Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤษภาคม 2556 สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสาร (เพิ่มเติม) ประจำวัน 22/05/2556


สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสาร (เพิ่มเติม) ประจำวัน 22/05/2556

( ข้อจำกัดด้านข้อความ ข่าวที่เหลือ UP ผ่าน ช่องทางอื่นแทนครับ )

1....           กสทช.(เตรียมร่างคิดสูตรICประชาพิจารณ์ภายในสัปดาห์หน้า)นัดผู้ประกอบการมือถือนี้27พ.ค.นี้(จี้ความเร็วต่ำสุดต้องที่ติดFULL)
2....           อายชาวโลก!!AISชี้ถ้าอยู่ในPROความเร็วไม่ต่ำกว่า384Kbpsถ้านอกโปรต้องจำกัด/DTACชี้ถ้าอยู่ในPROความเร็วไม่ต่ำ1Mbpsในช่วงพีก
3....           TRUEเปิดเกมอย่างนี้สู้ CTH แน่นอน!!พร้อมแล้วเคเบิ้ล อินเทอร์เน็ต(ใช้ได้จริงทั่วประเทศ)พร้อมออกPROสุขX2 พร้อมดูTRUEVISION


_________________
(เพิ่มเติม)
1.....     (เกาะติดประมูลDigital TV) ผ่านแล้ว!!! ร่างการระมูล เหลือเพียงรับฟังความคิดเห็นและ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ( เหลือ ร่าง Set-Top-Box )
2.....     อนุกรรมการฯ (ประจาน) APPLE เลี่ยงภาษีถูกกฏหมาย 4 แสนล้านบาท++ ทิม คุกแจงสภา เราคือแชมป์บริษัทที่เสียภาษีให้กับสหรัฐฯในมูลค่าสูงที่สุด


22 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) ผ่านแล้ว!!! ร่างการระมูล เหลือเพียงรับฟังความคิดเห็นและ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ( เหลือ ร่าง Set-Top-Box )

ประเด็นหลัก



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) แถลงผลการประชุม กสทช. ครั้งที่ 5/2556 ในวันนี้ว่า ที่ประชุม กสทช. ได้เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ....

โดยขั้นตอนต่อจากนี้จะเป็นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ แล้วนำผลกลับมาให้ กสทช. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนจะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา และคาดว่าจะเปิดประมูลได้ในช่วงเดือนก.ย.56 นี้

ทั้งนี้ ร่างประกาศดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติที่จะมีขึ้นตามกรอบเวลาของแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยเป็นไปตาม (ร่าง) ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ เพื่อการประกอบกิจการทางธุรกิจ พ.ศ. .... ซึ่งเป็นกรอบหลักเกณฑ์การคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับทั้งกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา




เลขาฯ กสทช. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมบอร์ด กสทช. ยังเห็นชอบสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและเห็นชอบต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2556 หรือ อุปกรณ์และกล่องรับสัญญาณ หรือ เซตท็อปบ็อกซ์ (Set-Top-Box) และเห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง มาตรฐานการคำนวณอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม หรือ อินเตอร์คอนเนกชั่นชาร์จ (ไอซี) โดยจะมีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในสัปดาห์หน้า ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ต่อไป

นายฐากร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ด กสทช. ยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับการประมูลทีวีดิจิตอล หลายเรื่อง อาทิ เรื่องอำนาจหน้าที่ และขอบเขตของบอร์ด กสท. ในการประมูลซึ่งมีแนวโน้มว่า บอร์ด กสท.จะมีสิทธิ์เท่ากับบอร์ดกทค. เช่นเดียวกับการประมูล 3จี เมื่อเดือน ต.ค.2555 เรื่องการคำนวณ และเกณฑ์การกำหนดราคา เวลา 1 ชั่วโมงที่ใช้ในการประมูล และเรื่องการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ หรือการครอบงำสื่อ ระหว่างสื่อมวลชนด้วยกัน หรือบุคคลอื่น ซึ่งจะเป็นการขัดขวางหรือปิดกั้นเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย โดยมอบหมายบอร์ด กสท. กลับไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในเรื่อง การครองสิทธิ์ข้ามสื่อ โดยขอให้บอร์ด กสท. ไปพิจารณาและรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในเรื่องการครองสิทธิ์ข้ามสื่อด้วย ขณะที่ เรื่องการจัดทำประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือก และเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ประเภทบริการสาธารณะ ยังไม่มีการพิจารณาเนื่องจากยังไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของบอร์ด กสท. โดยคาดว่าจะเข้าบอร์ด กสทช. ในวันที่ 19 มิ.ย. 2556





โดยที่ร่างประกาศฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้ 1.คลื่นความถี่ที่จะอนุญาตให้ใช้เป็นคลื่นความถี่ตามแผนความถี่วิทยุ โดยแบ่งหมวดหมู่การให้บริการ ได้แก่ 1.1 เด็ก เยาวชน และครอบครัว 1.2 ข่าวสารและสาระ 1.3 ทั่วไปแบบความคมชัดปกติและ 1.4 ทั่วไปแบบความคมชัดสูง 2. ผู้เข้าร่วมประมูลต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม (ร่าง) ประกาศฯ ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตไม่เกินรายละหนึ่งใบอนุญาตของแต่ละหมวดหมู่ และมีสิทธิยื่นคำขอหมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูงหรือหมวดหมู่ข่าวสารและสาระ หมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่งเท่านั้น
   
      3. ราคาขั้นต่ำ ราคาเริ่มต้น และการเสนอเพิ่มราคา โดยให้เป็นไปตามผลการศึกษาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสนอมา ซึ่งมีราคาตั้งต้นของการประมูล ดังนี้ 3.1 ช่องรายการทั่วไป HD (7) มูลค่าต่ำสุด 1,510 ล้านบาท 3.2ช่องรายการทั่วไป SD (7) มูลค่าต่ำสุด 380 ล้านบาท 3.3ช่องรายการข่าว SD (7) มูลค่าต่ำสุด 220 ล้านบาท และ3.4ช่องรายการเด็ก SD (3) มูลค่าต่ำสุด 140 ล้านบาท
   
      สำหรับการกำหนดจำนวนเงินสำหรับการเสนอเพิ่มราคานั้น มีรายละเอียดดังนี้1.หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว กำหนดให้การเสนอเพิ่มราคาครั้งละ 1 ล้านบาท 2.หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ กำหนดให้การเสนอเพิ่มราคาครั้งละ 2 ล้านบาท 3.หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดปกติ กำหนดให้การเสนอเพิ่มราคาครั้งละ 5 ล้านบาท และ 4.หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง กำหนดให้การเสนอเพิ่มราคาครั้งละ 10 ล้านบาท
   
      4.การเข้าร่วมประมูล เป็นการดำเนินการเพื่อรับสิทธิ ดังต่อไปนี้ 4.1การใช้คลื่นความถี่ร่วมกัน เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ 4.2การเลือกหมายเลขลำดับการให้บริการในแต่ละหมวดหมู่ โดยเรียงลำดับผู้ชนะการประมูล ในกรณีที่ชนะการประมูลด้วยราคาเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก 4.3การเลือกใช้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ให้เลือกโดยผู้ชนะการประมูลที่มีราคาสูงสุดเรียงตามลำดับของทุกหมวดหมู่รวมกัน ในกรณีที่ชนะการประมูลด้วยราคาเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก
   
      5. การประมูลจะแยกตามหมวดหมู่ที่กำหนด โดยแต่ละคราวมีระยะเวลา 60 นาที เมื่อเริ่มการประมูลผู้เข้าร่วมจะต้องเสนอราคาครั้งแรกภายใน 5 นาที มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิแลถูกริบหลักประกัน โดยในระหว่างการประมูล ผู้เข้าร่วมจะทราบสถานะและลำดับการมีสิทธิเป็นผู้ชนะ รวมถึงราคาต่ำสุดของกลุ่มผู้มีสิทธิเป็นผู้ชนะการประมูล แลเมื่อการประมูลสิ้นสุดลง ถ้ามีผู้ชนะการประมูลเสนอราคาเท่ากันเกินกว่าจำนวนใบอนุญาตให้ขยายเวลาการประมูลออกไปอีกครั้งละ 5 นาที ซึ่งในกรณีที่ขยายระยะเวลาแล้วและไม่มีการเสนอราคาเพิ่มขึ้นให้ดำเนินการหาผู้ชนะด้วยวิธีจับสลาก
   
      6. การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกจะเป็นเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนของราคาขั้นต่ำ ให้แบ่งชำระเป็น 4 งวด และส่วนที่สองจะเป็นเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนที่เกินกว่าราคาขั้นต่ำ ให้แบ่งชำระเป็น 6 งวด ซึ่งผู้ชนะการประมูลแต่ละราย จะต้องชำระค่าธรรมเนียมเท่ากับราคาที่ตนชนะการประมูล
   
      7. ผู้ชนะการประมูลที่ได้รับสิทธิให้เป็นผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อนจึงจะได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ คือ 7.1ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่งวดที่หนึ่ง 7.2ดำเนินการขอใช้บริการโครงข่ายโทรทัศน์กับผู้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่าย โทรทัศน์ในระบบดิจิตอลให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการเป็นผู้ชนะการประมูล 7.3ดำเนินการตามประกาศ กสทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการเป็นผู้ชนะการประมูล หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ถือว่าสละสิทธิ์การขอรับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่
   
      8 ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมีอายุ 15 ปี


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130522/507044/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%
B8%8A.%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%
9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%
E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%
B8%81.%E0%B8%A2.%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89.html
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000061550

______________________________________

22 พฤษภาคม 2556 อนุกรรมการฯ (ประจาน) APPLE เลี่ยงภาษีถูกกฏหมาย 4 แสนล้านบาท++ ทิม คุกแจงสภา เราคือแชมป์บริษัทที่เสียภาษีให้กับสหรัฐฯในมูลค่าสูงที่สุด

ประเด็นหลัก


ทิม คุก ซีอีโอแอปเปิลชี้แจงแก่รัฐสภาสหรัฐฯว่า แอปเปิลมีความภูมิใจในการเป็นบริษัทอเมริกัน เท่ากับที่มีความภูมิใจในการมีส่วนร่วมสนับสนุนเศรษฐกิจอเมริกัน โดยระบุว่าที่ผ่านมา แอปเปิลมีส่วนสร้างหรือสนับสนุนให้ชาวสหรัฐฯมีงานทำมากกว่า 6 แสนตำแหน่ง และขณะนี้แอปเปิลอาจเป็นแชมป์บริษัทที่เสียภาษีให้กับสหรัฐฯในมูลค่าสูงที่สุด
   
      อย่างไรก็ตาม ส.ว. จอห์น แมคเคน (Sen. John McCain) ไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวของซีอีโอแอปเปิล โดยตั้งข้อสังเกตในภายหลังว่าแอปเปิลอาจเป็นบริษัทที่จ่ายภาษีให้กับสหรัฐฯมากที่สุดจริง แต่แอปเปิลก็อาจเป็นบริษัทที่เลี่ยงภาษีสหรัฐฯมากที่สุดได้เช่นกัน (เมื่อเทียบจากมูลค่าและขนาดองค์กร)
   
      การเข้าชี้แจงของซีอีโอแอปเปิลนี้เกิดขึ้นก่อนที่วุฒิสภาสหรัฐฯจะดำเนินการไต่สวนกรณีการเสียภาษีของแอปเปิล โดยก่อนหน้านี้ วุฒิสภาสหรัฐฯตั้งข้อสังเกตว่าในขณะที่แอปเปิลทำรายได้มากกว่า 7.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แต่ยักษ์ใหญ่ค่ายผลไม้กลับเสียภาษีน้อยมากเนื่องจากการใช้เทคนิกช่องว่างด้านกฏหมายภาษีระหว่างสหรัฐฯและไอร์แลนด์ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมที่แอปเปิลจะถูกเรียกตัวเข้าชี้แจงก่อนจะเริ่มต้นการไต่สวนใดๆ
   
      รายงานยืนยันว่า วุฒิสภาอเมริกันไม่ได้กล่าวหาแอปเปิลว่าทำผิดกฎหมาย แต่การสอบสวนที่เกิดขึ้นเป็นการตั้งข้อสังเกตของวุฒิสมาชิกบางรายที่มองว่าแอปเปิลได้พยายามใช้ช่องโหว่ทางกฏหมายเพื่อลดมูลค่าภาษีที่ต้องจ่าย เพื่อให้ผู้ถือหุ้นแอปเปิลมีกำไรสูงสุด จุดนี้ ข้อสังเกตของวุฒิสภาสหรัฐกลับถูกบางเสียงวิจารณ์ว่าแอปเปิลถูกประนามเพราะการทำตามกฏหมายที่ร่างโดยวุฒิสภาเอง ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าขันที่ไม่ควรเกิดขึ้น
   
      เบื้องต้น วุฒิสภาสหรัฐฯระบุว่าจุดประสงค์ของการเรียกตัวแอปเปิลเข้าชี้แจงนั้นไม่ใช่เพื่อลงโทษ แต่เป็นการนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาว่าจะต้องมีการปรับแก้ไขกฏหมายภาษีในอนาคตอย่างไรต่อไป
   
      งานนี้ซีอีโอแอปเปิลใช้โอกาสชี้แจงเพื่อการปฏิรูปภาษีสหรัฐฯ ในการจุดประกายว่ารัฐบาลสหรัฐฯควรมีมาตรการด้านภาษีที่เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจดิจิตอลที่หลายบริษัทมีรายได้จากต่างประเทศ ซึ่งมาตรการในปัจจุบันยังไม่รองรับการขยายตัวในส่วนนี้ โดยซีอีโอแอปเปิลแสดงความเห็นว่า รัฐบาลสหรัฐฯควรลดอัตราภาษีสหรัฐฯที่กำหนดไว้เพดานสูงสุด 35% ลง ซึ่งหากทำได้ หลายบริษัทจะนำเงินทุนกลับมาที่สหรัฐฯเพิ่มขึ้นแน่นอน



รายงานของอนุกรรมการฯ ประเมินว่าด้วยวิธีดังกล่าวทำให้แอปเปิลสามารถเลี่ยงภาษีไปได้อย่างน้อยถึง 3,500 ล้านเหรียญ (ราว 1.5 แสนล้านบาท) ในปี2011 และอีก 9,000 ล้านเหรียญ (ราว2.7 แสนล้านบาท) ในปี 2012

กระนั้นก็ตาม วิธีดังกล่าวของแอปเปิลไม่ถือว่าผิดกฎหมายสหรัฐ อีกทั้งที่ผ่านมาหลายบริษัทในสหรัฐที่มีรายได้ในต่างประเทศจำนวนมากต่างใช้เทคนิคคล้ายคลึงกัน กระนั้นก็ตาม กรณีของแอปเปิลยังมีขึ้นในขณะที่รัฐบาลสหรัฐพยายามหาทางเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลมากขึ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.