Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) ตัดสินใจ ซื้อเวลา FREE TV เกาะติดการประมูล(ในรูปแบบราคาสดพร้อมกันทั่วประเทศ)กำหนดการประมูลออกเป็น 4 วัน แหล่งข่าวอ้างผู้ประมูลจะประมูลสูงกว่าราคาตั้งต้นประมาณ 10-20%




ประเด็นหลัก


การกำหนดให้เคาะเพิ่มราคารายครั้ง เพื่อให้ผู้ประมูลเสนอราคาเพิ่มแบบเกาะกลุ่ม ผู้ที่ชนะการประมูลจะมีต้นทุนค่าใบอนุญาตไม่ต่างกัน ซึ่งต่างจากวิธีการยื่นซองประมูล ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตอาจเสนอราคาที่ต่างกันมาก เช่น การคัดเลือกผู้ได้รับใบอนุญาต 3 อันดับแรกแบบยื่นซอง รายแรกอาจเสนอราคาที่ 2,000 ล้านบาท ,รายที่สองราคา 1,000 ล้านบาท และรายที่สาม 500 ล้านบาท จะเห็นว่าทั้ง 3 รายมีต้นทุนค่าไลเซ่นที่ต่างกันในอัตราสูง ส่งผลต่อการบริหารช่องทีวีดิจิทัลแน่นอน และ กสท.ไม่ต้องการเห็นการ "ทุ่มประมูล" ที่เสนอราคาต่างกันมากนัก โดยต้องการให้ผู้ได้รับใบอนุญาตครั้งนี้ มีต้นทุนค่าไลเซ่นใกล้เคียงกัน ราคาไม่สูง ทั้งนี้เพื่อนำเงินไปพัฒนาการผลิตรายการที่มีคุณภาพ

"การเสนอราคาประมูลสูงต่ำ แตกต่างกันจนเกินไป จะทำให้ต้นทุนดำเนินการต่างกันมาก หากรายใดมีต้นทุนสูงเกินในที่สุด อาจทำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการได้ หวังว่าต้นทุนค่าประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัลครั้งนี้ แต่ละรายจะเสนอราคาต่างกัน 1-2%" พ.อ.นที กล่าว

ทั้งนี้ กรณีที่มีผู้เข้าประมูล"เท่ากับ"จำนวนใบอนุญาต กสท.จะพิจารณา "ขยาย" เวลาเปิดรับสมัครผู้สนใจซื้อซองประมูลเพิ่มอีก 30-60 วัน หลังครบกำหนดแล้ว "ไม่มี"ผู้มาสมัครเพิ่ม เทากับว่ามีผู้สนใจและศักยภาพลงทุน"เท่ากับ" จำนวนใบอนุญาต กสท.ก็จะเปิดประมูล เชื่อว่าจะมีผู้เคาะราคาเพิ่มด้วยเช่นกัน เพราะ "ผู้ชนะ"การประมูลจะได้รับสิทธิ 1.เป็นเจ้าของคลื่นฯทีวีดิจิทัล 15 ปี 2.สิทธิการเลือกเลขช่อง และสิทธิในการเลือกใช้บริการโครงข่าย (Mux)

หากมีการประมูลในราคาสูง แต่ในอนาคตหากผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ กสทช.มีเงื่อนไขชัดเจนว่า "ห้าม" ขายต่อหรือโอนใบอนุญาต แต่ต้องคืนคลื่นฯให้กสทช. ไปประมูลต่อ

แหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมบรอดแคสติ้ง ประเมินการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 24 ช่องธุรกิจ ของ กสทช.ครั้งนี้ คาดว่าจะได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการในกิจการบรอดแคสต์ โทรคมนาคม และคอนเทนท์ โปรวายเดอร์จำนวนมาก ทำให้เม็ดเงินการประมูลสูงกว่าราคาตั้งต้นประมาณ 10-20% จากราคาตั้งต้นรวมทั้ง 24 ช่อง ที่มูลค่า 15,190 ล้านบาท

ซื้อเวลาฟรีทีวียิงสดประมูล

การประมูลทีวีดิจิทัล 24 ช่องธุรกิจ ที่จะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกๆ ในโลก กสท. ในฐานะผู้ดำเนินการจัดสรรคลื่นฯ และออกแบบการประมูล ได้กำหนดรูปแบบการประมูลเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมกับผู้ประกอบการทุกราย ถือเป็นการจัดสรรคลื่นฯ ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน

ขั้นตอนการประมูล กสท. ได้กำหนดการประมูลออกเป็น 4 วัน ในวันเสาร์-อาทิตย์ แบ่งตามประเภทช่องทีวีดิจิทัล ที่มี 4 ประเภท คือ เอชดี ,วาไรตี้ ,ข่าวและเด็ก โดยแยกประมูลวันละประเภท ส่วนประเภทใดจะเริ่มประมูลก่อนจะมีการประกาศอีกครั้ง

พร้อมกันนี้ได้เช่าเวลาสถานีฟรีทีวี ปัจจุบันสลับการถ่ายทอดสดตลอดการประมูล โดยผู้ชมทางบ้านจะเห็นการเคลื่อนไหวของการเคาะเพิ่ม "ราคา" ประมูลตลอดระยะเวลา 60 นาที แต่ไม่เห็นว่าเป็นราคาของผู้ประมูลรายใด





______________________________________







'นที'เปิดแผนประมูลทีวีดิจิทัล

เปิดแผนประมูลทีวีดิจิทัล 24 ช่องธุรกิจ คืบหน้า 90% วางกรอบชิงใบอนุญาตไตรมาส 3 ออกแบบคุม


การกำหนดยุทธศาสตร์ Go Digital เปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัล ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ภายใต้การทำงานของคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ที่ได้ประกาศแผนจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) 48 ช่อง แบ่งเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย บริการชุมชน 12 ช่อง ,บริการสาธารณะ 12 ช่อง และบริการธุรกิจ 24 ช่อง นับตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านถึงปัจจุบันกระบวนการจัดสรรคลื่นฯ และการออกใบอนุญาตรายประเภทจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส3 ปีนี้

รายการ Business Talk "กรุงเทพธุรกิจทีวี" สัมภาษณ์ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธาน กสท. ถึงความพร้อมการเตรียมประมูลทีวีดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจ 24 ช่อง ประกอบด้วยช่องเอชดี 7 ช่อง ,วาไรตี้ 7 ช่อง ,ช่องข่าว 7 ช่อง และช่องเด็ก 3 ช่อง และจุดเปลี่ยนในอุตสาหกรรมสื่อ ภายหลังการจัดสรรคลื่นฯใหม่ "ทีวีดิจิทัล"

จัดสรรคลื่นฯคืบ 90%

พ.อ.นที กล่าวว่าขณะนี้การดำเนินการเตรียมประมูลทีวีดิจิทัล 24 ช่องประเภทบริการธุรกิจ คืบหน้าแล้ว 90% โดยกระบวนการหลังจาก บอร์ดใหญ่ กสทช. เห็นชอบ ร่างประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ... ได้เผยแพร่ร่างประกาศฯ ผ่านเว็บไซต์เป็นเวลา 15 วัน จากนั้นใช้เวลา 1 เดือนเปิดรับฟังความคิดเห็นทั้งทางเว็บไซต์และเปิดเวทีสาธารณะ ในช่วงเดือน มิ.ย.นี้

หลังจากรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ สำนักงาน กสทช. รวบรวมข้อมูล นำมาปรับปรุงร่างฯ เพื่อเสนอให้บอร์ด กสท. และบอร์ดใหญ่ กสทช. พิจารณาในเดือน ก.ค.นี้ หลังจากบอร์ด "เห็นชอบ" ร่างฯ จะส่งไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ คาดว่ากสท. จะออกหนังสือเชิญชวน (information memorandum :IM) ได้เดือน ส.ค. โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เปิดรับสมัครผู้สนใจประมูลและตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครร่วมประมูล คาดจะเปิดประมูลราวเดือน ก.ย.นี้ โดยกรณีล่าช้าจากกรอบเวลาดังกล่าว จะไม่เกิน 1 เดือน หรือประมูลไม่เกินเดือนต.ค.นี้

เกณฑ์ประมูลไม่เน้นปั่น"ราคา"

พ.อ.นที กล่าวว่าการประมูลคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล จะมุ่งสร้างประโยชน์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความบันเทิง จากคลื่นฯสาธารณะ โดยเน้นคัดเลือก "ผู้ประกอบการ" ขนาดกลางและรายใหญ่ ที่มีศักยภาพและเงินทุนด้านการผลิตคอนเทนท์คุณภาพ ไม่เน้นการประมูลเพื่อสร้างรายได้สูงสุด เพราะเงินจากการประมูลทีวีดิจิทัล จะมอบให้กองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต่างจากเงินประมูลใบอนุญาต3จี ที่ต้องนำส่งภาครัฐ

ดังนั้นการประมูลทีวีดิจิทัล ในรูปแบบอี-ออคชั่น กำหนด "ระยะเวลา" การประมูลไว้ 60 นาที กำหนดการเคาะราคาเพิ่มขึ้น "รายครั้ง" ตามประเภทช่องรายการ โดยช่องเอชดีที่กำหนดราคาตั้งต้นช่องละ 1,510 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 10 ล้านบาท ,ช่องวาไรตี้ SD ราคาตั้งต้นช่องละ 380 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 5 ล้านบาท ,ช่องข่าว SD ราคาตั้งต้นช่องละ 220 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 2 ล้านบาท ส่วนช่องเด็ก SD ราคาตั้งต้น ช่องละ 140 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 1 ล้านบาท คาดว่าใน 1 นาที สามารถเคาะราคาได้ถึง 20 ครั้ง

การกำหนดให้เคาะเพิ่มราคารายครั้ง เพื่อให้ผู้ประมูลเสนอราคาเพิ่มแบบเกาะกลุ่ม ผู้ที่ชนะการประมูลจะมีต้นทุนค่าใบอนุญาตไม่ต่างกัน ซึ่งต่างจากวิธีการยื่นซองประมูล ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตอาจเสนอราคาที่ต่างกันมาก เช่น การคัดเลือกผู้ได้รับใบอนุญาต 3 อันดับแรกแบบยื่นซอง รายแรกอาจเสนอราคาที่ 2,000 ล้านบาท ,รายที่สองราคา 1,000 ล้านบาท และรายที่สาม 500 ล้านบาท จะเห็นว่าทั้ง 3 รายมีต้นทุนค่าไลเซ่นที่ต่างกันในอัตราสูง ส่งผลต่อการบริหารช่องทีวีดิจิทัลแน่นอน และ กสท.ไม่ต้องการเห็นการ "ทุ่มประมูล" ที่เสนอราคาต่างกันมากนัก โดยต้องการให้ผู้ได้รับใบอนุญาตครั้งนี้ มีต้นทุนค่าไลเซ่นใกล้เคียงกัน ราคาไม่สูง ทั้งนี้เพื่อนำเงินไปพัฒนาการผลิตรายการที่มีคุณภาพ

"การเสนอราคาประมูลสูงต่ำ แตกต่างกันจนเกินไป จะทำให้ต้นทุนดำเนินการต่างกันมาก หากรายใดมีต้นทุนสูงเกินในที่สุด อาจทำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการได้ หวังว่าต้นทุนค่าประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัลครั้งนี้ แต่ละรายจะเสนอราคาต่างกัน 1-2%" พ.อ.นที กล่าว

สร้างโมเดลประมูล"ทีวีดิจิทัล"

พ.อ.นที กล่าวว่า การประมูลทีวีดิจิทัล ในไทยที่จะเกิดขึ้นช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ ถือเป็นการประมูลคลื่นฯ สำหรับให้บริการโทรทัศน์เป็นครั้งแรกของโลก เคยมีการประมูลคลื่นฯโทรทัศน์ในสหรัฐ แต่ไม่ได้กำหนดรูปแบบการดำเนินการ ผู้ประมูลได้นำคลื่นฯไปให้บริการด้านโทรคมนาคม หลายประเทศใช้วิธีการจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล ให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการผลิต โดยไม่ต้องประมูล แต่ในไทยกฎหมายสื่อกำหนดให้การจัดสรรคลื่นฯ โทรทัศน์ ประเภทบริการธุรกิจ ต้องดำเนินการโดยวิธีการประมูลเท่านั้น

ดังนั้นกระบวนการจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล ตั้งแต่วิธีการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ การออกแบบหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลครั้งนี้ เชื่อว่าจะเป็นโมเดลให้ต่างประเทศ ที่จะจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัลในอนาคต นำไปศึกษาและใช้เป็นตัวอย่างหรือออกแบบการประมูลได้

ช่องวาไรตี้ SD แข่งสูง

ภายใต้เงื่อนไขการประมูลที่กำหนดให้ ผู้ที่ต้องการประมูลช่องเอชดี ห้ามประมูลช่องข่าว และผู้ประมูลช่องข่าว ห้ามประมูลช่องเอชดี ทำให้จำนวนผู้เข้าประมูลช่องรายการทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว มีจำนวนใกล้เคียงกับจำนวนช่องที่จัดสรร เชื่อว่าจะมีผู้เข้าประมูลมากกว่าจำนวนช่อง ขณะที่ช่องเด็ก ซึ่งเปิดประมูล 3 ช่อง เป็นคอนเทนท์เฉพาะกลุ่มจะมีผู้เข้าร่วมแข่งขันไม่สูงเช่นกัน

ขณะที่ช่องวาไรตี้ SD ที่เปิดกว้างให้ผู้สนใจประมูลได้ โดยไม่มีข้อจำกัด อีกทั้งกำหนดสัดส่วนคอนเทนท์วาไรตี้เป็นหลัก เชื่อว่าจะเป็นประเภทช่องที่มีการแข่งขัน"สูงสุด" อาจมีผู้เข้าร่วมประมูลราว 20 ราย มั่นใจว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูลทีวีดิจิทัล ทุกประเภทมากกว่าจำนวนใบอนุญาตแน่นอน

ทั้งนี้ กรณีที่มีผู้เข้าประมูล"เท่ากับ"จำนวนใบอนุญาต กสท.จะพิจารณา "ขยาย" เวลาเปิดรับสมัครผู้สนใจซื้อซองประมูลเพิ่มอีก 30-60 วัน หลังครบกำหนดแล้ว "ไม่มี"ผู้มาสมัครเพิ่ม เทากับว่ามีผู้สนใจและศักยภาพลงทุน"เท่ากับ" จำนวนใบอนุญาต กสท.ก็จะเปิดประมูล เชื่อว่าจะมีผู้เคาะราคาเพิ่มด้วยเช่นกัน เพราะ "ผู้ชนะ"การประมูลจะได้รับสิทธิ 1.เป็นเจ้าของคลื่นฯทีวีดิจิทัล 15 ปี 2.สิทธิการเลือกเลขช่อง และสิทธิในการเลือกใช้บริการโครงข่าย (Mux)

หากมีการประมูลในราคาสูง แต่ในอนาคตหากผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ กสทช.มีเงื่อนไขชัดเจนว่า "ห้าม" ขายต่อหรือโอนใบอนุญาต แต่ต้องคืนคลื่นฯให้กสทช. ไปประมูลต่อ

แหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมบรอดแคสติ้ง ประเมินการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 24 ช่องธุรกิจ ของ กสทช.ครั้งนี้ คาดว่าจะได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการในกิจการบรอดแคสต์ โทรคมนาคม และคอนเทนท์ โปรวายเดอร์จำนวนมาก ทำให้เม็ดเงินการประมูลสูงกว่าราคาตั้งต้นประมาณ 10-20% จากราคาตั้งต้นรวมทั้ง 24 ช่อง ที่มูลค่า 15,190 ล้านบาท

ซื้อเวลาฟรีทีวียิงสดประมูล

การประมูลทีวีดิจิทัล 24 ช่องธุรกิจ ที่จะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกๆ ในโลก กสท. ในฐานะผู้ดำเนินการจัดสรรคลื่นฯ และออกแบบการประมูล ได้กำหนดรูปแบบการประมูลเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมกับผู้ประกอบการทุกราย ถือเป็นการจัดสรรคลื่นฯ ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน

ขั้นตอนการประมูล กสท. ได้กำหนดการประมูลออกเป็น 4 วัน ในวันเสาร์-อาทิตย์ แบ่งตามประเภทช่องทีวีดิจิทัล ที่มี 4 ประเภท คือ เอชดี ,วาไรตี้ ,ข่าวและเด็ก โดยแยกประมูลวันละประเภท ส่วนประเภทใดจะเริ่มประมูลก่อนจะมีการประกาศอีกครั้ง

พร้อมกันนี้ได้เช่าเวลาสถานีฟรีทีวี ปัจจุบันสลับการถ่ายทอดสดตลอดการประมูล โดยผู้ชมทางบ้านจะเห็นการเคลื่อนไหวของการเคาะเพิ่ม "ราคา" ประมูลตลอดระยะเวลา 60 นาที แต่ไม่เห็นว่าเป็นราคาของผู้ประมูลรายใด

สำหรับผู้เข้าประมูลจะถูกแยกห้องออกรายละหนึ่งห้อง โดยผู้เข้าประมูลจะเห็นข้อมูลหน้าจอ คือ1.ราคาเคาะของตนเอง 2.ลำดับของตนเอง และ 3. เห็นราคาสุดท้ายที่จะชนะการประมูล ดังนั้นหากผู้ประมูลต้องการชนะต้องเคาะราคาเพิ่มให้เกาะกลุ่มและอยู่ในลำดับที่มีการจัดสรรใบอนุญาต


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130527/507581/%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%
80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%
B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94
%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.