Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) เทพชัย หย่อง ชี้ กสทช. ไม่เคยพูดเรื่องการปฏิรูปสื่อเลย ถามกลับทีวีความมั่นคงหน้าตาเป็นอย่างไรและสาธารณะคืออะไร คืออะไร


ประเด็นหลัก



นายเทพชัย หย่อง ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ กล่าวว่า ในเวทีเสวนาแต่ครั้งส่วนใหญ่จะมีเสียงข้างน้อยมาทั้งนั้น เพราะเสียงส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ อีกทั้งคำว่าการปฏิรูปสื่อแทบไม่เคยได้ยินคนใน กสทช. พูดเลย นอกจากนางสาวสุภิญญา ขณะเดียวกันทุกหน่วยงานที่คิดว่าตัวเองกำลังจะได้พยายามวิ่งเต้นเต็มที่ อาทิ ตำรวจบางคนซ้อมเปิดหน้ารายงานข่าวแล้ว เพราะเตรียมเข้าสู่ทีวีสาธารณะ ทั้งนี้ กระบวนการสรรหา กสทช. เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่เคยพูดเรื่องการกำกับดูแลกลับเป็นสิ่งที่ถูกวางไว้ เพราะการจัดสรรไว้ 10 ปีที่แล้ว เพราะคนที่ได้รับเลือกพยายามทำตามที่คนเลือกตัวเองเข้ามา

“ส่วนตัวยังมองไม่ออกว่า ทีวีความมั่นคงหน้าตาเป็นอย่างไร หน่วยงานของรัฐทั้งหลายที่กำลังเล็งจะได้ทีวี คำถามคือ จะเอาไปทำอะไร ถ้ามาในนามของกระทรวงจะกลายเป็นกระบอกเสียง และโฆษณาชวนเชื่อ สุดท้ายคำว่าสาธารณะคืออะไร แต่ก็ตีความได้ไม่ยาก คือ ต้องอยู่บนพื้นฐานความต้องการสาธารณะ” ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ กล่าว

นายเทพชัย กล่าวต่อว่า เรื่องคลื่นความถี่ ต้องทำให้เป็นเรื่องที่ทุกคนสนใจ เพราะสื่อในสังคมประชาธิปไตยสำคัญมาก ต่อจากนี้ องค์กรวิชาชีพสื่อต้องทำเรื่องนี้เป็นหลัก โดยให้สังคมตระหนักว่าสื่อที่จะเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อประเทศชาติอย่างไร ทั้งนี้ สิ่งที่กำลังเดินหน้า คือ การประมูลช่องธุรกิจ ซึ่ง กสทช. ทำให้เกิดขึ้นแล้วเพราะเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายรอมานานและดีกับสังคมไทย เพราะจะทำให้คนไทยมีโอกาสเลือกมากขึ้น ขณะเดียวกันต้องมีกลไกกำกับ เพราะนอกจากการเข้ามาทำคลื่นแล้ว ยังมีเรื่องที่ต้องพิจารณาอีกมาก ต่างจากหนังสือพิมพ์ที่ไม่มีใครสามารถกำกับดูแลได้ ซึ่งองค์กรวิชาชีพสื่อต้องมาร่วมกัน นอกจากนี้ยังให้กำลังใจ NBTC WATCH ที่ได้ดำเนินการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคมมาอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องมีองค์กร กลไกในสังคมเข้ามาตรวจสอบการทำงานของ กสทช. และเกิดกระแสให้เข้าใจว่าการทำเรื่องคลื่นความถี่ไม่ใช่หน้าที่ของ กสทช. แต่คือหน้าที่ของทุกคน





“พรเทพ เบญญาอภิกุล” อ.เศรษฐศาสตร์ มธ. อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. กล่าวต่อว่า สิ่งที่ กสทช. จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการแบ่งประเภทช่อง คือ ให้ความสำคัญกับการนิยามกระบวนการและการตรวจสอบเนื้อหา จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ 1.การวางกรอบคุณสมบัติรายการที่ช่องรายการต้องมีการผลิตสำหรับกลุ่มผู้ชมที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้โฆษณาต่ำ เช่น รายการสำหรับเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน รายการสารคดีและสาระความรู้ที่ส่งเสริมความเข้าใจและประสบการณ์ 2.ข้อกำหนดเกี่ยวกับความหลากหลายของรายการ เช่น กำหนดโควตาการออกอากาศสำหรับรายการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด และเวลาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของรายการนั้นๆ 3.ข้อกำหนดเกี่ยวกับเนื้อหาของโฆษณาสำหรับรายการเด็ก เช่น ประเภทสินค้าที่เหมาะสมกับโฆษณาที่เหมาะกับรายการเด็ก ข้อกำหนดเกี่ยวกับโฆษณาแฝง การมอบรางวัลในรายการเด็ก  และ 4.ข้อกำหนดเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในการออกอากาศที่ชัดเจน เช่น การดูถูก ทำให้อับอาย ตลกขบขัน และเหยียดหยามกลุ่มคนจากพื้นฐานทางด้านเชื้อชาติ สัญชาติ เพศ รสนิยมทางเพศ ศาสนา รวมถึงความพิการทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจ











______________________________________







สะกิด กสทช. ชัดเจนโครงข่าย ควบคู่ประมูลทีวีดิจิตอล


เปิดเวทีการจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับดูแลทีวีดิจิตอล : โอกาส ความท้าทาย และอุปสรรคในการปฏิรูปสื่อ อ.เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ สะกิด กสทช. เผยข้อมูลโครงข่าย หวัง กสทช. ชัดเจนก่อนโค้งสุดท้าย...

เมื่อวันที่ 17 พ.ค. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวในงานสัมมนา หัวข้อ การจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับดูแลทีวีดิจิตอล : โอกาส ความท้าทาย และอุปสรรคในการปฏิรูปสื่อว่า ขณะนี้ขอให้มีเกณฑ์กติกาบิวตี้คอนเทสต์ของทีวีสาธารณะเพื่อเปิดพื้นที่เจรจา พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตว่า จำนวนช่องสาธารณะทั้งหมด 12 ช่อง ขณะนี้ไทยพีบีเอส 2 ช่อง ช่อง 5 และช่อง 11 จำนวน 2 ช่อง เหลือเพียง 8 ช่อง ภาครัฐจะเหมาไปหมดเลยจริงๆ โดยไม่แบ่งให้ภาคประชาชนบ้างเลยหรือไม่

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ขณะนี้รูปแบบการให้ใบอนุญาตของทีวีดิจิตอล แบ่งออกเป็น ช่องสาธารณะ คือการแจก ส่วนช่องธุรกิจ คือ การประมูล แต่การดำเนินการต้องมีกลไก พร้อมยอมรับว่า ที่ผ่านมาการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ใบอนุญาตมีหลายเรื่องที่คิดไม่ถึงว่าจะมีนัยต่อการแข่งขัน เช่น การวางหลักทรัพย์ค้ำประกันในการประมูลช่องธุรกิจ เพราะรายเล็ก และรายกลางจะไม่สามารถเข้ามาร่วมประมูลได้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องเทคนิค แต่ก็เป็นเรื่องที่ดีมากที่มีการเปิดโปงออกมา แต่ก็มีการแย้งกันว่า ถ้าไม่มีเงินมาจะประมูลอย่างไร นอกจากนี้ยังระบุว่าแทบไม่น่าเชื่อว่าการทำงานของ กสทช. ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ไม่ค่อยแคร์สาธารณะมากเท่าไร ขณะที่ส่วนตัวไม่ต้องการดับเครื่องชน แต่ต้องการให้ใช้เกณฑ์กติการ่วมกัน

นายเทพชัย หย่อง ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ กล่าวว่า ในเวทีเสวนาแต่ครั้งส่วนใหญ่จะมีเสียงข้างน้อยมาทั้งนั้น เพราะเสียงส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ อีกทั้งคำว่าการปฏิรูปสื่อแทบไม่เคยได้ยินคนใน กสทช. พูดเลย นอกจากนางสาวสุภิญญา ขณะเดียวกันทุกหน่วยงานที่คิดว่าตัวเองกำลังจะได้พยายามวิ่งเต้นเต็มที่ อาทิ ตำรวจบางคนซ้อมเปิดหน้ารายงานข่าวแล้ว เพราะเตรียมเข้าสู่ทีวีสาธารณะ ทั้งนี้ กระบวนการสรรหา กสทช. เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่เคยพูดเรื่องการกำกับดูแลกลับเป็นสิ่งที่ถูกวางไว้ เพราะการจัดสรรไว้ 10 ปีที่แล้ว เพราะคนที่ได้รับเลือกพยายามทำตามที่คนเลือกตัวเองเข้ามา

“ส่วนตัวยังมองไม่ออกว่า ทีวีความมั่นคงหน้าตาเป็นอย่างไร หน่วยงานของรัฐทั้งหลายที่กำลังเล็งจะได้ทีวี คำถามคือ จะเอาไปทำอะไร ถ้ามาในนามของกระทรวงจะกลายเป็นกระบอกเสียง และโฆษณาชวนเชื่อ สุดท้ายคำว่าสาธารณะคืออะไร แต่ก็ตีความได้ไม่ยาก คือ ต้องอยู่บนพื้นฐานความต้องการสาธารณะ” ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ กล่าว

นายเทพชัย กล่าวต่อว่า เรื่องคลื่นความถี่ ต้องทำให้เป็นเรื่องที่ทุกคนสนใจ เพราะสื่อในสังคมประชาธิปไตยสำคัญมาก ต่อจากนี้ องค์กรวิชาชีพสื่อต้องทำเรื่องนี้เป็นหลัก โดยให้สังคมตระหนักว่าสื่อที่จะเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อประเทศชาติอย่างไร ทั้งนี้ สิ่งที่กำลังเดินหน้า คือ การประมูลช่องธุรกิจ ซึ่ง กสทช. ทำให้เกิดขึ้นแล้วเพราะเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายรอมานานและดีกับสังคมไทย เพราะจะทำให้คนไทยมีโอกาสเลือกมากขึ้น ขณะเดียวกันต้องมีกลไกกำกับ เพราะนอกจากการเข้ามาทำคลื่นแล้ว ยังมีเรื่องที่ต้องพิจารณาอีกมาก ต่างจากหนังสือพิมพ์ที่ไม่มีใครสามารถกำกับดูแลได้ ซึ่งองค์กรวิชาชีพสื่อต้องมาร่วมกัน นอกจากนี้ยังให้กำลังใจ NBTC WATCH ที่ได้ดำเนินการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคมมาอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องมีองค์กร กลไกในสังคมเข้ามาตรวจสอบการทำงานของ กสทช. และเกิดกระแสให้เข้าใจว่าการทำเรื่องคลื่นความถี่ไม่ใช่หน้าที่ของ กสทช. แต่คือหน้าที่ของทุกคน

นางสาวนวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า มองว่าการปฏิรูปสื่อสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เพียงแต่การต่อสู้ในอำนาจรัฐ และอำนาจทุนไม่ใช่เรื่องง่าย ประเด็นที่สาธารณะอาจจะไม่เข้าใจคือทีวีชุมชน คือ ทีวีที่ไม่ออกอากาศทั่วประเทศ เพราะฉะนั้น เวลามีปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องทั้งประเทศ และเวลามีปัญหาถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องทีวีสาธารณะ จะไปเอาเรื่องทีวีชุมชนมาใช้แทนไม่ได้

อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีการพูดถึงแต่เรื่องการประมูลทีวีดิจิตอล แต่ไม่มีการพูดถึงเรื่องโครงข่าย จะมีการประมูลหรือไม่ ราคาเท่าไร มีแต่ระบุว่าอย่าไปประมูลช่องรายการ เพราะหากราคาโครงข่ายแพง ราคาต้นทุนก็จะสูงมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ ว่า จะทำอย่างไรให้คนที่ได้ใบอนุญาตโครงข่าย ม่ได้ทำช่องรายการได้ ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้เลย แต่มีความเป็นไปได้ว่าจะให้ได้ แต่โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับคณะอนุกรรมการที่ไม่ควรให้

นางสาวนวลน้อย กล่าวด้วยว่า เห็นด้วยกับข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ ของนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ระบุว่าไม่เห็นด้วย ที่ให้ประมูล 1 ชั่วโมง เพราะผู้ที่ทำธุรกิจจะรู้กำลังตัวเอง การกำหนด 1 ชั่วโมง เป็นเรื่องตลก ไม่เห็นส่งผลดีต่อการประมูล และไม่เห็นด้วยกับประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ ของนายพรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ระบุว่าไม่ควรเปิดเผยตัวตนของผู้ประมูล และเรื่องสำคัญกว่าการจัดสรรคลื่นคือให้ประชาชนเข้าใจเรื่องนี้และสามารถมีปากเสียง มีส่วนร่วม จนถึงอำนาจการต่อรอง.



โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/345405

___________________________________________

เศรษฐศาสตร์ มธ. ชี้ช่องโหว่ กสทช. ประมูลทีวีดิจิตอล


“พรเทพ เบญญาอภิกุล” อ.เศรษฐศาสตร์ มธ. จี้ กสทช.ให้ความสำคัญกับนิยามกระบวนการและการตรวจสอบเนื้อหาประมูลทีวีดิจิตอล พร้อมตั้งข้อสังเกตต่อเกณฑ์ ห้ามถือครองช่องรายการ HD...

เมื่อวันที่ 17 พ.ค. นายพรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวในการนำเสนอรายงานหัวข้อประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ต่อการจัดสรรช่องรายการทีวีดิจิตอลธุรกิจว่า ประเภทช่องรายการธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ต้องการสร้างความหลากหลายในเนื้อหาและสนับสนุนให้เกิดรายการบางประเภทที่มีคุณภาพดี เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ไม่ได้รับความนิยม เช่น รายการข่าวสารสาระและรายการเด็ก เนื่องจากรายการเหล่านี้มีศักยภาพทางธุรกิจต่ำกว่ารายการบันเทิง ซึ่งกลไกตลาดอาจไม่สามารถสร้างรายการที่มีคุณภาพดีในมุมมองของสังคมได้ ซึ่งวิธีการแบ่งประเภทช่องเป็นการแก้ปัญหาในเชิงปริมาณเท่านั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาทางคุณภาพได้ เพราะผู้ประกอบการช่องรายการข่าวและรายการเด็กยังต้องผลิตรายการที่สร้างผลกำไรสูงสุด ขณะที่สังคมกลับมีต้นทุนในการอุดหนุนให้เกิดช่องรายการเหล่านี้ผ่านราคาประมูลใบอนุญาตที่ถูกกว่า หรือนิยามว่า รายการเด็ก และรายการข่าว มีความคลุมเครือ และกระบวนการตรวจสอบและการรับผิดไม่แข็งแรง สังคมจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพไม่สอดคล้องกับราคาที่จ่ายไป

อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. กล่าวต่อว่า สิ่งที่ กสทช. จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการแบ่งประเภทช่อง คือ ให้ความสำคัญกับการนิยามกระบวนการและการตรวจสอบเนื้อหา จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ 1.การวางกรอบคุณสมบัติรายการที่ช่องรายการต้องมีการผลิตสำหรับกลุ่มผู้ชมที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้โฆษณาต่ำ เช่น รายการสำหรับเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน รายการสารคดีและสาระความรู้ที่ส่งเสริมความเข้าใจและประสบการณ์ 2.ข้อกำหนดเกี่ยวกับความหลากหลายของรายการ เช่น กำหนดโควตาการออกอากาศสำหรับรายการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด และเวลาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของรายการนั้นๆ 3.ข้อกำหนดเกี่ยวกับเนื้อหาของโฆษณาสำหรับรายการเด็ก เช่น ประเภทสินค้าที่เหมาะสมกับโฆษณาที่เหมาะกับรายการเด็ก ข้อกำหนดเกี่ยวกับโฆษณาแฝง การมอบรางวัลในรายการเด็ก  และ 4.ข้อกำหนดเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในการออกอากาศที่ชัดเจน เช่น การดูถูก ทำให้อับอาย ตลกขบขัน และเหยียดหยามกลุ่มคนจากพื้นฐานทางด้านเชื้อชาติ สัญชาติ เพศ รสนิยมทางเพศ ศาสนา รวมถึงความพิการทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจ

นายพรเทพ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ตั้งข้อสังเกตต่อเกณฑ์ ห้ามถือครองช่องรายการประเภททั่วไประบบความคมชัดสูง (HD) และช่องรายการข่าวพร้อมกันว่า เกณฑ์ดังกล่าวจะไม่มีผลผูกพันภายหลังการประมูล แต่จะลดการแข่งขันในการประมูลช่องรายการข่าวเนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่ และมีศักยภาพในการผลิตรายการคุณภาพสูงที่เป็นเจ้าของช่อง HD จะถูกกันออกไป ช่องรายการข่าวทั้ง 7 ช่อง จะมีแต่ผู้ประกอบการขนาดกลาง และเล็ก ที่มีศักภาพการผลิตต่ำกว่าเท่านั้น ในขณะที่ทางเลือกที่เข้มงวดน้อยลง เช่น กำหนดเพดานจำนวนผู้ประกอบการที่สามารถถือครองช่อง HD และช่องข่าวไม่เกิน 2-3 ราย น่าจะช่วยให้คุณภาพของรายการข่าวและสาระสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ชมได้มากขึ้น

อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. กล่าวถึงราคาเริ่มต้นประมูลว่า กสทช. ใช้มูลค่าช่องรายการจากวิธีที่ให้ค่าต่ำที่สุดเป็นฐานในการกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูล และจะปรับราคาเริ่มต้นการประมูลลงจากมูลค่าดังกล่าวเป็นสัดส่วน หากจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลมากขึ้น โดยส่วนลดตั้งแต่ 2% -สูงสุด 20% จากมูลค่าต่ำที่สุด มาตรฐานนี้ในแง่หนึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในการประมูล และการลดราคาลงเล็กน้อยยังช่วยให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้มูลค่าของใบอนุญาตที่คู่แข่งคาดคะเน ซึ่งจะมีประโยชน์ในกรณีที่มูลค่าช่องรายการประเมินให้แม่นยำได้ยาก

นายพรเทพ กล่าวด้วยว่า มาตรการดังกล่าวไม่มีอะไรน่ากลัว สามารถมั่นใจได้ว่าผู้ตั้งใจจริงจังมีจำนวนมากกว่าใบอนุญาต ทว่ามันก็อาจมีข้อเสียและเป็นดาบ 2 คม เนื่องจากจะสร้างแรงจูงใจให้ผู้เข้าร่วมประมูลที่จริงจัง หาผู้เข้าร่วมประมูลที่ไม่ได้สนใจจริงจังเพิ่ม เพื่อดึงให้ราคาเริ่มต้นการประมูลลดลง ซึ่งมีความเสี่ยงว่า ราคาเริ่มต้นการประมูลจะเป็นราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าประมาณการอย่างแย่ที่สุดถึง 20% โดยที่การแข่งขันจะไม่ได้สูงตามที่คาด ดังนั้น จึงขอเสนอให้ กสทช.วางมาตรการป้องกันพฤติกรรมดังกล่าว มาตรการ เช่น การเพิ่มเงินวางหลักประกัน การไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประมูล รวมถึงข้อมูลว่าผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละรายร่วมประมูลในใบอนุญาตช่องรายการประเภทใดบ้าง จะช่วยให้การร่วมมือระหว่างผู้เข้าร่วมประมูลเป็นไปได้ยากมากขึ้น



โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/345387

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.