Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 พฤษภาคม 2556 เศรษฐพงค์ กสทช. (ชี้) ยังเร็วเกินไปหากจะจัดสรรคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้ในโทรคมนาคมแล้วเปิดประมูลเพื่อทำ 4G ( คลื่นตัวนี้ส่วนใหญ่ของโลกให้เพื่อบริการบรอดแบนด์)



ประเด็นหลัก



“สำหรับไทยต้องประสานงานคลื่นความถี่กับประเทศเพื่อนบ้านไม่ให้การใช้งานรบกวนกัน ซึ่งเป็นทางออกเบื้องต้นที่ดีที่สุด” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม แผนการใช้คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ในบริการโทรคมนาคม หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ตามมาตรฐานไอทียู จะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมูลช่องรายการทีวีดิจิตอลของไทยที่วางไว้ คือ เดือน ก.ย. อย่างแน่นอน แม้ว่าคลื่นดังกล่าวจะทับกันในบางช่วง

สำหรับข้อเสนอของนายฮามาดูน ตูเร่ เลขาธิการไอทียู ที่ให้ไทยเร่งศึกษาการนำคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ มาพัฒนาสู่บริการ 4จี และ 5จี เพื่อให้ทันกับประเทศอื่นในอาเซียนนั้น พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปหากจะจัดสรรคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้ในโทรคมนาคม แล้วเปิดประมูลเพื่อทำ 4จี เพราะทุกอย่างยังเป็นกรอบการศึกษา และมีตัวอย่างบางประเทศ เช่น สเปน ที่ไม่ได้ใช้งานคลื่นความถี่โทรคมนาคมเดียวกับประเทศอื่นๆ ของยุโรป ดังนั้นไทยจะศึกษาว่ามีทางแก้ไขอย่างไรบ้าง


______________________________________






เล็งปรับแผนแม่บทคลื่น700


บอร์ด กทค. เล็งตั้งกรรมการร่วม กสท. ปรับแผนแม่บทคลื่น 700 ใหม่ ยันไม่กระทบประมูลทีวีดิจิตอล

คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เตรียมตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง กทค. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เพื่อหารือแผนการใช้คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะปรับปรุงแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ใหม่ ตามกฎหมายที่กำหนดให้ต้องปรับปรุงทุก 2 ปี

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค. ระบุว่า ปัจจุบันประกาศแผนความถี่ทีวีดิจิตอล เมื่อเดือน ธ.ค. 2555 กำหนดให้คลื่นความถี่ช่วง 510-710 เมกะเฮิรตซ์ ใช้สำหรับกิจการโทรทัศน์ (บรอดคาสต์) เป็นหลัก แต่ตามมาตรฐานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) กำหนดให้คลื่นความถี่ 698-806 เมกะเฮิรตซ์ จะต้องนำมาใช้ในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งขณะนี้ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ได้นำความถี่มาใช้ในบริการบรอดแบนด์แล้ว

“สำหรับไทยต้องประสานงานคลื่นความถี่กับประเทศเพื่อนบ้านไม่ให้การใช้งานรบกวนกัน ซึ่งเป็นทางออกเบื้องต้นที่ดีที่สุด” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม แผนการใช้คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ในบริการโทรคมนาคม หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ตามมาตรฐานไอทียู จะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมูลช่องรายการทีวีดิจิตอลของไทยที่วางไว้ คือ เดือน ก.ย. อย่างแน่นอน แม้ว่าคลื่นดังกล่าวจะทับกันในบางช่วง

สำหรับข้อเสนอของนายฮามาดูน ตูเร่ เลขาธิการไอทียู ที่ให้ไทยเร่งศึกษาการนำคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ มาพัฒนาสู่บริการ 4จี และ 5จี เพื่อให้ทันกับประเทศอื่นในอาเซียนนั้น พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปหากจะจัดสรรคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้ในโทรคมนาคม แล้วเปิดประมูลเพื่อทำ 4จี เพราะทุกอย่างยังเป็นกรอบการศึกษา และมีตัวอย่างบางประเทศ เช่น สเปน ที่ไม่ได้ใช้งานคลื่นความถี่โทรคมนาคมเดียวกับประเทศอื่นๆ ของยุโรป ดังนั้นไทยจะศึกษาว่ามีทางแก้ไขอย่างไรบ้าง

http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0
%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/225286/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%
E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B
9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88
%E0%B8%99700

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.