Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มิถุนายน 2556 (รู้ผลแน่ใครมีสิทธิกับลูกค้า AIS TRUEMOVE GSM1800 ) กสทช. เตรียมเชิญ CAT TRUEMOVE มา 4 มิถุนายน เร่งร่างกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่


ประเด็นหลัก

และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซิมดับหลังสัมปทานทรูมูฟและดีพีซีสิ้นสุดลง บอร์ด กทค. (29 พ.ค.) มีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานการคุ้มครองผู้ใช้บริการ กรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...ซึ่งจะเป็นมาตรการในการให้บริการช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนมีผู้ให้บริการราย ใหม่ได้สิทธิ์ใช้คลื่นและกำหนดภาระหน้าที่ว่า ใครเป็นผู้ดูแลลูกค้าและโครงข่าย

"4 มิ.ย.นี้จะเชิญทรูมูฟ และ กสทฯมาหารือ เพื่อรับฟังความเห็นก่อนแก้ไขให้บอร์ด กทค.และ กสทช.พิจารณา แล้วรับฟังความเห็นสาธารณะ ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก.ค.นี้"

คลอดมาตรการกันซิมดับ

ตาม แนวทางคณะอนุกรรมการ ให้ทั้ง 2 ฝ่ายไปหารือและทำแผนดูแลลูกค้าเสนอมายัง กสทช. พิจารณาภายใน 60 วันก่อนหมดสัมปทาน เพื่อตกลงว่าใครจะมีหน้าที่อะไรบ้าง ทั้งค่าบริการที่ลูกค้าต้องจ่ายใครจะรับ ค่าใช้จ่ายทั้งค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ค่าธรรมเนียมเลขหมาย เงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนา กสทช. รวมถึงค่าบำรุงรักษาโครงข่ายใครจะรับภาระ

นอกจากนี้ สัมปทานระหว่างทีโอทีและเอไอเอสจะหมด ต.ค. 2558 จึงจะนำประกาศนี้ไปใช้เพื่อเตรียมการก่อนด้วย และมีไอเดียว่าอาจประมูลคลื่น 1800 MHz พร้อม 900 MHz จะได้รู้ว่าใครจะใช้คลื่นต่อ อีก


______________________________________







ปิ๊งไอเดียรวบประมูลคลื่น900-1800 เปิดทางคู่สัมปทานแบ่งหน้าที่ดูแลฐานลูกค้าเดิม


ให้เวลา 3 เดือนสรุปหลักเกณฑ์ประมูลคลื่น 1800 MHz "กทค." ขีดเส้นไม่เกินปลายปีหน้ากดปุ่มประมูล เดินหน้าออกประกาศมาตรฐานคุ้มครองผู้บริโภคหลังสัมปทานหมดอายุ เปิดทาง "กสท-ทรูมูฟ" แบ่งหน้าที่รับผิดชอบลูกค้า ทั้งสางปมคลื่น 700 MHz ฝั่งบรอดแคสต์ ยันไร้ปัญหาคลื่นรบกวน

พ.อ.เศรษฐ พงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz (15 พ.ค. 2556) เพื่อให้ทำหน้าที่ประสานงานกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการอนุญาต และการประเมินมูลค่าคลื่นให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ย่าน 1800 MHz จำนวน 25 MHz ที่บริษัททรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอล โฟน (ดีพีซี) ได้สัมปทานจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม และจะสิ้นสุดใน 15 ก.ย.นี้ รวมถึงจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบ กิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่าน 1800 MHz สรุปข้อสนเทศ (IM) โดยให้เวลาในการปฏิบัติงาน 3 เดือน

เร่ง IM ประมูลคลื่น 1800 MHz

คณะ ทำงานชุดนี้มี 22 คน ประกอบด้วย นายพิทยาพล จันทนะสาโร ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงาน กสทช. เป็นหัวหน้าคณะทำงาน มีนายแก้วสรร อติโพธิ และนายสงขลา วิชัยขัทคะ เป็นที่ปรึกษา ที่เหลือเป็นทีมงานในสำนักงาน กสทช. ทำงานสนับสนุนคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่น 1800 MHz โดยเป็นผู้กำหนดราคาตั้งต้นประมูล และกรอบเวลาในการประมูล ซึ่งต้องทำให้เร็วที่สุดไม่เกินปลายปี 2557

และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซิมดับหลังสัมปทานทรูมูฟและดีพีซีสิ้นสุดลง บอร์ด กทค. (29 พ.ค.) มีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานการคุ้มครองผู้ใช้บริการ กรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...ซึ่งจะเป็นมาตรการในการให้บริการช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนมีผู้ให้บริการราย ใหม่ได้สิทธิ์ใช้คลื่นและกำหนดภาระหน้าที่ว่า ใครเป็นผู้ดูแลลูกค้าและโครงข่าย

"4 มิ.ย.นี้จะเชิญทรูมูฟ และ กสทฯมาหารือ เพื่อรับฟังความเห็นก่อนแก้ไขให้บอร์ด กทค.และ กสทช.พิจารณา แล้วรับฟังความเห็นสาธารณะ ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก.ค.นี้"

คลอดมาตรการกันซิมดับ

ตาม แนวทางคณะอนุกรรมการ ให้ทั้ง 2 ฝ่ายไปหารือและทำแผนดูแลลูกค้าเสนอมายัง กสทช. พิจารณาภายใน 60 วันก่อนหมดสัมปทาน เพื่อตกลงว่าใครจะมีหน้าที่อะไรบ้าง ทั้งค่าบริการที่ลูกค้าต้องจ่ายใครจะรับ ค่าใช้จ่ายทั้งค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ค่าธรรมเนียมเลขหมาย เงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนา กสทช. รวมถึงค่าบำรุงรักษาโครงข่ายใครจะรับภาระ

นอกจากนี้ สัมปทานระหว่างทีโอทีและเอไอเอสจะหมด ต.ค. 2558 จึงจะนำประกาศนี้ไปใช้เพื่อเตรียมการก่อนด้วย และมีไอเดียว่าอาจประมูลคลื่น 1800 MHz พร้อม 900 MHz จะได้รู้ว่าใครจะใช้คลื่นต่อ อีกทั้งบอร์ด กทค.ยังได้รับทราบรายงานผลการศึกษา กรณีผลกระทบต่อการวางแผนคลื่นความถี่เพื่อรับรองคลื่นความถี่ที่เตรียมพร้อม ไว้ สำหรับความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ สำหรับคลื่น 700 MHz เนื่องจากได้รับแจ้งจากมาเลเซียว่าจะนำคลื่นย่านนี้ไปให้บริการโมบายบรอด แบนด์

ประเด็นที่เป็นกังวลคืออาจเกิดปัญหาคลื่นกวนกัน เพราะในบรอดแคสต์เสาส่งสัญญาณแต่ละต้นมีกำลังส่งหลาย 10 วัตต์ แต่เสาส่งโทรคมนาคมแรงน้อยกว่า อาจมีปัญหาทีวีดิจิทัลจากฝั่งไทยไปกวนระบบมือถือของประเทศเพื่อนบ้าน

"หากปรับแผนคลื่นความถี่แห่งชาติจะวุ่นวายมากจึงน่าจะใช้วิธีแก้ไขทางวิศวกรรมมากกว่า"

ยันไร้ปัญหาคลื่นแทรก 700MHz

ด้าน พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า กรณีประเทศเพื่อนบ้านใช้คลื่น 700 MHz สำหรับโมบายบรอดแบนด์ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับการนำคลื่นไปจัดสรรทีวีดิจิทัล

การ จัดสรรคลื่นเพื่อใช้สำหรับทีวีดิจิทัลของไทย ใช้ย่าน 510-740 MHz จึงมีช่วงคลื่นไม่มากที่อยู่ช่วงเดียวกับมาเลเซีย ซึ่งคณะทำงานของทั้ง 2 ประเทศเจรจาและให้ความเห็นชอบแผนใช้คลื่นและประสานคลื่นความถี่ จึงไม่น่ามีปัญหาคลื่นรบกวน ที่สำคัญจะเริ่มใช้คลื่นย่านดังกล่าวในการให้บริการโมบายบรอดแบนด์ในปี 2563

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1370192742

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.