Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 พฤษภาคม 2556 (บทความ) 3G 4G 5 นาทีจอด ??? // ชี้ มาตารฐาน หากดู DVD ผ่าน3G ต้องเตรียมเงินไว้1,843 บาท ( ไฟล์ขนาด 2764 MB (2.7GB) /1.5 บาท (ค่าบริการตามปริมาณข้อมูล 1.5 บาทต่อ 1 MB) = 1,843 บาท


ประเด็นหลัก



 จะมีก็แต่ค่ายทรูมูฟ เอช ที่เปิดบริการเพิ่มเติมโดยยกระดับไปสู่การเปิดบริการ 4G ก่อนใครด้วยความเร็วสูงสุด 100 Mbps และหากมองดูจากดอกจันทร์เล็กๆของแพกเกจไม่จำกัดในระดับราคา 700-800 บาทจะพบว่าสามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ด้วยจำนวนข้อมูลเพียงประมาณ 3-5 GB เท่านั้น โดยเมื่อใช้ความเร็วสูงสุดครบระบบจะทำการลดความเร็วลงอัตโนมัติตามกฎที่โอเปอเรเตอร์ตั้งกันขึ้นมาโดยมีชื่อเรียกว่า Fair Usage Policy ให้มาอยู่ที่ 64 - 128 Kbps ตามแต่โอเปอเรเตอร์จะกำหนด
   
       Edited - และหากคำนวณที่ความเร็วเพียง 25% จากมาตรฐานความเร็วสูงสุด (42 Mbps) จะเท่ากับความเร็วประมาณ 10.5 Mbps หากผู้บริโภคใช้ความเร็วดังกล่าวเพียงแค่ 40 นาทีจำนวนข้อมูลที่โอเปอเรเตอร์ให้มาอย่างจำกัดภายใต้แพกเกจไม่จำกัดก็จะหมดลงทันที (3072MB (3GB) /10.5*8 = 2340 วินาที หรือประมาณ 39 นาที) ดังนั้นถ้าใช้งานที่ความเร็วสูงสุด 42 Mbps ก็จะใช้งานได้แค่ไม่ถึง 10 นาที และนั่นหมายความว่าความเร็วของคุณจะกลับมาอยู่ที่ความเร็วไม่ต่างจากโมเด็มตลอดทั้งเดือน แล้วเช่นนี้ยังเรียก 3G อยู่หรือไม่


  ย้อนกลับมาที่ประเทศไทยในมิติของราคาค่าบริการเครือข่าย 3G ใหม่ โดยหากมีใครสวนกระแสบอกว่าจะจ่ายราคาเต็มสำหรับการดาวน์โหลดบนความเร็วสูงสุด 42 Mbps เนื่องจากมีเงินเหลือเฟือ โดยคำนวณจากภาพยนตร์หนึ่งเรื่องตามขนาดดีวีดี 1 แผ่น (ประมาณ 2.7 GB) บุคคลผู้นั้นอาจจะต้องเตรียมเงินเพื่อจ่ายค่าดูภาพยนตร์ให้โอเปอเรเตอร์นอกเหนือจากค่าภาพยนตร์กว่า 1,843 บาท ( ไฟล์ขนาด 2764 MB (2.7GB) /1.5 บาท (ค่าบริการตามปริมาณข้อมูล 1.5 บาทต่อ 1 MB) = 1,843 บาท โดยประมาณ) แน่นอนว่าราคาเช่นนี้ดูจะมากกว่าการเดินทางเข้าไปดูภาพยนตร์แบบวีไอพีไม่รู้กี่เท่าตัว และหากเป็นไฟล์แบบบีบอัดก็อาจจะมีขนาดที่เล็กลงกว่านี้ โดยมองว่าแค่เพียง 25% ของไฟล์ที่คำนวณครั้งแรกก็นับว่าเป็นเงินที่มากเกินกว่าการดูภาพยนตร์แบบปกติแล้ว
   
       และจากมุมมองของผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายรายหนึ่งระบุชัดว่า การคิดราคาค่าใช้บริการ มีปัจจัยมาจากความเร็วและปริมาณการรับส่งข้อมูลทั้งสิ้น เนื่องจากการให้บริการกับลูกค้าที่ต้องการความเร็วและปริมาณข้อมูลที่มาก อุปกรณ์สำหรับรองรับบนสถานีฐานจะต้องมีประสิทธิภาพที่มากขึ้นเป็นเงาตามตัว เช่นเดียวกับย่านความถี่ที่จะต้องมีให้เพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้บริการในขณะนั้น และหากมองในมุมที่เป็นจริง นิยามของความพอดีไม่เคยมีอยู่ในเรื่องของความเร็วและปริมาณ เนื่องจากความเร็วที่มากขึ้นย่อมทำให้ผู้ใช้บริการดาวน์โหลดหรืออัปโหลดได้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้ตัว และนั่นหมายถึงค่าบริการมากมายมหาศาลที่ผู้ใช้บริการต้องจ่ายให้โอเปอเรเตอร์หากว่ามีการคิดค่าบริการแบบที่ประเทศไทยทำอยู่นี้
   
       แต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนคือคลื่นความถี่ที่ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ทำให้โอเปอเรเตอร์ต่างปรับกลยุทธ์เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ผู้บริโภคแต่ละรายถล่มเครือข่ายด้วยความเร็วและปริมาณข้อมูลมาเป็นข้อจำกัด
   







______________________________________







3G 4G 5 นาทีจอด ???



แข่งกันเปิดตัวอย่างดุเดือดในสงครามแย่งชิงลูกค้าเครือข่าย 3G ใหม่ บางรายถึงขั้นชิงเปิดบริการ 4G ก่อนใคร ด้วยความเร็วที่มากมายล้นใจ หากแต่การใช้งานจริงกลับมีข้อจำกัดแบบยิบย่อยที่แสนจะหลอกล่อให้ผู้ใช้บริการสนใจเข้ามาติดกับดักโครงข่ายใหม่ ในขณะที่ความเป็นจริงแล้วผู้บริโภคกลับได้ใช้ 3G หรือ 4G แบบจริงแท้เพียงแค่ไม่เกิน 10 นาทีแรกเท่านั้นเอง
     
       ย้อนกลับมาที่มาตรฐาน 3G หากมองในมุมของผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว ประโยชน์ของการใช้งานโครงข่าย 3G ใหม่นี้คือการเข้าอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วขึ้นทั้งการดาวน์โหลดและการอัปโหลด โดยมาตรฐานการดาวน์โหลดของคลื่นความถี่ 2100 MHz อยู่ที่ 42 Mbps ซึ่งผู้ให้บริการทุกค่ายต่างโชว์ความเร็วเช่นนี้เพื่อดึงดูดลูกค้าทั้งสิ้น
     
       จะมีก็แต่ค่ายทรูมูฟ เอช ที่เปิดบริการเพิ่มเติมโดยยกระดับไปสู่การเปิดบริการ 4G ก่อนใครด้วยความเร็วสูงสุด 100 Mbps และหากมองดูจากดอกจันทร์เล็กๆของแพกเกจไม่จำกัดในระดับราคา 700-800 บาทจะพบว่าสามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ด้วยจำนวนข้อมูลเพียงประมาณ 3-5 GB เท่านั้น โดยเมื่อใช้ความเร็วสูงสุดครบระบบจะทำการลดความเร็วลงอัตโนมัติตามกฎที่โอเปอเรเตอร์ตั้งกันขึ้นมาโดยมีชื่อเรียกว่า Fair Usage Policy ให้มาอยู่ที่ 64 - 128 Kbps ตามแต่โอเปอเรเตอร์จะกำหนด
     
       Edited - และหากคำนวณที่ความเร็วเพียง 25% จากมาตรฐานความเร็วสูงสุด (42 Mbps) จะเท่ากับความเร็วประมาณ 10.5 Mbps หากผู้บริโภคใช้ความเร็วดังกล่าวเพียงแค่ 40 นาทีจำนวนข้อมูลที่โอเปอเรเตอร์ให้มาอย่างจำกัดภายใต้แพกเกจไม่จำกัดก็จะหมดลงทันที (3072MB (3GB) /10.5*8 = 2340 วินาที หรือประมาณ 39 นาที) ดังนั้นถ้าใช้งานที่ความเร็วสูงสุด 42 Mbps ก็จะใช้งานได้แค่ไม่ถึง 10 นาที และนั่นหมายความว่าความเร็วของคุณจะกลับมาอยู่ที่ความเร็วไม่ต่างจากโมเด็มตลอดทั้งเดือน แล้วเช่นนี้ยังเรียก 3G อยู่หรือไม่
     
       กสทช. ผู้ที่เพิ่งได้รับรางวัลการเป็นเลิศในมาตรฐานการหลอมรวมในด้านโทรคมนาคม วิทยุและการกระจายเสียง จากงาน7th NTA ICT World Communication Awards ที่ประเทศอินเดียมาหมาดๆ ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลผู้ให้บริการโทรคมนาคมไทย แต่กลับเปิดช่องให้ผู้บริการตั้งกฎ Fair Usage Policy(FUP) หรือการจำกัดความเร็วในการใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์มือถือสำหรับการเชื่อมต่อดาต้าเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตหลังจากครบปริมาณที่ผู้ให้บริการกำหนดไว้ จนทำให้ผู้บริโภคเสียสิทธิ์ในการใช้งานโครงข่าย 3G ด้วยความเร็ว 3Gในทางปฏิบัติไปโดยปริยาย
     
       เพราะท้ายที่สุดแล้วการใช้งานส่วนใหญ่จะตกไปอยู่บนความเร็วที่ไม่ต่างจากระบบโมเด็มเท่าไหร่นัก ทำให้หลังจากที่คนไทยรอคอย 3G มานานกว่า 5 ปี สิ่งที่หน่วยงานกำกับดูแลสามารถมอบให้ชาวไทยได้คือความเร็ว 3G ในเวลาไม่เกิน 10 นาทีต่อเดือนเท่านั้น นับว่าควรค่าแก่รางวัลที่เวทีโลกยกย่องเป็นอย่างยิ่ง
     
       รายงานฉบับหนึ่งจากโนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิร์คส์ ผู้ให้บริการเครือข่าย4G LTE ในประเทศเกาหลีระบุว่า เกาหลีใต้เป็นประเทศแรกที่รัฐบาลทำการประเมินคุณภาพของเครือข่าย4G LTE ทั่วประเทศ โดยคณะกรรมการการสื่อสาร ประเทศเกาหลี ได้พัฒนาโปรแกรมการประเมินสัญญาณ4G LTE อย่างละเอียด เพื่อตรวจวัดประสิทธิภาพของการใช้งานเครือข่ายจากปัจจัย ผลสำเร็จของการโทร. ประสิทธิภาพการทำงานของระบบ การเข้าถึงสัญญาณ ความเที่ยงตรง ความสามารถในการเคลื่อนย้าย ความเร็วการอัปโหลด และความเร็วในการดาวน์โหลด เพื่อสะท้อนประสิทธิภาพของการให้บริการจากโอเปอเรเตอร์ โดยวัดอัตราผลสำเร็จในทุกเมืองใหญ่และจังหวัดต่างๆทั่วทั้งประเทศเกาหลี และนั่นคือการทำงานเพื่อควบคุมให้โอเปอเรเตอร์พัฒนาและปรับปรุงบริการอย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติ จากภาครัฐของประเทศเกาหลีเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง
     
       ย้อนกลับมาที่ประเทศไทยในมิติของราคาค่าบริการเครือข่าย 3G ใหม่ โดยหากมีใครสวนกระแสบอกว่าจะจ่ายราคาเต็มสำหรับการดาวน์โหลดบนความเร็วสูงสุด 42 Mbps เนื่องจากมีเงินเหลือเฟือ โดยคำนวณจากภาพยนตร์หนึ่งเรื่องตามขนาดดีวีดี 1 แผ่น (ประมาณ 2.7 GB) บุคคลผู้นั้นอาจจะต้องเตรียมเงินเพื่อจ่ายค่าดูภาพยนตร์ให้โอเปอเรเตอร์นอกเหนือจากค่าภาพยนตร์กว่า 1,843 บาท ( ไฟล์ขนาด 2764 MB (2.7GB) /1.5 บาท (ค่าบริการตามปริมาณข้อมูล 1.5 บาทต่อ 1 MB) = 1,843 บาท โดยประมาณ) แน่นอนว่าราคาเช่นนี้ดูจะมากกว่าการเดินทางเข้าไปดูภาพยนตร์แบบวีไอพีไม่รู้กี่เท่าตัว และหากเป็นไฟล์แบบบีบอัดก็อาจจะมีขนาดที่เล็กลงกว่านี้ โดยมองว่าแค่เพียง 25% ของไฟล์ที่คำนวณครั้งแรกก็นับว่าเป็นเงินที่มากเกินกว่าการดูภาพยนตร์แบบปกติแล้ว
     
       และจากมุมมองของผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายรายหนึ่งระบุชัดว่า การคิดราคาค่าใช้บริการ มีปัจจัยมาจากความเร็วและปริมาณการรับส่งข้อมูลทั้งสิ้น เนื่องจากการให้บริการกับลูกค้าที่ต้องการความเร็วและปริมาณข้อมูลที่มาก อุปกรณ์สำหรับรองรับบนสถานีฐานจะต้องมีประสิทธิภาพที่มากขึ้นเป็นเงาตามตัว เช่นเดียวกับย่านความถี่ที่จะต้องมีให้เพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้บริการในขณะนั้น และหากมองในมุมที่เป็นจริง นิยามของความพอดีไม่เคยมีอยู่ในเรื่องของความเร็วและปริมาณ เนื่องจากความเร็วที่มากขึ้นย่อมทำให้ผู้ใช้บริการดาวน์โหลดหรืออัปโหลดได้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้ตัว และนั่นหมายถึงค่าบริการมากมายมหาศาลที่ผู้ใช้บริการต้องจ่ายให้โอเปอเรเตอร์หากว่ามีการคิดค่าบริการแบบที่ประเทศไทยทำอยู่นี้
     
       แต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนคือคลื่นความถี่ที่ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ทำให้โอเปอเรเตอร์ต่างปรับกลยุทธ์เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ผู้บริโภคแต่ละรายถล่มเครือข่ายด้วยความเร็วและปริมาณข้อมูลมาเป็นข้อจำกัด
     
       ก็ได้แต่หวังว่า 3G ที่แท้จริงแบบมาตรฐานโลกที่หลายๆค่ายต่างประโคมเรียกลูกค้า จะไม่ใช่เพียงการแหกตาผู้บริโภคหากมีการกำกับดูแลอย่างจริงจังและลงลึกถึงรายละเอียดที่ผู้บริโภคควรจะได้รับบริการ แน่นอนว่าการรอคอยโครงข่าย 3G มานานกว่า 5ปีทำให้ผู้บริโภครู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ใช้ความเร็วระดับ 42Mbps หรืออย่างน้อยก็ขอให้ได้พบเจอสิ่งที่เรียกว่าความเร็วบ้างไม่ใช่ขึ้นต้นเป็นเจ๊ตสกีแต่ลงท้ายเหลือแค่เรือแจว หรือ โหมโปรโมตความเร็วกัน 42 Mbps บ้าง 100 Mbpsบ้าง แต่สุดท้ายเมื่อใช้งานจริงแค่ไม่เกิน 10 นาทีจอด
     
       ***FUP คืออะไร ใครกำหนด
     
       Fair Usage Policy หรือ FUP เป็นนโยบายที่ตั้งขึ้นจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ โดยเริ่มใช้ในช่วงการเปิดทดลองใช้คลื่นความถี่ 3G โดยมีการจำกัดสิทธิ์ของความเร็วเพื่อกระจายการทดสอบการใช้งานโครงข่ายให้มีการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น และเป็นการป้องกันผู้ที่ใช้ความเร็ว 3G แบบผิดวัตถุประสงค์ นั่นหมายถึงการโหลดข้อมูลปริมาณมากๆเป็นต้น
     
       การป้องกันดังกล่าวจึงจำกัดสิทธิ์การใช้งานความเร็วออกมาเป็นจำนวนปริมาณข้อมูลที่สามารถใช้งานความเร็วสูงสุดได้ และเมื่อปริมาณข้อมูลถึงจำนวนสูงสุดแล้ว ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลจะลดลงเหลือเพียงแค่ ความเร็ว 64 - 384 Kbps ตามแต่ผู้ให้บริการรายนั้นๆจะกำหนด เทียบกับผู้ให้บริการในประเทศออสเตรเลียที่มีการจำกัดความเร็วอยู่ที่ 256 Kbps ตามเงื่อนไข FUP
     
       ***เพิ่มเติม***
     
       ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (หน้า ๒๐ เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง ราชกิจจานุเบกษา ๕ ตุลาคม ๒๕๕๕)
     
       ในภาคผนวกแนบท้าย ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในหัวข้อที่ 2.4 ความเร็วเฉลี่ยในการส่งข้อมูลของ FTP (FTP mean data rate) 1.กรณี Download สำหรับ 3G ขึ้นไป ไม่ต่ำกว่า 345 kbps (ร้อยละ 90 ของ Peak bit rate ของ UMTS R99) สำหรับร้อยละ 75 ของการรับส่ง FTP ที่สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด(Timeout)
     
       - สำหรับ 2G ไม่ต่ำกว่า 48 kbps (ร้อยละ 80 ของ Peak bit rate ของ GPRS Multi-Slot Class 9 ที่ใช้ 3 Timeslot (60 kbps)) สำหรับร้อยละ 75 ของการรับส่ง FTP ที่สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด
     
       2.กรณี Uploadสำหรับ 3G ขึ้นไป ไม่ต่ำกว่า 153 kbps (ร้อยละ 40 ของ Peak bit rate ของUMTS R99 (384 kbps)) สำหรับร้อยละ75ของการรับส่ง FTP ที่สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด (Timeout)
     
       - สำหรับ 2G ไม่ต่ำกว่า 20 kbps (ร้อยละ 50 ของ Peak bit rate ของ GPRS Multi-Slot Class 9 ที่ใช้ 2 Timeslot (40 kbps)) สำหรับร้อยละ 75ของการรับส่งFTP ที่สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000060298

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.