Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 พฤษภาคม 2556 RS ตัดสินใจ ฟ้องร้องสำนักงาน กสทช. ต่อศาลปกครอง เหตุ RS ทำสัญญาฟุตบอลโลก ก่อนประกาศกฏ(มัสต์ แฮฟ)ที่บังคับให้ฉาย ผ่าน FREETV



ประเด็นหลัก


พ.อ.นที กล่าวว่า หากอาร์เอสต้องการนำลิขสิทธิ์ไปออกอากาศผ่านกล่องซันบ๊อกซ์ หรือจะนำไปออกอากาศเพิ่มเติมคู่ขนาดกับช่องฟรีทีวีในระบบความคมชัดสูง (เอชดี) จะต้องได้รับข้อยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ โดยต้องมาจากการพิจารณาเห็นสมควรของบอร์ด กสท. ส่วนกรณีที่ไม่สามารถเจรจานำลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกที่ได้รับมา ไปออกอากาศผ่านช่องทางฟรีใดๆ ได้เลยนั้น จะต้องให้ช่องฟรีทีวีเจรจาด้วย โดยการทำหนังสือชี้แจงและอธิบายเหตุผลมาที่ กสท อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา อาร์เอส ส่งหนังสือ เข้ามาที่บอร์ด กสท และได้ถอดออกไปแล้ว โดยที่ยังไม่มีการพิจารณาแต่อย่างใด

"หาก อาร์เอส ต้องการทำอย่างไร ควรทำหนังสือยืนยันพร้อมอธิบายเหตุผลส่งมายัง กสท เพราะ บอร์ด กสท ได้พิจารณาเรื่องนี้ไปแล้ว และอาร์เอสส่งเรื่องเข้ามา แล้วถอดออกไป ซึ่งหากมีความต้องการอย่างไร ต้องเข้ามาคุยและต้องมีเหตุผลที่เพียงพอ แต่ตอนนี้เรายังไม่เห็นเหตุผล ถ้าเขามีเหตุผลเพียงพอก็ต้องเข้ามา"  ประธาน กสท กล่าว

อย่างไรก็ตาม อาร์เอสได้ฟ้องร้องสำนักงาน กสทช. ต่อศาลปกครอง เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2556 ที่ผ่านมา โดยอาร์เอสเห็นว่าบริษัท มีสิทธิ์ในการเผยแพร่ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกผ่านช่องฟรีทีวี จำนวน 22 คู่ ตามที่ต้องการ ในฐานะผู้ที่ถือครองลิขสิทธิ์ เนื่องจากการทำสัญญาลิขสิทธิ์นั้นเกิดขึ้นก่อน กสทช. มีการออกประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็น การทั่วไป (มัสต์ แฮฟ).



______________________________________






รอศาลปกครองตัดสิน อาร์เอส ยื่นฟ้อง กสทช. กรณีบอลโลก


"นที ศุกลรัตน์" ประธาน กสท. ระบุอาร์เอสต้องมีเหตุผลเพียงพอเข้ามาเจรจา หากจะถ่ายทอดสดบอลโลกผ่านฟรีทีวีแค่ 22 คู่ ขณะที่ กสท.ย้ำต้องครบทั้ง 64 คู่ ขณะที่ อาร์เอสยื่นฟ้องศาลปกครองแล้ว...

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัสน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคระกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. ได้มีมติพิจารณาคำของของบริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ จำกัด (อาร์เอสบีเอส) บริษัทลูกของ บริษัท อาร์เอส จำกัด(มหาชน) ผู้ครอบครองลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2014 โดยได้ขอ กสทช. เพื่อถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตโลกรอบสุดท้ายผ่านช่องฟรีทีวี เพียง 22 คู่ จาก 64 คู่ เท่านั้น และบอร์ดมีมติให้ อาร์เอส ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกผ่านช่องฟรีทีวีจำนวน 64 คู่ ตาม ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (มัสต์ แฮฟ)

พ.อ.นที กล่าวต่อว่า กสท. การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกเป็นรายการกีฬามหาชนแห่งมวลมนุษยชาติ รวมทั้งสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(ฟีฟ่า) บังคับให้นำรายการแข่งขันถ่ายทอดสดผ่านฟรีทีวีเช่นกัน ดังนั้น คนไทยต้องได้รับชมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จึงไม่อนุญาตให้นำไปถ่ายทอดสดผ่านช่องรายการของตนเองทั้งในระบบปกติ และในระบบช่องบริการแบบบอกรับสมาชิก ที่มีการเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มตาม ผ่านกล่องซันบอกซ์ของอาร์เอสเอง และในการออกอากาศต้องผ่านฟรีทีวีช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และไทยพีบีเอส หรือช่องรายการอื่นที่มีการออกอากาศผ่านระบบทีวีดิจิตอลทั้ง 48 ช่อง

พ.อ.นที กล่าวว่า หากอาร์เอสต้องการนำลิขสิทธิ์ไปออกอากาศผ่านกล่องซันบ๊อกซ์ หรือจะนำไปออกอากาศเพิ่มเติมคู่ขนาดกับช่องฟรีทีวีในระบบความคมชัดสูง (เอชดี) จะต้องได้รับข้อยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ โดยต้องมาจากการพิจารณาเห็นสมควรของบอร์ด กสท. ส่วนกรณีที่ไม่สามารถเจรจานำลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกที่ได้รับมา ไปออกอากาศผ่านช่องทางฟรีใดๆ ได้เลยนั้น จะต้องให้ช่องฟรีทีวีเจรจาด้วย โดยการทำหนังสือชี้แจงและอธิบายเหตุผลมาที่ กสท อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา อาร์เอส ส่งหนังสือ เข้ามาที่บอร์ด กสท และได้ถอดออกไปแล้ว โดยที่ยังไม่มีการพิจารณาแต่อย่างใด

"หาก อาร์เอส ต้องการทำอย่างไร ควรทำหนังสือยืนยันพร้อมอธิบายเหตุผลส่งมายัง กสท เพราะ บอร์ด กสท ได้พิจารณาเรื่องนี้ไปแล้ว และอาร์เอสส่งเรื่องเข้ามา แล้วถอดออกไป ซึ่งหากมีความต้องการอย่างไร ต้องเข้ามาคุยและต้องมีเหตุผลที่เพียงพอ แต่ตอนนี้เรายังไม่เห็นเหตุผล ถ้าเขามีเหตุผลเพียงพอก็ต้องเข้ามา"  ประธาน กสท กล่าว

อย่างไรก็ตาม อาร์เอสได้ฟ้องร้องสำนักงาน กสทช. ต่อศาลปกครอง เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2556 ที่ผ่านมา โดยอาร์เอสเห็นว่าบริษัท มีสิทธิ์ในการเผยแพร่ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกผ่านช่องฟรีทีวี จำนวน 22 คู่ ตามที่ต้องการ ในฐานะผู้ที่ถือครองลิขสิทธิ์ เนื่องจากการทำสัญญาลิขสิทธิ์นั้นเกิดขึ้นก่อน กสทช. มีการออกประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็น การทั่วไป (มัสต์ แฮฟ).

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/347629

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.