Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มิถุนายน 2556 เดินหน้าไปรษณีย์โลจิสติกส์ !!คลังวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์ อย. ไปยังบริษัทไปรษณีย์ไทยโดยตรง มีเป้าหมายธุรกิจประเภทโลจิสติกส์โดยรวมต่อปีประมาณ 200-300 ล้านบาท.



ประเด็นหลัก


น.ส.อานุสรา จิตต์มิตรภาพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยใช้ศักยภาพด้านเครือข่ายการขนส่งของบริการไปรษณีย์โลจิสติกส์กว่า 11 แห่งทั่วทุกภาคของประเทศ โดยแยกระบบขนส่งเฉพาะในรูปแบบจุดต่อจุด โดนนำเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ ระบบชิปปิ้ง ทูล ที่เชื่อมโยงข้อมูลทุกขั้นตอนของการจัดส่ง โดยข้อมูลสินค้าที่จะส่งจากคลังวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์ อย. ไปยังบริษัทไปรษณีย์ไทยโดยตรง ก่อนนำรถออกไปรับและขนส่งต่อไปยังเครือข่ายของหน่วยบริการไปรษณีย์โลจิสติกส์ทั่วประเทศ เพื่อส่งให้แก่โรงพยาบาล สถานพยาบาล และคลินิกในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป


ทั้งนี้ อย. และโรงพยาบาลปลายทางสามารถตรวจสอบสิ่งของได้ในทุกขั้นตอนตลอด 24 ชม. และส่งคืนของกลับหากไม่มีผู้รับ โดยเริ่มทดลองใช้ระบบดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่าสามารถขนส่งสิ่งของได้ถึงปลายทางได้ภายในอย่างน้อย 3 วัน ส่วนค่าบริการจัดการในโครงการนี้ถือว่าไม่มากนัก เพราะเป็นบริการสาธารณะ อีกทั้งยังเป็นการใช้พื้นที่ที่อยู่ในรถให้มีศักยภาพเต็มที่ โดยมีเป้าหมายธุรกิจประเภทโลจิสติกส์โดยรวมต่อปีประมาณ 200-300 ล้านบาท.




______________________________________





“ปณท”อาสาจัดส่งวัตถุเสพติดทางการแพทย์ให้อย.



ก.ไอซีที หนุน ไปรษณีย์ - อย. ดึงเทคโนโลยีฯ ควบคุมขั้นตอนขนส่งวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์


วันนี้ (21 มิ.ย.) ที่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด(ปณท) ถ.แจ้งวัฒนะ บริษัท ไปรษณีย์ไทย หน่วยงานในสังกัด กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อจัดส่งวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล โรงพยาบาล และคลินิกทั่วประเทศ โดยนำระบบชิปปิ้ง ทูล( Shipping Tools) ของไปรษณีย์โลจิสติกส์ ที่ช่วยลดระยะเวลาการจัดส่ง มีความรวดเร็ว และตรวจสอบสถานะการส่งได้ทางอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง มาใช้งาน
       

นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า กระทรวงให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการด้านขนส่งให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านบริการสาธารณสุขไปยังประชาชน โดยจัดส่งวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วประเทศภายใต้การดูแลของ อย. ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญและคำนึงถึงการดูแลความปลอดภัยระหว่างการขนส่งเป็นพิเศษ ถือเป็นการเพิ่มความสามารถในการขนส่งให้เข้าถึงประชาชนในการได้รับการรักษามากยิ่งขึ้น


น.ส.อานุสรา จิตต์มิตรภาพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยใช้ศักยภาพด้านเครือข่ายการขนส่งของบริการไปรษณีย์โลจิสติกส์กว่า 11 แห่งทั่วทุกภาคของประเทศ โดยแยกระบบขนส่งเฉพาะในรูปแบบจุดต่อจุด โดนนำเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ ระบบชิปปิ้ง ทูล ที่เชื่อมโยงข้อมูลทุกขั้นตอนของการจัดส่ง โดยข้อมูลสินค้าที่จะส่งจากคลังวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์ อย. ไปยังบริษัทไปรษณีย์ไทยโดยตรง ก่อนนำรถออกไปรับและขนส่งต่อไปยังเครือข่ายของหน่วยบริการไปรษณีย์โลจิสติกส์ทั่วประเทศ เพื่อส่งให้แก่โรงพยาบาล สถานพยาบาล และคลินิกในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป


ทั้งนี้ อย. และโรงพยาบาลปลายทางสามารถตรวจสอบสิ่งของได้ในทุกขั้นตอนตลอด 24 ชม. และส่งคืนของกลับหากไม่มีผู้รับ โดยเริ่มทดลองใช้ระบบดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่าสามารถขนส่งสิ่งของได้ถึงปลายทางได้ภายในอย่างน้อย 3 วัน ส่วนค่าบริการจัดการในโครงการนี้ถือว่าไม่มากนัก เพราะเป็นบริการสาธารณะ อีกทั้งยังเป็นการใช้พื้นที่ที่อยู่ในรถให้มีศักยภาพเต็มที่ โดยมีเป้าหมายธุรกิจประเภทโลจิสติกส์โดยรวมต่อปีประมาณ 200-300 ล้านบาท.

http://www.dailynews.co.th/technology/213668

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.