Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 พฤษภาคม 2556 บอร์ดTOTส่วนใหญ่ชี้ TOT3G เร่งดำเนินการเซ็นสัญญาโดยด่วน(โครงการ2ทั่วประเทศ) เหตุเสียค่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่นำมาทำ 3จี เฟส1 ทุกวัน ล่าสุดมีผู้ใช้โครงข่าย269,739 ราย



ประเด็นหลัก


ส่วนความคืบหน้าการเซ็นสัญญา MVNO 3G กับบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย คาดว่าภายในเดือนมิ.ย.น่าจะตกลงรายละเอียดและนำเข้าที่ประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ หลังจากนั้นจะเซ็นสัญญาได้ภายในเดือนก.ค.นี้ โดยที่ผ่านมาได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน MVNO ชุดใหม่ เพื่อสรุปเรื่องการแบ่งผลประโยชน์และเรื่องความจุของโครงข่ายที่จะให้ทำการตลาด โดยจะมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเรื่องผลประโยชน์ โดยปรับเป็นเอกชนได้ 55% หลังหักค่าการตลาด และภาษีแล้วจะเหลือ 38% ในขณะที่ทีโอทีจะได้ผลประโยชน์ 45% จากเดิมที่เอกชนได้ 60% หลังหักค่าการตลาดผ่านช่องทางจำหน่าย 10% และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เท่ากับเอกชนจะได้รับส่วนแบ่ง 43% ขณะที่ทีโอทีได้ 40% เท่านั้น

"บอร์ดทีโอทีส่วนใหญ่ มองว่าควรรีบดำเนินการให้เซ็นสัญญาโดยด่วน เนื่องจากทุกวันนี้ทีโอทีต้องเสียค่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่นำมาทำ 3จี เฟส1 ทุกวัน"
     
ส่วนความคืบหน้าในการติดตั้งสถานีฐาน 3G เฟส1 จำนวน 5,320 สถานีฐานนั้น ล่าสุดเหลือการติดตั้งอีก 803 สถานีฐาน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนส.ค.นี้ ซึ่งปัจจุบันมีสถานีฐานที่พร้อมให้บริการแล้ว 4,221 สถานีฐาน ส่วนลูกค้า 3G ทีโอที ในตอนนี้มีผู้ใช้งานแล้ว 269,739 ราย โดยแบ่งเป็นลูกค้าในระบบเติมเงิน(พรีเพด) 224,906 ราย
     



______________________________________





______________________________________






TOT รับผลขาดทุนต้นปี 2พันล้าน เร่งทำตลาด 3G เสริมรายได้ พร้อมขยายโครงข่ายสู้คู่แข่ง


นายอุดม พัวสกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2556 ผู้บริหาร ทีโอที ได้รายงานผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2556 พบว่า ทีโอที มีรายได้ 7,315 ล้านบาท รายจ่าย 6,823 ล้านบาท มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 560 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 16.75% เทียบจากช่วงเดียวกันปี 2555 โดยกำไรสุทธิดังกล่าว จะเป็นกำไรหากรวมรายได้จากสัญญาสัมปทานร่วมการงานกับ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส

               ทั้งนี้หากไม่รวมรายได้จากสัญญาสัมปทานร่วมการเงิน เป็นผลการดำเนินงานของ ทีโอที อย่างเดียว ประกอบด้วย รายได้จากบริการขายอินเตอร์เนตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) เอดีเอสแอล การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ในย่านความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ที่ปัจจุบันมีลูกค้าราว 2 แสนราย และการให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศนั้น ทีโอที จะมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 2,037 ล้านบาท ในไตรมาส 1/2556 แต่ก็ยังเป็นการขาดทุนลดลง 6.5% คิดเป็นขาดทุนลดลง 141 ล้านบาท

                นายอุดม กล่าวถึงความคืบหน้าการลงนามในสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายเสมือน (เอ็มวีเอ็นโอ) กับบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย หรือให้บริษัทดังกล่าวทำตลาดนั้น ล่าสุดได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเอ็มวีเอ็นโอชุดใหม่ขึ้นมาแทนชุดเก่าแล้ว โดยที่ประชุมคณะทำงานมีการหารือในเรื่องส่วนแบ่งรายได้ที่ยังตกลงไม่ลงตัว และในเรื่องความจุโครงข่าย

                 อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่มีการถกกันในที่ประชุมในประเด็นการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเรื่องผลประโยชน์โดยปรับเป็นเอกชนได้ 55%(จากเดิม 60%) หลังหักค่าการตลาด และภาษีแล้วเอกชนจะได้ 38% ในขณะที่ทีโอทีจะได้ผลประโยชน์ 45%

                  “คาดว่าภายในเดือนมิถุนายน2556นี้ สัญญาเอ็มวีเอ็นโอ จะเข้าบอร์ดทีโอทีเพื่อพิจารณาผ่านความเห็นชอบ จากนั้นก็สามารถเดินหน้าร่างสัญญาได้ทันทีแล้วค่อยกลับมาเข้าบอร์ดใหม่อีกครั้ง ดังนั้นจะสามารถเซ็นต์สัญญาได้ภายในเดือนกรกฏาคมนี้แน่นอน” นายอุดม กล่าว

                 ส่วนความคืบหน้าในการติดตั้งสถานีฐาน 3G เฟส1 จำนวน 5,230 สถานีนั้นล่าสุดเหลือการติดตั้งอีก 803 สถานี คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้ ทั้งนี้ ปัจจุบันทีโอทีมีสถานีฐาน 3G ที่เปิดให้บริการแล้ว 4,221 แห่ง มีลูกค้าในระบบรวมปัจจุบัน 269,739 ราย แบ่ง เป็นลูกค้าในระบบพรีเพด 224,906 ราย

                   นอกจากนี้ บอร์ดทีโอทียังมีการหารือการเปลี่ยนสายทองแดงของบริการโทรศัพท์พื้นฐานประจำที่ (ฟิกซ์ไลน์) เป็นสายไฟเบอร์ทั้งหมด โดยปัจจุบันสายทองแดงมีอยู่ 5 ล้านเลขหมาย ต้องการปรับเปลี่ยนทั้งหมดให้แผน 3ปี เริ่มในปี 2557 มีแผนจะเปลี่ยนสายทองแดงเป็นไฟเบอร์ก่อน 2 ล้านเลขหมายงบประมาณอยู่ที่ 30,000 ล้านบาท

http://www.naewna.com/business/52869


__________________________________________________


TOTแจงขาดทุนไตรมาสแรก 2,037 ลบ.-เร่งขยาย 3Gภายในส.ค.นี้





นายอุดม พัวสกุล ประธานบอร์ดบริษัท ทีโอที กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด เมื่อ 23  พฤษภาคม มีการรายงานผลประกอบการประจำไตรมาส 1/2556  โดยทีโอทีมีรายได้ 7,315 ล้านบาท นับรวมรายได้จากสัญญาสัมปทานของเอไอเอส

และมีรายจ่าย 6,823 ล้านบาท ทำให้กำไรสุทธิทั้งสิ้น 560 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 16.75% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 กำไรสุทธิดังกล่าวเป็นกำไรรวมรายได้จากสัญญาสัมปทานร่วมการงานกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส)

แต่หากไม่รวมรายได้จากเอไอเอส คิดเฉพาะผลดำเนินงานของทีโอทีเองที่ประกอบด้วยรายได้จากบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) บริการ ADSL การให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ 3G ในย่านความถี่ 1900 MHz ที่ปัจจุบันมีลูกค้าราว 2 แสนราย และการให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศนั้น ทีโอทีจะขาดทุนสุทธิ 2,037 ล้านบาท แต่ก็ยังเป็นการขาดทุนลดลง 6.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา คือขาดทุนลดลง 141 ล้านบาท
     
ส่วนความคืบหน้าการเซ็นสัญญา MVNO 3G กับบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย คาดว่าภายในเดือนมิ.ย.น่าจะตกลงรายละเอียดและนำเข้าที่ประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ หลังจากนั้นจะเซ็นสัญญาได้ภายในเดือนก.ค.นี้ โดยที่ผ่านมาได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน MVNO ชุดใหม่ เพื่อสรุปเรื่องการแบ่งผลประโยชน์และเรื่องความจุของโครงข่ายที่จะให้ทำการตลาด โดยจะมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเรื่องผลประโยชน์ โดยปรับเป็นเอกชนได้ 55% หลังหักค่าการตลาด และภาษีแล้วจะเหลือ 38% ในขณะที่ทีโอทีจะได้ผลประโยชน์ 45% จากเดิมที่เอกชนได้ 60% หลังหักค่าการตลาดผ่านช่องทางจำหน่าย 10% และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เท่ากับเอกชนจะได้รับส่วนแบ่ง 43% ขณะที่ทีโอทีได้ 40% เท่านั้น

"บอร์ดทีโอทีส่วนใหญ่ มองว่าควรรีบดำเนินการให้เซ็นสัญญาโดยด่วน เนื่องจากทุกวันนี้ทีโอทีต้องเสียค่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่นำมาทำ 3จี เฟส1 ทุกวัน"
     
ส่วนความคืบหน้าในการติดตั้งสถานีฐาน 3G เฟส1 จำนวน 5,320 สถานีฐานนั้น ล่าสุดเหลือการติดตั้งอีก 803 สถานีฐาน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนส.ค.นี้ ซึ่งปัจจุบันมีสถานีฐานที่พร้อมให้บริการแล้ว 4,221 สถานีฐาน ส่วนลูกค้า 3G ทีโอที ในตอนนี้มีผู้ใช้งานแล้ว 269,739 ราย โดยแบ่งเป็นลูกค้าในระบบเติมเงิน(พรีเพด) 224,906 ราย
     
นอกจากนี  บอร์ดทีโอทีสั่งให้ฝ่ายบริหารกลับไปทบทวนเรื่องบริการโทรศัพท์พื้นฐานประจำที่ (ฟิกซ์ไลน์)ว่าจะทำอย่างไรให้บริการดังกล่าวสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งในเบื้องต้นได้มีแผนที่จะเปลี่ยนสายทองแดงของฟิกซ์ไลน์ ให้มาเป็นสายไฟเบอร์ออปติกหรือเคเบิลใยแก้วทั้งหมด โดยปัจจุบันสายทองแดงมีอยู่ 5 ล้านเลขหมาย แต่ในปี 2557 มีแผนจะเปลี่ยนสายทองแดงเป็นเคเบิลใยแก้วก่อน 2 ล้านเลขหมาย ด้วยงบประมาณ 30,000 ล้านบาท

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=184303:tot-2037---3g&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524


____________________________________________________



ทีโอทีมั่นใจ ส.ค.ติดตั้งสถานีฐาน 3จี เฟสแรกเสร็จ


"อุดม พัวสกุล" ประธานบอร์ดทีโอที คาดเซ็น MVNO สามารถไอ-โมบายได้ ก.ค.นี้ ขณะที่ 3จี เฟส 1 เหลือติดตั้งสถานีฐาน 803 แห่ง มั่นใจเสร็จ ส.ค.นี้...

เมื่อวันที่ 23 พ.ค.นายอุดม พัวสกุล ประธานกรรมการ (บอร์ด) บริหาร บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวภายหลังประชุมบอร์ดว่า รายได้รวมของทีโอทีในไตรมาสแรกของปี 2556 อยู่ที่ 7,315 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 6,823 ล้านบาท โดยมีกำไรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของปี 2555 ที่ผ่านมา ถึง 16.5% หรือคิดเป็น 560.7 ล้านบาท ในกรณีที่ไม่รวมส่วนแบ่งรายได้ขาดทุนลดลง 6.5% หรือคิดเป็น 141 ล้านบาท โดยขาดทุนสุทธิทั้งหมด 2,037 ล้านบาท

ประธานบอร์ดทีโอที กล่าวต่อว่า ความคืบหน้ากรณีการเซ็นสัญญา MVNO กับ บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด(มหาชน) ซึ่งในขณะนี้แต่งตั้งคณะทำงานชุดใหม่ขึ้นมาแทนชุดเก่าเรียบร้อยแล้ว โดยที่ประชุมคณะทำงานได้มีการหารือในเรื่องส่วนแบ่งรายได้ที่ยังตกลงไม่ลงตัว และเรื่องคาร์พาซิตี้ โดยคาดว่าภายในเดือนมิ.ย.นี้สัญญาดังกล่าว จะเข้าบอร์ดทีโอทีเพื่อพิจารณาผ่านความเห็นชอบ จากนั้นจึงสามารถเดินหน้าร่างสัญญาได้ ก่อนกลับเข้าสู่บอร์ดอีกครั้ง และจะสามารถเซ็นต์สัญญาได้ภายในเดือนก.ค.2556 นอกจากนี้ ยังได้หารือการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเรื่องผลประโยชน์ด้วย

นายอุดม กล่าวอีกว่า เสียงส่วนใหญ่ในบอร์ดมองว่าควรรีบดำเนินการให้มีการเซ็นสัญญาโดยด่วน เนื่องจากทุกวันนี้ทีโอทีต้องเสียค่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่นำมาทำ3จี เฟส1ทุกวัน ทีโอทีเองก็ไม่มีเป้าหมายที่จะไปแย่งลูกค้าในเขตกรุงเทพฯ โดยจะมุ่งไปที่ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น อบต.เทศบาล และผู้นำท้องถิ่นต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ลูกค้ามีจำนวนไม่มากนัก

ประธานบอร์ดทีโอที กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ ความคืบหน้ากรณี 3จี เฟส1 ได้ติดตั้งสถานีฐานไปแล้วจำนวน 5,230 สถานี ล่าสุดเหลือการติดตั้งอีก 803 สถานี โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนส.ค. 2556 ซึ่งปัจจุบันมีสถานีฐานที่พร้อมให้บริการแล้ว 4,221 สถานี ส่วนลูกค้า3จี ทีโอที ในตอนนี้มีผู้ใช้งานแล้วจำนวน 269,739 ราย แบ่งเป็นลูกค้าในระบบเติมเงิน (พรีเพด) จำนวน 224,906 ราย และระบบรายเดือน (โพสเพด) จำนวน 44,833 ราย







โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/346746

_______________________________________



'อุดม' สั่งการบ้านผู้บริหารทีโอที เพิ่มมูลค่าโทรศัพท์พื้นฐาน


ประธานบอร์ดทีโอที สั่งผู้บริหารทีโอที ทบทวนการเพิ่มมูลค่าโทรศัพท์บ้าน-สาธารณะ พร้อมเปลี่ยนสายทองแดงเป็นไฟเบอร์ออฟติก ตามแผนปี 57 เผยงบลงทุนเฟสแรก 3 หมื่นล้านบาท...

เมื่อวันที่ 23 พ.ค. นายอุดม พัวสกุล ประธานกรรมการ (บอร์ด) บริหาร บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดทีโอที มอบหมายให้ฝ่ายบริหารกลับไปทบทวนเรื่องโทรศัพท์พื้นฐาน (ฟิกไลน์) ทั้งโทรศัพท์บ้านและสาธารณะ ถึงวิธีการที่ทำให้มีมูลค่าเพิ่ม

"ทีโอทีไม่ได้หวังให้ฟิกไลน์เพิ่มขึ้น แต่ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น จะทำอย่างไรให้มีมูลค่าด้วยการบันเดิ้ล หรือบริการขายพ่วงเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นเน็ตหรือไอพีทีวี" ประธานบอร์ด ทีโอที กล่าว

นายอุดม กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการเปลี่ยนจากสายทองแดงเป็นไฟเบอร์ออฟติก ตามแผนนั้น ในปี 2557 จะต้องดำเนินการเปลี่ยนให้ได้ 2 ล้านพอร์ต และให้ได้ทั้งหมด 5 ล้านพอร์ต ในอีก 3 ปีข้างหน้า โดย 2 ล้านพอร์ตแรก ใช้งบลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งงบประมาณดังกล่าวจะมาจากทีโอที และการหาพาร์ทเนอร์ร่วม











โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/346745

_________________________________________________________________________


ทีโอทีบักโกรก ไม่นับส่วนแบ่งรายได้เอไอเอส ขาดทุนไตรมาสแรก 2,037 ล้านบาท



       ทีโอทีเปิดผลประกอบการไตรมาสแรก มีรายได้รวม 7,315 ล้านบาท แต่ขาดทุนสุทธิหากไม่รวมส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานเอไอเอส 2,037 ล้านบาท
   
       นายอุดม พัวสกุล ประธานบอร์ดบริษัท ทีโอที กล่าวว่าที่ประชุมบอร์ดทีโอทีเมื่อวันที่ 23 พ.ค.มีการรายงานผลประกอบการประจำไตรมาส 1/2556 โดยทีโอทีมีรายได้ 7,315 ล้านบาทนับรวมรายได้จากสัญญาสัมปทานของเอไอเอส ,มีรายจ่าย 6,823 ล้านบาท ทำให้มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 560 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 16.75% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 แต่หากไม่รวมรายได้จากเอไอเอส คิดเฉพาะผลดำเนินงานของทีโอทีเองที่ประกอบด้วยรายได้จากบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) บริการ ADSL การให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ 3G ในย่านความถี่ 1900 MHz ที่ปัจจุบันมีลูกค้าราว 2 แสนราย และการให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศนั้น ทีโอทีจะขาดทุนสุทธิ 2,037 ล้านบาท แต่ก็ยังเป็นการขาดทุนลดลง 6.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา คือขาดทุนลดลง 141 ล้านบาท
   
       ส่วนความคืบหน้าการเซ็นสัญญา MVNO 3G กับบริษัท สามารถ ไอ-โมบายนั้น คาดว่าภายในเดือนมิ.ย.น่าจะตกลงรายละเอียดและนำเข้าที่ประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ หลังจากนั้นจะเซ็นสัญญาได้ภายในเดือนก.ค.นี้ โดยที่ผ่านมาได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน MVNO ชุดใหม่ เพื่อสรุปเรื่องการแบ่งผลประโยชน์และเรื่องความจุของโครงข่ายที่จะให้ทำการตลาด โดยจะมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเรื่องผลประโยชน์ โดยปรับเป็นเอกชนได้ 55% หลังหักค่าการตลาด และภาษีแล้วจะเหลือ 38% ในขณะที่ทีโอทีจะได้ผลประโยชน์ 45% จากเดิมที่เอกชนได้ 60% หลังหักค่าการตลาดผ่านช่องทางจำหน่าย 10% และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เท่ากับเอกชนจะได้รับส่วนแบ่ง 43% ขณะที่ทีโอทีได้ 40% เท่านั้น
   
       'บอร์ดทีโอทีส่วนใหญ่มองว่าควรรีบดำเนินการให้มีการเซ็นสัญญาโดยด่วน เนื่องจากทุกวันนี้ทีโอทีต้องเสียค่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่นำมาทำ 3G เฟส1 ทุกวัน'
   
       ส่วนความคืบหน้าในการติดตั้งสถานีฐาน 3G เฟส1 จำนวน 5,320 สถานีฐานนั้น ล่าสุดเหลือการติดตั้งอีก 803 สถานีฐาน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนส.ค.นี้ ซึ่งปัจจุบันมีสถานีฐานที่พร้อมให้บริการแล้ว 4,221 สถานีฐาน ส่วนลูกค้า 3G ทีโอที ในตอนนี้มีผู้ใช้งานแล้ว 269,739 ราย โดยแบ่งเป็นลูกค้าในระบบเติมเงิน(พรีเพด) 224,906 ราย
   
       บอร์ดทีโอทียังได้สั่งให้ฝ่ายบริหารกลับไปทบทวนเรื่องบริการโทรศัพท์พื้นฐานประจำที่ (ฟิกซ์ไลน์)ว่าจะทำอย่างไรให้บริการดังกล่าวสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งในเบื้องต้นได้มีแผนที่จะเปลี่ยนสายทองแดงของฟิกซ์ไลน์ ให้มาเป็นสายไฟเบอร์ออปติกหรือเคเบิลใยแก้วทั้งหมด โดยปัจจุบันสายทองแดงมีอยู่ 5 ล้านเลขหมาย แต่ในปี 2557 มีแผนจะเปลี่ยนสายทองแดงเป็นเคเบิลใยแก้วก่อน 2 ล้านเลขหมาย ด้วยงบประมาณ 30,000 ล้านบาท
   
       แหล่งข่าวในทีโอที กล่าวถึงความคืบหน้าการลงนามในบันทึกข้อตกลงกับ บริษัท เคเบิลไทยโฮลดิ้ง หรือCTH ในการพัฒนาเทคโนโลยีผ่านคอร์เน็ตเวิร์กของทีโอทีนั้น ล่าสุดโครงข่ายหลักในการเชื่อมสัญญาณจากศูนย์กลาง CTH ที่อ่อนนุช ไปยังเครือข่ายเคเบิลท้องถิ่นในระดับภูมิภาค ทีโอทีได้สร้างโครงข่ายใหม่ตามสเป็กของ CTH เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทีโอทีจะได้ผลตอบแทนในรูปแบบค่าเช่าโครงข่าย โดยคาดว่าจะคืนทุนได้ภายใน 2 ปี
   
       ขณะเดียวกันยังเหลือการเชื่อมต่อจากภูมิภาคไปยังบ้านลูกค้าของ CTH ที่ต้องเปลี่ยนจาก สายโคแอ็กซ์เชียล(coaxial cable) เป็นสายเคเบิลใยแก้วจำนวน 300,000 พอร์ต ซึ่งกำลังมีการเจรจาเพื่อวางแผนขยายโครงข่ายเข้าไปรองรับให้ทันในเดือนก.ย. นี้
   
       'สัญญาฉบับใหม่ที่จะเซ็นนั้น CTH ต้องการให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.ย.นี้เพื่อให้ทันกับการเปิดพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2013-2014 นี้ แต่เบื้องต้นทีโอทีคาดว่าอาจจะไม่ครบทั้ง 3 แสนพอร์ตเนื่องจากงบประมาณมีจำกัดในการลงทุน จึงจะเน้นเฉพาะบริเวณพื้นที่ๆมีความต้องการสูง'
   
       นอกจากนี้ในการลากสายไปยังบ้านผู้เช่าหรือลูกค้าของ CTH นั้นทีโอทีมองว่ามีความเสี่ยงสูงที่ต้องแบกรับภาระ เพราะต้องลากสายเข้าไปถึงบ้านลูกค้าก่อน ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าลูกค้าในพื้นที่ดังกล่าวต้องการใช้งานด้วยสายโคแอ็กซ์เชียลอย่างเดิม หรือเป็น เคเบิลใยแก้วที่รองรับฟังก์ชั่นการใช้งานได้มากกว่า อีกทั้ง CTH ยังระบุให้ทีโอทีเลือกใช้อุปกรณ์และระบบจากรายชื่อซัปพลายเออร์ของ CTH ส่วนการขายแพกเกจให้ลูกค้านั้น ทีโอทีจะมีส่วนแบ่งรายได้ 70% CTH ได้ 30% และทีโอทียังต้องแบ่งรายได้ให้ซัปพลายเออร์ที่มาสร้างโครงข่ายอีก 25% ด้วย ซึ่งการเปลี่ยนจากสายโคแอ็กซ์เชียล เป็นสายเคเบิลใยแก้วนั้นทีโอทีประเมิณต้นทุนต่อพอร์ตประมาณ 10,000บาท โดยทีโอทีจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 3 ปี

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000062119



ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.