Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

2 พฤษภาคม 2556 (CATต้องออกพลังสู้แน่นอน) กทค.ยกร่างประกาศเฉพาะกิจ ยึดคลื่น1800++ให้เอกชนรายเดิมไม่มุ่งหาลูกค้าใหม่ (หากผู้ประมูล 4G 1800 ชนะ แถมลูกค้าลูกที่ไม่ยอมไปให้)


ประเด็นหลัก



โดยมติที่ประชุมดังกล่าวนี้ออกมา 3 แนวทาง ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการฯ คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เตรียมยกร่างประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการเฉพาะกิจหลังจากที่สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง จะต้องไม่ใช่การขยายสัมปทาน เอกชนรายเดิมไม่มุ่งหาลูกค้าใหม่ ซึ่งจะมีการกำหนดกรอบเวลาว่าในช่วงการให้บริการเฉพาะกิจนี้ จะให้ทรูมูฟและดีพีซี สามารถให้บริการลูกค้ารายเดิมในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น ช่วงเฉพาะกิจผู้ใช้บริการต้องไม่มีซิมดับ และในระหว่างนั้น ผู้ประกอบการเอกชนรวมทั้ง กสทช.เองจะต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคโอนย้ายไปยังระบบอื่น ซึ่งร่างประกาศฯ นี้ คาดว่าภายในก.ค.ต้องมีชัดเจน และเปิดให้มีการรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) อย่างเร่งด่วนด้วย

2.ในระหว่างช่วงมีการให้บริการเป็นการเฉพาะกิจนี้ ผู้ประกอบการทั้ง 5 รายในตลาดที่มีการลงนามในการทำเอ็มโอยูกับบริษัท เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ จำกัด จะต้องมีการเพิ่มความจุโครงข่ายสำหรับบริการคงสิทธิเลขหมาย หากลูกค้ายังคงเหลือจนถึงในวันที่เกิดการประมูลคลื่น 1800 สำหรับการให้บริการ 4จี ในปลายปี 2557 จะมีการส่งต่อไปยังผู้ที่ชนะการประมูลคลื่น 1800 ต่อไปในอนาคต และ 3.สร้างประกาศฯ รองรับให้กสทช.มีฐานะทางกฎหมาย ยืนยันว่า กสทช.มีสิทธิในการออกมาตรการชั่วคราวได้ในอำนาจการใช้งานและสิทธิในการบริหารจัดการคลื่น

"ต้องทำงานเป็นการฟูลไทม์อนุฯ ชุดนี้จะประชุมทุกวันอังคารสัปดาห์เว้นสัปดาห์ เชื่อว่างานน่าจะเสร็จทัน โดยส่วนตัวนี้ระบบโทรคมนาคมเสรี ยังทำงานไม่เต็มที่เพราะมีคลื่นที่ถูกสัมปทานจับจองอยู่ หัวใจของระบบเสรีคือการจัดสรรใหม่ ไม่ต้องการเห็นรัฐมาทำต่อเป็นผู้ประกอบการต่อไป หากจะทำก็ต้องมาขอรับไลเซ่นส์เหมือนกับเอกชน เพราะมันคือตลาดเสรี หากไม่ทำอะไรจะเกิดเหตุการณ์ซิมดับผู้บริโภค 18 ล้านคนได้รับผลกระทบ กสทช.ต้องรับผิดชอบ" นายแก้วสรร กล่าว

ส่วน นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ในการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 1 ชุด ในการวางเงื่อนไขการประมูลสำหรับบริหารงานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้นการประมูล การเลือกแบบวิธีการประมูล ซึ่งกรอบเวลาประมูลใบอนุญาตยังเป็นตามเดิมคือประมูลในช่วงไตรมาส 3 ปี 2557.


______________________________________




กทค.ยกร่าง 'ประกาศเฉพาะกิจ' คุมสิ้นสุดสัมปทาน1800GHz


ที่ประชุมอนุกรรมการฯ กรอบ 1800 เมกะเฮิรตซ์ บังคับใช้หลังสิ้นสัมปทาน 16 ก.ย.นี้ ยันดูแลลูกค้าเต็มที่ ป้องเอกชนใช้โอกาสหาประโยชน์จากคลื่นความถี่โทรคมนาคม...

เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2556 พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการฯ นัดแรกว่า ที่ประชุมได้กำหนดกรอบระยะเวาลาการดำเนินงานการเตรียมการก่อนสิ้นสัญญาสัมปทาน และการติดตามผลการดำเนินงาน คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 16 กันยายน 2556 ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้สัญญาสัมปทาน กับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี รวมถึงการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 1 ชุด เพื่อยกร่างการทำเงื่อนไขการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์

ทั้งนี้ กรอบเวลาในการทำงานแบ่งออกเป็น 1.งานออกประกาศเรื่องการกำหนดวันหยุดให้บริการ โดยกำหนดเป้าหมายไว้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ 2.งานขยายศักยภาพระบบย้ายบริการโดยบริการคงสิทธิเลขหมาย หรือ นัมเบอร์พอทบิลิตี้ กำหนดเป้าหมายไว้วันที่ 15 กันยายน 2556 3.งานพัฒนาเงื่อนไขทางการประมูล (ทีโออาร์) ประกาศทีโออาร์ เปิดรับคำขอให้อนุญาตใช้คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ได้จาก กสท 4.ผู้ได้รับอนุญาตเตรียมการจนพร้อมใช้คลื่น และให้ ทรูมูฟ ต้องหยุดให้บริการราวเดือน มิถุนายน-พฤศจิกายน 2557

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า การประชุมเป็นการพิจารณาหามาตรการเยียวลูกค้าและดูแลลูกค้าในระบบ 2จี ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทาน โดยในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสัญญาสัมปทานไปสู่ใบอนุญาตเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งจะไม่ใช่ลักษณะการขยายระยะเวลาในการให้สัมปทานแก่เอกชน ไม่ใช่การต่ออายุสัมปทาน แต่จะเป็นลักษณะการกำหนดมาตรการเยียวยาในช่วงเปลี่ยนผ่าน

ด้าน นายแก้วสรร อติโพธิ หัวหน้าคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้ความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กล่าวว่า จากการรับฟังการสรุปผลการศึกษาคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในภาพรวมและได้รับรายงานเกี่ยวกับมติของ กทค. เกี่ยวกับการวางกรอบการให้บริการบนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ยืนยันว่าหากสิ้นสุดสัมปทานแล้วจำเป็นต้องส่งมอบอำนาจการถือครองและสิทธิในคลื่นดังกล่าวมายัง กสทช.ทันทีที่สัมปทานสิ้นสุดลง โดย กสท และผู้รับใบอนุญาตรายเดิมไม่มีสิทธิอ้างการปรับปรุงคลื่นได้

โดยมติที่ประชุมดังกล่าวนี้ออกมา 3 แนวทาง ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการฯ คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เตรียมยกร่างประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการเฉพาะกิจหลังจากที่สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง จะต้องไม่ใช่การขยายสัมปทาน เอกชนรายเดิมไม่มุ่งหาลูกค้าใหม่ ซึ่งจะมีการกำหนดกรอบเวลาว่าในช่วงการให้บริการเฉพาะกิจนี้ จะให้ทรูมูฟและดีพีซี สามารถให้บริการลูกค้ารายเดิมในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น ช่วงเฉพาะกิจผู้ใช้บริการต้องไม่มีซิมดับ และในระหว่างนั้น ผู้ประกอบการเอกชนรวมทั้ง กสทช.เองจะต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคโอนย้ายไปยังระบบอื่น ซึ่งร่างประกาศฯ นี้ คาดว่าภายในก.ค.ต้องมีชัดเจน และเปิดให้มีการรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) อย่างเร่งด่วนด้วย

2.ในระหว่างช่วงมีการให้บริการเป็นการเฉพาะกิจนี้ ผู้ประกอบการทั้ง 5 รายในตลาดที่มีการลงนามในการทำเอ็มโอยูกับบริษัท เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ จำกัด จะต้องมีการเพิ่มความจุโครงข่ายสำหรับบริการคงสิทธิเลขหมาย หากลูกค้ายังคงเหลือจนถึงในวันที่เกิดการประมูลคลื่น 1800 สำหรับการให้บริการ 4จี ในปลายปี 2557 จะมีการส่งต่อไปยังผู้ที่ชนะการประมูลคลื่น 1800 ต่อไปในอนาคต และ 3.สร้างประกาศฯ รองรับให้กสทช.มีฐานะทางกฎหมาย ยืนยันว่า กสทช.มีสิทธิในการออกมาตรการชั่วคราวได้ในอำนาจการใช้งานและสิทธิในการบริหารจัดการคลื่น

"ต้องทำงานเป็นการฟูลไทม์อนุฯ ชุดนี้จะประชุมทุกวันอังคารสัปดาห์เว้นสัปดาห์ เชื่อว่างานน่าจะเสร็จทัน โดยส่วนตัวนี้ระบบโทรคมนาคมเสรี ยังทำงานไม่เต็มที่เพราะมีคลื่นที่ถูกสัมปทานจับจองอยู่ หัวใจของระบบเสรีคือการจัดสรรใหม่ ไม่ต้องการเห็นรัฐมาทำต่อเป็นผู้ประกอบการต่อไป หากจะทำก็ต้องมาขอรับไลเซ่นส์เหมือนกับเอกชน เพราะมันคือตลาดเสรี หากไม่ทำอะไรจะเกิดเหตุการณ์ซิมดับผู้บริโภค 18 ล้านคนได้รับผลกระทบ กสทช.ต้องรับผิดชอบ" นายแก้วสรร กล่าว

ส่วน นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ในการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 1 ชุด ในการวางเงื่อนไขการประมูลสำหรับบริหารงานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้นการประมูล การเลือกแบบวิธีการประมูล ซึ่งกรอบเวลาประมูลใบอนุญาตยังเป็นตามเดิมคือประมูลในช่วงไตรมาส 3 ปี 2557.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/342433

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.