Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 มิถุนายน 2556 สมประสงค์ อินทัช(พ่อAIS) ต้าน อนุดิษฐ์ !!! หยุดนำเรื่อง1800ประชุมครม. (หลังจากนี้ CAT ควรมีรายได้ในรูปค่าเช่าโครงข่ายที่เป็นทรัพย์สินของCATเท่านั้น )



ประเด็นหลัก



นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหารอินทัช บริษัทแม่ของเอไอเอสและดีพีซี
       กล่าวว่าภายหลังสัญญาให้บริการโทรศัพท์มือถือในย่านความถี่ 1800 MHz ระหว่างบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม สิ้นสุดลงในวันที่ 15 ก.ย.2556 หากกสทช.ออกประกาศเรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ว่าจะให้กสทเป็นผู้ให้บริการแล้วมาจ้างดีพีซีดูแลลูกค้า หรือจะให้ดีพีซีเป็นผู้ให้บริการ ดีพีซีก็พร้อมที่จะจ่ายส่วนแบ่งให้รัฐอย่างน้อย 30% ของรายได้ ซึ่งเท่ากับปัจจุบันที่ดีพีซีจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้กสท
   
       'เราไม่เห็นเหตุผลว่าทำไม เอกชนจะไม่สมควรจ่าย 30% เท่าเดิมให้รัฐ แต่รัฐในที่นี้ไม่ได้หมายถึงกสท แต่คือประเทศชาติ'
   
       เขาเห็นว่าภายในสิ้นปีนี้ กสท จะไม่มีรายได้จากส่วนแบ่งตามสัญญาสัมปทานเดิมอีกต่อไป เพราะรายได้ตามสัญญาสัมปทานจะถูกส่งผ่านกสทช.เพื่อนำเข้ารัฐ ทำให้ในช่วงเยียวยาลูกค้าในระบบ 1800 MHz เวลา 1 ปีตามที่ระบุในร่างประกาศนั้น กสทควรมีรายได้ในรูปค่าเช่าโครงข่ายที่เป็นทรัพย์สินของกสทเท่านั้น ในขณะเดียวกันเมื่อครบกำหนด 1 ปีหรือราวเดือนก.ย. 2557 กสทช.ควรนำความถี่ 1800 MHz มาประมูลโดยเร็วที่สุด
   
 อย่างไรก็ตาม เขารู้สึกไม่เห็นด้วยกับท่าทีของน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ที่พยายามนำเรื่องกสทขอใช้ความถี่ 1800 MHz ต่อไปเข้าที่ประชุมครม.เพื่อให้ความเห็นชอบ เพราะเห็นว่าควรเคารพกฎกติกาในเรื่องการนำความถี่มาจัดสรรด้วยวิธีการประมูลตามกฎหมายที่กำหนดไว้ มากกว่ายื้อเรื่องเวลา เนื่องจากกสทช.ก็กำลังดำเนินการออกประกาศเพื่อผ่อนปรนในเรื่องระยะเวลาการโอนย้ายลูกค้า 1800 MHz ออกจากระบบ รวมทั้งกสทช.ยังให้คนที่ประมูลความถี่ 1800 MHz ได้ ต้องดูแลลูกค้าต่อไป







______________________________________





'สมประสงค์' เตือนระวังกับดักความถี่ 1800 MHz


นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหารอินทัช บริษัทแม่ของเอไอเอสและดีพีซี

       นายใหญ่อินทัช ยันพร้อมจ่ายรัฐ 30% ตามสัญญาสัมทานเดิม หากดีพีซีได้ดูแลลูกค้าต่ออีก 1 ปีตามร่างประกาศเยียวยาของกสทช. เตือนระวังกับดักความถี่ 1800 MHz ที่อาจทำให้เรื่องถึงศาล ส่งผลให้การประมูลความถี่ 1800 MHz ไม่เกิดขึ้นตามกำหนด ด้าน 'อนุดิษฐ์' ยันอุ้มกสท เดินหน้าถือครองความถี่ต่อ แม้กสทช.ออกร่างประกาศเยียวยา1ปี
     
       นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหารอินทัช บริษัทแม่ของเอไอเอสและดีพีซี
       กล่าวว่าภายหลังสัญญาให้บริการโทรศัพท์มือถือในย่านความถี่ 1800 MHz ระหว่างบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม สิ้นสุดลงในวันที่ 15 ก.ย.2556 หากกสทช.ออกประกาศเรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ว่าจะให้กสทเป็นผู้ให้บริการแล้วมาจ้างดีพีซีดูแลลูกค้า หรือจะให้ดีพีซีเป็นผู้ให้บริการ ดีพีซีก็พร้อมที่จะจ่ายส่วนแบ่งให้รัฐอย่างน้อย 30% ของรายได้ ซึ่งเท่ากับปัจจุบันที่ดีพีซีจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้กสท
     
       'เราไม่เห็นเหตุผลว่าทำไม เอกชนจะไม่สมควรจ่าย 30% เท่าเดิมให้รัฐ แต่รัฐในที่นี้ไม่ได้หมายถึงกสท แต่คือประเทศชาติ'
     
       เขาเห็นว่าภายในสิ้นปีนี้ กสท จะไม่มีรายได้จากส่วนแบ่งตามสัญญาสัมปทานเดิมอีกต่อไป เพราะรายได้ตามสัญญาสัมปทานจะถูกส่งผ่านกสทช.เพื่อนำเข้ารัฐ ทำให้ในช่วงเยียวยาลูกค้าในระบบ 1800 MHz เวลา 1 ปีตามที่ระบุในร่างประกาศนั้น กสทควรมีรายได้ในรูปค่าเช่าโครงข่ายที่เป็นทรัพย์สินของกสทเท่านั้น ในขณะเดียวกันเมื่อครบกำหนด 1 ปีหรือราวเดือนก.ย. 2557 กสทช.ควรนำความถี่ 1800 MHz มาประมูลโดยเร็วที่สุด
     
       'เราพร้อมประมูลความถี่ 1800 MHz เพื่อมาให้บริการ 4G ด้วยเทคโนโลยี LTE โดยพร้อมสนับสนุนกสทช.เต็มที่ และคงปิดระบบ 2G บนความถี่ 1800 MHz โดยเราจะบอกกับลูกค้าอย่างชัดเจนถึงแนวทางที่จะไป'
     
       อย่างไรก็ตาม เขารู้สึกไม่เห็นด้วยกับท่าทีของน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ที่พยายามนำเรื่องกสทขอใช้ความถี่ 1800 MHz ต่อไปเข้าที่ประชุมครม.เพื่อให้ความเห็นชอบ เพราะเห็นว่าควรเคารพกฎกติกาในเรื่องการนำความถี่มาจัดสรรด้วยวิธีการประมูลตามกฎหมายที่กำหนดไว้ มากกว่ายื้อเรื่องเวลา เนื่องจากกสทช.ก็กำลังดำเนินการออกประกาศเพื่อผ่อนปรนในเรื่องระยะเวลาการโอนย้ายลูกค้า 1800 MHz ออกจากระบบ รวมทั้งกสทช.ยังให้คนที่ประมูลความถี่ 1800 MHz ได้ ต้องดูแลลูกค้าต่อไป
     
       นายสมประสงค์ยังให้ความเห็นว่าในต่างประเทศ หากต้องปิดระบบลงไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม วิธีการอย่างหนึ่งที่ทำได้ คือให้โอเปอเรเตอร์ที่เหลืออยู่เข้ามารับภาระดูแลลูกค้าตามจำนวนที่ตกลงกัน ซึ่งความจริงในประเทศไทยมีโอเปอเรเตอร์รายหลักถึง 3 ราย ซึ่งสามารถแบ่งจำนวนลูกค้ากันได้ หมายถึงไม่จำเป็นต้องออกร่างประกาศเยียวยาลูกค้า 1800 MHz แต่กสทช.ให้โอปอเรเตอร์แบ่งลูกค้ากันไปเลย และ สามารถประมูลความถี่ 1800 MHz ได้ทันที ซึ่งผลประโยชน์ที่ได้ก็จะตกกับประเทศชาติ และ ลูกค้าก็ได้รับการดูแลที่ดีต่อไป
     
       ด้านน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีทีกล่าวว่า แม้กสทช.เตรียมออก(ร่าง)ประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. .... ตามที่คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ซึ่งบริษัท กสท โทรคมนาคม ผู้ให้สัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ และดีพีซีซึ่งกำลังจะสิ้นสุดอายุสัมปทานลงในวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ก็ตาม แต่กระทรวงไอซีทีเองก็ยังคงเดินหน้าเสนอเรื่องสิทธิ์การถือครองคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz เช่นเดิม ซึ่งในตอนนี้อยู่ในกระบวนการรวบรวมความเห็นและข้อมูลต่างๆเพื่อให้คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณา ซึ่งหากพิจารณาเสร็จโดยไม่ต้องหาข้อมูลหรือให้ใครพิจารณาเพิ่มเติมก็ไม่จำเป็นต้องเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีแต่อย่างใด
     
       'กสทช.ถือเป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งด้วยกฏหมาย ดังนั้นต้องคำนึงถึง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.2553 เป็นหลัก เพราะฉะนั้นความเห็นใดใดของกสทช.ก็ถือเป็นความเห็นส่วนหนึ่งที่ต้องนำมารวบรวมในการพิจารณาของผู้มีอำนาจตัดสินเท่านั้น เนื่องจากต้องนำความเห็น และกฏหมายอื่นๆ อาทิ ความเห็นจากกระทรวงไอซีที และกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ รวมไปถึงกฏหมายรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เข้ามาประกอบในการพิจารณาด้วย'
     
       ก่อนหน้านี้นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ได้เสนอแผนการขอใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 82, 83 และ 84 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ในบทเฉพาะกาลที่บัญญัติเกี่ยวกับเหตุแห่งความจำเป็นและสิทธิในการบริหารต่อไป โดย กสท ยังยืนยันว่าในรายละเอียดของกฎหมายที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลเขียนไว้ชัดเจน เกี่ยวกับการให้บริหารต่อไปได้นั่นเอง
     
       โดยกสทระบุด้วยว่าการขออนุญาตใช้งานความถี่ต่อไปในครั้งนี้จะแบ่งเป็นความถี่จำนวน 12.5 MHz ของทรูมูฟ จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2568 ส่วนความถี่จำนวน 12.5 MHz ของดีพีซี จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2559 รวมถึงความถี่จำนวน 25 MHz ของบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นหรือ ดีแทค ที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน และจะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2561 ซึ่ง กสท จะขอใช้งานต่อไปจนถึงปี 2568 เช่นเดียวกัน
     
       'การตัดสินใจไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง เพราะคลื่นเป็นทรัพยากรของประเทศ ดังนั้นคณะกรรมการต้องฟังความเห็นของทุกฝ่ายว่าจะเลือกความเห็นของใครในการพิจารณาตัดสิน ส่วนที่กสท ต้องการขอขยายการถือครองคลื่นไปถึงปี 2568 นั้นก็ยังไม่สามารถตอบได้ว่าบทสรุปสุดท้ายจะเป็นอย่างไร'
     
       อย่างไรก็ตาม แม้ กสทช. กำลังจะมีร่างประกาศเยียวยาคลื่นความถี่ 1800 MHz ออกมาเพื่อให้ขยายเวลาการใช้งานต่อไปอีก1ปีทำให้ประชาชนไม่ต้องกลัวเรื่องซิมดับ แต่หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการของคณะกรรมการกลั่นกรองที่จะต้องพิจารณาจากข้อกฏหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องว่าจะได้ข้อสรุปอย่างไรในเรื่องสิทธิ์การถือครองหลังหมดสัญญาสัมปทานโดยคาดว่าการดำเนินการทุกอย่างจะเสร็จก่อนหมดระยะเวลา1ปีที่กสทช.ยืดออกไป
     
       'สิ่งที่ผมเป็นกังวลหลังหมดระยะเวลาเยียวยา 1 ปี คือ ความเห็นที่แตกต่างในเรื่องการถือครองความถี่ ในขณะที่กสทภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงไอซีทีคิดว่าตัวเองมีอำนาจตามกฎหมายที่จะใช้ความถี่ต่อ กับกสทช.มีกฎหมายให้อำนาจจัดสรรความถี่ด้วยการประมูล เมื่อความเห็นไม่ตรงกันคงต้องมีการฟ้องศาลปกครอง ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นกระบวนการทุกอย่างต้องหยุดหมด รวมทั้งการประมูลความถี่ 1800 MHz ด้วย' นายสมประสงค์กล่าวทิ้งท้าย

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000077091

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.