Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 พฤษภาคม 2556 ชัยชนะของประชาชนชาวไทย++ กสทช.ชี้เหตุผลไม่พอ ไม่อนุมัติ AIS DTAC TRUE ++หลัง(3ค่ายพร้อมใจเสนอเก็บค่าเลขวันละ1บาท(หากไม่ใช้เกิน30วัน)


ประเด็นหลัก



รองเลขาฯ กสทช. กล่าวต่อว่า เหตุผลที่ กทค.ไม่เห็นชอบเรื่องนี้ เพราะเอกสารที่ส่งมาประกอบคำขอในเรื่องดังกล่าวไม่ชัดเจนในเรื่องของที่มา เนื่องด้วยตามข้อ 14 ของประกาศอัตราขั้นสูงของค่าบริการ พ.ศ.2549 จะต้องยื่นเอกสารและหลักฐานที่ระบุเหตุผลและความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการ วิธีการคำนวณอัตราค่าบริการ ชี้แจงต้นทุนของบริการ พร้อมหลักการและวิธีคิดคำนวณต้นทุน รายงานจำนวนผู้ใช้บริการและความถี่ของการใช้บริการ รวมทั้งรายได้จากการให้บริการดังกล่าว รายงานเปรียบเทียบอัตราค่าบริการใหม่กับอัตราค่าบริการเดิมและของคู่แข่งหลักในตลาด เป็นต้น




ปรากฎว่าที่ประชุมไม่เห็นชอบกรณีการจัดเก็บค่าบริการเลขหมาย 1 บาท / เดือน  เนื่องจากค่ายมือถือไม่มีรายละเอียดที่มา ที่ไป  หลักการและวิธีการคิดคำนวนต้นทุน จำนวนผู้ใช้บริการ การเปรียบเทียบอัตาค่าบริการในตลาด เนื่องจากการรักษาเลขหมายผู้บริโภคจะต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายหากไม่มีการใช้งาน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด่วน!! AIS บีบ ต้นข่าว อนุกสทช. แทน!! (อ้างเปิดเผยข้อมูล3ค่าย รวมAISพร้อมใจเสนอเก็บค่าเลขวันละ1บาท(หากไม่ใช้เกิน30วัน)

http://somagawn.blogspot.com/2013/03/24-2556-ais-3-ais130.html


______________________________________







เอไอเอส-ดีแทค หงาย! กสทช.ตีตก ค่ารักษาเบอร์วันละบาท


“ก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร” รองเลขาฯ กสทช. เผยบอร์ด กทค. มีมติ ไม่เห็นชอบข้อเสนอเอไอเอส-ดีแทค ให้เก็บค่ารักษาเบอร์จากผู้บริโภควันละ 1 บาท...


เมื่อวันที่ 10 พ.ค. นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ว่า ที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบกรณีที่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้มีหนังสือเข้ามาขอความเห็นชอบในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้า โดยจะขอจัดเก็บค่าบริหารจัดการเลขหมายในระบบกรณีผู้ใช้บริการไม่มีการใช้บริการใดภายในระยะเวลา 30 วันติดต่อกัน ซึ่งต้องชำระค่าบริการให้แก่บริษัท ในอัตรา 1 บาทต่อวัน จนกว่าจะมีการใช้บริการ และผู้ใช้บริการจะถูกยกเลิกบริการจัดเก็บค่าบริการ จัดการเลขหมายเมื่อไม่มีจำนวนเงินเหลืออยู่ และหลังจากนั้นจะนำเลขหมายดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการจัดเก็บเพื่อเตรียมการจัดจำหน่ายใหม่ต่อไป



รองเลขาฯ กสทช. กล่าวต่อว่า เหตุผลที่ กทค.ไม่เห็นชอบเรื่องนี้ เพราะเอกสารที่ส่งมาประกอบคำขอในเรื่องดังกล่าวไม่ชัดเจนในเรื่องของที่มา เนื่องด้วยตามข้อ 14 ของประกาศอัตราขั้นสูงของค่าบริการ พ.ศ.2549 จะต้องยื่นเอกสารและหลักฐานที่ระบุเหตุผลและความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการ วิธีการคำนวณอัตราค่าบริการ ชี้แจงต้นทุนของบริการ พร้อมหลักการและวิธีคิดคำนวณต้นทุน รายงานจำนวนผู้ใช้บริการและความถี่ของการใช้บริการ รวมทั้งรายได้จากการให้บริการดังกล่าว รายงานเปรียบเทียบอัตราค่าบริการใหม่กับอัตราค่าบริการเดิมและของคู่แข่งหลักในตลาด เป็นต้น








โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/344039

_______________________________________



กทค.ยันค่าบริการ 3 G ต้องลง15%ไม่ใช่สิทธิพิเศษ
วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2556 เวลา 16:51 น.

กทค. 5 คน เห็นตรงกัน ลดอัตราค่าบริการ 3 จี ต้องลง 15 % ไม่ใช่ป้อนสิทธิพิเศษให้ลูกค้า พร้อมตีกลับข้อเสนอเอไอเอส – ดีแทค – ทรูมูฟ ขอเก็บค่ารักษาเบอร์วันละบาท
วันนี้(10พ.ค.)นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.)ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่าในที่ประชุมกทค. คณะกรรมการทั้ง 5 ท่านมีความเห็นตรงกันว่า การกำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ  3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด , บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด เพื่อให้บริการเทคโนโลยี 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ให้ลดอัตราค่าบริการลง 15 %  ต้องดำเนินการลดค่าบริการ 15 % ไม่ใช่การเพิ่มสิทธิพิเศษ หรือการมอบสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้าตามที่เป็นกระแสในขณะนี้  และเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้บริโภค


“เนื่องจากที่ประชุมไม่มีการคัดค้านว่า การลดค่าบริการ 15 % ไม่ใช่เพิ่มสิทธิประโยชน์ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน แม้กระทั่งแนวความคิดที่ให้ค่ายมือถือออกแบบค่าบริการแพ็กเกจ 2 แบบ คือแบบที่ 1 ลดราคาลง 15 % และแบบที่2 เพิ่มขึ้น 15 %  ที่ไม่ได้ถูกนำมาพิจารณา”นพ.ประวิทย์ กล่าว


ด้านนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการกสทช.เปิดเผยว่า สำหรับการทำงานติดตามและกำกับดูแลค่าบริการ แพ็กเกจ โปรโมชั่นของค่ายมือถือที่ในขณะนี้ได้เริ่มทำงานแล้ว โดยจะรายงานผลทุก 15 วัน นอกจากนี้กทค.รับเรื่องของบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคและทรูมูฟ จำกัด  ที่ขอความเห็นชอบในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้า หรือ พรีเพด ในกรณีที่ผู้ใช้บริการไม่มีการใช้บริการใด ภายในระยะเวลา 30 วันติดต่อกัน ระบบจะขอคิดค่าจัดเก็บค่าเลขหมายในระบบอัตรา 1 บาท / เดือน


ปรากฎว่าที่ประชุมไม่เห็นชอบกรณีการจัดเก็บค่าบริการเลขหมาย 1 บาท / เดือน  เนื่องจากค่ายมือถือไม่มีรายละเอียดที่มา ที่ไป  หลักการและวิธีการคิดคำนวนต้นทุน จำนวนผู้ใช้บริการ การเปรียบเทียบอัตาค่าบริการในตลาด เนื่องจากการรักษาเลขหมายผู้บริโภคจะต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายหากไม่มีการใช้งาน


http://www.dailynews.co.th/technology/203610

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.