนินการของผู้ประกอบการ ซึ่งประกอบด้วย ค่าเช่าโครงข่าย ค่าเช่าใช้สายเชื่อมโยงเครือข่าย ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ เช่น เงินเดือนพนักงาน ที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3% ตามเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 3%

นอกจากนี้ยังมีค่าลงทุนอุปกรณ์ ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ต้องเปลี่ยนใหม่ทุก 5 ปี เงินลงทุนในอาคาร และสตูดิโอ

ทั้งหมดนี้ทีมที่ปรึกษาคำนวณราคาตั้งต้นประมูลออกมาครั้งแรกที่รวม 24 ช่อง แล้วคิดเป็น 20,797 ล้านบาท แต่เมื่อมีเงื่อนไขของ Must Carry ที่ช่องทีวีดิจิทัลต้องไปออกอากาศในแพลตฟอร์มอื่นด้วย ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีค่าเช่าโครงข่ายเพิ่ม กสท.จึงต้องเคาะราคาตั้งต้นประมูลใหม่ โดยเฉลี่ยลดลง 30% ทำให้เม็ดเงินรวมของราคาตั้งต้นประมูลสรุปออกมาที่ 15,190 ล้านบาท โดยช่องความคมชัดละเอียดสูง หรือ เอชดี เริ่มต้นที่ช่องละ 1,510 ล้านบาท ช่องวาไรตี้ ช่องคมชัดมาตรฐาน 380 ล้านบาท ช่องข่าว 220 ล้านบาท และช่องเด็ก 140 ล้านบาท

ราคาที่ออกมา เมื่อรวมกับการผ่อนจ่ายค่าใบอนุญาตรวมใช้เวลา 6 ปี จากอายุสัญญา 15 ปี จุดเริ่มต้นนี้จึงชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเอกชน ในการหาจุดความคุ้มค่าการลงทุน แม้โจทย์ที่เหลืออยู่ยังต้องได้ทำการบ้าน คือ การแจกกล่องแปลงสัญญาณเป็นทีวีดิจิทัล

ยิ่งกระจายกล่องได้มากและเร็วเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ความหวังของผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้ และการเป็นเจ้าของช่องทีวีดิจิทัล เป็นจริงเร็วยิ่งขึ้น

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130516/505853/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0
%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8
4%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B
8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.