Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 พฤษภาคม 2556 (เราเราสองสามคน)กระทรวงการคลังห้าม CAT TOT ประมูลแย่งชิงงานกันต้องมีคนที่เอกชนร่วมด้วย (เหตุเพราะผู้ถือหุ้นใหญ่คนเดียวกัน อาจเข้าข่ายฮั้วประมูล) กนร.เห็นชอบหลักการแผนพลิกฟื้นฐานะการเงิน CAT TOT แล้ว


ประเด็นหลัก



นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เมื่อเร็วๆนี้ ได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลางไปพิจารณาทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าร่วมประประกวดราคาของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้สามารถเข้าร่วมประกวดราคาแข่งขันกับเอกชนได้

หลังข้อกฎหมายเดิมกำหนดไม่ให้ทั้งหน่วยงานทั้งสองรายเข้าร่วมประกวดราคาพร้อมกัน เนื่องจากมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงเข้าข่ายกระทำความผิดตามพ.ร.บ.ฮั้วประมูลได้ ซึ่งการปรับแก้กฎหมายครั้งนี้ เป็นผลมาจากลดบทบาทความรับผิดชอบของหน่วยงานลงจากเดิมที่เป็นผู้ควบคุมกำกับการให้บริการ และให้บริการการ มาเป็นผู้ให้บริการอย่างเดียว โดยหน้าที่กำกับกิจการได้ถูกโอนให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ดูแลแทน



นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ กล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์เพื่อพลิกฟื้นฐานะการเงินของบมจ. ทีโอที ประจำปี 56-59 และบมจ. กสท โทรคมนาคม ประจำปี 56-60 กนร.มีความเห็นว่าการจัดทำแผนของทั้ง 2 องค์กรมีสมมติฐานและปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจที่ทั้ง 2 องค์กรดำเนินการอยู่ แต่โดยที่แผนดังกล่าวจะส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กรทั้ง CAT และ TOT จึงเห็นชอบในหลักการ และให้นำข้อสังเกตของฝ่ายเลขานุการไปประกอบการปรับปรุงแผนฯ ต่อไป



 ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลางไปพิจารณาทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าร่วมประกวดราคาของ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม ให้สามารถเข้าร่วมประกวดราคาแข่งขันกับเอกชนได้ หลังข้อกฎหมายเดิมกำหนดไม่ให้หน่วยงานทั้ง 2 รายเข้าร่วมประกวดราคาพร้อมกัน เนื่องจากมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ดังนั้นจึงเข้าข่ายกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้วประมูลได้ ซึ่งการปรับแก้กฎหมายครั้งนี้เป็นผลมาจากการลดบทบาทความรับผิดชอบของหน่วยงานลง จากเดิมที่เป็นผู้ควบคุมกำกับการให้บริการและให้บริการ มาเป็นผู้ให้บริการอย่างเดียว โดยหน้าที่กำกับกิจการได้ถูกโอนให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ดูแลแทนแล้ว
    “หลังมีหน่วยงานเข้ามากำกับดูแล และมีกรอบกฎหมายใหม่แล้ว บทบาทตรงนี้ก็ถูกแยกไป จึงต้องมาทบทวน โดยเฉพาะสิทธิ์เข้าร่วมการประมูลการให้บริการต่างๆ เชื่อว่าหากให้ 2 หน่วยงานเข้ามาร่วมประมูลก็น่าจะมีความเหมาะสม เพราะจะได้เกิดการแข่งขันกัน” นายกิตติรัตน์กล่าว.


______________________________________







กนร.เห็นชอบหลักการแผนยุทธศาสตร์พลิกฟื้นฐานะการเงิน ทีโอที-กสท.



นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ กล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์เพื่อพลิกฟื้นฐานะการเงินของบมจ. ทีโอที ประจำปี 56-59 และบมจ. กสท โทรคมนาคม ประจำปี 56-60 กนร.มีความเห็นว่าการจัดทำแผนของทั้ง 2 องค์กรมีสมมติฐานและปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจที่ทั้ง 2 องค์กรดำเนินการอยู่ แต่โดยที่แผนดังกล่าวจะส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กรทั้ง CAT และ TOT จึงเห็นชอบในหลักการ และให้นำข้อสังเกตของฝ่ายเลขานุการไปประกอบการปรับปรุงแผนฯ ต่อไป


ทั้งนี้ ในการประชุม กนร. ยังได้มีมติรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการของรัฐวิสาหกิจจำนวน 5 แห่ง ซึ่งประกอบด้วย บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด องค์การสะพานปลา องค์การตลาด องค์การคลังสินค้า และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร

สำหรับภาพรวมผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจประจำปี 55 ปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจในการกำกับดูแลของงกระทรวงการคลังจำนวน 56 แห่ง ใน 9 สาขา ซึ่งมีทรัพย์สินรวมเท่ากับ 10.98 ล้านล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 54 คิดเป็นร้อยละ 10.85) มีรายได้รวมเท่ากับ 4.95 ล้านล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.21) และมีกำไรสุทธิเท่ากับ 289,167 ล้านบาท(เพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.45)

นอกจากนี้ในปี 55 รัฐวิสาหกิจยังสามารถนำส่งรายได้แผ่นดินสูงถึง 122,749 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการรายได้นำส่งถึง 18,749 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15.27 อีกทั้งยังสามารถเบิกจ่าย งบลงทุนได้ถึงร้อยละ 80.0 ของงบลงทุนที่ได้อนุมัติจำนวน 378,494 ล้านบาท และสำหรับในปี 2556 รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม ณ เดือนมีนาคม 56 ไปแล้วจำนวน 60,966 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 70.5 ของงบลงทุนสะสมตั้งแต่ต้นปี

อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq03/1652727

_______________________________________


คลังจี้ทบทวนคำสั่งห้ามทีโอที-กสท.แข่งประมูล

กิตติรัตน์สั่งกรมบัญชีกลางทบทวนข้อกำหนดห้าม"ทีโอที-กสท"เข้าแข่งขันประมูล หลังมีหน่วยงานมากำกับดูแลแล้ว


นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เมื่อเร็วๆนี้ ได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลางไปพิจารณาทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าร่วมประประกวดราคาของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้สามารถเข้าร่วมประกวดราคาแข่งขันกับเอกชนได้

หลังข้อกฎหมายเดิมกำหนดไม่ให้ทั้งหน่วยงานทั้งสองรายเข้าร่วมประกวดราคาพร้อมกัน เนื่องจากมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงเข้าข่ายกระทำความผิดตามพ.ร.บ.ฮั้วประมูลได้ ซึ่งการปรับแก้กฎหมายครั้งนี้ เป็นผลมาจากลดบทบาทความรับผิดชอบของหน่วยงานลงจากเดิมที่เป็นผู้ควบคุมกำกับการให้บริการ และให้บริการการ มาเป็นผู้ให้บริการอย่างเดียว โดยหน้าที่กำกับกิจการได้ถูกโอนให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ดูแลแทน

"หลังมีหน่วยงานเข้ามากำกับดูแล และมีกรอบกฎหมายใหม่แล้ว บทบาทตรงนี้ก็ถูกแยกไป จึงต้องมาทบทวน โดยเฉพาะสิทธิการเข้าร่วมการประมูลการให้บริการต่างๆ แต่ถ้าจะเข้าร่วมประมูลกันแค่ 2 รายคงไม่ถูกแน่ ดังนั้นจึงต้องดูว่าในการประมูลที่มีเอกชนเข้าด้วยอาจจะมีเอกชน 1 ราย เข้ามาร่วมแข่งขัน แล้วมี 2หน่วยงานนี้เข้าร่วมด้วย ก็น่าจะมีความเหมาะสมเพราะจะได้เกิดการแข่งขันกัน และจะมีประโยชน์กับภาครัฐด้วย"

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130517/506218/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8
%87%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%99%E
0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%
B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5-
%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97.%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%
B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5.html



AISประเดิม21พ.ค./เปิดทาง'ทีโอที-กสท'ประมูลแข่งเอกชน


เศรษฐกิจ 18 May 2556 - 00:00

  กสทช.เอาจริง 3 ค่ายเสียงอ่อย ยอมลดราคา 15% ทุกแพ็กเกจ พร้อมลดค่าบริการโอนย้ายค่ายเหลือ 39 บาท ดีเดย์ 21 พ.ค.นี้ “กิตติรัตน์” สั่งเปิดช่องทีโอที-กสท ประมูลแข่งเอกชน
    นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยว่า การหารือระหว่าง กสทช.กับผู้ให้บริการ 3G ใหม่ทั้ง 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส จำกัด, บริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า ทั้ง 3 รายจะลดราคาค่าบริการรายเดือนที่มีอยู่เดิมลง 15% ทุกแพ็กเกจ ทั้งนี้ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส จะเริ่มเป็นรายแรก ในวันที่ 21 พ.ค. ตามด้วยบริษัท เรียลฟิวเจอร์ เดือน มิ.ย. ส่วนดีแทคจะลดราคาเป็นรายสุดท้าย เนื่องจากขณะนี้ยังไม่ได้เปิด 3G ใหม่อย่างเป็นทางการ
    สำหรับการลดราคาทุกแพ็กเกจลงครั้งนี้ ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นแพ็เกจ 3G ใหม่เท่านั้น แต่ลูกค้าที่ใช้ในปัจจุบันก็จะได้ราคาถูกลงโดยอัตโนมัติ เช่น แพ็กเกจ 399 บาท จะลดลงเหลือ 340 บาท เป็นต้น และราคานี้จะเป็นราคากลางที่ใช้กำหนดค่าบริการในระบบ 3G ใหม่ ซึ่ง กสทช.อยู่ระหว่างตรวจสอบแพ็กเกจ 3G ของทุกค่ายว่าได้ลดราคาลง 15% จริงหรือไม่
    นอกจากนี้ทั้ง 3 ค่ายยังพร้อมที่จะลดราคาค่าบริการเปลี่ยนค่ายเบอร์เดิม หรือบริการคงสิทธิ์เลขหมาย จาก 99 บาท เหลือ 39 บาท ซึ่งเตรียมเสนอคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. อนุมัติวันที่ 21 พ.ค.นี้ โดยหลังจาก กทค.อนุมัติ จะเรียกเก็บที่ราคา 39 บาท เป็นเวลา 2 เดือน หลังจากนั้นจะลดลงเหลือ 29 บาท หรืออาจถูกกว่าหากมีการโอนย้ายจำนวนมาก รวมทั้งได้ขยายปริมาณการย้ายเพิ่มจาก 4 หมื่นเลขหมาย เป็น 3 แสนเลขหมายต่อวันด้วย
    ในขณะที่การร้องเรียนเรื่องคุณภาพการใช้งานดาต้าที่ไม่เร็วจริง ทาง กสทช.ได้เร่งให้ทุกรายปรับปรุงและขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมมากขึ้น แต่ในส่วนของดีแทคได้ชี้แจงว่า เนื่องจากยังไม่ได้เริ่มเปิดอย่างเป็นทางการ สัญญาณจึงยังไม่ใช่ 3G เต็มรูปแบบ
    ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลางไปพิจารณาทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าร่วมประกวดราคาของ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม ให้สามารถเข้าร่วมประกวดราคาแข่งขันกับเอกชนได้ หลังข้อกฎหมายเดิมกำหนดไม่ให้หน่วยงานทั้ง 2 รายเข้าร่วมประกวดราคาพร้อมกัน เนื่องจากมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ดังนั้นจึงเข้าข่ายกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้วประมูลได้ ซึ่งการปรับแก้กฎหมายครั้งนี้เป็นผลมาจากการลดบทบาทความรับผิดชอบของหน่วยงานลง จากเดิมที่เป็นผู้ควบคุมกำกับการให้บริการและให้บริการ มาเป็นผู้ให้บริการอย่างเดียว โดยหน้าที่กำกับกิจการได้ถูกโอนให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ดูแลแทนแล้ว
    “หลังมีหน่วยงานเข้ามากำกับดูแล และมีกรอบกฎหมายใหม่แล้ว บทบาทตรงนี้ก็ถูกแยกไป จึงต้องมาทบทวน โดยเฉพาะสิทธิ์เข้าร่วมการประมูลการให้บริการต่างๆ เชื่อว่าหากให้ 2 หน่วยงานเข้ามาร่วมประมูลก็น่าจะมีความเหมาะสม เพราะจะได้เกิดการแข่งขันกัน” นายกิตติรัตน์กล่าว.


http://www.thaipost.net/news/180513/73707

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.