Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 มิถุนายน 2556 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ++++ ขอแนวร่วมคนไทย ดึง โดเมน".thai" ++++ ให้เป็นคนไทยครอบครอง เพื่อความเป็นไทย วัฒนธรรมไทยที่หามูลค่าไม่ได้



ประเด็นหลัก



นายวรรณวิทย์ อาขุบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 ในผู้ต่อสู้เพื่อยุติการขอสิทธิ์ชื่อโดเมนเนม .thai กล่าวว่า จากการที่ไอแคนน์เปิดให้ขอสิทธิ์ชื่อโดเมนแบบ gTLDs หรือใช้ตามประเภทองค์กร เช่น .com

นอกเหนือจากแบบ ccTLDs ใช้โดยประเทศหรือเขตปกครอง ประกอบด้วยตัวอักษร 2 ตัว เช่น .th ในปี 2555 ทำให้มีจำนวนโดเมนเพิ่มขึ้นถึง 1,930 โดเมน จากสมัยก่อนมีเพียง 210 กว่าโดเมนเท่านั้น

ปัญหาการขอสิทธิ์ชื่อโดเมนแบบ gTLDs จึงเพิ่มขึ้นด้วย เช่น กรณี .thai แม้ขณะนี้จะยังไม่ส่งผลเสียกับประเทศไทย แต่ต่อไปอาจมีผลกระทบในแง่ความน่าเชื่อถือและการโดนปลอมแปลง ด้วยชื่อโดเมนที่มีส่วนคล้ายกับ .th และ .ไทย โดเมนแบบ ccTLDs บ่งบอกว่า ผู้ที่ได้รับโดเมนดังกล่าวเป็นคนไทยหรืออาศัยในประเทศไทยเท่านั้น แต่หากเป็น .thai ไม่จำเป็นต้องเป็นคนไทยหรืออาศัยในประเทศไทย

ทั้งยังมีผลกระทบด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากวัฒนธรรมไทยที่มีค่าหาศาล ทำให้หลายประเทศแสวงหาประโยชน์ตรงนี้ เช่น กรณีการทำเว็บไซต์ร้านอาหาร สปา และนวดแบบไทย โดยใช้คำลงท้าย .thai จะทำให้คนเข้าใจว่าเป็นร้านไทยแท้ แต่ในความเป็นจริงอาจเป็นผู้ประกอบการจากประเทศอื่นได้ และพบอีกว่า ปัจจุบันกว่า 50% ร้านอาหารไทยในต่างแดนไม่ใช่ของคนไทย


"การที่เขาลงทุนขอสิทธิ์จดชื่อโดเมนมูลค่ากว่า 5 ล้านบาทนั้น เขาต้องคำนวณรายได้ที่จะเข้ามา ซึ่งมากกว่านี้แน่นอน โดยมองจากความเป็นไทย วัฒนธรรมไทยมีมูลค่ามหาศาล ใคร ๆ ก็อยากได้ ลองคำนวณดูในการใช้ชื่อลงท้าย .th และ .ไทย มีกว่า 65,000 ชื่อ ค่าบริการต่อปีกว่า 428 บาท แสดงว่าแต่ละปี THNIC ได้รับเงินส่วนนี้กว่า 27.8 ล้านบาท แล้วคนที่มายื่นขอโดเมนเนมจะได้เท่าไร"

นายวรรณวิทย์กล่าวอีกว่า ในขณะนี้ต้องการรายชื่อผู้ขอคัดค้านและเหตุผลจากฝั่งผู้ประกอบการธุรกิจ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีเพียงหน่วยงานรัฐบาล สมาคมเว็บมาสเตอร์ และการบินไทยเท่านั้นที่ออกมาต่อต้าน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการยื่นเรื่องคัดค้านไปทางไอแคนน์ เพราะไอแคนน์ต้องการความเห็นที่หลากหลายจากทุกภาคส่วน ดังนั้นจึงได้มีการประสานไปยังนักเรียนนักศึกษาในโซนยุโรป และผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในต่างแดน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เริ่มมีการออกมาแสดงความคิดเห็นบ้างแล้ว





______________________________________






หาแนวร่วมลงชื่อร้อง"ไอแคนน์"ค้านทุนต่างชาติฮุบโดเมน".thai"

เร่งหาแนวร่วมทั้ง "ภาคธุรกิจ-นักเรียนไทยในต่างแดน" ลงชื่อคัดค้านทุนต่างชาติยื่นขอจดโดเมน ".thai" ระบุอาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล และจุดชนวนละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา รีบยื่นคัดค้านให้ทัน "ก.ค." นี้

สืบเนื่องจากกรณีบริษัท เบ็ทเทอร์ ลิฟวิ่ง แมเนจเมนท์ จำกัด ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุว่าเป็นบริษัทของคนไทย แต่แหล่งทุนส่วนใหญ่มาจากมาเลเซีย ดำเนินเรื่องขอสิทธิ์ชื่อโดเมนเนม .thai

โดยขอหนังสือรับรองจากปลัดกระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อยื่นต่อคณะกรรมการหน่วยงานกลางรับจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์หรือไอแคนน์ และเมื่อวันที่

11 เม.ย. 2556 ที่ผ่านมา หลังไอแคนน์มีการประชุมที่ประเทศจีน และเสนอให้เลื่อนการพิจารณาการยื่นขอสิทธิ์บริหารโดเมน .thai

นายวรรณวิทย์ อาขุบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 ในผู้ต่อสู้เพื่อยุติการขอสิทธิ์ชื่อโดเมนเนม .thai กล่าวว่า จากการที่ไอแคนน์เปิดให้ขอสิทธิ์ชื่อโดเมนแบบ gTLDs หรือใช้ตามประเภทองค์กร เช่น .com

นอกเหนือจากแบบ ccTLDs ใช้โดยประเทศหรือเขตปกครอง ประกอบด้วยตัวอักษร 2 ตัว เช่น .th ในปี 2555 ทำให้มีจำนวนโดเมนเพิ่มขึ้นถึง 1,930 โดเมน จากสมัยก่อนมีเพียง 210 กว่าโดเมนเท่านั้น

ปัญหาการขอสิทธิ์ชื่อโดเมนแบบ gTLDs จึงเพิ่มขึ้นด้วย เช่น กรณี .thai แม้ขณะนี้จะยังไม่ส่งผลเสียกับประเทศไทย แต่ต่อไปอาจมีผลกระทบในแง่ความน่าเชื่อถือและการโดนปลอมแปลง ด้วยชื่อโดเมนที่มีส่วนคล้ายกับ .th และ .ไทย โดเมนแบบ ccTLDs บ่งบอกว่า ผู้ที่ได้รับโดเมนดังกล่าวเป็นคนไทยหรืออาศัยในประเทศไทยเท่านั้น แต่หากเป็น .thai ไม่จำเป็นต้องเป็นคนไทยหรืออาศัยในประเทศไทย

ทั้งยังมีผลกระทบด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากวัฒนธรรมไทยที่มีค่าหาศาล ทำให้หลายประเทศแสวงหาประโยชน์ตรงนี้ เช่น กรณีการทำเว็บไซต์ร้านอาหาร สปา และนวดแบบไทย โดยใช้คำลงท้าย .thai จะทำให้คนเข้าใจว่าเป็นร้านไทยแท้ แต่ในความเป็นจริงอาจเป็นผู้ประกอบการจากประเทศอื่นได้ และพบอีกว่า ปัจจุบันกว่า 50% ร้านอาหารไทยในต่างแดนไม่ใช่ของคนไทย

ด้านรองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงผลกระทบของการใช้ .thai ว่า อาจทำให้เกิดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

เนื่องจากไม่มีหน่วยงานตรวจสอบหรือควบคุม เช่น .th หรือ .ไทย ที่มี THNIC คอยตรวจสอบผู้เข้ามาขอใช้โดเมนเนม และเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายแก่บริษัทขนาดเล็กและใหญ่ที่ต้องจดทะเบียนขอใช้คำลงท้ายดังกล่าว เพราะเกรงมีผู้แอบอ้างชื่อไปจดทะเบียน และเกิดการปลอมแปลงขึ้น เช่น มีกิจการโรงแรมในชื่อ ก มีชื่อเสียง และจดทะเบียนลงท้ายด้วย .th ต่อมามี .hotel ออกมา หากไม่ไปจดอาจโดนคนที่ใช้ชื่อเหมือนเข้าไปจดและสวมรอยเป็นกิจการของตนเอง

กรณีเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น ในต่างประเทศ เช่น กลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกาเกิดข้อพิพาทและเรียกน้ำตากันในการขอใช้สิทธิ์ชื่อโดเมน .Africa ซึ่งครอบคลุมประเทศในกลุ่มทวีปนี้กว่า 53 ประเทศ และการใช้คำลงท้าย .Amazon

"การที่เขาลงทุนขอสิทธิ์จดชื่อโดเมนมูลค่ากว่า 5 ล้านบาทนั้น เขาต้องคำนวณรายได้ที่จะเข้ามา ซึ่งมากกว่านี้แน่นอน โดยมองจากความเป็นไทย วัฒนธรรมไทยมีมูลค่ามหาศาล ใคร ๆ ก็อยากได้ ลองคำนวณดูในการใช้ชื่อลงท้าย .th และ .ไทย มีกว่า 65,000 ชื่อ ค่าบริการต่อปีกว่า 428 บาท แสดงว่าแต่ละปี THNIC ได้รับเงินส่วนนี้กว่า 27.8 ล้านบาท แล้วคนที่มายื่นขอโดเมนเนมจะได้เท่าไร"

นายวรรณวิทย์กล่าวอีกว่า ในขณะนี้ต้องการรายชื่อผู้ขอคัดค้านและเหตุผลจากฝั่งผู้ประกอบการธุรกิจ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีเพียงหน่วยงานรัฐบาล สมาคมเว็บมาสเตอร์ และการบินไทยเท่านั้นที่ออกมาต่อต้าน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการยื่นเรื่องคัดค้านไปทางไอแคนน์ เพราะไอแคนน์ต้องการความเห็นที่หลากหลายจากทุกภาคส่วน ดังนั้นจึงได้มีการประสานไปยังนักเรียนนักศึกษาในโซนยุโรป และผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในต่างแดน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เริ่มมีการออกมาแสดงความคิดเห็นบ้างแล้ว

"หวังว่าก่อนตัดสินในเดือน ก.ค.นี้ จะล่ารายชื่อผู้ที่มีความเห็นคัดค้านเสนอต่อไอแคนน์ได้สำเร็จ เพื่อยุติเรื่องดังกล่าว ถ้าทำหลังจากนี้จะเป็นเรื่องยาก จึงอยากชวนผู้ที่สนใจลงชื่อขอคัดค้านติดต่อไปยังไอแคนน์ หรืออีเมล์มาที่ wanawit@etda.or.th ก็ได้"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1371040882

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.