23 พฤษภาคม 2556 ผลการศึกษาลึกกว่าคำว่า มือถือจะมากกว่าประชากรโลก++ พบเพิ่ม 1 ใน 3 เปิดใช้งาน"ออนไลน์" พบคนที่ออนไลน์มากสุดคือ ยุโรป75% อเมริกา64% เอเชีย32% แอฟริกา16%
ประเด็นหลัก
ยิ่งถ้าหากเป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาบนโลกอินเตอร์เน็ต หรือออนไลน์ ได้นั้น ยิ่งจำกัดลงไปอีก ผลการศึกษาของไอทียูพบว่า มีประชากรโลกเพียง 1 ใน 3 หรือราวๆ 40 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นประชากร 2,700 ล้านคนเท่านั้นที่เปิดใช้งานโทรศัพท์มือถือที่สามารถ "ออนไลน์" ได้
ข้อมูลที่แบ่งแยกออกเป็นรายภูมิภาคและรายประเทศของไอทียูน่าสนใจทีเดียว เพราะผลการศึกษาวิจัยของไอทียูพบว่าภูมิภาคที่มีการเปิดใช้งานโทรศัพท์มือถือที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้สูงสุดในเวลานี้ก็คือภูมิภาคยุโรปซึ่งมีสัดส่วนการใช้งานออนไลน์หรือที่เรียกกันว่าเพเนเทรชั่นสูงถึง75 เปอร์เซ็นต์ต่อประชากรทั้งหมด รองลงมาเป็นภาคพื้นอเมริกา ซึ่งอยู่ที่ 64 เปอร์เซ็นต์ สัดส่วนในเอเชียนั้น จำนวนโทรศัพท์มือถือ ที่ออนไลน์ได้กับจำนวนประชากรยังไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำไป เพราะสัดส่วนการเข้าใช้งานมีอยู่เพียง 32 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง แต่ก็ยังมากกว่าแอฟริกาซึ่งอยู่ที่ 16 เปอร์เซ็นต์ ต่ำสุดอยู่ดี
ฮามาดูน ทูเร เลขาธิการไอทียู ยอมรับว่าความก้าวหน้าในการใช้งานโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานแบบออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นมานั้น ถือเป็นความรุดหน้าที่สูงเป็นพิเศษ แต่ยังคงไม่น่าพอใจ ไอทียูยังคงจำเป็นต้องดำเนินการอีกหลายอย่างมากเพื่อให้ความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาที่เป็นคุณประโยชน์บนโลกออนไลน์ของประชากรบนโลกเป็นไปอย่างทั่วถึงไม่มีช่องว่าง
______________________________________
ปีหน้า "โทรศัพท์มือถือ" มีมากกว่าจำนวนคนทั้งโลก
รายงานประจำปีของ "สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ" หรือ "ไอทียู" ที่เป็นหน่วยงานในสังกัดสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประจำปี 2556 ระบุเอาไว้น่าสนใจว่า ภายในสิ้นปีหน้า จำนวนโทรศัพท์มือถือที่ "ใช้งาน" อยู่ จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจนมากกว่าจำนวนประชากรของโลกทั้งโลก
ไอทียูบอกว่าตอนนี้มีโทรศัพท์มือถือใช้งานกันอยู่6,800ล้านเครื่องทั่วโลก ในขณะที่ประชากรบนโลกทั้งหมดมีอยู่ 7,100 ล้านคน ผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานของยูเอ็นแห่งนี้คาดการณ์เอาไว้ว่า พอถึงต้นปี 2557 จำนวนโทรศัพท์มือถือจะขึ้นไปแตะที่หลัก 7,000 ล้านเครื่อง พอถึงสิ้นปี จำนวนโทรศัพท์มือถือที่เปิดใช้งานก็จะเกินจำนวนคนบนโลกใบนี้ไปอย่างแน่นอน
บราฮิมา ซานู ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาโทรคมนาคมของไอทียู บอกว่า ที่เป็นเช่นนั้น เพราะทุกๆ วันที่การเปิดใช้งานโทรศัพท์มือถือเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มมากกว่าอัตราการเกิดของประชากรแน่นอน ซึ่งทางไอทียูถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะเชื่อว่าการ "ปฏิวัติโทรศัพท์เคลื่อนที่" จะช่วยเอื้ออำนวยให้ผู้คนในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายสามารถเข้าถึง และมีโอกาสได้ใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีทั้งทางด้านการศึกษา สาธารณสุข ธนาคาร ข้อมูลด้านสภาวะแวดล้อมและแน่นอน ข้อมูลและการติดต่อในทางธุรกิจได้เพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ไอทียูพบว่าจำนวนเครื่องมากมายขนาดนั้นไม่ได้หมายความว่าคนทุกคนบนโลกจะมีโทรศัพท์มือถือใช้งาน แต่หมายความว่ามีประชากรส่วนหนึ่งเปิดใช้งานมากกว่าหนึ่งเครื่องขึ้นไป ตัวอย่างเช่น ประชากรของกลุ่มประเทศในเครือรัฐอิสระ ที่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต มีสัดส่วนเปิดใช้งานโทรศัพท์มือถือสูงที่สุด อยู่ที่ 1.7 เครื่องต่อคน หรือตกประมาณ 3 เครื่องต่อ 2 คน ในขณะที่จำนวนโทรศัพท์มือถือที่เปิดใช้งานในสัดส่วนต่ำที่สุดนั้นเป็นบรรดาประเทศในทวีปแอฟริกา ซึ่งอยู่ 63 เครื่องต่อประชากร 100 คน เป็นต้น
ยิ่งถ้าหากเป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาบนโลกอินเตอร์เน็ต หรือออนไลน์ ได้นั้น ยิ่งจำกัดลงไปอีก ผลการศึกษาของไอทียูพบว่า มีประชากรโลกเพียง 1 ใน 3 หรือราวๆ 40 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นประชากร 2,700 ล้านคนเท่านั้นที่เปิดใช้งานโทรศัพท์มือถือที่สามารถ "ออนไลน์" ได้
ข้อมูลที่แบ่งแยกออกเป็นรายภูมิภาคและรายประเทศของไอทียูน่าสนใจทีเดียว เพราะผลการศึกษาวิจัยของไอทียูพบว่าภูมิภาคที่มีการเปิดใช้งานโทรศัพท์มือถือที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้สูงสุดในเวลานี้ก็คือภูมิภาคยุโรปซึ่งมีสัดส่วนการใช้งานออนไลน์หรือที่เรียกกันว่าเพเนเทรชั่นสูงถึง75 เปอร์เซ็นต์ต่อประชากรทั้งหมด รองลงมาเป็นภาคพื้นอเมริกา ซึ่งอยู่ที่ 64 เปอร์เซ็นต์ สัดส่วนในเอเชียนั้น จำนวนโทรศัพท์มือถือ ที่ออนไลน์ได้กับจำนวนประชากรยังไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำไป เพราะสัดส่วนการเข้าใช้งานมีอยู่เพียง 32 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง แต่ก็ยังมากกว่าแอฟริกาซึ่งอยู่ที่ 16 เปอร์เซ็นต์ ต่ำสุดอยู่ดี
ฮามาดูน ทูเร เลขาธิการไอทียู ยอมรับว่าความก้าวหน้าในการใช้งานโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานแบบออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นมานั้น ถือเป็นความรุดหน้าที่สูงเป็นพิเศษ แต่ยังคงไม่น่าพอใจ ไอทียูยังคงจำเป็นต้องดำเนินการอีกหลายอย่างมากเพื่อให้ความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาที่เป็นคุณประโยชน์บนโลกออนไลน์ของประชากรบนโลกเป็นไปอย่างทั่วถึงไม่มีช่องว่าง
จนถึงเวลานี้ยังคงมีคนอีกมากมายถึง4,500ล้านคน ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีประโยชน์ได้
นั่นหมายความว่าคนอีกมากมายถึง 2 ใน 3 ที่ยังถูกปิดกั้นจาก "ตลาด" ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในเวลานี้นั่นเอง
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1369280013
ไม่มีความคิดเห็น: