Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

8 พฤษภาคม 2556 ค่ายมือถือ ถ้าชน หมอลี่-กสทช. // AIS DTAC TRUE (ต่างให้ของแถมเป็นหนัง เพลง เปลื่ยนเทคโนโลยีเป็น4G ถือว่าลดราคาแล้ว) หมดลี่ชี้การเพิ่มสิทธิพิเศษไม่เป็นการลดราคา


ประเด็นหลัก



นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหารด้านการตลาด บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ลูกค้าที่ย้ายมาใช้ 3จี บนคลื่นใหม่จะได้แพ็คเกจในราคาเท่ากับ 3จี บนคลื่นเดิม 2.1 กิกะเฮิรตซ์ โดยจะเพิ่มความเร็วในการใช้งานให้มากขึ้น รวมถึงการเพิ่มสิทธิประโยชน์แทน

"ผมถาม กสทช. แล้ว เรื่องลดราคา 15% เราสามารถเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้าแทนได้ ในราคาเท่าเดิม ลูกค้าจะได้สปีด 3จี ที่เร็วขึ้น มีเอไอเอสแอพสโตร์ให้ใช้งานฟรีเพิ่มขึ้น ซึ่ง กสทช. บอกว่าทำได้ และยืนยันว่าแพ็คเกจที่ออกไปถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ผิดเงื่อนไขการให้ใบอนุญาต"

นายสมชัย ยืนยันว่า เมื่อคิดเป็นมูลค่าหรือสิทธิประโยชน์ อัตราค่าบริการจะปรับลดลงมากกว่า 15% ขณะเดียวกัน ลูกค้ามีบริการที่ดีกว่าเดิม และถ้าคิดเป็นยูนิตจะถูกกว่า จากเดิมคิด 2 บาทต่อเมกะบิตเหลือ 1.50 บาทต่อเมกะบิต ลูกค้าเดิมที่ย้ายมาใช้ 3จีใหม่ ก็จะได้ปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นแต่ราคาไม่ได้ปรับลดลง


โดยแต่ละแพ็คเกจลูกค้าจะได้รับค่าโทร บวกอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งใช้งานได้บน 4จี หากอยู่ในพื้นที่ที่มีบริการ และใช้งานเครื่องลูกข่ายที่รองรับ แต่หากอยู่นอกพื้นที่ ระบบจะโอนไปยัง 3จีทันที ได้รับความเร็วสูงสุด 100 เมกะบิต ซึ่งอัตราค่าบริการที่ออกมานั้น ยืนยันว่า เป็นไปตามเงื่อนไขของ กสทช.

"หากคิดอัตราค่าบริการเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ต ต้นทุนเดิมราคาอินเทอร์เน็ตต่อเมกะบิตอยู่ที่ 2 บาท ต่อ 1 เมก แต่ในแพ็คเกจใหม่ ต้นทุนจะอยู่ที่ 1 บาท ต่อ 1 เมก ดังนั้น ในแพ็คเกจลูกค้าจะได้รับปริมาณดาต้าที่มากขึ้น หากเทียบค่าบริการถือว่าลดลงกว่า 100% หรือเท่าตัว"



นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ต้องจับตาดูในช่วงสิ้นเดือนนี้ว่า ผู้บริการทั้ง 3 ค่าย ที่ได้รับใบอนุญาต 3จีใหม่จะตั้งราคาค่าบริการในอัตราที่ลดลง 15% หรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ต้องมีผู้ออกมารับผิดชอบ เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริการต้องปฏิบัติตาม

ทั้งนี้ หลังจากเปิดประมูลคลื่นความถี่ เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2555 และหลังจากนั้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ คือวันที่ 23 ต.ค. 2555 กสทช. ได้มีเงื่อนไขให้ผู้ให้บริการลดอัตราค่าบริการลงจากแพ็คเกจเดิม 15% โดยคำนวณด้วยว่า ค่าบริการที่ลดลงจะช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดเงินได้ประมาณ 8 แสนล้านบาท ถึง 1 ล้านล้านบาทต่อปี

นายประวิทย์ กล่าวว่า เนื่องจากช่วงออกใบอนุญาต 3จี กสทช.ไม่ได้กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องยื่นรายละเอียดแพ็คเกจ และแผนการลดอัตราค่าบริการมาให้ตรวจสอบก่อน จึงต้องมาตรวจสอบดูว่า กำหนดอัตราค่าบริการใหม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้หรือไม่ เพราะผู้ให้บริการต้องทำความเข้าใจว่า เงื่อนไขที่กำหนดไว้นั้น ระบุชัดเจนว่าผู้ให้บริการต้องกำหนดค่าบริการลดลงไม่น้อยกว่า 15% หมายความว่า ค่าบริการแต่ละแพ็คเกจต้องลดลง




______________________________________







ค่ายมือถืองัด กสทช. 'เมินลด3จี15%'


"เอไอเอส-ทรู" ออกแพ็คเกจ 3จี ไม่ลดราคา 15% ชี้ทำตามคำสั่ง กสทช. เปิดทางให้สิทธิเพิ่มความเร็ว-ใช้แอพฟรีไม่ผิดเงื่อนไข ยันราคาแพ็คเกจลด

การเปิดให้บริการ 3จี หลังจากประมูลใบอนุญาตสิ้นสุดลงในวันที่ 16 ต.ค. 2555 บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 และ 8 พ.ค. ตามลำดับ แพ็คเกจค่าบริการที่แต่ละค่ายประกาศออกมา ชัดเจนว่าไม่ได้ลดลงตามคำสั่งของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ต้องลดค่าบริการ 15% โดยโปรโมชั่นเก่าจาก 3จี เดิมมาเป็น 3จี ใหม่ ค่ายมือถือก็ยืนยันว่าไม่ได้ลดราคาลง แต่ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์และความเร็วการรับส่งข้อมูลให้แทน อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ เงื่อนไขที่ให้ค่ายมือถือลดค่าบริการลงนั้นไม่ได้เขียนอยู่ในเงื่อนไขการให้บริการ3จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทำให้การบังคับค่ายมือถือต้องลดราคาลง 15% จึงเป็นไปได้ยาก

นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหารด้านการตลาด บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ลูกค้าที่ย้ายมาใช้ 3จี บนคลื่นใหม่จะได้แพ็คเกจในราคาเท่ากับ 3จี บนคลื่นเดิม 2.1 กิกะเฮิรตซ์ โดยจะเพิ่มความเร็วในการใช้งานให้มากขึ้น รวมถึงการเพิ่มสิทธิประโยชน์แทน

"ผมถาม กสทช. แล้ว เรื่องลดราคา 15% เราสามารถเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้าแทนได้ ในราคาเท่าเดิม ลูกค้าจะได้สปีด 3จี ที่เร็วขึ้น มีเอไอเอสแอพสโตร์ให้ใช้งานฟรีเพิ่มขึ้น ซึ่ง กสทช. บอกว่าทำได้ และยืนยันว่าแพ็คเกจที่ออกไปถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ผิดเงื่อนไขการให้ใบอนุญาต"

นายสมชัย ยืนยันว่า เมื่อคิดเป็นมูลค่าหรือสิทธิประโยชน์ อัตราค่าบริการจะปรับลดลงมากกว่า 15% ขณะเดียวกัน ลูกค้ามีบริการที่ดีกว่าเดิม และถ้าคิดเป็นยูนิตจะถูกกว่า จากเดิมคิด 2 บาทต่อเมกะบิตเหลือ 1.50 บาทต่อเมกะบิต ลูกค้าเดิมที่ย้ายมาใช้ 3จีใหม่ ก็จะได้ปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นแต่ราคาไม่ได้ปรับลดลง

"ทรู" เข็นแพ็คเกจ 4จี 699 บาท

นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโมบาย บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า อัตราค่าบริการที่กลุ่มทรูเปิดให้บริการ 4จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ วานนี้ (8 พ.ค.) เฉพาะลูกค้าใหม่ที่เปิดเบอร์ใหม่เท่านั้น ได้แก่ แพ็คเกจ ไอสมาร์ท สำหรับคนชอบโทรและเล่นเน็ตได้ไม่จำกัด มีให้เลือก 3 แพ็คเกจ คือ 699 บาท 899 บาท และ 1,099 บาท

โดยแต่ละแพ็คเกจลูกค้าจะได้รับค่าโทร บวกอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งใช้งานได้บน 4จี หากอยู่ในพื้นที่ที่มีบริการ และใช้งานเครื่องลูกข่ายที่รองรับ แต่หากอยู่นอกพื้นที่ ระบบจะโอนไปยัง 3จีทันที ได้รับความเร็วสูงสุด 100 เมกะบิต ซึ่งอัตราค่าบริการที่ออกมานั้น ยืนยันว่า เป็นไปตามเงื่อนไขของ กสทช.

"หากคิดอัตราค่าบริการเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ต ต้นทุนเดิมราคาอินเทอร์เน็ตต่อเมกะบิตอยู่ที่ 2 บาท ต่อ 1 เมก แต่ในแพ็คเกจใหม่ ต้นทุนจะอยู่ที่ 1 บาท ต่อ 1 เมก ดังนั้น ในแพ็คเกจลูกค้าจะได้รับปริมาณดาต้าที่มากขึ้น หากเทียบค่าบริการถือว่าลดลงกว่า 100% หรือเท่าตัว"

ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการ กสทช. ยืนยันว่า กสทช. ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 7 พ.ค. 2556 ถึงผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์มือถือ 3จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิตรซ์ ทุกรายแล้วว่าผู้ให้บริการต้องปรับลดราคาค่าบริการ 3จี ลง 15% หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาต กสทช. จำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรา 15 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 โดยจะตักเตือน สั่งปรับ สั่งพักใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต แต่ราคากลาง กสทช. ไม่ขอเปิดเผย เพราะถือว่าเป็นความลับในการกำกับดูแล

"การลดราคา 15% ของค่าบริการ 3จี นั้น เป็นคำมั่นสัญญา กสทช. ได้ประกาศไว้เมื่อครั้งออกใบอนุญาต 3จี ปลายปี 2555 ที่ผ่านมา การออกโปรโมชั่นใหม่สำหรับ 3จีต้องถูกลง ซึ่งคำนวณราคาและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ผู้บริโภคได้รับ"

"หมอลี่" ชี้ เพิ่มบริการไม่ถือว่าลดราคา

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ต้องจับตาดูในช่วงสิ้นเดือนนี้ว่า ผู้บริการทั้ง 3 ค่าย ที่ได้รับใบอนุญาต 3จีใหม่จะตั้งราคาค่าบริการในอัตราที่ลดลง 15% หรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ต้องมีผู้ออกมารับผิดชอบ เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริการต้องปฏิบัติตาม

ทั้งนี้ หลังจากเปิดประมูลคลื่นความถี่ เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2555 และหลังจากนั้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ คือวันที่ 23 ต.ค. 2555 กสทช. ได้มีเงื่อนไขให้ผู้ให้บริการลดอัตราค่าบริการลงจากแพ็คเกจเดิม 15% โดยคำนวณด้วยว่า ค่าบริการที่ลดลงจะช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดเงินได้ประมาณ 8 แสนล้านบาท ถึง 1 ล้านล้านบาทต่อปี

นายประวิทย์ กล่าวว่า เนื่องจากช่วงออกใบอนุญาต 3จี กสทช.ไม่ได้กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องยื่นรายละเอียดแพ็คเกจ และแผนการลดอัตราค่าบริการมาให้ตรวจสอบก่อน จึงต้องมาตรวจสอบดูว่า กำหนดอัตราค่าบริการใหม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้หรือไม่ เพราะผู้ให้บริการต้องทำความเข้าใจว่า เงื่อนไขที่กำหนดไว้นั้น ระบุชัดเจนว่าผู้ให้บริการต้องกำหนดค่าบริการลดลงไม่น้อยกว่า 15% หมายความว่า ค่าบริการแต่ละแพ็คเกจต้องลดลง

"การบอกว่าผู้บริโภคจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้น เช่น ความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ไม่ถือว่าอยู่ในเงื่อนไขของการลดราคา พฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศไทย ชัดเจนว่าส่วนลดคือส่วนลด ของแถมคือของแถม ดังนั้นทางคณะกรรมการเองก็จะต้องชัดเจนว่า การเพิ่มสิทธิประโยชน์เหล่านี้ทำได้หรือไม่ ถ้าคำตอบคือทำไม่ได้ ก็ถือว่าผิดเงื่อนไขที่ตั้งไว้" นายประวิทย์ กล่าว

"ศุภชัย" ชู 4จี สิ้นปี มี 2,000 ไซต์

ขณะที่ วานนี้ (8 พ.ค.) นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวระหว่างการเปิดให้บริการ 4จี อย่างเป็นทางการว่า ทรูมูฟ เอช จะไม่เปิดแถลงข่าวเปิดให้บริการ 3จีเหมือนเช่นคู่แข่ง เพราะว่า 3จี ของบริษัทนั้น ได้ให้บริการมาตั้งแต่กลางปี 2554 แล้ว หลังจากที่ได้สัญญาให้บริการโทรศัพท์มือถือเอชเอสพีเอร่วมกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม ในแบรนด์ ทรูมูฟ เอช ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าแล้ว 3.2 ล้านราย มีจำนวนสถานีฐาน ณ ปัจจุบันแล้ว ราว 13,000 แห่ง

ส่วนการให้บริการบนใบอนุญาต 2.1 กิกะเฮิรตซ์ บริษัทได้นำมาให้บริการ 4จี แอลทีอีแทน เพราะใบอนุญาตนั้นระบุรายละเอียดว่าเป็นเทคโนโลยีแบบเปิดสามารถอัพเกรดได้ โดยตั้งเป้าจะมีสถานีฐาน 4จี ไม่ต่ำกว่า 2,000 แห่งภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันมีสถานีฐานแล้ว 500 แห่ง ซึ่งพร้อมเปิดให้บริการ 4จี เฟสแรกแล้วในวันนี้ ในพื้นที่กทม. ด้วยความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดและอัพโหลดเร็วกว่าเดิม 3-5 เท่า ครอบคลุมย่านเศรษฐกิจสำคัญๆ ในกรุงเทพฯ เช่น สยามสแควร์ สีสม และ สาทร และอีก 15 หัวเมืองหลัก

ทั้งนี้ หากรวมจำนวนสถานีฐานที่ กลุ่มทรู จะมีให้บริการแก่ลูกค้าภายในสิ้นปีนี้ คือ ระบบ 3จี ย่านความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 13,500 แห่ง ระบบ 3จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ 5,000 แห่ง ซึ่งขณะนี้ขยายโครงข่ายไปแล้ว 500 แห่ง รวมแล้วบริษัทจะมีสถานีฐานให้บริการสิ้นปีนี้ 20,500 แห่ง ในงบลงทุน 15,000 ล้านบาท ตั้งเป้าลูกค้าสิ้นปี 7 ล้านราย

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130509/504544/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8
%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%B1
%E0%B8%94-%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.-
%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%943%E0%B8%88%E0%B8%B515.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.