Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 มิถุนายน 2556 คลื่น 700 MHz (ด้านโทรคมนาคม) ศรัณย์ ชี้ความถี่ต่ำ ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง เหมาะกับการให้บริการในต่างจังหวัดต่างจากคลื่นอื่น // (ด้านสื่อสาร) นที ชี้ ต่อให้ยุติช่อง3 7 แต่ยังเหลือ20 แห่งให้ใช้ตามแผนแม่บทจะให้ใช้ต่อสูงสุด 15 ปี



ประเด็นหลัก



ด้าน "ศรัณย์ ผโลประการ" ผู้ช่วยผู้อำนวยการส่วนงานวางแผนเครือข่ายและบริการ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า อีก 5 ปีคงได้เห็นการยุติการออกอากาศทีวีระบบแอนะล็อก แต่ยังไม่เห็นแผนในการนำคลื่นความถี่ที่เหลือจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ทีวีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยช่วงคลื่น 510-806 MHz ในแผนแม่บทกำหนดให้นำไปใช้ทำทีวีดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแบ่งคลื่นช่วง 510-698 MHz ไปทำช่องทีวีดิจิทัล

ความ ละเอียดปกติ (SD) ได้ 48 ช่อง และช่องความละเอียดสูง (HD) อีก 16 ช่อง ด้วยการผสมผสานการใช้คลื่นความถี่เดียวเผยแพร่สัญญาณโทรทัศน์ในทุกจังหวัด แต่ก็ใช้คลื่นความถี่ช่วงต่างกันบ้างในบางพื้นที่เป็นกันชนไม่ให้สัญญาณ รบกวนกัน ส่วนช่วงคลื่น 698-806 MHz ควรนำไปใช้ให้บริการสัญญาณมือถือแบบ 4G LTE

"จำนวนคนที่ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ในอนาคต 3G ที่วันนี้ความเร็วกว่า 10 Mbps จะลดลงเหลือ 2-3 Mbps จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนำย่าน 700 MHz มาใช้ให้บริการโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ต่ำ ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง เหมาะกับการให้บริการในต่างจังหวัด ต่างจากคลื่นโทรคมนาคมย่านอื่นที่ กทค.จะนำออกมาประมูล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ได้น้อยกว่า จึงต้องลงทุนโครงข่ายมาก"

ฟาก "พ.อ.นที ศุกลรัตน์" รองประธาน กสทช. ในฐานะประธาน กสท. ผู้รับผิดชอบโดยตรงในการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัล ออกมาย้ำชัด ๆ ว่า

หากมีการดึงคลื่น 700 MHz ไปใช้ในกิจการโทรคมนาคม ต้องมีการเรียกคืนคลื่นความถี่ (Refarming) ย่านดังกล่าวจากช่อง 3 และช่อง 7 ที่ใช้อยู่ด้วย รวมถึงการ Refarming คลื่นย่าน 470-510 MHz ซึ่งปกติประเทศอื่นใช้ด้านบรอดแคสต์ แต่ในประเทศไทยนำไปใช้งานด้านโทรคมนาคม เพื่อให้กิจการบรอดแคสต์ใช้คลื่นความถี่ได้ตั้งแต่ย่าน 470-698 MHz ก่อน มิฉะนั้น จะไม่มีคลื่นความถี่เพียงพอกับการใช้งานด้านบรอดแคสต์

"พ.อ.นที" ย้ำว่า การประมูลทีวีดิจิทัลจะเดินหน้าต่อไปตามกรอบเวลาเดิม เพราะในเงื่อนไขการประมูลช่องรายการ รวมถึงการให้ใบอนุญาตการให้บริการโครงข่าย ระบุไว้ชัดว่า กสทช.มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงคลื่นความถี่ในการให้บริการตามการพัฒนาของ เทคโนโลยีได้ แต่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อจัดการปัญหาการใช้คลื่นตามสัมปทานของทีวีช่อง 3 ช่อง 7 และการ Refarming เสร็จแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะสัญญาสัมปทานได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ส่วนคลื่น 470-510 MHz ปัจจุบันเป็นคลื่นโทรคมนาคมที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการใช้งาน ดังนั้น ตามแผนแม่บทจะให้ใช้ต่อสูงสุด 15 ปี และมีหน่วยงานรัฐกว่า 20 แห่งใช้งานอยู่ อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ใช้สำหรับควบคุมระบบสัญญาณไฟฟ้า บมจ.ทีโอที ใช้สำหรับระบบโทรศัพท์ทางไกลชนบท

แหล่งข่าวจาก กสทช.ระบุว่า กว่าที่ ITU จะประชุมสมาชิกเพื่อตกลงกันว่าจะนำคลื่น 700 MHz มาใช้สำหรับกิจการโมบายบรอดแบนด์หรือไม่คือปี 2558 กว่าจะถึงอาจมีเทคโนโลยีสำหรับคลื่นความถี่อื่นที่ดีกว่า เพราะเทคโนโลยีจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การปรับเปลี่ยนเพื่อไล่ตามให้ทันจึงต้องพิจารณาความเหมาะสมทุกด้าน เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ผู้ผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง การลงทุนจึงควรเกาะกลุ่มการใช้งานส่วนใหญ่ เพื่อไม่ให้ต้องซื้ออุปกรณ์แพงเกินความจำเป็น ปัจจุบันประเทศในโลกส่วนใหญ่ยังใช้คลื่น 700 MHz สำหรับทีวีดิจิทัล





















______________________________________





คลื่นแทรกชิงคลื่น 700 MHz ทีวีดิจิทัล VS โมบายบรอดแบนด์



เป็น ประเด็นร้อนขึ้นมาทันที หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ปลายเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เตรียมเสนอบอร์ด กสทช.ถึงผลกระทบต่อการวางแผนคลื่นความถี่สำหรับความต้องการใช้อินเทอร์เน็ต บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อรับรองคลื่นความถี่ที่เหลือจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Dividend Spectrum)

โดยมีคลื่น 700 MHz เป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากได้รับแจ้งจากประเทศมาเลเซีย ว่า คลื่นนี้จะนำไปให้บริการโมบายบรอดแบนด์เช่นเดียวกับหลายประเทศ แถบเอเชีย-แปซิฟิก พร้อมข้อมูลสำทับด้วยว่า สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนการใช้คลื่น 700 MHz จากบรอดแคสต์มาเป็นโทรคมนาคม

ขณะที่ในบ้านเราความถี่ย่านนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. เตรียมนำมาเปิดประมูล "ดิจิทัลทีวี"

ต้น สัปดาห์ที่ผ่านมา สมาคม GSMA (The GSM Association) ซึ่งเป็นองค์กรปกป้องผลประโยชน์ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารไร้สายในกว่า 200 ประเทศ ยังตบเท้ามายื่นหนังสือให้ กสทช. ให้ไทยเปลี่ยนแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ ให้นำคลื่น 700 MHz มาใช้ทำโมบายบรอดแบนด์

โดย "คริส เปเรรา" ผู้อำนวยการอาวุโสด้านนโยบาย และการกำกับดูแลคลื่นความถี่ GSMA กล่าวว่า กสทช.ควรทำให้แผนแม่บทบริหารคลื่นมีความยืดหยุ่น เพื่อให้เกิดผลประโยชน์กับประเทศมากที่สุด ทั้งนำรายงานจาก "บอส คอนซัลติ้ง กรุ๊ป : บีซีจี" เมื่อเดือน มี.ค. 2556 มาอ้างอิงด้วยว่า หาก กสทช.นำความถี่ 700 MHz ไปให้บริการโทรคมนาคมจะเกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย (GDP) มากกว่า 1.48 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และก่อให้เกิดการสร้างงานเพิ่มอีกกว่า 55,000 ตำแหน่งในปี 2558-2568 แต่ถ้านำไปใช้ด้านบรอดแคสต์จะรบกวนสัญญาณโมบายบรอดแบนด์ของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และพม่า ที่นำคลื่นไปใช้ทำโมบายบรอดแบนด์ ส่งผลให้ไทยต้องสูญเสียมูลค่า GDP ที่ควรได้ถึง 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

"กสทช.มีเวลาเพียงพอที่จะ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดแผนแม่บทได้ โดยเปิดประมูลทีวีดิจิทัลตามกรอบเวลาเดิม แต่ไม่ระบุว่าจะให้ผู้ประมูลได้ช่วงความถี่ใด ในระหว่างนี้ก็พิจารณาพร้อมกันไปว่า ควรให้ผู้ประกอบการโทรทัศน์ใช้ช่วงคลื่นไหนที่เหมาะสมที่สุด คลื่นย่าน 700 MHz เหมาะสมที่จะนำมาให้บริการมือถือในชนบท เพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากร เพิ่ม GDP ให้ประเทศได้มากกว่าการใช้งบฯกับโฆษณาทีวี ทั้งเป็นไปตามข้อตกลงของสมาคมเอทีพี (เอเชียแปซิฟิก เทเลคอม) เมื่อปี 2553 ที่ให้ใช้ย่าน 700 MHz สำหรับให้บริการโมบายบรอดแบนด์"

ด้าน "ศรัณย์ ผโลประการ" ผู้ช่วยผู้อำนวยการส่วนงานวางแผนเครือข่ายและบริการ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า อีก 5 ปีคงได้เห็นการยุติการออกอากาศทีวีระบบแอนะล็อก แต่ยังไม่เห็นแผนในการนำคลื่นความถี่ที่เหลือจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ทีวีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยช่วงคลื่น 510-806 MHz ในแผนแม่บทกำหนดให้นำไปใช้ทำทีวีดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแบ่งคลื่นช่วง 510-698 MHz ไปทำช่องทีวีดิจิทัล

ความ ละเอียดปกติ (SD) ได้ 48 ช่อง และช่องความละเอียดสูง (HD) อีก 16 ช่อง ด้วยการผสมผสานการใช้คลื่นความถี่เดียวเผยแพร่สัญญาณโทรทัศน์ในทุกจังหวัด แต่ก็ใช้คลื่นความถี่ช่วงต่างกันบ้างในบางพื้นที่เป็นกันชนไม่ให้สัญญาณ รบกวนกัน ส่วนช่วงคลื่น 698-806 MHz ควรนำไปใช้ให้บริการสัญญาณมือถือแบบ 4G LTE

"จำนวนคนที่ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ในอนาคต 3G ที่วันนี้ความเร็วกว่า 10 Mbps จะลดลงเหลือ 2-3 Mbps จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนำย่าน 700 MHz มาใช้ให้บริการโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ต่ำ ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง เหมาะกับการให้บริการในต่างจังหวัด ต่างจากคลื่นโทรคมนาคมย่านอื่นที่ กทค.จะนำออกมาประมูล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ได้น้อยกว่า จึงต้องลงทุนโครงข่ายมาก"

ฟาก "พ.อ.นที ศุกลรัตน์" รองประธาน กสทช. ในฐานะประธาน กสท. ผู้รับผิดชอบโดยตรงในการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัล ออกมาย้ำชัด ๆ ว่า การนำคลื่น 700 MHz ไปจัดสรรเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัล เป็นการดำเนินการตามแผนแม่บท และการยกร่างแผนดังกล่าวทำขึ้นตามแนวทางการใช้คลื่นความถี่ของ ITU ที่ประกาศไว้ในปี 2550 โดยตามแผนแม่บทที่ประกาศใช้ในปี 2555 กำหนดให้คลื่นย่าน 700 MHz เป็นคลื่นที่ฝั่งกิจการบรอดแคสต์และกิจการโทรคมนาคมใช้ร่วมกัน

ข้อกังวลที่ว่าอาจทำให้เกิดการรบกวนกันตามแนวชายแดน หากมาเลเซียเปิดบริการโมบายบรอดแบนด์นั้น ยืนยันได้ว่าไม่มีปัญหา เพราะได้ทำข้อตกลงการใช้คลื่นกับมาเลเซียแล้ว อีกทั้งกว่ามาเลเซียจะเปิดให้บริการคือปี 2563

หากมีการดึงคลื่น 700 MHz ไปใช้ในกิจการโทรคมนาคม ต้องมีการเรียกคืนคลื่นความถี่ (Refarming) ย่านดังกล่าวจากช่อง 3 และช่อง 7 ที่ใช้อยู่ด้วย รวมถึงการ Refarming คลื่นย่าน 470-510 MHz ซึ่งปกติประเทศอื่นใช้ด้านบรอดแคสต์ แต่ในประเทศไทยนำไปใช้งานด้านโทรคมนาคม เพื่อให้กิจการบรอดแคสต์ใช้คลื่นความถี่ได้ตั้งแต่ย่าน 470-698 MHz ก่อน มิฉะนั้น จะไม่มีคลื่นความถี่เพียงพอกับการใช้งานด้านบรอดแคสต์

"พ.อ.นที" ย้ำว่า การประมูลทีวีดิจิทัลจะเดินหน้าต่อไปตามกรอบเวลาเดิม เพราะในเงื่อนไขการประมูลช่องรายการ รวมถึงการให้ใบอนุญาตการให้บริการโครงข่าย ระบุไว้ชัดว่า กสทช.มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงคลื่นความถี่ในการให้บริการตามการพัฒนาของ เทคโนโลยีได้ แต่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อจัดการปัญหาการใช้คลื่นตามสัมปทานของทีวีช่อง 3 ช่อง 7 และการ Refarming เสร็จแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะสัญญาสัมปทานได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ส่วนคลื่น 470-510 MHz ปัจจุบันเป็นคลื่นโทรคมนาคมที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการใช้งาน ดังนั้น ตามแผนแม่บทจะให้ใช้ต่อสูงสุด 15 ปี และมีหน่วยงานรัฐกว่า 20 แห่งใช้งานอยู่ อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ใช้สำหรับควบคุมระบบสัญญาณไฟฟ้า บมจ.ทีโอที ใช้สำหรับระบบโทรศัพท์ทางไกลชนบท

แหล่งข่าวจาก กสทช.ระบุว่า กว่าที่ ITU จะประชุมสมาชิกเพื่อตกลงกันว่าจะนำคลื่น 700 MHz มาใช้สำหรับกิจการโมบายบรอดแบนด์หรือไม่คือปี 2558 กว่าจะถึงอาจมีเทคโนโลยีสำหรับคลื่นความถี่อื่นที่ดีกว่า เพราะเทคโนโลยีจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การปรับเปลี่ยนเพื่อไล่ตามให้ทันจึงต้องพิจารณาความเหมาะสมทุกด้าน เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ผู้ผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง การลงทุนจึงควรเกาะกลุ่มการใช้งานส่วนใหญ่ เพื่อไม่ให้ต้องซื้ออุปกรณ์แพงเกินความจำเป็น ปัจจุบันประเทศในโลกส่วนใหญ่ยังใช้คลื่น 700 MHz สำหรับทีวีดิจิทัล

"พล.อ.อ .ธเรศ ปุณศรี" ประธาน กสทช.กล่าวว่า ที่ประชุม กสทช.ได้มีการหารือเกี่ยวกับการตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อวางแผนการใช้งานคลื่น 700 MHz คาดว่าในการประชุมครั้งหน้าในเดือน ก.ค.จะมีการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งและกำหนดกรอบการทำงาน แต่การทำงานจะไม่กระทบกับกรอบเวลาในการจัดประมูลทีวีดิจิทัลแน่นอน

"เท รนด์การใช้คลื่น 700 MHz ทำโมบายบรอดแบนด์เริ่มมีประเทศเล็ก ๆ หลายแห่งนำไปใช้ เพราะมีคลื่นเหลืออยู่ แต่ในกลุ่มประเทศใหญ่ ๆ ยังไม่ได้ดำเนินการเพราะคลื่นเต็มหมดแล้ว ไทยเองก็ไม่จำเป็นต้องรีบปรับเพื่อให้เหมือนคนอื่น แต่ต้องมีการพิจารณาเหตุผลความจำเป็นรอบด้านเพราะกระทบหลายส่วน โดยเฉพาะการ Refarming คลื่นย่าน 470 MHz ซึ่งมีคนใช้งานอยู่ การจะเรียกคืนคลื่นต้องอาศัยการเจรจา ถ้าต้องแก้แผนแม่บทก็ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ"

ศึกชิงคลื่น 700 MHz ยกแรกจึงยังเป็นแค่คลื่นกระทบฝั่ง


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1372146729

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.