Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 พฤษภาคม 2556 (แก้ CAT TRUEผ่านไป329วันแล้ว) หมอลี่ มั่นใจ BFTK เร่งยื่นขอไลเซ่นประเภท 2 (หลังร่างหลักเกณฑ์ตีวนี้เสร็จหลังเดือน มิถุนายน) เชื่อBFTKไม่ยอมเสียค่าโง่



ประเด็นหลัก




ทั้งนี้ ล่าสุดร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวสำนักงานกสทช.ได้ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเบื้องต้นสำนักงานได้ส่งให้บอร์ดกทค.ตรวจสอบ และพิจารณาก่อนนำเข้าบอร์ดเพื่อมีมติเห็นชอบ และนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ซึ่งการประชุมบอร์ดกทค.วันนี้ (29 พ.ค.) สำนักงานยังไม่ได้นำประเด็นดังกล่าวเข้าวาระการประชุม จึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะนำร่างฯดังกล่าวเสนอต่อกทค.ได้ภายในเดือนมิ.ย.หรือไม่

อย่างไรก็ดี สาระสำคัญในร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้น ระบุว่าแม้ผู้ประกอบการให้เช่าเครื่อง และอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะเดียวกันกับกรณีบีเอฟเคที ซึ่งแม้ไม่เข้าการประกอบกิจการโทรคมนาคมก็ต้องเข้ามาขอใบอนุญาตประเภทที่ 2 กับกสทช.ด้วย เพราะให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนคม และเป็นไปตามระเบียบของกสทช.ตามหลักเกณฑ์ต่างๆ

“เชื่อว่าบีเอฟเคทีคงฉลาดที่จะไม่เข้ามาขอใบอนุญาตประเภทที่ 2 แน่นอน เนื่องจากมติบอร์ดกทค.ในวันนั้นระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่าบีเอฟเคที ไม่เข้าข่ายผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นจะเข้ามาขอใบอนุญาตเพื่ออะไร และร่างดังกล่าวที่มอบหมายให้สำนักงานไปร่างขึ้นมา ก็ดำเนินการไปเพื่อให้สังคมรับรู้ว่ากสทช.ได้ดำเนินการทุกอย่างครบถ้วนแล้วเท่านั้นเอง”

แม้ร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว มีผลบังคับใช้ขึ้นมาแต่ก็เชื่อว่าไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย จากกรณีที่เกิดขึ้นไปแล้วเพราะคงไม่มีเอกชนรายใดจะยอมให้ตัวเองต้องเสียรายได้เพิ่มถึง 5% จากการเข้ามาของใบอนุญาตประเภทที่ 2 แน่นอนเพราะหากถือใบอนุญาตประเภทที่ 2 ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมประกอบกิจการรายปี 2% และค่าธรรมเนียมกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (ยูเอสโอ) อีก 2.75% ทั้งที่มติก็ระบุว่าไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม

______________________________________





กสทช.บีบ"บีเอฟเคที"ขอไลเซ่นแบบ2

"หมอลี่" เชื่อบีเอฟเคทีไม่ยอมเสียค่าโง่ ยื่นขอไลเซ่นประเภท 2 แม้สำนักงาน กสทช. เตรียมชงร่างหลักเกณฑ์ บีบต้องขอใบอนุญาตก่อนดำเนินกิจการ


นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวถึงความคืบหน้า ภายหลังบอร์ดกทค.มีมติ 4 ต่อ 1 เสียง เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่่ผ่านมา ให้บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ไม่เข้าข่ายดำเนินการขัดกฏหมายมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 จึงไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แต่ได้สั่งให้สำนักงานกสทช.กลับไปเร่งดำเนินการยกร่างหลักเกณฑ์ ที่จะกำกับดูแลในกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้การดำเนินกิจการให้เช่าเครื่อง และอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะดังกล่าวของบุคคลใดๆ เข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช.

ทั้งนี้ ล่าสุดร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวสำนักงานกสทช.ได้ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเบื้องต้นสำนักงานได้ส่งให้บอร์ดกทค.ตรวจสอบ และพิจารณาก่อนนำเข้าบอร์ดเพื่อมีมติเห็นชอบ และนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ซึ่งการประชุมบอร์ดกทค.วันนี้ (29 พ.ค.) สำนักงานยังไม่ได้นำประเด็นดังกล่าวเข้าวาระการประชุม จึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะนำร่างฯดังกล่าวเสนอต่อกทค.ได้ภายในเดือนมิ.ย.หรือไม่

อย่างไรก็ดี สาระสำคัญในร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้น ระบุว่าแม้ผู้ประกอบการให้เช่าเครื่อง และอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะเดียวกันกับกรณีบีเอฟเคที ซึ่งแม้ไม่เข้าการประกอบกิจการโทรคมนาคมก็ต้องเข้ามาขอใบอนุญาตประเภทที่ 2 กับกสทช.ด้วย เพราะให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนคม และเป็นไปตามระเบียบของกสทช.ตามหลักเกณฑ์ต่างๆ

“เชื่อว่าบีเอฟเคทีคงฉลาดที่จะไม่เข้ามาขอใบอนุญาตประเภทที่ 2 แน่นอน เนื่องจากมติบอร์ดกทค.ในวันนั้นระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่าบีเอฟเคที ไม่เข้าข่ายผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นจะเข้ามาขอใบอนุญาตเพื่ออะไร และร่างดังกล่าวที่มอบหมายให้สำนักงานไปร่างขึ้นมา ก็ดำเนินการไปเพื่อให้สังคมรับรู้ว่ากสทช.ได้ดำเนินการทุกอย่างครบถ้วนแล้วเท่านั้นเอง”

แม้ร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว มีผลบังคับใช้ขึ้นมาแต่ก็เชื่อว่าไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย จากกรณีที่เกิดขึ้นไปแล้วเพราะคงไม่มีเอกชนรายใดจะยอมให้ตัวเองต้องเสียรายได้เพิ่มถึง 5% จากการเข้ามาของใบอนุญาตประเภทที่ 2 แน่นอนเพราะหากถือใบอนุญาตประเภทที่ 2 ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมประกอบกิจการรายปี 2% และค่าธรรมเนียมกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (ยูเอสโอ) อีก 2.75% ทั้งที่มติก็ระบุว่าไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม

นอกจากนี้ เขา กล่าวถึง วาระการประชุมบอร์ดกทค.วันนี้ (29 พ.ค.) มีวาระที่สำคัญคือในประเด็นของคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมะเฮิรตซ์ เตรียมที่จะออกร่างประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรคมนาคมในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. .... ซึ่งเป็นร่างฯเฉพาะกิจในเยียวยาลูกค้า

ทั้งนี้ เขามองว่าร่างประกาศมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการดังกล่าว พยายามให้ บริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ให้บริการลูกค้าต่อทั้งที่หมดสัมปทานแล้ว โดยเฉพาะกรณีดีพีซีที่มีลูกค้าเพียง 80,000 ราย สามารถโอนย้ายได้ในพริบตาก่อนสิ้นสุดสัมปทาน ส่วนทรูมูฟนั้นทางเอกชนก็เร่งดำเนินการโอนย้ายลูกค้าไปยังทรูมูฟ เอช แต่การที่กสทช.ออกร่างฯประกาศ ก็จะยืดให้เป็นการเอื้อให้ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่จะสิ้นสุดสัมปทานในอีก 2 ปีข้างหน้าด้วยเช่นกัน

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130528/508012/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B
8%8A.%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9F
%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B
9%80%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.