Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มิถุนายน 2556 ออกใบอนุญาติTVรัฐสภาเป็นทีวีสาธารณะช่องแรกของไทย โดยได้ช่องหมายเลข 10 ในการออกอากาศ เหตุมีความพร้อมและชัดเจนมากที่สุด



ประเด็นหลัก



ประธาน กสท. กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังเห็นควรให้มีการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อบริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทที่สาม ให้กับรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน จำนวน 1 ใบ ในลำดับเลขช่อง 10 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระจายข้อมูลข่าวสาร ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน ซึ่งนับเป็นการให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอลสาธารณะช่องแรกของประเทศไทย ทั้งนี้ จะเปิดรับฟังความคิดเห็น ก่อนนำกลับเข้าบอร์ด กสท. อีกครั้งในวันที่ 8 ก.ค. หลังจากนั้นจะออกหนังสือเชิญชวนเพื่อให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมายื่นขอใบอนุญาต โดยคาดว่าจะสามารถออกอากาศได้ประมาณเดือน ต.ค.นี้

“สาเหตุที่ บอร์ด กสท. ให้ช่องรัฐสภาฯ เป็นช่องแรกนั้น คิดว่ามีความพร้อมและชัดเจนมากที่สุด น่าจะทำให้กระบวนการต่างๆ เป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย” พ.อ.นที กล่าว

ประธาน กสท. กล่าวอีกว่า กสท. ไม่จำเป็นต้องออกร่างประกาศการพิจารณาให้ช่องสาธารณะแบบบิวตี้คอนเทสต์อีก เพราะมีประกาศหลักเกณฑ์ 2 ฉบับเกี่ยวกับการอนุญาตให้บริการในระบบดิจิตอล ได้แก่ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกิจการเสียงหรือ โทรทัศน์ พ.ศ.2555 และหลักเกณฑ์ และ เรื่อง วิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับบริการโทรทัศน์ในระบบทีวีดิจิตอล พ.ศ.2556



______________________________________






ล็อกไลเซ่นส์ 'รัฐสภา-ประชาชน' ทีวีสาธารณะช่องแรกของไทย


บอร์ด กสท. เตรียมอนุมัติไลเซ่นส์ทีวีสาธารณะช่อง 10 “รัฐสภา-ประชาชน” ประเดิมช่องแรก ก่อนโฟกัสกรุ๊ป เข้าบอร์ด กสท. อีกครั้งวันที่ 8 ก.ค.นี้ คาดออนแอร์ได้ ต.ค.56...

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. ว่าที่ประชุมมีมติการออกใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงจำนวน 94 ใบ แบ่งเป็นประเภทธุรกิจ 61 ใบ สาธารณะ 18 ใบ และชุมชน 15 ใบ รวมทั้งหมดที่ออกใบอนุญาตแล้วจำนวน 2,141 ใบ

ประธาน กสท. กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังเห็นควรให้มีการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อบริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทที่สาม ให้กับรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน จำนวน 1 ใบ ในลำดับเลขช่อง 10 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระจายข้อมูลข่าวสาร ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน ซึ่งนับเป็นการให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอลสาธารณะช่องแรกของประเทศไทย ทั้งนี้ จะเปิดรับฟังความคิดเห็น ก่อนนำกลับเข้าบอร์ด กสท. อีกครั้งในวันที่ 8 ก.ค. หลังจากนั้นจะออกหนังสือเชิญชวนเพื่อให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมายื่นขอใบอนุญาต โดยคาดว่าจะสามารถออกอากาศได้ประมาณเดือน ต.ค.นี้

“สาเหตุที่ บอร์ด กสท. ให้ช่องรัฐสภาฯ เป็นช่องแรกนั้น คิดว่ามีความพร้อมและชัดเจนมากที่สุด น่าจะทำให้กระบวนการต่างๆ เป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย” พ.อ.นที กล่าว

ประธาน กสท. กล่าวอีกว่า กสท. ไม่จำเป็นต้องออกร่างประกาศการพิจารณาให้ช่องสาธารณะแบบบิวตี้คอนเทสต์อีก เพราะมีประกาศหลักเกณฑ์ 2 ฉบับเกี่ยวกับการอนุญาตให้บริการในระบบดิจิตอล ได้แก่ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกิจการเสียงหรือ โทรทัศน์ พ.ศ.2555 และหลักเกณฑ์ และ เรื่อง วิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับบริการโทรทัศน์ในระบบทีวีดิจิตอล พ.ศ.2556

นอกจากนี้ ยังมีหนังสือเชิญชวนให้เข้าประมูล (ไอเอ็ม) รายช่อง ที่กำหนดคุณสมบัติไว้ละเอียดและครอบคลุมอยู่แล้ว อีกทั้ง ยังได้ผ่าน ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ...ตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ทำให้ กสท. มีอำนาจสั่งด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือให้ระงับการออกอากาศรายการนั้นได้ทันที และมีอำนาจสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขตามที่สมควร หรืออาจพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้ หากมีการออกอากาศรายการที่มีเนื้อหารายการออกอากาศที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร

พ.อ.นที กล่าวด้วยว่า ในวันพรุ่งนี้ (25 มิ.ย.) กสท. จะเรียกผู้ให้บริการโครงข่ายในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่มาชี้แจง และทำความเข้าใจในการระงับออกอากาศทีวี ที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต ทั้งนี้ หากรายใดยื่นเอกสารมาเพิ่มเติมตามที่กำหนด กสท. จะพิจารณาให้ในภายหลัง







โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/353178

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.