Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 พฤษภาคม 2556 (จริงจังกว่านี้ได้ปะ) ICT เดินหน้าให้ความรู้รับมือภัยพิบัติในพื้นที่เสี่ยงภัยทั่วประเทศ ตามแนว 25 ลุ่มน้ำที่ประสบภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำท่วม น้ำหลาก และดินโคลนถล่ม



ประเด็นหลัก



เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือประชาชนต่อไป รวมทั้งให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้มีความรู้ ความเข้าใจถึงระบบการแจ้งเตือนภัย เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้มีเวลาเตรียมความพร้อมเมื่อเผชิญกับภัยพิบัติและช่วยเหลือตัวเองและชุมชนได้ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยตามแนว 25 ลุ่มน้ำที่ประสบภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำท่วม น้ำหลาก และดินโคลนถล่มเป็นประจำแทบทุกปี ซึ่งโครงการนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย มีความเข้าใจในระบบการแจ้งเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โดยเฉพาะการแจ้งผ่านหอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม สถานีถ่ายทอดสัญญาณเตือนภัย เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยในท้องที่ เพื่อสามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน ตลอดจนเตรียมการในการอพยพหลบภัยได้อย่างถูกวิธีและเป็นมาตรฐาน



______________________________________






ก.ไอซีที เดินหน้าให้ความรู้ สร้างความพร้อมรับมือภัยพิบัติในพื้นที่เสี่ยงภัยทั่วประเทศ



นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการ “สร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัยและสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนเพื่อป้องกันและบรรเทาภัย ประจำปี 2556” ว่า กระทรวงไอซีที โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติและระบบการเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือประชาชนต่อไป รวมทั้งให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้มีความรู้ ความเข้าใจถึงระบบการแจ้งเตือนภัย เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้มีเวลาเตรียมความพร้อมเมื่อเผชิญกับภัยพิบัติและช่วยเหลือตัวเองและชุมชนได้ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยตามแนว 25 ลุ่มน้ำที่ประสบภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำท่วม น้ำหลาก และดินโคลนถล่มเป็นประจำแทบทุกปี ซึ่งโครงการนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย มีความเข้าใจในระบบการแจ้งเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โดยเฉพาะการแจ้งผ่านหอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม สถานีถ่ายทอดสัญญาณเตือนภัย เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยในท้องที่ เพื่อสามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน ตลอดจนเตรียมการในการอพยพหลบภัยได้อย่างถูกวิธีและเป็นมาตรฐาน

 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์เป็นต้นมา กระทรวงฯ ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้วกว่า 10 พื้นที่ อาทิ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น และล่าสุดที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มแกนนำหมู่บ้าน นอกจากประชาชนที่เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้เรื่องการเตือนภัยแล้ว ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษหมุนเวียนกันไปตามแต่ละพื้นที่ เพื่อมาบอกเล่าถึงประสบการณ์การเผชิญภัยพิบัติในอดีต ทำให้ทราบถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเกิดภัยพิบัติ วิธีการสังเกตความผิดปกติของสภาพอากาศ สภาพแวดล้อมธรรมชาติก่อนเกิดภัยพิบัติ นอกจากนั้นศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยังได้ทราบถึงพฤติกรรมการใช้เครื่องมือติดต่อสื่อสาร และความต้องการโดยตรงของประชาชน        ในแต่ละพื้นที่อีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการเตือนภัยของศูนย์ฯ            ให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ

พร้อมกันนั้นยังได้จัดให้มีการฝึกซ้อมภาคปฏิบัติด้านการเตือนภัยและการสื่อสาร ภายใต้โครงการ “ฝึกซ้อมการปฏิบัติด้านการเตือนภัยและการสื่อสารเพื่อเตรียมความพร้อม ประจำปี 2556” ควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกซ้อมให้แก่แกนนำ กรรมการหมู่บ้าน มูลนิธิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ รวมทั้งจัดตั้งศูนย์บัญชาการ และจัดเตรียมระบบในการติดต่อสื่อสารระหว่างศูนย์บัญชาการในแต่ละระดับ เพื่อแจ้งภัย การจัดการกับภัยพิบัติ การบรรเทาภัย และการอพยพ หลบภัย หลังจากนั้นจึงดำเนินการฝึกซ้อมเพื่อให้เป็นไปตามแผนเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งภายหลังการฝึกซ้อมเสร็จแล้วยังจัดให้มีการสรุปผลและประเมินผลโครงการอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนภาคประชาชนให้เข้าใจถึงระบบการเตือนภัย บทบาท หน้าที่ ภารกิจ และสามารถใช้ระบบเครือข่ายสื่อสารหลักและสำรองได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ เพื่อลดการเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ขณะนี้กระทรวงฯ ได้วางแผนลงพื้นที่ให้ความรู้กับประชาชนในอีก 5 พื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี อำเภอพิปูน จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง และอำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2556 หลังจากนั้นจะพิจารณาพื้นที่เพื่อลงไปให้ความรู้เพิ่มเติมอีก 5 จังหวัดโดยจะกระจายให้ครบทุกภาคทั่วประเทศ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=185236:2013-05-31-12-00-33&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.