Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 มิถุนายน 2556 นายกยิ่งลักษณ์ต้านภัยคุกคามโลกไซเบอร์++ เผยปีที่ผ่านมามีจากไซเบอร์ ภัยจากไวรัส การล้วงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต กว่า 800 ครั้ง



ประเด็นหลัก



น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวต่อว่า เช่นเดียวกัน การนำเทคโนโลยีทางด้านอินเทอร์เน็ตไปใช้ในทางที่ผิดจะทำให้เกิด ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม การค้า ความมั่นคงของชาติ และสวัสดิภาพของประชาชน โดยเฉพาะเยาวชน ซึ่งข้อมูลจากศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย (Thai CERT) ในปีที่แล้ว รายงานถึงภัยคุกคามจากไซเบอร์ ภัยจากไวรัส และการล้วงข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตกว่า 800 ครั้ง ประเทศไทยจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (National Cyber Security Committee) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการฯ ขณะนี้กำลังดำเนินการพัฒนากรอบนโยบายเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานของรัฐบาล เอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วไป โดยจะครอบคลุมถึงการกำกับดูแล เตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลระดับชาติ

นอกจากนี้ ไทยยังสนับสนุนความร่วมมือของอาเซียนในการต่อสู้ภัยจากไซเบอร์ ซึ่งเป็น 1 ใน 8 เรื่องของอาชญากรรมข้ามชาติ และสนับสนุนความพยายามของ ARF จัดประชุมเพื่อรับมือและจัดการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ระดับโลก หรือ FIRST เพื่อหาวิธีปฏิบัติในการรับมือและจัดการภัยคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองสำหรับทุกฝ่าย.




______________________________________






นายกฯ หนุน ต้านภัยคุกคามโลกไซเบอร์


น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หนุนต้านภัยคุกคามโลกไซเบอร์ เผยปีที่ผ่านมามีการล้วงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต กว่า 800 ครั้ง...

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 17 มิ.ย. ที่โรงแรมคอนราด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมประจำปีของ FIRST (25th Annual FIRST Conference 2013) โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดประชุมตอนหนึ่งว่า จุดประสงค์ของการประชุมครั้งนี้คือ การหาแนวทางและการรับมือกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (ความมั่นคงทางไซเบอร์) ตามสถิติของธนาคารโลก ในปี 2010 ครัวเรือนทั่วโลก ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต มีประมาณร้อยละ 30 และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย

ส่วนประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 24 ล้านคน และมีหมายเลขโทรศัพท์มือถือกว่า 87 ล้านเลขหมาย จากประชากร 64 ล้านคน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยเปิดโอกาสที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้นขึ้น การเชื่อมโยงที่มากขึ้นนำไปสู่การเพิ่มพูนการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ธุรกิจ SMEs นอกจากนี้ ยังช่วยสนับสนุนการศึกษา อาทิ โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย (One Tablet Per Child) การดูแลรักษาผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกล หรือ Telemedicine เพิ่มขีดความสามารถมนุษย์ทำให้สามารถรับรู้ข่าวสาร โดยเฉพาะแนวคิดริเริ่มเกี่ยวกับ Smart Thailand เพื่อช่วยประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ชนบท ให้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวต่อว่า เช่นเดียวกัน การนำเทคโนโลยีทางด้านอินเทอร์เน็ตไปใช้ในทางที่ผิดจะทำให้เกิด ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม การค้า ความมั่นคงของชาติ และสวัสดิภาพของประชาชน โดยเฉพาะเยาวชน ซึ่งข้อมูลจากศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย (Thai CERT) ในปีที่แล้ว รายงานถึงภัยคุกคามจากไซเบอร์ ภัยจากไวรัส และการล้วงข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตกว่า 800 ครั้ง ประเทศไทยจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (National Cyber Security Committee) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการฯ ขณะนี้กำลังดำเนินการพัฒนากรอบนโยบายเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานของรัฐบาล เอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วไป โดยจะครอบคลุมถึงการกำกับดูแล เตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลระดับชาติ

นอกจากนี้ ไทยยังสนับสนุนความร่วมมือของอาเซียนในการต่อสู้ภัยจากไซเบอร์ ซึ่งเป็น 1 ใน 8 เรื่องของอาชญากรรมข้ามชาติ และสนับสนุนความพยายามของ ARF จัดประชุมเพื่อรับมือและจัดการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ระดับโลก หรือ FIRST เพื่อหาวิธีปฏิบัติในการรับมือและจัดการภัยคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองสำหรับทุกฝ่าย.



โดย: ทีมข่าวการเมือง
http://m.thairath.co.th/content/tech/351781

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.