Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 พฤษภาคม 2556 TOT เร่งเจรจากับ AIS จัดตั้ง บริษัท ทาวเวอร์โค จำกัด เหตุ(พรบ.กสทช. กำหนดหากเกิด3ปีตามที่พรบ.เกิด รายได้สัปทานหลักหักค่าใช้จ่ายต้องผ่าน กสทช.)



ประเด็นหลัก



ยงยุทธ์ วัฒนสินธุ์    นายยงยุทธ์ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับความคืบหน้าการเจรจากับ เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  เพื่อจัดตั้ง บริษัท ทาวเวอร์โค จำกัด (คือการแชร์โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาร่วมกันเนื่องจาก บมจ. เอไอเอส  ต้องการใช้สิทธิ์อีก 2 ปีจนกว่าสัญญาสัมปทานร่วมการงานหมดอายุลงในปี 2558 ซึ่งการจัดตั้งบริษัทดังกล่าวเพื่อนำเสาโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2 จี จำนวน 12,000 ต้น ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน (Build Transfer Operate) ต้องส่งมอบให้กับ บมจ.ทีโอที
    สำหรับเหตุผลที่ บมจ.ทีโอที มีแผนจัดตั้งบริษัททาวเวอร์โคฯ เนื่องจากว่า ตาม พ.ร.บ. จัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 48 ที่ได้กำหนดเอาไว้ว่า "เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้รัฐวิสาหกิจนำรายได้จากผลประกอบการในส่วนที่ได้รับจากการให้อนุญาต สัมปทาน หรือ สัญญาตามวรรคสองที่รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้ดำเนินการทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้หักค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้แล้วเหลือเท่าใดให้ส่ง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)


______________________________________






ทีโอทีตั้งบริษัท'ทาวเวอร์โค'

"ทีโอที" เร่งสปีดเจรจากับยักษ์มือถือ "เอไอเอส" แปรสัญญาสัมปทานก่อนหมดอายุ เหตุ 27 ธ.ค.นี้ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้เข้ากสทช.ตามพ.ร.บ.กสทช. 2553 ด้าน "เอไอเอส" เผยเงื่อนไขทุกอย่างต้องถูกต้องและเป็นธรรม ทั้งเรื่องผลประโยชน์และสิทธิต่าง ๆ หากมีข้อสรุปต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมผู้ถือหุ้น

ยงยุทธ์ วัฒนสินธุ์    นายยงยุทธ์ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับความคืบหน้าการเจรจากับ เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  เพื่อจัดตั้ง บริษัท ทาวเวอร์โค จำกัด (คือการแชร์โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาร่วมกันเนื่องจาก บมจ. เอไอเอส  ต้องการใช้สิทธิ์อีก 2 ปีจนกว่าสัญญาสัมปทานร่วมการงานหมดอายุลงในปี 2558 ซึ่งการจัดตั้งบริษัทดังกล่าวเพื่อนำเสาโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2 จี จำนวน 12,000 ต้น ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน (Build Transfer Operate) ต้องส่งมอบให้กับ บมจ.ทีโอที
    สำหรับเหตุผลที่ บมจ.ทีโอที มีแผนจัดตั้งบริษัททาวเวอร์โคฯ เนื่องจากว่า ตาม พ.ร.บ. จัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 48 ที่ได้กำหนดเอาไว้ว่า "เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้รัฐวิสาหกิจนำรายได้จากผลประกอบการในส่วนที่ได้รับจากการให้อนุญาต สัมปทาน หรือ สัญญาตามวรรคสองที่รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้ดำเนินการทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้หักค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้แล้วเหลือเท่าใดให้ส่ง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
    พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2553 ดังนั้นภายในวันที่ 26 ธันวาคม 2556 นี้ จะพ้นกำหนดเวลา 3 ปี  จึงมีผลบังคับให้ ทีโอที ต้องนำส่งรายได้จากสัมปทาน เอไอเอส ให้กับ กสทช.
    นายยงยุทธ  ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่าขณะนี้ได้จ้างที่ปรึกษาในการวางแผนธุรกิจทาวเวอร์โคในเบื้องต้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปเหลือเพียงการวางรูปแบบของธุรกิจ และการระดมทุนเท่านั้น ซึ่งโครงการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเข้าเสนอ ครม. และจะพยายามไม่ให้เข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุนฯด้วยเพื่อย่นระยะเวลาในการดำเนินการ  
    อย่างไรก็ตามในขณะนี้ บมจ.ทีโอที ได้มีการเตรียมแผนระยะสั้นจำนวน 17 แผนและแผนระยะยาว เช่น การหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุนโดยไม่ต้องใช้วิธีการกู้เงินลงทุน และ โครงการของกระทรวงไอซีที (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) เช่น โครงการฟรีไว-ไฟ เป็นต้น
    ขณะที่นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ หัวหน้าผู้บริหารด้านการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส  กล่าวว่า  เรื่องดังกล่าวอยู่ขั้นตอนการพิจารณาเรื่องนี้และต้องดูเงื่อนไขประกอบอื่น ๆ ด้วยว่า บมจ.ทีโอที จะชดเชยอะไรให้บ้างแต่มีเงื่อนไขว่าโมเดลต้องถูกต้องและเป็นธรรม และ การที่ เอไอเอส เสียสิทธิ์ก่อนสัญญาสัมปทานหมดอายุอีก 2 ปี ต้องมีค่าตอบแทนที่เหมาะสม เนื่องจาก บมจ.เอไอเอส จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนั้นต้องยึดหลักธรรมาภิบาล และ ต้องนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอีกด้วย

 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=183795:2013-05-21-07-52-17&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.