Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 มิถุนายน 2556 เปิดเวทีถกสนุก "ทางรอดทีวีดาวเทียม" PSI IPM บรอดแคสติิ้ง ไม่กลัวทีวีดิจิตอล ที่มีเพียง 48 ช่อง เพราะเราให้มากกว่า 200 ช่องตรงความต้องการมากกว่า ชัดทุกพื้นที่



ประเด็นหลัก



นายเอกชัย ภัคดุรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานกิจการองค์กร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อนาคตทีวีดาวเทียมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยราคาที่ถูกและครอบคลุมทุกพื้นที่ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าแตกต่างกับทีวีดิจิตอล ที่มีเพียง 48 ช่อง และการลงทุนที่สูงกว่า นอกจากนี้ ผู้รับชมทีวีดาวเทียมยังสามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ด้วย ดังนั้น สอดรับกับไลฟ์สไตล์คนไทย ที่นิยมรับชมช่องทีวีที่มีทางเลือกมากกว่าคนไปประมูลทีวีดิจิตอล มีทั้งได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ โดยเฉพาะในเรื่องของเงินลงทุนที่มหาศาล



นายสมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานกรรมการบริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า วันนี้ทีวีดิจิตอลทุกวันนี้ก็อยู่บนดาวเทียม มี 24 ช่อง และที่มี 48 ช่องทีวีสาธารณะ ถามว่าคนจะดูหรือไม่นอกจากดูบอล และทีวิดิจิตอลให้กระทรวงสาธารณสุข ถามว่าทีวีดิจิตอลเอาช่องไปก็เอาไปพีอาร์กระทรวงตนเองเท่านั้น ความจริงคือเป็นฟองสบู่ที่ตีกันเข้ามา ทั้งนี้ ทางรอดทีวีดาวเทียมจะต้องรวมตัวและเข้าใจเทคโนโลยี

นายมานพ โตการค้า ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด กล่าวว่า หลังประมูลแล้วต้องจ่ายค่าโครงข่ายเท่าไร ซึ่งต้องจ่ายเงินทันที แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะครอบคลุมพื้นที่ตามที่บอก ส่วนตัวเชื่อว่า คนที่ดูดาวเทียมอยู่แล้ว 200 ช่อง แล้วดูช่องดิจิตอลด้วย ค่าติดตั้งดาวเทียมถูกกว่าดิจิตอล คนขายคนติดตั้งมีทุกหมู่บ้าน แล้วใครจะดูทีวีดิจิตอล นอกจากนี้ ยังมีเรื่องถกกันว่า กสทช.จะประมูลคลื่น หรือช่อง



นายอดิศักด์ิ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการบริษัท บรอดแคสติิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "เท่าที่ส่วนตัวสัมผัสผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล ทุกคนลงทุนในส่วนคอนเทนต์มหาศาล ถ้าช่องฟรีทีวีรู้ราคาแล้วหนาว ซึ่งเป็นการทำคอนเทนต์ระบบภาพยนตร์ออกอากาศผ่านทีวี ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในแง่การแข่งขัน และสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมนี้อย่างแน่นอน รายเก่าไม่มีทางจะได้กำไรสูงสุดแน่นอน ซึ่งการเกิดทีวีดิจิตอล ประโยชน์จะเกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ยกเว้นฟรีทีวีรายเก่า ที่ต้องเสียประโยชน์ในแง่การแข่งขัน" นายอดิศักดิ์ กล่าว


นายนิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) กล่าวว่า สิ่งที่ทีรีดาวเทียมจะเสียเปรียบคือ กฎหมาย ส่วนการกำหนดหมวดหมู่ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ก็ไม่เหมาะสม กสทช.มีเงิน 1.5 หมื่นล้าน แล้วจะให้กล่องรับสัญญาณประชาชนทั่วประเทศ รับรองไม่เพียงพอแน่ พร้อมระบุว่าอดีตเป็นเรื่องที่บอกอนาคต ในอดีตมีเสาอากาศใช้เวลาหลายปี แต่ต่อจากนี้กล่องทุกอย่างจะมาอยู่ในตู้ ใครคิดว่าคืนทุนเท่าไรก็คิดไป แต่หากไม่คืนทุน ให้เอางบประมาณมาทำคอนเทนต์ไม่ดีกว่าหรือ.











______________________________________






'ฟรีทีวี'หนาว! 'ทีวีดิจิตอล'ผงาด แข่งงัดทุนหนาลุยปั้นคอนเทนต์เบียด


เปิดเวทีถก "ทางรอดทีวีดาวเทียม" ผู้ประกอบการดาวเทียมเมินทีวีดิจิตอล ด้าน "เนชั่น" ล่ั่นฟรีทีวีเจอคู่แข่งเหนือกว่า มั่นใจคอนเทนต์ทีวีดิจิตอลเบียดฟรีทีวีตกขอบไม่ยาก หลังแอบรู้งบลงทุนแข่งขันมหาศาล ขณะที่ผู้บริโภคได้ประโยชน์เต็มเหนี่ยว...

เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) จัดสัมมนาหัวข้อ เรื่อง “ทางรอดทีวีดาวเทียม” ในโอกาสครบรอบ 4 ปี โดยมีผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องร่วมแสดงความคิดเห็นและพูดคุย หัวข้อ ควรอยู่กับโทรทัศน์ดาวเทียม หรือควรหาบ้านใหม่ "ทีวีดิจิตอลหรือทีวีดาวเทียม บ้านไหนดีกว่ากัน" ดำเนินรายการโดย นายฉัตรชัย ตะวันธรงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ทริปเปิลวี บรอดแคสติ้ง จำกัด โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 200 คน

นายเอกชัย ภัคดุรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานกิจการองค์กร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อนาคตทีวีดาวเทียมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยราคาที่ถูกและครอบคลุมทุกพื้นที่ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าแตกต่างกับทีวีดิจิตอล ที่มีเพียง 48 ช่อง และการลงทุนที่สูงกว่า นอกจากนี้ ผู้รับชมทีวีดาวเทียมยังสามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ด้วย ดังนั้น สอดรับกับไลฟ์สไตล์คนไทย ที่นิยมรับชมช่องทีวีที่มีทางเลือกมากกว่าคนไปประมูลทีวีดิจิตอล มีทั้งได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ โดยเฉพาะในเรื่องของเงินลงทุนที่มหาศาล



นายสมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานกรรมการบริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า วันนี้ทีวีดิจิตอลทุกวันนี้ก็อยู่บนดาวเทียม มี 24 ช่อง และที่มี 48 ช่องทีวีสาธารณะ ถามว่าคนจะดูหรือไม่นอกจากดูบอล และทีวิดิจิตอลให้กระทรวงสาธารณสุข ถามว่าทีวีดิจิตอลเอาช่องไปก็เอาไปพีอาร์กระทรวงตนเองเท่านั้น ความจริงคือเป็นฟองสบู่ที่ตีกันเข้ามา ทั้งนี้ ทางรอดทีวีดาวเทียมจะต้องรวมตัวและเข้าใจเทคโนโลยี

นายมานพ โตการค้า ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด กล่าวว่า หลังประมูลแล้วต้องจ่ายค่าโครงข่ายเท่าไร ซึ่งต้องจ่ายเงินทันที แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะครอบคลุมพื้นที่ตามที่บอก ส่วนตัวเชื่อว่า คนที่ดูดาวเทียมอยู่แล้ว 200 ช่อง แล้วดูช่องดิจิตอลด้วย ค่าติดตั้งดาวเทียมถูกกว่าดิจิตอล คนขายคนติดตั้งมีทุกหมู่บ้าน แล้วใครจะดูทีวีดิจิตอล นอกจากนี้ ยังมีเรื่องถกกันว่า กสทช.จะประมูลคลื่น หรือช่อง

ประธานกรรมการบริหาร ไอพีเอ็มทีวี กล่าวต่อว่า หลังจากการประมูลแล้วช่องรายการต้องทุ่มเม็ดเงินผลิตรายการจำนวนมาก แต่คนดูคือคนเดิม แล้วถูกแชร์ออกไป ส่วนเรตติ้งเป็นเรตติ้งรวม ไม่ใช่แบบฟรีทีวี ดังนั้น ถ้าเป็นผู้ประกอบการต้องประมูลทีวีดิจิตอลด้วยเงินก้อน กับคนที่ดูทีวีดาวเทียมอยู่แล้ว มองว่าเอาเงินก้อนมาทำคอนเทนต์น่าจะคุ้มกว่า



นายอดิศักด์ิ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการบริษัท บรอดแคสติิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า ทีวีดิจิตอลจะมาเสริมกันกับทีวีดาวเทียมในส่วนคอนเทนต์ และเป็นสิ่งที่ดีแล้วประเทศไทยต้องเดินไปข้างหน้า ขณะที่ในแง่ของคอนเทนต์ ยอมรับมีคอนเทนต์มากกว่า รวมถึงอย่ามองว่าเป็นสิ่งไม่ดี เพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นมาแล้วทุกประเทศ แม้ว่าใน 3 ปีแรก จะไม่สวยหรู แต่ 5 ปีต่อไปจะดีขึ้นเอง

กรรมการผู้อำนวยการบริษัท บรอดแคสติิ้งฯ กล่าวต่อว่า ในแง่การกระจายคลื่นความถี่ มันไปได้มากกว่า ส่วนโครงข่ายที่มีข้อกังวลกันมากว่ากระจายไปได้มาก คิดว่าโดยหลักทางเทคนิดบอกว่าเป็นไปได้ ขณะเดียวกัน มีคำถามจำนวนมากว่า ถ้ามีทีวีดิตอล ราคาค่าโฆษณาจะอยู่ที่เท่าไร ซึ่งราคาจะถูกกำหนดจากเอเจนซี่ ช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากที่สุด จะแตกต่างกันประมาณ 20 เท่า ถ้าดิจิตอลทีวีเกิด สมดุลอยู่ตรงไหน ถ้าทีวีดิจิตอลเกิด รายเก่าจะลดลงมาอีกเท่าไร ขณะเดียวกัน ทุกคนต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมไม่สมดุล ซึ่งทำให้คอนเทนต์เพี้ยนไปจากเดิม

"เท่าที่ส่วนตัวสัมผัสผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล ทุกคนลงทุนในส่วนคอนเทนต์มหาศาล ถ้าช่องฟรีทีวีรู้ราคาแล้วหนาว ซึ่งเป็นการทำคอนเทนต์ระบบภาพยนตร์ออกอากาศผ่านทีวี ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในแง่การแข่งขัน และสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมนี้อย่างแน่นอน รายเก่าไม่มีทางจะได้กำไรสูงสุดแน่นอน ซึ่งการเกิดทีวีดิจิตอล ประโยชน์จะเกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ยกเว้นฟรีทีวีรายเก่า ที่ต้องเสียประโยชน์ในแง่การแข่งขัน" นายอดิศักดิ์ กล่าว



กรรมการผู้อำนวยการบริษัท บรอดแคสติิ้งฯ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ ไม่ต้องการให้ผู้ประกอบการกังวล เพราะสมาชิกสมาคมดาวเทียมเป็นฝ่ายทำคอนเทนต์ไปได้แค่ไหนก็ไป เพราะโลกต้องไปถึงคนแต่ละกลุ่ม และต้องดูว่าแต่ละกลุ่มต้องการอะไร โดยมีคอนเทนต์เป็นตัวชี้ขาด

นายนิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) กล่าวว่า สิ่งที่ทีรีดาวเทียมจะเสียเปรียบคือ กฎหมาย ส่วนการกำหนดหมวดหมู่ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ก็ไม่เหมาะสม กสทช.มีเงิน 1.5 หมื่นล้าน แล้วจะให้กล่องรับสัญญาณประชาชนทั่วประเทศ รับรองไม่เพียงพอแน่ พร้อมระบุว่าอดีตเป็นเรื่องที่บอกอนาคต ในอดีตมีเสาอากาศใช้เวลาหลายปี แต่ต่อจากนี้กล่องทุกอย่างจะมาอยู่ในตู้ ใครคิดว่าคืนทุนเท่าไรก็คิดไป แต่หากไม่คืนทุน ให้เอางบประมาณมาทำคอนเทนต์ไม่ดีกว่าหรือ.



โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/353678

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.