Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 พฤษภาคม 2556 ยุคสมรภูมิทีวี 800 ช่อง กำลังจะจัดสรรใบอนุญาตใหม่ในปีนี้ คือ ทีวีดิจิทัล 48 ช่อง คาดงบโฆษณาระดับแสนล้านบาทต่อปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาทคือ FREE TV ที่เหลือเคเบิ้ล



ประเด็นหลัก


นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเติบโตของฐานผู้ชมเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้เข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศ 64% แต่การใช้งบโฆษณาผ่านเคเบิลและทีวีดาวเทียมอยู่ที่ 13% ของภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณา เห็นได้ว่าสัดส่วนงบโฆษณาต่ำกว่าฐานผู้ชมถึง 3 เท่า ขณะที่ ฟรีทีวี อนาล็อกในปัจจุบันยังครองส่วนแบ่งงบเกือบ 60% ของงบโฆษณาระดับแสนล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสื่อไทยจะถึงจุดเปลี่ยน หลังการจัดสรรคลื่นความถี่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) ของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รวม 48 ช่อง ในจำนวนดังกล่าวเป็นช่องประเภทธุรกิจ 24 ช่อง ที่จะดำเนินการประมูลช่วงเดือนก.ย.-ต.ค. นี้

"การจัดสรรทีวีดิจิทัล 24 ช่องประเภทธุรกิจ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของผู้เล่นหน้าใหม่ นอกจากฟรีทีวีปัจจุบัน และทำให้เกิดสนามการแข่งขันที่เท่าเทียม ระหว่างฟรีทีวี อนาล็อก และผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัลรายใหม่ อีกทั้งการเข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศของทีวีดิจิทัล จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดสรรงบโฆษณาผ่านสื่อทีวี ที่จะกระจายไปยังทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้น.

ดาวเทียมชิงทีวีดิจิทัล-ทรูฯ เปิดแผนชิง 3 ช่อง

นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง เชื่อว่าผู้เข้าประมูลจะอยู่ในกลุ่มฟรีทีวีเดิม และเจ้าของช่อง ทีวีดาวเทียมในปัจจุบัน ที่มีเป้าหมายอัพเกรดแพลตฟอร์มจากทีวีดาวเทียม ไปยังแพลตฟอร์มหลักในการรับชมของครัวเรือนไทยทั่วประเทศ

"ในฐานะคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ซึ่งเป็นเจ้าของช่องทีวีดาวเทียมในปัจจุบัน เรามีความพร้อมในการเข้าประมูล และมีความถนัดด้านคอนเทนท์บันเทิง"นางพรพรรณ กล่าว

นายสมพันธ์ จารุมิลินท รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล และการประมูลช่องรายการประเภทธุรกิจใหม่ 24 ช่อง ที่จะมีฐานะเป็น ฟรีทีวีดิจิทัล เข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศใน 5 ปี ภายใต้แผนขยายโครงข่าย (Mux) ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดไว้

เชื่อว่าการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัล เป็นโอกาสของคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ที่จะเข้าประมูลเป็นเจ้าของช่องฟรีทีวีดิจิทัล โดย ทรูฯ มีแผนที่จะประมูลทีวีดิจิทัล 3 ช่อง คือ ช่องเอชดี, วาไรตี้ SD และ ช่องเด็ก SD สำหรับช่องเอชดี และเด็ก จะพัฒนาคอนเทนท์ และช่องรายการใหม่ ส่วนช่องวาไรตี้ วางแผนจะนำช่อง ทีเอ็นเอ็น ซึ่งเป็นสถานีข่าวในปัจจุบันไปออกอากาศ เนื่องจาก กสทช.มีกฎห้ามผู้ประมูลช่องเอชดี ประมูลช่องข่าว

"ภายใต้แผนขยายโครงข่าย และการสนับสนุนคูปองครัวเรือนไทยทั่วประเทศ เพื่อเปลี่ยนทีวีอนาล็อกสู่ยุคดิจิทัล เชื่อว่าไทยจะเปลี่ยนแปลงได้เร็วภายใน 3 ปี ขณะที่ต่างประเทศต้องใช้เวลานับ 10 ปี"นายสมพันธ์ กล่าว

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจุดเปลี่ยนภูมิทัศน์สื่อ จากการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลในปีนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญกระตุ้นงบโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ให้เติบโต หรือมีมูลค่าระดับแสนล้านบาท เนื่องจากจะเป็นแพลตฟอร์ม ฟรีทีวีดิจิทัลที่เข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศในเวลาอันรวดเร็ว รวมทั้งกฎ มัสต์ แคร์รี่ จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สนับสนุนการเข้าถึงทีวีดิจิทัลในทุกแพลตฟอร์ม และช่วยสร้างฐานผู้ชมอย่างรวดเร็ว กระตุ้นความสนใจให้ผู้ลงโฆษณาในงบประมาณผ่านสื่อดังกล่าว

ยุคสมรภูมิทีวี 800 ช่อง

นายนิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) กล่าวว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสื่อไทยมีการขยายตัวของกลุ่มช่องรายการในแพลตฟอร์มเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ประกอบด้วยทีวีดาวเทียม รูปแบบฟรีทูแอร์ 388 ช่อง, เพย์ทีวี ทรูวิชั่นส์ กว่า 140 ช่อง, เคเบิลทีวีท้องถิ่น 213 ช่อง, ซีทีเอช 120 ช่อง และที่กำลังจะจัดสรรใบอนุญาตใหม่ในปีนี้ คือ ทีวีดิจิทัล 48 ช่อง

"การขยายตัวของช่องรายการผ่านทุกแพลตฟอร์ม คาดว่าปีหน้า อุตสาหกรรมสื่อไทย จะก้าวสู่สังคมทีวี 800 ช่อง"นายนิพนธ์ กล่าว

ทั้งนี้ การประมูลทีวีดิจิทัลประเภทธุรกิจ 24 ช่อง แบ่งเป็นช่องเอชดี 7 ช่อง ราคาตั้งต้นช่องละ 1,510 ล้านบาท คาดว่าราคาประมูลจะอยู่ที่ช่องละ 2,000 ล้านบาท, ช่องวาไรตี้ SD ราคาตั้งต้นช่องละ 380 ล้านบาท คาดราคาประมูลอยู่ที่ 500 ล้านบาท, ช่องข่าว SD ราคาตั้งต้นช่องละ 220 ล้านบาท คาดราคาประมูลอยู่ที่ 300 ล้านบาท และช่องเด็ก SD ราคาตั้งต้นช่องละ 140 ล้านบาท คาดราคาประมูลอยู่ที่ 145 ล้านบาท





       นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวในหัวข้อ The Neighborhood is Getting Crowded - Digital Terrestrial Licensing and its effects on the CabSat Ecosystem ว่า จากการเปลี่ยนแปลงของทีวีดิจิตอลที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในส่วนของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้ไตรมาสหนึ่งที่ผ่านมายอดขายของกลุ่มทีวีตกลงถึง 30% ซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจและไม่แน่ใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลว่าจะออกมาเป็นอย่างไร จึงมีการชะลอการซื้อโทรทัศน์ออกไปก่อน เพราะกลัวว่าถ้าซื้อมาแล้วจะรับสัญญาณระบบดิจิตอลได้หรือไม่
   
       ด้านนางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า การเข้าสู่ทีวีดิจิตอลของไทยจะส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นของแต่ละช่อง และสิ่งที่ได้มาในที่สุดคือเรื่องของคุณภาพรายการและการแพร่ภาพ ดังนั้น การเตรียมตัวของเจ้าของช่องรายการทางเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม คือ คอนเทนต์ที่มีความเข้มข้นของเนื้อหา และความหลากหลายของรายการอันจะนำไปสู่การจัดช่วงไพรม์ไทม์ของแต่ละช่องที่สามารถทำได้แตกต่างกันไป เพื่อหลีกเลี่ยงช่วงไพรม์ไทม์ของทางฟรีทีวี
   












______________________________________






ทีวีดาวเทียมแห่ชิงทีวีดิจิทัล ชิงเค้กแสนล้าน

จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมสื่อไทยยุคทีวี 800 ช่อง ชี้ “ทีวีดิจิทัล” เปิดโอกาสผู้เล่นหน้าใหม่ ด้านทีวีดาวเทียมแห่ชิงช่อง หวังชิงงบโฆษณาแสนล้าน

สมาคมผู้ประกอบการโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวีแห่งเอเชีย (Cable & Satellite Broadcasting Association of Asia) หรือ Casbaa จัดสัมมนา Thailand in View ในธุรกิจเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมปี 2556 และการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อในยุคดิจิทัล วานนี้ (30 พ.ค.)

นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเติบโตของฐานผู้ชมเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้เข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศ 64% แต่การใช้งบโฆษณาผ่านเคเบิลและทีวีดาวเทียมอยู่ที่ 13% ของภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณา เห็นได้ว่าสัดส่วนงบโฆษณาต่ำกว่าฐานผู้ชมถึง 3 เท่า ขณะที่ ฟรีทีวี อนาล็อกในปัจจุบันยังครองส่วนแบ่งงบเกือบ 60% ของงบโฆษณาระดับแสนล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสื่อไทยจะถึงจุดเปลี่ยน หลังการจัดสรรคลื่นความถี่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) ของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รวม 48 ช่อง ในจำนวนดังกล่าวเป็นช่องประเภทธุรกิจ 24 ช่อง ที่จะดำเนินการประมูลช่วงเดือนก.ย.-ต.ค. นี้

"การจัดสรรทีวีดิจิทัล 24 ช่องประเภทธุรกิจ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของผู้เล่นหน้าใหม่ นอกจากฟรีทีวีปัจจุบัน และทำให้เกิดสนามการแข่งขันที่เท่าเทียม ระหว่างฟรีทีวี อนาล็อก และผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัลรายใหม่ อีกทั้งการเข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศของทีวีดิจิทัล จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดสรรงบโฆษณาผ่านสื่อทีวี ที่จะกระจายไปยังทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้น.

ดาวเทียมชิงทีวีดิจิทัล-ทรูฯ เปิดแผนชิง 3 ช่อง

นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง เชื่อว่าผู้เข้าประมูลจะอยู่ในกลุ่มฟรีทีวีเดิม และเจ้าของช่อง ทีวีดาวเทียมในปัจจุบัน ที่มีเป้าหมายอัพเกรดแพลตฟอร์มจากทีวีดาวเทียม ไปยังแพลตฟอร์มหลักในการรับชมของครัวเรือนไทยทั่วประเทศ

"ในฐานะคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ซึ่งเป็นเจ้าของช่องทีวีดาวเทียมในปัจจุบัน เรามีความพร้อมในการเข้าประมูล และมีความถนัดด้านคอนเทนท์บันเทิง"นางพรพรรณ กล่าว

นายสมพันธ์ จารุมิลินท รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล และการประมูลช่องรายการประเภทธุรกิจใหม่ 24 ช่อง ที่จะมีฐานะเป็น ฟรีทีวีดิจิทัล เข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศใน 5 ปี ภายใต้แผนขยายโครงข่าย (Mux) ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดไว้

เชื่อว่าการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัล เป็นโอกาสของคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ที่จะเข้าประมูลเป็นเจ้าของช่องฟรีทีวีดิจิทัล โดย ทรูฯ มีแผนที่จะประมูลทีวีดิจิทัล 3 ช่อง คือ ช่องเอชดี, วาไรตี้ SD และ ช่องเด็ก SD สำหรับช่องเอชดี และเด็ก จะพัฒนาคอนเทนท์ และช่องรายการใหม่ ส่วนช่องวาไรตี้ วางแผนจะนำช่อง ทีเอ็นเอ็น ซึ่งเป็นสถานีข่าวในปัจจุบันไปออกอากาศ เนื่องจาก กสทช.มีกฎห้ามผู้ประมูลช่องเอชดี ประมูลช่องข่าว

"ภายใต้แผนขยายโครงข่าย และการสนับสนุนคูปองครัวเรือนไทยทั่วประเทศ เพื่อเปลี่ยนทีวีอนาล็อกสู่ยุคดิจิทัล เชื่อว่าไทยจะเปลี่ยนแปลงได้เร็วภายใน 3 ปี ขณะที่ต่างประเทศต้องใช้เวลานับ 10 ปี"นายสมพันธ์ กล่าว

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจุดเปลี่ยนภูมิทัศน์สื่อ จากการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลในปีนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญกระตุ้นงบโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ให้เติบโต หรือมีมูลค่าระดับแสนล้านบาท เนื่องจากจะเป็นแพลตฟอร์ม ฟรีทีวีดิจิทัลที่เข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศในเวลาอันรวดเร็ว รวมทั้งกฎ มัสต์ แคร์รี่ จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สนับสนุนการเข้าถึงทีวีดิจิทัลในทุกแพลตฟอร์ม และช่วยสร้างฐานผู้ชมอย่างรวดเร็ว กระตุ้นความสนใจให้ผู้ลงโฆษณาในงบประมาณผ่านสื่อดังกล่าว

ยุคสมรภูมิทีวี 800 ช่อง

นายนิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) กล่าวว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสื่อไทยมีการขยายตัวของกลุ่มช่องรายการในแพลตฟอร์มเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ประกอบด้วยทีวีดาวเทียม รูปแบบฟรีทูแอร์ 388 ช่อง, เพย์ทีวี ทรูวิชั่นส์ กว่า 140 ช่อง, เคเบิลทีวีท้องถิ่น 213 ช่อง, ซีทีเอช 120 ช่อง และที่กำลังจะจัดสรรใบอนุญาตใหม่ในปีนี้ คือ ทีวีดิจิทัล 48 ช่อง

"การขยายตัวของช่องรายการผ่านทุกแพลตฟอร์ม คาดว่าปีหน้า อุตสาหกรรมสื่อไทย จะก้าวสู่สังคมทีวี 800 ช่อง"นายนิพนธ์ กล่าว

ทั้งนี้ การประมูลทีวีดิจิทัลประเภทธุรกิจ 24 ช่อง แบ่งเป็นช่องเอชดี 7 ช่อง ราคาตั้งต้นช่องละ 1,510 ล้านบาท คาดว่าราคาประมูลจะอยู่ที่ช่องละ 2,000 ล้านบาท, ช่องวาไรตี้ SD ราคาตั้งต้นช่องละ 380 ล้านบาท คาดราคาประมูลอยู่ที่ 500 ล้านบาท, ช่องข่าว SD ราคาตั้งต้นช่องละ 220 ล้านบาท คาดราคาประมูลอยู่ที่ 300 ล้านบาท และช่องเด็ก SD ราคาตั้งต้นช่องละ 140 ล้านบาท คาดราคาประมูลอยู่ที่ 145 ล้านบาท

โฆษณาเคเบิล-ทีวีดาวเทียมโต 26%

จำนวนครัวเรือนไทยทั่วประเทศที่ 22 ล้านครัวเรือนในปัจจุบัน หรือ 64.6 ล้านคน รับชมสื่อโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อก แบ่งเป็นพื้นที่ กรุงเทพฯ จำนวน 9.7 ล้านคน หรือ 15% ของจำนวนประชากร, พื้นที่ในเขตเมือง 14.2 ล้านคน หรือ 22.1% และพื้นที่ชนบท 40.7 ล้านคน หรือ 62.9%

นายสินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ แผนกมีเดีย ลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท นีลเส็น ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่าในปีที่ผ่านมาแพลตฟอร์มการรับชมผ่านเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมเข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศ 64% แบ่งเป็นทรูวิชั่นส์ 2 ล้านราย, เคเบิลท้องถิ่น 2.4 ล้านราย และจานรับสัญญาณดาวเทียม 7.5 ล้านราย และมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องในปีนี้

โดยพบว่ารูปแบบการรับชมช่องรายการผ่าน 3 แพลตฟอร์มหลัก ผู้ชมเลือกดูช่องฟรีทีวี อนาล็อกเป็นสัดส่วนหลัก โดยในแพลตฟอร์มทรูวิชั่นส์ แบ่งเป็นการดูฟรีทีวี 57.3% ดูทรูวิชั่นส์ 42.7% ส่วนแพลตฟอร์มเคเบิลทีวีท้องถิ่น ดูฟรีทีวี 57.4% ดูช่องเคเบิลทีวี 42.6% ขณะที่แพลตฟอร์มจานดาวเทียม ดูฟรีทีวี 64.6% ดูทีวีดาวเทียม 25.4%

ทั้งนี้ ผู้ชมไทยมีอัตราการรับชมทีวีผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ประกอบด้วย ทรูวิชั่นส์ 149 นาที/วัน , ช่องเคเบิลทีวีท้องถิ่น 139 นาที/วัน และทีวีดาวเทียม 105 นาที/วัน

จากพฤติกรรมการรับชมช่องรายการผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าว พบว่าช่องฟรีทีวี รวมทั้งเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม เป็นแพลตฟอร์มหลักในการรับชมของครัวเรือนไทย ส่งผลให้การใช้งบโฆษณาผ่านฟรีทีวีในปีนี้มีโอกาสเติบโตที่ 14.4% หรือมีมูลค่า 7.7 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับการใช้งบโฆษณาผ่านเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมปีนี้ที่คาดเติบโต 26.6% หรือมูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท

ทั้งการเติบโตของแพลตฟอร์มและพฤติกรรมของผู้ชมช่องรายการในไทย เชื่อว่า ฟรีทีวี เพย์ทีวี และทีวีดาวเทียม ยังเป็นแพลตฟอร์มหลักที่ยังเติบโตในปีนี้ เนื่องด้วยฐานผู้ชมกว่า 50% ยังรับชมช่องรายการผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ

"อาจพูดได้ว่า Content is King และ การรับชมช่องรายการที่คมชัด ผ่านแพลตฟอร์มเคเบิลและทีวีดาวเทียม ที่ชัดกว่าเสาก้างปลาระบบอนาล็อก คือ Queen และการเกิดขึ้นของ ทีวีดิจิทัล จะเป็นจุดเปลี่ยน และความท้าทายสำคัญของอุตสาหกรรมสื่อไทย" นายสินธุ์ กล่าว

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130531/508581/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%
B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A
1%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0
%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%
A5-%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%
B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.html





______________________________________






คาดใน 4 ปีโฆษณาทีวีแสนล้าน ปีหน้าทะลุ 782 ช่อง


       ASTVผู้จัดการรายวัน - เวทีคาสบา ชี้จุดเปลี่ยนวงการทีวีไทย ดิจิตอลทีวีมาแรง ส่งปี 57 มีช่องรายการร่วม 782 ช่องรวมในทุกแพลตฟอร์ม ดันเม็ดเงินโฆษณาในสื่อทีวีทะลุ 1 แสนล้านบาทใน 4 ปีข้างหน้า นักโฆษณาต้องทำงานหนักมากขึ้นสู้เทคโนโลยีเข้าถึงผู้บริโภคที่หลากหลาย ส่วนเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมสิ้นปีลุ้นโฆษณา 1.2 หมื่นล้านบาท
   
       วานนี้ (30 พ.ค.) สมาคมผู้ประกอบการโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งภูมิภาคเอเชีย หรือคาสบา (CASBAA) ได้จัดงานสัมมนาขึ้นในชื่องาน การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิตอล (Thailand in View : Changing the Digital Landscape) โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้หลายรายในหลายหัวข้อ
   
       ทีวีดิจิตอลศึกใหญ่แข่งดุ เม็ดเงินโฆษณาพุ่ง
   
       นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวในหัวข้อ The Neighborhood is Getting Crowded - Digital Terrestrial Licensing and its effects on the CabSat Ecosystem ว่า จากการเปลี่ยนแปลงของทีวีดิจิตอลที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในส่วนของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้ไตรมาสหนึ่งที่ผ่านมายอดขายของกลุ่มทีวีตกลงถึง 30% ซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจและไม่แน่ใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลว่าจะออกมาเป็นอย่างไร จึงมีการชะลอการซื้อโทรทัศน์ออกไปก่อน เพราะกลัวว่าถ้าซื้อมาแล้วจะรับสัญญาณระบบดิจิตอลได้หรือไม่
   
       ด้านนางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า การเข้าสู่ทีวีดิจิตอลของไทยจะส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นของแต่ละช่อง และสิ่งที่ได้มาในที่สุดคือเรื่องของคุณภาพรายการและการแพร่ภาพ ดังนั้น การเตรียมตัวของเจ้าของช่องรายการทางเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม คือ คอนเทนต์ที่มีความเข้มข้นของเนื้อหา และความหลากหลายของรายการอันจะนำไปสู่การจัดช่วงไพรม์ไทม์ของแต่ละช่องที่สามารถทำได้แตกต่างกันไป เพื่อหลีกเลี่ยงช่วงไพรม์ไทม์ของทางฟรีทีวี
   
       สอดคล้องกับคำกล่าวของนายนิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) ที่กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยใช้เวลาในการดูโทรทัศน์วันละ 5 ชม. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ 3 ชม. โดยกว่า 2-3 ชม.นั้นจะเป็นการดูรายการละครช่วงไพรม์ไทม์จากทางฟรีทีวี รวมถึงละครจากเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ของช่องรายการนั้นๆ ดังนั้นจึงเชื่อว่าเม็ดเงินโฆษณาบนแพลตฟอร์มเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมจะแปรผันตามเรตติ้งรายการ และการเข้าถึงผู้ชมที่มากขึ้น
   
       นายอดิศักดิ์กล่าวต่อว่า จากการมีทีวีดิจิตอลเข้ามาในอุตสาหกรรมทีวี มองว่าเม็ดเงินโฆษณาในสื่อทีวีจาก 60,000-70,000 ล้านบาท จากเดิมที่กระจุกตัวอยู่ในฟรีทีวีจะถูกกระจายไปสู่แพลตฟอร์มอื่นๆ และยิ่งเข้าสู่ประคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี มั่นใจว่างบโฆษณาในสื่อทีวีจะเพิ่มเป็น 100,000 ล้านบาทได้แน่นอน
   
       เทคโนโลยีเปลี่ยน โฆษณาต้องปรับตัว
   
       นางวรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย และประธานบริหาร ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส กล่าวเสริมในหัวข้อ It’s about the Money, Money, Money - Advertising on CabSat TV in Thailand ว่าตัวเลขเม็ดเงินโฆษณาบนสื่อทีวีที่คาดว่าจะสูงถึง100,000 ล้านบาทนั้น มีความเป็นไปได้สูงมาก และจะเห็นได้ภายใน 4 ปีข้างหน้า หากงบโฆษณาในสื่อทีวีเติบโตปีละ 10% ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาในสื่อเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมจะเติบโตขึ้นด้วยตัวเองไม่มีการแย่งมาจากสื่ออื่น โดยต้องขึ้นอยู่กับการเข้าถึงผู้บริโภคและรูปแบบรายการที่มีคุณภาพด้วย ส่วนเม็ดเงินโฆษณาในสื่อทีวีจะยังคงสัดส่วนที่ 54% ของงบโฆษณารวม
   
       นายสินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ มีเดียลูกค้าสัมพันธ์ บริษัทนีลเส็น ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า อย่างไรก็ตามจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคเข้าถึงการรับชมได้หลายช่องทางและหลายแพลทฟอร์ม ในส่วนของธุรกิจโฆษณาถือเป็นช่วงเวลาที่ตื่นเต้นมาก เพราะต้องคิดหาช่องทางการโฆษณาให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่ดูมากหรือเจาะจงจนเกินไป และให้ความรู้สึกของโฆษณาที่เข้าถึงมิติของอารมณ์ผู้ชมได้ดียิ่งขึ้น
   
       นีลเส็นชี้ปีนี้โฆษณาบนเคเบิลทีวีทะลุ 1.2 หมื่นล้าน
   
       นอกจากนี้ นายสินธุ์ยังได้กล่าวในหัวข้อ Thai Pay TV Market Overview ว่า ปัจจุบันจำนวนครัวเรือนไทยทั่วประเทศอยู่ที่ 22 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็น 64.6 ล้านคน โดยสื่อโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อก ถือเป็นสื่อหลักที่ผู้ชมไทยเข้าถึงและรับชม แบ่งเป็นกรุงเทพฯ จำนวน 9.7 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 15% ของจำนวนประชากร และพื้นที่ในเขตเมือง จำนวน 14.2 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 22.1% ของจำนวนประชากร และพื้นที่ชนบท จำนวน 40.7 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 62.9% ของจำนวนประชากร
   
       โดยในปีที่ผ่านมาแพลตฟอร์มการรับชมผ่านเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมเข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศกว่า 64% แบ่งเป็นทรูวิชั่นส์ 2 ล้านราย และเคเบิลท้องถิ่น 2.4 ล้านราย และจานรับสัญญาณดาวเทียม 7.5ล้านราย และยังมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งพบว่าผู้ชมเลือกดูช่องฟรีทีวีอนาล็อกเป็นสัดส่วนหลักในแพลตฟอร์มทรูวิชั่นส์ แบ่งเป็นการดูฟรีทีวี 57.3% ดูทรูวิชั่นส์ 42.7% ส่วนแพลตฟอร์มเคเบิลทีวีท้องถิ่น ดูฟรีทีวี 57.4% ดูช่องเคเบิลทีวี 42.6%
   
       ขณะที่แพลตฟอร์มจานดาวเทียม ดูฟรีทีวี 64.6% ดูทีวีดาวเทียม 25.4% และยังพบอีกว่าผู้ชมไทยมีอัตราการรับชมทีวีผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ประกอบด้วย 1. ทรูวิชั่นส์ 149 นาที/วัน 2. ช่องเคเบิลทีวีท้องถิ่น 139 นาที/วัน และ 3. ทีวีดาวเทียม 105 นาที/วัน ส่งผลให้การใช้งบโฆษณาผ่านฟรีทีวีในปีนี้มีโอกาสเติบโตที่ 14.4% หรือมีมูลค่า 77,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับการมใช้งบโฆษณาผ่านเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมปีนี้ที่คาดเติบโต 26.6% หรือมูลค่า 12,000 ล้านบาท
   
       นายสินธุ์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ในปี 2557 เชื่อว่าประเทศไทยจะมีจำนวนช่องรายการโทรทัศน์ในทุกแพลตฟอร์มรวมกันไม่ต่ำกว่า 782 ช่อง เช่น 1. กลุ่มช่องรายการจากทีวีดิจิตอลและฟรีทีวีภาคพื้นดินรวม 30 ช่อง 2. Terrestrial Business TV รวม 30 ช่อง 3. Terrestrial Service TV 18 ช่อง และ 4. ทีวีดาวเทียมรวม 388 ช่อง เป็นต้น


http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000065353&Keyword=%b4%d2%c7%e0%b7%d5%c2%c1


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.