Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มิถุนายน 2556 ICT เร่ง โครงการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2556 ตั้งเป้าได้ข้อมูลสถิติและสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ



ประเด็นหลัก


รมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า โครงการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2556 นี้ สสช.กำหนด กลยุทธ์ในการดำเนินการไว้ 3 กลยุทธ์ คือ การขับเคลื่อนด้วยกลไกคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีเป็นประธานคณะฯ กลยุทธ์ที่สองการสร้างพันธมิตรด้วยการลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อขยายผลการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ระดับกลุ่มจังหวัด โดยลงนามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง การขยายผลการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในระดับพื้นที่ ภายใต้โครงการ การแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ ลงนามไปแล้วเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2556 และกลยุทธ์สุดท้ายการจัดระบบและรูปแบบการทำงานที่ผสมผสานระหว่างผู้ใช้และผู้ผลิตข้อมูล โดยนำความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล และประเด็นยุทธศาสตร์มากำหนดเป้าหมายในการทำงาน


น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวอีกว่า ในปีนี้มีเป้าหมายในการลงพื้นที่ 2 กลุ่มจังหวัด คือ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 ได้แก่ ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดอีก 3 ท่าน เป็นที่ปรึกษาฯ และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ได้แก่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดอีก 2 ท่าน เป็นที่ปรึกษาฯ โดยคาดว่าภายในปี 2557 จะขยายผลการดำเนินงานไปให้ครบทั้ง 76 จังหวัด และ 18 กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ โดยจะดำเนินการตามยุทธศาสตร์จังหวัด และประเด็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการติดตามแผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วม AEC


รมว.ไอซีที กล่าวด้วยว่า เมื่อโครงการนี้สำเร็จประเทศไทยจะมีชุดข้อมูลสถิติและสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ และสนับสนุนการวิเคราะห์การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยชุดข้อมูลดังกล่าวจะเป็นชุดข้อมูลที่สำคัญ จำเป็นและเพียงพอต่อการตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดกลุ่มจังหวัด และประเด็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่โดยมีหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบการผลิตข้อมูลอย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นการสร้างนวัตกรรมในการใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการจัดทำแผนพัฒนาสี่ปีหรือแผนพัฒนาแบบหมุนเวียน ส่งผลให้เกิดธรรมาภิบาลในภาครัฐ และยังพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสถิติขององค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างวัฒนธรรมการผลิต และการใช้ข้อมูลสถิติและสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจโดยมีความเป็นมืออาชีพด้านการผลิตและใช้ข้อมูลสถิติและสารสนเทศ.







______________________________________





 ไอซีที หนุน สสช. แปลงแผนแม่บทฯ สู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่


รมว.ไอซีที หนุน สสช. แปลงแผนแม่บทฯ สู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ ตั้งเป้าได้ข้อมูลสถิติและสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ...


น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ผลการดำเนินงานการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติของประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2556 สรุปว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย พ.ศ. 2554 – 2558 โดยมีสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ร่วมในการศึกษา โดยแผนฉบับดังกล่าวนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อให้งานด้านสถิติของประเทศมีความเป็นเอกภาพ ข้อมูลสถิติมีมาตรฐาน ลดความซ้ำซ้อนของการจัดทำสถิติและนำไปสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและใช้ข้อมูลสถิติสารสนเทศร่วมกันและเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ผู้บริหารในพื้นที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจดำเนินนโยบายที่เร่งด่วนและนำไปใช้ในการพัฒนาในพื้นที่ได้ สสช.จึงดำเนินโครงการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ขึ้น โดยในปี 2555 ได้ดำเนินการนำร่องไปแล้ว 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอ่างทอง นครนายก ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์และกำแพงเพชร ซึ่งผลการดำเนินการดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง


รมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า โครงการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2556 นี้ สสช.กำหนด กลยุทธ์ในการดำเนินการไว้ 3 กลยุทธ์ คือ การขับเคลื่อนด้วยกลไกคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีเป็นประธานคณะฯ กลยุทธ์ที่สองการสร้างพันธมิตรด้วยการลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อขยายผลการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ระดับกลุ่มจังหวัด โดยลงนามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง การขยายผลการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในระดับพื้นที่ ภายใต้โครงการ การแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ ลงนามไปแล้วเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2556 และกลยุทธ์สุดท้ายการจัดระบบและรูปแบบการทำงานที่ผสมผสานระหว่างผู้ใช้และผู้ผลิตข้อมูล โดยนำความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล และประเด็นยุทธศาสตร์มากำหนดเป้าหมายในการทำงาน


น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวอีกว่า ในปีนี้มีเป้าหมายในการลงพื้นที่ 2 กลุ่มจังหวัด คือ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 ได้แก่ ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดอีก 3 ท่าน เป็นที่ปรึกษาฯ และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ได้แก่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดอีก 2 ท่าน เป็นที่ปรึกษาฯ โดยคาดว่าภายในปี 2557 จะขยายผลการดำเนินงานไปให้ครบทั้ง 76 จังหวัด และ 18 กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ โดยจะดำเนินการตามยุทธศาสตร์จังหวัด และประเด็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการติดตามแผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วม AEC


รมว.ไอซีที กล่าวด้วยว่า เมื่อโครงการนี้สำเร็จประเทศไทยจะมีชุดข้อมูลสถิติและสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ และสนับสนุนการวิเคราะห์การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยชุดข้อมูลดังกล่าวจะเป็นชุดข้อมูลที่สำคัญ จำเป็นและเพียงพอต่อการตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดกลุ่มจังหวัด และประเด็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่โดยมีหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบการผลิตข้อมูลอย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นการสร้างนวัตกรรมในการใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการจัดทำแผนพัฒนาสี่ปีหรือแผนพัฒนาแบบหมุนเวียน ส่งผลให้เกิดธรรมาภิบาลในภาครัฐ และยังพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสถิติขององค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างวัฒนธรรมการผลิต และการใช้ข้อมูลสถิติและสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจโดยมีความเป็นมืออาชีพด้านการผลิตและใช้ข้อมูลสถิติและสารสนเทศ.



โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/352700

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.