Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 พฤษภาคม 2556 เกียรตินาคินฯชี้ TRUE H มีรายได้มากกว่า 5 พันล้านบาทต่อปี // หาก TREU สนออกกองทุนอินฟราฯ 5-6 หมื่นล.สามารถดำเนินการได้โดยการนำรายได้ในอนาคตจากการให้บริการเช่าเสาโครงข่ายได้

ประเด็นหลัก


 ด้านความเห็นของนักวิเคราะห์ โดยนางสาวมินทรา  รัตยาภาส นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เกียรตินาคินฯ กล่าวว่า  สำหรับแนวทางการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของทรูนั้น เบื้องต้นสามารถดำเนินการได้โดยการนำรายได้ในอนาคตจากการให้บริการเช่าเสาโครงข่าย และสินทรัพย์บางส่วนที่จะต้องขายเข้ากองทุนเช่นเดียวกับ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง
    "หากทรูจัดตั้งกองทุนขึ้นมาได้ ก็จะมีขนาดใหญ่ทีเดียว คาดว่าไม่น้อยกว่า 5-6 หมื่นล้านบาท "
    นักวิเคราะห์บล.เกียรตินาคินฯ กล่าวว่าปัจจุบันทรูยังมีขาดทุนสะสม 5-6 หมื่นล้านบาทหลังจากที่มีการลงทุนขนาดใหญ่ไปแล้ว ทั้ง 3 จี บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้ยังมีหนี้ระยะยาว 8 หมื่นกว่าล้านบาท จึงส่งผลต่อความสามารถในการก่อหนี้เพิ่ม ทั้งการกู้เงินเนื่องจากสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่สูงถึง 6 เท่า  รวมถึงการเพิ่มทุน และการออกหุ้นกู้ ซึ่งที่ผ่านมาการออกหุ้นกู้ส่วนใหญ่เพื่อยืดระยะเวลาคืนหนี้หรือที่เรียกว่าโรลโอเวอร์หนี้ก้อนเดิมเท่านั้น
    นอกจากนี้ทรูยังต้องมีการลงทุนเพิ่มหลังจากประมูลใบอนุญาต 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกกะเฮิรตซ์ ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า มูลค่า 3-4 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามในอนาคตทรูจะมีรายได้เข้ามาต่อเนื่องในส่วนของค่าเช่าบริการโครงข่าย ซึ่งปัจจุบันจะอยู่ในกลุ่มทรูโมบาย คือ ทรูมูฟเอช ซึ่งเริ่มให้บริการเต็มตัวเมื่อปี 2555 โดยมีรายได้ประมาณ 5 พันล้านบาทต่อปี แต่ในอนาคตหากมีรายอื่นเพิ่มเข้ามา โอกาสการเพิ่มรายได้จากค่าเช่าก็จะสูงกว่า 5 พันล้านบาทต่อปี


_____________________________



ทรู'สนออกกองทุนอินฟราฯ 5-6 หมื่นล.

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานฮอต  ล่าสุด"ทรู"สนใจระดมทุน รับอยู่ระหว่างศึกษาเชิงลึก เผยเหตุได้ประโยชน์รัฐยกเว้นภาษี 10 ปี  อีกทั้งต้องการนำทรัพย์สินมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทรูมูฟ -ทรูมูฟ เอช ที่กระจายทั่วประเทศ ก.ล.ต.เผยทรูมาหารือ คาดโมเดลเดียวกับกองทุนบีทีเอส มูลค่าระดมทุน 5-6 หมื่นล้านบาท แย้มมีภาคเอกชน-รัฐวิสาหกิจสนใจอีกเพียบ ที่ปรึกษาทางการเงิน จ้องทึ้งดีลยักษ์

    ความเคลื่อนไหวการออกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรืออินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ เครื่องมือการระดมทุนรูปแบบใหม่  คึกคักขึ้นเรื่อย ๆ หลังกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท ( BTSGIF)  ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ได้ประเดิมออกเจ้าแรกช่วงเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ด้วยมูลค่าการระดมทุนที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง  6.25  หมื่นล้านบาท
***"ทรู"เล็งออกกองทุนอินฟราฯ
    นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด ( มหาชน)(บมจ.)(TRUE) เปิดเผย""ฐานเศรษฐกิจ"ว่ากลุ่มทรูมีความสนใจในการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เหตุผลเนื่องจากรัฐบาลยกเว้นภาษีเป็นระยะเวลา 10 ปี  ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาในเชิงลึก
    ส่วนอีกหนึ่งประเด็น คือ ทรัพย์สิน โดยเฉพาะเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ทรูมูฟ และ ทรูมูฟ เอช ที่มีอยู่ทั่วประเทศนั้นสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกทางหนึ่ง กล่าวคือ สามารถให้เอกชนที่สนใจเข้ามาใช้โครงข่ายร่วมกันเพื่อประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดการ
    อย่างไรก็ตาม ทรู ยังมีข้อกังวลใจเช่นเดียวกันเพราะโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไม่ได้ผูกขาดเหมือนอย่างการไฟฟ้า และ รถไฟ เนื่องจากโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในขณะนี้แม้จะเปิดเสรีอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)แต่ยังผูกโยงกันหลายส่วนทั้งในเรื่องของสัญญาสัมปทานระหว่าง ทรู กับบมจ.ทีโอที และบมจ.กสทโทรคมนาคม รวมไปถึงการเกี่ยวโยงกับระดับผู้คุมกระทรวง คือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที อีกด้วย
***คาดขนาดกองทุน 6 หมื่นล้าน      
    นายวรพล  โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) กล่าวว่าทางทรูพร้อมด้วยทีมที่ปรึกษาทางการเงินเข้ามาปรึกษาถึงแนวทางการจัดตั้งกองทุนแล้ว ซึ่งเบื้องต้นสามารถจัดตั้งได้เช่นเดียวกับบมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์  ที่นำรายได้ในอนาคตมาออกกองทุน ซึ่งทรูเองก็มี คือ รายได้ค่าเช่าเสาส่งสัญญาณโครงข่าย เป็นต้น
    สำหรับขนาดของกองทุนที่ทรูสนใจจัดตั้งคาดว่าคงใกล้เคียงกับของบมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง คือ ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท  ซึ่งคาดว่าทรูน่าจะสามารถดำเนินการออกกองทุนได้ภายในปีนี้
    นอกจากนี้คาดว่าปี 2556 จะมีเอกชนออกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานอีกหลายราย  อาทิ ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) และโรงไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนรัฐวิสาหกิจที่คาดว่าจะสามารถจัดตั้งกองทุนได้ภายในปีนี้ เช่น  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการประปา เป็นต้น
***ที่ปรึกษาทางการเงินจ้องทำดีลยักษ์
    แหล่งข่าวจากวงการวาณิชธนกิจ เปิดเผยว่าขณะนี้ทรูยังไม่ได้คัดเลือกว่าจะให้ใครเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้ ซึ่งยอมรับว่ามีหลายรายสนใจ แต่จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของทรู พบว่าสามารถดำเนินการได้ โดยมีสินทรัพย์ที่สามารถนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนได้ ทั้งเสาโครงข่าย หรือรายได้ในส่วนของสัญญาสัมปทานซึ่งมีอยู่หลายใบอนุญาตมากที่มีการพัฒนาเป็นรายได้แล้ว ทั้งในส่วนทีวีดิจิตอล ออนไลน์ และการพัฒนาด้านสัญญาสัมปทานคลื่น 3 จี เป็นต้น
    "ยอมรับว่าทรูสนใจที่จะใช้ช่องทางการระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานแน่นอนแต่คงต้องแก้ไขข้อติดขัดต่างๆให้ได้ก่อน" แหล่งข่าวกล่าวและว่า สัญญาสัมปทานในส่วนของธุรกิจสื่อสารนั้นมีความละเอียดอ่อนมาก ดังนั้นจะต้องแยกในส่วนของสัมปทานออกมา เนื่องจากไม่สามารถนำมาขายเข้ากองทุนได้
***คาดโมเดลเดียวกับกองทุน"บีทีเอส"        
    ด้านความเห็นของนักวิเคราะห์ โดยนางสาวมินทรา  รัตยาภาส นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เกียรตินาคินฯ กล่าวว่า  สำหรับแนวทางการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของทรูนั้น เบื้องต้นสามารถดำเนินการได้โดยการนำรายได้ในอนาคตจากการให้บริการเช่าเสาโครงข่าย และสินทรัพย์บางส่วนที่จะต้องขายเข้ากองทุนเช่นเดียวกับ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง
    "หากทรูจัดตั้งกองทุนขึ้นมาได้ ก็จะมีขนาดใหญ่ทีเดียว คาดว่าไม่น้อยกว่า 5-6 หมื่นล้านบาท "
    นักวิเคราะห์บล.เกียรตินาคินฯ กล่าวว่าปัจจุบันทรูยังมีขาดทุนสะสม 5-6 หมื่นล้านบาทหลังจากที่มีการลงทุนขนาดใหญ่ไปแล้ว ทั้ง 3 จี บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้ยังมีหนี้ระยะยาว 8 หมื่นกว่าล้านบาท จึงส่งผลต่อความสามารถในการก่อหนี้เพิ่ม ทั้งการกู้เงินเนื่องจากสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่สูงถึง 6 เท่า  รวมถึงการเพิ่มทุน และการออกหุ้นกู้ ซึ่งที่ผ่านมาการออกหุ้นกู้ส่วนใหญ่เพื่อยืดระยะเวลาคืนหนี้หรือที่เรียกว่าโรลโอเวอร์หนี้ก้อนเดิมเท่านั้น
    นอกจากนี้ทรูยังต้องมีการลงทุนเพิ่มหลังจากประมูลใบอนุญาต 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกกะเฮิรตซ์ ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า มูลค่า 3-4 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามในอนาคตทรูจะมีรายได้เข้ามาต่อเนื่องในส่วนของค่าเช่าบริการโครงข่าย ซึ่งปัจจุบันจะอยู่ในกลุ่มทรูโมบาย คือ ทรูมูฟเอช ซึ่งเริ่มให้บริการเต็มตัวเมื่อปี 2555 โดยมีรายได้ประมาณ 5 พันล้านบาทต่อปี แต่ในอนาคตหากมีรายอื่นเพิ่มเข้ามา โอกาสการเพิ่มรายได้จากค่าเช่าก็จะสูงกว่า 5 พันล้านบาทต่อปี
***นักลงทุนต่างชาติสน
    ม.ล.ชโยทิต กฤดากร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บล. เจ.พ.มอร์แกน (ประเทศไทย)ฯ ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์รูปแบบใหม่หรือกองรีทส์ และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในไทย  ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4-6% ต่อปี
    อนึ่งคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติยกเว้นการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยให้เหตุผลว่าเพื่อสนับสนุนให้ภาครัฐและเอกชนได้มีช่องทางระดมทุนระยะยาวเพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน โดยในส่วนของกองทุนจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ที่เกิดจากการโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้โอนทรัพย์สินจากกิจการโครงสร้างพื้นฐานไปยังกองทุน โดยต้องมีสัญญารับโอนคืน หรือมีสัญญาโอนต่อให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งจะได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอน  การจดทะเบียนการจำนอง และการจดทะเบียนการเช่าเหลือ 0.01%  (ไม่เกิน 100,000 บาท) และสำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
    นอกจากนี้ครม.ยังเห็นชอบให้ยกเว้นภาษีเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนกองทุน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงขึ้นและสนับสนุนให้มีการลงทุนในกองทุนดังกล่าวมากขึ้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=182458:-5-6-&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.