Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 พฤษภาคม 2556 (กสทช.ยืนยันอีกครั้งวันนี้) ลูกค้าที่ใช้ TRUEMOVE และ GSM1800 หลังหมดสัปทาน 15 ก.ย. 2556 SIM ไม่ดับแน่นอนอีก1ปี++ หากลูกค้ายังอยู่ในระบบ กสทช.กำลังพิจรณาอยู่




ประเด็นหลัก



       'ต้องไม่เกิดเหตุการณ์ซิมดับ เพราะจะมีการกำหนดระยะเวลาให้บริการชั่วคราวต่อไปหลังหมดอายุสัญญา 15 ก.ย. 2556 แต่ถ้าหากยังมีลูกค้าคงค้างในระบบ จนถึงวันที่กำหนดให้สิ้นสุดระยะเวลาชั่วคราว ผู้ที่ชนะการประมูลความถี่ 1800 MHz ก็จะต้องดูแลลูกค้ากลุ่มนี้ต่อไป โดยจะกำหนดเป็นเงื่อนไขในการประมูลความถี่ 1800 MHz ด้วย'
   
       ทั้งนี้ในวันที่ 4 มิ.ย.2556 นี้บอร์ดกทค.จะเรียกผู้ประกอบการความถี่ 1800 MHz ประกอบด้วย บริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทาน และผู้ประกอบการเอกชนที่รับสัมปทาน 2 รายคือ บริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) เข้ามาหารือในประเด็นใครจะเป็นผู้ให้บริการดูแลลูกค้าในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานไปเป็นระบบใบอนุญาต หรือ กำหนดระยะเวลาชั่วคราว รวมทั้งเรื่อง ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ และรายได้ที่เกิดขึ้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราเท่าไหร่



______________________________________








คาดตั้งคณะทำงานร่วมกทค./กสท. ถกความถี่ 700 MHz


       'เศรษฐพงค์' ยันปัญหาความถี่ 700 MHz แค่สิวๆ ไม่กระทบกับตารางเวลาการประมูลทีวีดิจิตอลของกสท.แน่นอน ชี้มีหลายโซลูชันแก้ปัญหาทางเทคนิคไม่ยาก
   
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกทค.เมื่อวันที่ 29 พ.ค.มีมติให้นำประเด็นคลื่นความถี่ทับซ้อนกันระหว่างกิจการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลกับกิจการโทรคมนาคม ไปหารือกับพล.อ.อ.ธเรศ ปุณณศรี ประธานกสทช. ภายหลังรับทราบรายงานผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการศึกษาโรดแมป การออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคม เรื่องรายงานการศึกษากรณีผลกระทบต่อการวางแผนคลื่นความถี่เพื่อรองรับคลื่นความถี่ที่เตรียมพร้อมไว้สำหรับความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ (Digital Dividend Spectrum) อันเนื่องมาจากประกาศแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เพื่อให้รับทราบปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งเตรียมจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างบอร์ด กทค.และบอร์ดกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เพื่อหาแนวทางแก้ไขในปัญหา
   
       เนื่องจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union หรือ ITU) มีประกาศเรื่องการกำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ในย่าน 690-790 MHz สำหรับด้านโทรคมนาคม ซึ่งประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก อาทิ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ประกาศที่จะใช้ความถี่ในย่านดังกล่าวเพื่อใช้ในการให้บริการโมบายบรอดแบนด์ (Digital Dividend Spectrum) ในขณะที่ประเทศไทยจะใช้ความถี่บางส่วนที่ทับซ้อนกันเพื่อให้บริการดิจิตอลทีวี จึงทำให้เกิดความกังวลว่าอาจจะเกิดการรบกวนความถี่กันระหว่างดิจิตอลทีวีของไทยกับบริการโทรคมนาคมของประเทศเพื่อนบ้าน
   
       'ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แค่เป็นเรื่องเทคนิคทางวิศวกรรม ในเรื่องปัญหาความถี่จะรบกวนกัน ซึ่งมีโซลูชันแก้ปัญหาได้หลายอย่าง แต่ที่สำคัญคือจะต้องไม่ไปกระทบกับตารางเวลาในการประมูลทีวีดิจิตอลของบอร์ดกสท.'
   
       พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบร่างประกาศกสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรคมนาคมในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ... ที่คณะทำงานฯที่มีนายสงขลา วิชัยขัทคะ เป็นประธาน โดยอาศัยฐานอำนาจทางกฏหมายในการออกประกาศฯดังกล่าว ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไปคณะทำงานฯ จะนำร่างประกาศดังกล่าวไปศึกษารายละเอียดเพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดกทค.และนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กสทช.เพื่อมีมติเห็นชอบต่อไปในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ จากนั้นจะนำไปเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์) และคาดว่าจะประกาศลงราชกิจจานุเบกษาได้ราวเดือน ส.ค. 2556
   
       'ต้องไม่เกิดเหตุการณ์ซิมดับ เพราะจะมีการกำหนดระยะเวลาให้บริการชั่วคราวต่อไปหลังหมดอายุสัญญา 15 ก.ย. 2556 แต่ถ้าหากยังมีลูกค้าคงค้างในระบบ จนถึงวันที่กำหนดให้สิ้นสุดระยะเวลาชั่วคราว ผู้ที่ชนะการประมูลความถี่ 1800 MHz ก็จะต้องดูแลลูกค้ากลุ่มนี้ต่อไป โดยจะกำหนดเป็นเงื่อนไขในการประมูลความถี่ 1800 MHz ด้วย'
   
       ทั้งนี้ในวันที่ 4 มิ.ย.2556 นี้บอร์ดกทค.จะเรียกผู้ประกอบการความถี่ 1800 MHz ประกอบด้วย บริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทาน และผู้ประกอบการเอกชนที่รับสัมปทาน 2 รายคือ บริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) เข้ามาหารือในประเด็นใครจะเป็นผู้ให้บริการดูแลลูกค้าในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานไปเป็นระบบใบอนุญาต หรือ กำหนดระยะเวลาชั่วคราว รวมทั้งเรื่อง ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ และรายได้ที่เกิดขึ้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราเท่าไหร่

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000064729&Keyword=%a1%ca%b7

_________________________________________



หวั่นคลื่น 700 MHz พ่นพิษ-กทค.ยันไม่เลื่อนประมูลทีวีดิจิตอล


“เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ” ปธ.บอร์ด กทค.เตรียมตั้งคณะกรรมการร่วมทบแทวนแผนแม่บทใหม่ กรณีการจัดสรรคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ไม่ให้ทับซ้อนระหว่างกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ขณะที่ล่าสุดอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางแก้ปัญหา นั่งยันไม่กระทบแผนประมูลทีวีดิจิตอล ก.ย.56...

เมื่อวันที่ 28 พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กทค. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้คณะทำงาน (ร่าง) ประกาศมาตรฐานการคุ้มครองกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อป้องกันปัญหาซิมดับหลังสัญญาสัมปทานของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท  ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) สิ้นสุดลงในเดือน ก.ย. 2556 ซึ่งจะช่วยคุ้มครองผู้บริโภคว่ายังสามารถใช้งานต่อไปได้โดยไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใด รวมทั้งเห็นชอบแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ มีหน้าที่ประสานกับไอทียู ศึกษาราคากลางที่เหมาะสมเพื่อเตรียมเปิดประมูล

ประธาน กทค. กล่าวต่อว่า ตามประกาศแผนความถี่ทีวีดิจิตอล เมื่อเดือน ธ.ค.2555 กำหนดให้คลื่นความถี่ช่วง  510-710 เมกะเฮิรตซ์ เป็นคลื่นสำหรับใช้ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นหลัก แต่ตามมาตรฐานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) กำหนดคลื่นความถี่ 698-806 เมกะเฮิรตซ์ จะต้องนำมาใช้ในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ได้นำความถี่มาใช้ในบริการบรอดแบนด์แล้ว

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ ไอทียูแนะนำว่า ต้องการให้ประเทศไทยศึกษาการนำคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ มาพัฒนาสู่บริการ 4จี และ 5จี เพื่อให้ทันกับประเทศอื่นในอาเซียนที่ได้เริ่มนำคลื่นดังกล่าวมาจัดสรรใช้ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมแล้ว สำหรับประเทศไทยจะต้องประสานงานคลื่นความถี่กับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ให้การใช้งานรบกวนกัน (อินเทอร์เฟียร์) ซึ่งเป็นทางออกเบื้องต้นที่ดีที่สุด และเตรียมตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างบอร์ด กทค. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เพื่อหารือในเรื่องดังกล่าว โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะปรับปรุงแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ใหม่ เพราะตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปรับปรุงทุก 2 ปี

ต่อข้อถามถึงแผนการใช้คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ในบริการโทรคมนาคม หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ตามมาตรฐานไอทียู จะส่งผลกระทบต่อการประมูลช่องรายการทีวีดิจิตอลของประเทศไทยหรือไม่นั้น ประธาน กทค. กล่าวว่า แม้คลื่นดังกล่าวจะทับกันในบางช่วง แต่ยืนยันว่าจะไม่มีผลกระทบต่อกรอบการประมูลที่วางไว้ เดือน ก.ย. 2556 อย่างแน่นอน

“ขณะนี้ ยังเร็วเกินไปที่ กทค. จะจัดสรรคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้เกี่ยวกับโทรคมนาคมแล้วเพื่อประมูลทำ 4จี เพราะทุกอย่างยังเป็นกรอบที่อยู่ระหว่างการศึกษา อาจทำทีละส่วน หรือย้ายคลื่นออกมา ซึ่งประเทศไทยกำลังศึกษาว่ามีทางแก้ไขอย่างไรบ้าง แต่ยืนยันว่าไม่กระทบกับกรอบการประมูลทีวีดิจิตอลแน่นอน” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว.









โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/347893

_______________________________________



กทค.ตั้งทีมร่วมกสท.สางคลื่น700Mhz



  บอร์ด กทค. ยืนยัน จัดสรรคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ไม่กระทบแผนประมูลทีวีดิจิตอล เตรียมตั้งคณะกรรมการร่วมทบทวนแผนแม่บทใหม่
    พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า แผนการใช้คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ในบริการโทรคมนาคม หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ตามมาตรฐานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) จะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมูลช่องรายการทีวีดิจิตอลของไทยที่วางไว้ คือเดือน ก.ย.อย่างแน่นอน แม้ว่าคลื่นดังกล่าวจะทับกันในบางช่วง
    ทั้งนี้ ตามประกาศแผนความถี่ทีวีดิจิตอล เมื่อเดือน ธ.ค.2555 กำหนดให้คลื่นความถี่ช่วง 510-710 เมกะเฮิรตซ์ เป็นคลื่นสำหรับใช้ในกิจการโทรทัศน์ (บรอดคาสต์) เป็นหลัก แต่ตามมาตรฐานที่ไอทียูกำหนด คลื่นความถี่ 698-806 เมกะเฮิรตซ์ จะต้องนำมาใช้ในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งขณะนี้ประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และ ออสเตรเลีย ได้นำความถี่มาใช้ในบริการบรอดแบนด์แล้ว
    สำหรับประเทศไทยเอง จะต้องประสานงานคลื่นความถี่กับประเทศเพื่อนบ้านไม่ให้การใช้งานรบกวนกัน ซึ่งเป็นทางออกเบื้องต้นที่ดีที่สุด และเตรียมตั้งคณะกรรมการร่วม ระหว่าง กทค. และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เพื่อหารือในเรื่องนี้ โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะปรับปรุงแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ใหม่ เพราะตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปรับปรุงทุก 2 ปีอยู่แล้ว
    นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการในระบบ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อป้องกันปัญหาซิมดับหลังสัญญาสัมปทานของทรูมูฟ และดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) สิ้นสุดลงในเดือน ก.ย.2556 ซึ่งจะช่วยคุ้มครองผู้บริโภคว่ายังสามารถใช้งานต่อไปได้โดยไม่เกิดปัญหาใดๆ รวมทั้งเห็นชอบแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ มีหน้าที่ประสานกับไอทียู ศึกษาราคากลางที่เหมาะสม เพื่อเตรียมเปิดประมูล.

http://www.thaipost.net/news/300513/74269

____________________________



กทค.เผยแนวโน้มคลื่น700เมกะเฮิร์ตซทำบอรดแบนด์


กทค.รับแนวทางคลื่น 700 เมกะเฮิร์ตซ ตั้งรับไอทียู ทำโมบาย บรอดแบนด์ ดันหารือบอร์ดกสท. ตั้งคณะทำงานร่วม หาทางออกสอดคล้องเพื่อนบ้าน
วันนี้(29พ.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.)เปิดเผยว่า   คณะอนุกรรมการโรดแมปได้รายงานผลกระทบกรณีศึกษาการวางแผนคลื่นความถี่เพื่อรองรับคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ  ตามมาตรฐานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ที่มีแนวโน้มนำเอาคลื่นดังกล่าวไปให้บริการโทรคมนาคมหรือ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือ (โมบาย บรอดแบนด์) ต่อที่ประชุมกทค. เพื่อนำไปหารือร่วมกับประธานกสทช. คาดว่าอาจจะมีการตั้งคณะร่วมระหว่าง กทค. และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)


โดยประกาศแผนความถี่ทีวีดิจิตอล เมื่อเดือน ธ.ค.2555 กำหนดให้คลื่นความถี่ช่วง  510-710 เมกะเฮิร์ตซ เป็นคลื่นสำหรับใช้ในกิจการโทรทัศน์ (บรอดคาสต์)  แต่ตามมาตรฐานที่ไอทียูกำหนด คลื่นความถี่ 698-806 เมกะเฮิร์ตซ จะต้องนำมาใช้ในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งขณะนี้ประเทศในแถบเอเชีย แปซิฟิก คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และ ออสเตรเลีย ได้นำความถี่มาใช้ในบริการบรอดแบนด์ ดังนั้นจึงต้องประสานกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหาทางออก เพื่อไม่ให้เกิดคลื่นสัญญาณรบกวนกัน


“มองว่าปัญหาดังกล่าวนี้สามารถแก้ไขได้ทางเทคนิค ไม่จำเป็นต้องแก้ หรือปรับปรุงแผนแม่บท  ซึ่งจะไม่กระทบต่อการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัล และการประมูลช่องธุรกิจ ซึ่งทุกฝ่ายพยายามเร่งให้เกิดขึ้น ” พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์กล่าว



http://www.dailynews.co.th/technology/207993

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.