Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มิถุนายน 2556 อนุภาพ (ผู้ที่ฟ้องล้ม3Gแต่ไม่สำเร็จ) แนวคิด AIS DTAC ที่ให้จัดประมูลคลื่นล่วงหน้า 900 1800 ชี้ กสทช. กำลังสร้างให้ผู้เล่นหน้าเดิม ผูกขาดอีกนาน



ประเด็นหลัก




______________________________________












ฐานเศรษฐกิจ 23 มิถุนายน 2556

___________________________________________



คืนคลื่นก่อนหมดสัมปทาน

กลายเป็นคำถามขึ้นมา เมื่อบรรดาผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ ไล่เลียงตั้งแต่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค  มีแนวคิดที่จะเสนอต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.) เพื่อนำคลื่นความถี่ทั้งหมดไปประมูลก่อนสัญญาสัมปทานจะหมดอายุ !

*** ดีแทค ทุ่มสุดตัวคืนคลื่น 50 เมกะ
     ในงานวันแถลงข่าว " ดีแทค  โครงการ 77/77 อินเตอร์เน็ต ฟอร์ ออล โรด ทริป" บุกภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ ดีแทค ออกมาโยนหินถามทางกรณีที่ ดีแทค   มีแนวคิดที่จะเสนอต่อ กสทช.เกี่ยวกับการคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ ดีแทค ถือครองคลื่นความถี่ทั้งหมด 50 เมกะเฮิรตซ์ ทั้งที่มีการใช้งานอยู่ 25 เมกะเฮิรตซ์ และ อีกจำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ที่ไม่ได้ใช้งาน
    เหตุผลที่ ดีแทค เสนอแนวคิดในครั้งนี้ "จอน"  อ้างว่าเพื่อให้ กสทช.นำไปเปิดประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวได้พร้อมกันทั้งหมด  รวมถึงจะทำให้จำนวนความจุการให้บริการเป็นจำนวนมากถึง 100 เมกะเฮิรตซ์ กับคลื่นความถี่ของที่ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด  หรือ ดีพีซี บริษัท ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ที่มีอยู่ 12.5 เมกะเฮิรตซ์  และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่มีอยู่ 12.5 เมกะเฮิรตซ์  ที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และกำลังจะสิ้นสุดกลางเดือนกันยายน 2556 นี้ เนื่องจากต้องการให้นำคลื่นความถี่ทั้งหมดไปประมูลพร้อมๆ กัน โดยคลื่น 1800  เมกะเฮิรตซ์ ของ ดีแทค จะสิ้นสุดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2561 ขณะที่  เอไอเอส มีคลื่นความ 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน  25 เมกะเฮิรตซ์ และ สัญญาสัมปทานจะหมดอายุในปี 2558
    "แนวคิดนี้ไม่ได้เป็นการยกเลิกสัญญาสัมปทานแต่เป็นการประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า และที่สำคัญมีแนวความคิดเดียวกับ เอไอเอส ที่ต้องการคืนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน เพื่อนำคลื่นความถี่ไปประมูล 4 จีพร้อม ๆ กัน"
 *** "เอไอเอส" เผยเพื่อความต่อเนื่องธุรกิจ
    ก่อนหน้านี้ นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ  เอไอเอส ออกมาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของ บริษัท ดิจิตอลโฟนฯ หรือ ดีพีซี  ที่กำลังจะหมดในวันที่ 15 กันยายน 2556  ว่า ควรจะจัดให้มีการประมูลสัมปทานคลื่น 1800  เมกะเฮิรตซ์ พร้อมกับ สัมปทานคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะหมดอายุในเดือนกันยายน  2558 ในคราวเดียวกัน เพื่อลดปัญหาความไม่ต่อเนื่องทางธุรกิจ และช่วยเยียวยาธุรกิจในขณะเดียวกัน ส่วนการรับคลื่นจะไปเกิดขึ้นหลังจากอายุสัญญาสัมปทานหมดแล้วต้องทำตามระยะเวลา
    "หากมีการประมูลช้าเกินไปก็จะมีผลให้ต้องทำ 2 ครั้ง 3 ครั้ง ซึ่งหากทำครั้งเดียวจบจะได้ชัดเจน ธุรกิจจะได้ดำเนินไปได้"
 *** "อนุภาพ" แจงธุรกิจมือถือผูกขาดรายเดียว
    ขณะที่มุมมองของนักวิชาการอย่าง นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระทางด้านโทรคมนาคม ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย คือ เอไอเอส-ดีแทค และ ทรู มีแผนจะคืนคลื่นความถี่เพื่อนำมาประมูลล่วงหน้า เพราะถ้าเปิดประมูลผู้ประกอบการทั้ง 3 รายก็ต้องเข้าประมูลเหมือนเดิมเพราะธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ผูกขาดอยู่กับค่ายมือถือทั้ง 3 ราย
    "ก็เพราะเอกชนรู้อยู่แล้วว่าถ้าเปิดประมูลคลื่นความถี่ 3 รายเดิมก็ได้คลื่นความถี่ไปบริหารงานเหมือนเดิมอยู่แล้ว ตัวอย่างชัดเจนก็มีให้เห็นอย่างการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ของ กสทช. ผู้เข้าประมูลก็รายเดิมก็จัดสรรกันอย่างลงตัว ธุรกิจมือถือบ้านเราคือการผูกขาดอยู่กับผู้ประกอบการทั้ง 3 รายเดิม"
    นายอนุภาพ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การเปิดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี รูปแบบการเปิดประมูลไม่ถูกตั้งแต่เริ่มต้นแล้วเพราะตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่เกิดการผูกขาดไม่มีการแข่งขันอย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อไม่เกิดการแข่งขันเอกชนสามารถตั้งราคาอย่างไรก็ได้
    อย่างกรณี กสทช. ในฐานะผู้กำกับดูและออกกฎระเบียบให้บรรดาผู้ได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ทั้ง 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวอร์ค จำกัด , บริษัท ดีแทค ไทรเน็ต จำกัด และ บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด ให้ปรับลดราคาอัตราค่าบริการรายเดือนลงมา 15% ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายไม่อยากจะปรับลดราคา
    "เมื่อเปิดให้บริการ 3 จี เทคโนโลยีต้องมีการพัฒนาต้นทุนค่าบริการจะต้องถูกลงมาเช่นเดียวกัน แต่ผู้กำกับดูแล (หมายถึง กสทช.) ไม่รู้ว่ากำกับดูแลจริงหรือเปล่า ตอนนี้คนเล่นหุ้นกลุ่มสื่อสารมีแต่รวยกับรวยกำไรเยอะแยะ"
    นายอนุภาพ ยังกล่าวต่ออีกว่า ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนที่จะได้อัตราค่าบริการถูกลง คุณภาพเครือข่ายดีขึ้น แต่ปรากฏว่าคุณภาพเครือข่ายไม่ได้ดีขึ้นไปกว่าเดิม โดยพื้นฐานแล้วเมื่อเทคโนโลยีเกิดใหม่คุณภาพและการให้บริการต้องดีขึ้นกว่าของเดิม ดังนั้นเมื่อคุณภาพยังไม่ดีขึ้นก็ไม่ได้สะท้อนกลับไปยังผู้บริโภค
    "ถามหน่อยเถอะผู้กำกับดูแลอะไร กำกับดูแลจริงหรือเปล่าหรือแกล้งทำไม่รู้เรื่อง หรือ เข้าข้างเอกชนมากกว่าผู้บริโภค"
     การออกมาโยนหินถามทางคืนคลื่นความถี่ของ "บิ๊กมือถือ"  ครั้งนี้! เป็นการแฟร์เกมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจริงหรือ เพราะใครก็รู้ว่าธุรกิจนี้ผูกขาดอยู่แค่ 3 รายเท่านั้น ?

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=188101:2013-06-21-05-44-04&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.