Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) สุภิญญาห่วงเนื้อหารายการหรือสื่อโฆษณาที่ไม่เหมาะสมให้แก่เยาวชนรับชม // IPM ชี้หลายรายเริ่มท้อกับการประมูลช่องรายการเด็ก ยังเห็นตรงกันว่าช่องรายการเด็กหารายได้ได้น้อย



ประเด็นหลัก



    นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. เปิดเผยภายในงานประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น “โทรทัศน์ช่องเด็กและเยาวชนในยุคดิจิตอลที่พึงประสงค์” ว่า สำหรับร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบทีวีดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ หรือการประมูลทีวีดิจิตอลช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่อง ซึ่งในกลุ่มของช่องเด็กจำนวน 3 ช่อง ที่จะมีการจัดประมูลในครั้งนี้ เชื่อได้ว่าจะมีการแข่งขันกันสูงมาก เนื่องจากกระแสข่าวที่ผ่านมาบ่งบอกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ต่างให้ความสนใจทั้งหมด
    ทั้งนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ภายหลังจากมีการเปิดให้บริการทีวีดิจิตอลช่องเด็กแล้ว ผู้ประกอบการอาจนำเสนอเนื้อหารายการหรือสื่อโฆษณาที่ไม่เหมาะสมให้แก่เยาวชนรับชม ประกอบกับแนวทางการสอดส่องดูแลของ กสทช.ในเวลานี้จะอาศัยกระบวนการร้องเรียนเป็นหลัก จึงอยากขอให้ภาคประชาสังคมช่วยกันทำหน้าที่สอดส่องดูแลกันอย่างเข้มงวด



อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ภายหลังจากมีการเปิดให้บริการทีวีดิจิตอลช่องเด็กแล้ว ผู้ประกอบการอาจนำเสนอเนื้อหารายการหรือสื่อโฆษณาที่ไม่เหมาะสมให้แก่เยาชนรับชม ประกอบกับแนวทางการสอดส่องดูแลของ กสทช. ในเวลานี้จะอาศัยกระบวนการร้องเรียนเป็นหลัก จึงอยากขอให้ภาคประชาสังคมช่วยกันทำหน้าที่สอดส่องดูแลกันอย่างเข้มงวด



นายมานพ โตการค้า ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด (ไอพีเอ็ม) กล่าวว่า หลังจากหารือร่วมผู้ประกอบการรายการเด็ก พบว่า มีหลายรายเริ่มท้อกับการประมูลช่องรายการเด็ก ด้วยกลไก และปัญหาที่ได้ศึกษามา ทั้งมูลค่าของการประมูล และประสบการณ์ของผู้ประกอบการ อีกทั้งจากการหารือกับผู้ประกอบการร่วม 30 ราย ยังเห็นตรงกันว่าช่องรายการเด็กหารายได้ได้น้อย และมีโอกาสในการทำช่องธุรกิจให้ประสบความสำเร็จค่อนข้างยาก จึงมีความกังวลว่าจะเข้าร่วมประมูลหรือไม่



“ส่วนตัวมองว่า การประมูลทีวีดิจิตอลไม่ควรเอาช่องรายการเด็กมาประมูล แต่มีความคิดเห็นว่าควรนำไปจัดอยู่ในประเภทเดียวกับประเภทช่องรายการสาธารณะ เพราะหารายได้ได้น้อย และถ้ามีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง จะทำให้วัตถุประสงค์ของช่องรายการเด็กเปลี่ยนไป” ประธานกรรมการบริหาร ไอพีเอ็มทีวี กล่าว



นายมานพ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ไอพีเอ็มอยู่ระหว่างตัดสินใจว่าจะเข้าประมูลช่องรายการประเภทใดระหว่างเด็ก และช่องทั่วไป ซึ่งปัจจัยในการตัดสินใจอยู่ที่ราคาตั้งต้นการประมูล ราคาที่จ่ายให้ผู้ให้บริการโครงข่าย ต้นทุนที่ใช้ในการผลิตหรือลิขสิทธิ์รายการต่างๆ  ที่นำมาเผยแพร่ และส่วนแบ่งรายได้ โดยเบื้องต้นเตรียมงบลงทุนการประมูลไว้ที่ 500 ล้านบาท ส่วนช่องรายการเด็กของไอพีเอ็มที่ให้บริการอยู่มีจำนวน 6 ช่องรายการ ก็ไม่สามารถหารายได้ได้ด้วยตนเองเลย ซึ่งต้องอาศัยรายได้เฉลี่ยจากช่องรายการอื่นเพื่อความอยู่รอด ประกอบการการวัดเรตติ้งของไอพีเอ็มที่ผ่านมา พบว่ารายการการ์ตูนญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาแสดงพฤติกรรมความรุนแรง มีผู้รับชมมากที่สุด.












______________________________________






ผู้ประกอบการชี้ ช่องเด็กโฆษณาเข้าน้อย เสี่ยงสูงไม่คุ้มประมูล


กสทช. เปิดเวทีระดมความคิดเห็น หัวข้อ โทรทัศน์ช่องเด็กและเยาวชนในยุคดิจิตอลที่พึงประสงค์เปิดเวที “สุภิญญา กลางณรงค์” เน้นเข้มงวด ขณะที่ผู้ประกอบการลังเลจะเข้าประมูลหรือไม่ ชี้หาโฆษณาได้น้อย หวั่นไม่คุ้มเม็ดเงินลงทุน...



เมื่อวันที่ 31 พ.ค. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวในงานประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น หัวข้อ โทรทัศน์ช่องเด็กและเยาวชนในยุคดิจิตอลที่พึงประสงค์ ว่า สำหรับร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ ในระบบทีวีดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ หรือการประมูลทีวีดิจิตอลช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่อง ซึ่งในกลุ่มของช่องเด็ก จำนวน  3 ช่อง ที่จะจัดประมูลในครั้งนี้ โดยเชื่อว่าจะมีการแข่งขันกันสูง เนื่องจากกระแสข่าวที่ผ่านมา พบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ล้วนให้ความสนใจ



อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ภายหลังจากมีการเปิดให้บริการทีวีดิจิตอลช่องเด็กแล้ว ผู้ประกอบการอาจนำเสนอเนื้อหารายการหรือสื่อโฆษณาที่ไม่เหมาะสมให้แก่เยาชนรับชม ประกอบกับแนวทางการสอดส่องดูแลของ กสทช. ในเวลานี้จะอาศัยกระบวนการร้องเรียนเป็นหลัก จึงอยากขอให้ภาคประชาสังคมช่วยกันทำหน้าที่สอดส่องดูแลกันอย่างเข้มงวด



นายมานพ โตการค้า ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด (ไอพีเอ็ม) กล่าวว่า หลังจากหารือร่วมผู้ประกอบการรายการเด็ก พบว่า มีหลายรายเริ่มท้อกับการประมูลช่องรายการเด็ก ด้วยกลไก และปัญหาที่ได้ศึกษามา ทั้งมูลค่าของการประมูล และประสบการณ์ของผู้ประกอบการ อีกทั้งจากการหารือกับผู้ประกอบการร่วม 30 ราย ยังเห็นตรงกันว่าช่องรายการเด็กหารายได้ได้น้อย และมีโอกาสในการทำช่องธุรกิจให้ประสบความสำเร็จค่อนข้างยาก จึงมีความกังวลว่าจะเข้าร่วมประมูลหรือไม่



“ส่วนตัวมองว่า การประมูลทีวีดิจิตอลไม่ควรเอาช่องรายการเด็กมาประมูล แต่มีความคิดเห็นว่าควรนำไปจัดอยู่ในประเภทเดียวกับประเภทช่องรายการสาธารณะ เพราะหารายได้ได้น้อย และถ้ามีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง จะทำให้วัตถุประสงค์ของช่องรายการเด็กเปลี่ยนไป” ประธานกรรมการบริหาร ไอพีเอ็มทีวี กล่าว



นายมานพ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ไอพีเอ็มอยู่ระหว่างตัดสินใจว่าจะเข้าประมูลช่องรายการประเภทใดระหว่างเด็ก และช่องทั่วไป ซึ่งปัจจัยในการตัดสินใจอยู่ที่ราคาตั้งต้นการประมูล ราคาที่จ่ายให้ผู้ให้บริการโครงข่าย ต้นทุนที่ใช้ในการผลิตหรือลิขสิทธิ์รายการต่างๆ  ที่นำมาเผยแพร่ และส่วนแบ่งรายได้ โดยเบื้องต้นเตรียมงบลงทุนการประมูลไว้ที่ 500 ล้านบาท ส่วนช่องรายการเด็กของไอพีเอ็มที่ให้บริการอยู่มีจำนวน 6 ช่องรายการ ก็ไม่สามารถหารายได้ได้ด้วยตนเองเลย ซึ่งต้องอาศัยรายได้เฉลี่ยจากช่องรายการอื่นเพื่อความอยู่รอด ประกอบการการวัดเรตติ้งของไอพีเอ็มที่ผ่านมา พบว่ารายการการ์ตูนญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาแสดงพฤติกรรมความรุนแรง มีผู้รับชมมากที่สุด.







โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/348322

_____________________________



ห่วง'ช่องเด็ก'อยู่ยากโฆษณาไม่เข้า



 “สุภิญญา” วอนสังคมช่วยคุมเข้มทีวีดิจิตอลช่องเด็ก ด้านผู้ประกอบการร้อง เกรงโฆษณาไม่เข้า เหตุทำรายการดีมีสาระ
    นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. เปิดเผยภายในงานประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น “โทรทัศน์ช่องเด็กและเยาวชนในยุคดิจิตอลที่พึงประสงค์” ว่า สำหรับร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบทีวีดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ หรือการประมูลทีวีดิจิตอลช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่อง ซึ่งในกลุ่มของช่องเด็กจำนวน 3 ช่อง ที่จะมีการจัดประมูลในครั้งนี้ เชื่อได้ว่าจะมีการแข่งขันกันสูงมาก เนื่องจากกระแสข่าวที่ผ่านมาบ่งบอกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ต่างให้ความสนใจทั้งหมด
    ทั้งนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ภายหลังจากมีการเปิดให้บริการทีวีดิจิตอลช่องเด็กแล้ว ผู้ประกอบการอาจนำเสนอเนื้อหารายการหรือสื่อโฆษณาที่ไม่เหมาะสมให้แก่เยาวชนรับชม ประกอบกับแนวทางการสอดส่องดูแลของ กสทช.ในเวลานี้จะอาศัยกระบวนการร้องเรียนเป็นหลัก จึงอยากขอให้ภาคประชาสังคมช่วยกันทำหน้าที่สอดส่องดูแลกันอย่างเข้มงวด
    ทางด้าน นายมานพ โตการค้า ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด หรือไอพีเอ็ม กล่าวว่า ปัญหาของการทำช่องรายการเด็กในทีวีดิจิตอลคือจำนวนของผู้รับชม และการอยู่รอดของช่องรายการจากรายได้ค่าโฆษณา เนื่องจากปัจจุบันช่องรายการเด็กที่ให้บริการอยู่ของไอพีเอ็ม จำนวน 6 ช่องรายการ ต่างไม่สามารถหารายได้ได้ด้วยตนเองเลย ซึ่งต้องอาศัยรายได้เฉลี่ยจากช่องรายการอื่นเพื่อความอยู่รอด ประกอบกับในด้านเนื้อหารายการหากเน้นที่เป็นรายการที่มีสาระดีๆ มากจนเกินไปก็อาจจะเป็นการยากที่จะมีผู้รับชม ซึ่งจากการวัดเรตติ้งของไอพีเอ็มที่ผ่านมา ช่องรายการเด็กที่มีผู้รับชมมากที่สุดคือ รายการการ์ตูนญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาแสดงพฤติกรรมความรุนแรง
    ขณะนี้ไอพีเอ็มกำลังอยู่ในระหว่างตัดสินใจว่าจะเข้าประมูลช่องรายการในกลุ่มใด ระหว่างช่องรายการเด็ก และช่องรายการวาไรตี้ ซึ่งปัจจัยในการตัดสินใจจะอยู่ที่การประมูล ราคาตั้งต้นการประมูล เม็ดเงินที่จ่ายให้ผู้ให้บริการโครงข่าย ต้นทุนที่ใช้ในการผลิตหรือลิขสิทธิ์รายการต่างๆ ที่นำมาเผยแพร่ และส่วนแบ่งรายได้ ทั้งนี้ เบื้องต้นไอพีเอ็มได้เตรียมเงินทุนในการประมูลไว้ที่ 500 ล้านบาท.

http://www.thaipost.net/news/010613/74359

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.