Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 มิถุนายน 2556 CAT (จี้ กสทช. ขอไม่เสี่ยงผิดกฏหมายคนเดียว)ม.84วรรค2 พรบ.กสทช.ชัด!!! ให้ใครดูแลแทนไม่ได้ลูกค้า TRUEMOVE GSM1800 ต้องตกลงเป็นลูกค้าCATทันทีโอนหน้าที่ให้คนอื่นไม่ได้ ++กล้าปะ++ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา (เก็บรายได้30%)



ประเด็นหลัก







  สำหรับความเห็นในแง่กฏหมายและหลักเกณฑ์การกำกับดูแล กสท ได้สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้สัมปทาน โดยในกฏหมายตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มาตรา 80 ระบุว่า การประกอบกิจการโทรคมนาคมของ การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 79 ถ้า หน่วยงานดังกล่าวได้มีการให้อนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาแก่ผู้ใดเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมฯ อยู่แล้วก่อนวันที่ กฏหมายนี้ใช้บังคับ ให้ผู้ได้รับอนุญาต ยังคงมีสิทธิประกอบกิจการโทรคมฯตามขอบเขตและสิทธิที่มีอยู่เดิมตามที่ได้รับอนุญาต จนกว่าการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาจะสิ้นสุดลง

            ใน กรณี ทรูมูฟ และดีพีซี เป็นผู้มีสิทธิประกอบกิจการ ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ การดำเนินการใดๆ ที่มีผลเป็นการขยายสิทธิในการประกอบกิจการ ให้แก่ ทรูมูฟ และดีพีซี ไม่สามารถทำได้ เพราะขัดแย้ง ม.80 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ซึ่งหากทรูมูฟ และดีพีซี ต้องการที่จะให้บริการต่อไปจะต้องขอใบอนุญาตตาม ม. 7 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544

                ขณะที่ มาตรา 84 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ระบุว่า ความในมาตรา 46 ไม่ให้บังคับกับรัฐวิสาหกิจที่นำความถี่ ที่ได้รับจัดสรรไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาตสัมปททาน และให้ผู้ได้รับอนุญาต ประกอบกิจการต่อไปได้เฉพาะช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามการอนุญาต สัมปทาน โดยมาตรา 46 ระบุว่า ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมฯต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง จะมอบให้ผู้อื่นประกอบกิจการแทนไม่ได้ ซึ่ง กรณีที่มีการใช้คลื่นความถี่โดยมอบการบริหารทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ผู้อื่นบริหารจัดการแทนไม่ได้เป็นการขัดต่อมาตรา 46

                “เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง บริษัทที่ได้รับสัมปทาน ทรูมูฟ และดีพีซี ก็หมดสิทธิที่จะใช้คลื่นความถี่ที่ได้ใช้ตามสัญญาลงด้วย” รายงานข่าวระบุ

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้บอร์ด กสทช.ยังไม่สรุปว่าจะให้ กสท หรือ ทรูมูฟ , ดีพีซี เป็นผู้ให้บริการอีก1ปี นับตั้งแต่วันที่สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง






______________________________________





ฐานเศรษฐกิจ 27 มิถุนายน 2556


______________________________________________________



แคทขอทรู มูฟ -ดีพีซีวินวิน30%
วันพุธที่ 26 มิถุนายน 2013 เวลา 12:41 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : ข่าวหน้า1
User Rating: / 0
แย่ดีที่สุด
"แคท" ชูโมเดลขั้นต่ำต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 30%  หลังสัญญามือถือ 1800 เมกะเฮิรตซ์หมดอายุกลางเดือนกันยายน ย้ำ  "ดีพีซี-ทรูมูฟ" "ซิมห้ามดับ"  ขณะที่ "ทรูมูฟ " เร่งให้ลูกค้าย้ายข้ามระบบแจงโพสต์เพดโอนย้ายไป 3 จีแล้วเหลือเพียงพรีเพดลูกค้าไม่ยอมย้ายออกจากระบบ ด้านนักวิชาการจาก "นิด้า" ระบุไม่มีอำนาจในทางกฎหมายขยายคืนคลื่นความถี่

    นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  หรือ แคท เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในขณะนี้  แคท ได้มีการเจรจากับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด หรือ ดีพีซี หลังจากสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 เมกะเฮิรตซ์จะหมดอายุลงในกลางเดือนกันยายนนี้  โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) มีมติให้ แคท บริหารคลื่นความถี่ต่อไปอีก 1 ปี ซึ่งขณะนี้ทั้ง 2 ฝ่ายมีการเจรจาร่วมกันแล้วโดย แคท ได้กำหนดหลักการในเบื้องต้นไว้ว่า 1. "ซิม" จะต้องไม่ดับ , 2. ผลประโยชน์ตอบแทนที่เอกชนเข้ามาดำเนินการต่อนั้นจะต้องไม่น้อยกว่า 30%
    อย่างไรก็ตามเมื่อสัญญาสัมปทานหมดอายุทั้ง ทรูมูฟ และ ดีพีซี ต้องจัดหาเครื่องและอุปกรณ์ในการให้บริการแล้วส่งมอบโอนกรรมสิทธิ์ให้ แคท รวมถึงจะต้องโอนผู้ใช้บริการให้กับ แคท เพื่อที่จะให้องค์กรภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการให้บริการต่อไปโดยไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้สัญญากำหนดว่า ทรูมูฟ และ ดีพีซี มีหน้าที่จัดหาเครื่องและอุปกรณ์ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ชุมสาย ระบบควบคุม ระบบบิลลิ่ง ระบบเชื่อมโยง อุปกรณ์สถานีเครือข่าย เครื่องมือทดสอบ เป็นต้น
    นอกจากนี้ ทรูมูฟ และ ดีพีซี ต้องดำเนินการให้ แคท สามารถเข้าครอบครองและใช้สถานที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์และไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท เมื่อสัญญาระงับสิ้นไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ เป็นระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่สัญญานี้ระงับสิ้นไป โดยบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเป็นระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
    "แม้บอร์ด กทค. มีมติให้ แคท บริหารคลื่นความถี่ต่อไปอีก 1 ปี แต่ถึงวันนี้ยังไม่มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อดูตามสัญญาสัมปทานเมื่ออายุสัญญาหมดต้องส่งข้อมูลทั้งหมดมายัง แคท และ ให้บริษัทที่ได้รับสัมปทานดูแลค่าใช้จ่ายและค่าบำรุงรักษาต่อไปอีก 2 ปี"
    นอกจากนี้ นายกิตติศักดิ์ ยังกล่าวว่า สำหรับมติบอร์ด กทค. ที่มีการโหวต 7:2 ให้บริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ต่อไปอีก1 ปี และมีเสียงส่วนน้อยไม่เห็นด้วยว่าเนื่องจากจะถูกข้อครหาการยกสัมปทานให้กับเอกชนโดยไม่ประมูลคลื่นความถี่นั้นคะแนนเสียงของทุกคนมีความหมายแต่จะให้ทำตามทุกคนไม่ได้ต้องดูหลักการเช่น หลักเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และ นิติศาสตร์
    ด้านนายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การที่ กสทช. มีมติต่อสัญญาคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ให้สิทธิ์บริหารคลื่นความถี่ออกไปอีก 1 ปีนั้นเพื่อต้องการให้ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ทรูมูฟ ย้ายออกมาสู่ระบบ 3 จี หากผู้ใช้บริการย้ายเข้ามาในระบบมากเท่าไหร่เท่ากับว่าเป็นการทดแทนรายได้ของโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการมาเป็นระยะเวลา 10 ปี
    "ตอนนี้มีลูกค้าโพสต์เพดแบบจดรายเดือนย้ายเข้ามาระบบ 3 จีของเราแล้วทั้งหมดมีแต่ลูกค้าพรีเพด (แบบเติมเงิน) จำนวนกว่า 10 ล้านรายเท่านั้นยังไม่ย้ายเข้าเพราะลูกค้าในกลุ่มนี้ไม่มีเครื่องลูกข่าย ทรูมูฟ จึงได้ออกมือถือทรูบียอนด์ เพื่อให้เข้ามาสู่ระบบ 3 จี"
    นายนพปฎล ยังกล่าวต่ออีกว่า ในขณะนี้ ทรู พยายามให้ลูกค้าที่อยู่ในระบบ 2 จีย้ายเข้ามาอยู่ในระบบใหม่ให้มากที่สุดเพราะภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากนี้ต้องปิดบริการเพราะ กสทช.ได้มีการกำหนดเวลาเอาไว้แล้ว
    นอกจากนี้ในช่วงเวลาคาบเกี่ยว กสทช. ได้กำหนดให้ ทรูมูฟ ห้ามทำโปรโมชันใหม่ห้ามรับลูกค้าใหม่ทำให้บริษัทขาดรายได้เช่นเดียวกัน เพราะฐานลูกค้าใหม่ก็ไม่มี มีแต่ฐานลูกค้าเก่า 17 ล้านราย อุตสาหกรรมอื่นต้องผลิตสินค้าและจำหน่ายอยู่ทุกวัน แต่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมกลับเป็นว่าให้ชะลอการรับลูกค้าใหม่เท่ากับว่าลูกค้าเก่าก็หายออกไปลูกค้าใหม่ก็รับไม่ได้ ภาระค่าใช้จ่าย ทรูมูฟ ทำหน้าที่รับผิดชอบทั้งหมด
    ด้านนายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า  ได้เขียนบทความ "ขยายระยะเวลาคืนคลื่น 1800 MHz ขัดเจตนารมณ์กฎหมายหรือไม่? ซึ่งตอนท้ายของบทความได้ระบุว่า  ด้าน "กระบวนการ" ในการตีความกฎหมายก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะในกรณีที่มีข้อถกเถียงหรือความไม่แน่ใจในการตีความกฎหมายเกิดขึ้น (คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคมระบบเซลลูลาร์ 1800 ซึ่งเป็นผู้เสนอแนวทางการขยายระยะเวลาเพื่อป้องกันซิมดับเอง ก็เห็นว่าอาจติดปัญหาทางข้อกฎหมาย) กทค. ก็ควรส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. ให้แนวทางความเห็น ทว่า กทค. กลับปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น และเลือกผูกขาดการตีความกฎหมายไว้เอง ซึ่งอาจเป็นเพราะคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย ชุดดังกล่าวเคยมีตีความในกรณีที่คล้ายกันของคลื่น 800 MHz ว่า พ.ร.บ. องค์กรฯ กำหนดว่าการจัดสรรคลื่นความถี่ต้องทำโดยวิธีการประมูลเท่านั้น ประกอบกับแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ก็มิได้ให้อำนาจ กสทช. พิจารณาขยายระยะเวลาคลื่นหมดอายุสัมปทานได้ "จึงไม่อาจที่จะพิจารณาขยายระยะเวลาในการใช้งานคลื่นความถี่ได้"
    นายวรพจน์ ชี้ว่า เมื่อพิจารณาตัวบทกฎหมายข้างต้นแล้ว กทค. ไม่มีฐานอำนาจทางกฎหมายในการขยายระยะเวลาการคืนคลื่นออกไป เจตนารมณ์ในกฎหมายต้องการให้คลื่นที่หมดอายุสัมปทานคืนกลับมาสู่มือสาธารณะในฐานะทรัพยากรสื่อสารของชาติ และให้อำนาจ กสทช. เป็นตัวแทนในการจัดสรรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานซึ่งขาดความโปร่งใสและสร้างสนามแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม ไปสู่ระบบใบอนุญาตด้วยวิธีการประมูล ซึ่งมีความโปร่งใสและสร้างกฎกติกาการแข่งขันที่เท่าเทียมกว่า การขยายระยะเวลาโดย "จับผู้บริโภคเป็นตัวประกัน" ทั้งที่ กทค. มีเวลาเตรียมการเพียงพอให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่นโดยไม่ขัดกับข้อกฎหมาย ย่อมเป็นการสร้างมาตรฐานที่ไม่ดีให้กับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบใบอนุญาต ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักของ กทค. ตามที่กฎหมายกำหนด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=188702:-30&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417





______________________________________





“กสท” ยกกม.อ้างสิทธิให้บริการต่อ หลังสัมปทาน “ทรูมูฟ” สิ้นสุด


“กสท” ยกกม.อ้างสิทธิให้บริการต่อ

หลังสัมปทาน “ทรูมูฟ” สิ้นสุด

พร้อมร่อนหนังสือแจ้งกสทช.

              ผู้สื่อข่าวรายงานจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ส่งหนังสือถึง พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค) เมื่อเร็วๆนี้  ถึงแนวทางการดำเนินการจัดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน แผนและมาตรการรองรับการประกอบกิจการภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ในการใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)

            ทั้งนี้ กสท เป็นผู้ให้สัมปทาน กับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส หรือ เอไอเอส) และสัมปทานจะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้

            นอกจากนี้ในสัญญากำหนดให้ ทรูมูฟ และดีพีซี มีหน้าที่ ส่งมอบโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องและอุปกรณ์ทั้งหมด ประกอบด้วย ชุมสาย ระบบควบคุม ระบบบิลลิ่ง ระบบเชื่อมโยง อุปกรณ์สถานีเครือข่าย เป็นต้น รวมทั้งอะไหล่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของบริษัทที่มีอยู่ก่อนวันแรกที่เปิดให้บริการ เพื่อให้ กสท ใช้ในการให้บริการต่อไป

                   สำหรับความเห็นในแง่กฏหมายและหลักเกณฑ์การกำกับดูแล กสท ได้สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้สัมปทาน โดยในกฏหมายตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มาตรา 80 ระบุว่า การประกอบกิจการโทรคมนาคมของ การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 79 ถ้า หน่วยงานดังกล่าวได้มีการให้อนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาแก่ผู้ใดเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมฯ อยู่แล้วก่อนวันที่ กฏหมายนี้ใช้บังคับ ให้ผู้ได้รับอนุญาต ยังคงมีสิทธิประกอบกิจการโทรคมฯตามขอบเขตและสิทธิที่มีอยู่เดิมตามที่ได้รับอนุญาต จนกว่าการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาจะสิ้นสุดลง

            ใน กรณี ทรูมูฟ และดีพีซี เป็นผู้มีสิทธิประกอบกิจการ ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ การดำเนินการใดๆ ที่มีผลเป็นการขยายสิทธิในการประกอบกิจการ ให้แก่ ทรูมูฟ และดีพีซี ไม่สามารถทำได้ เพราะขัดแย้ง ม.80 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ซึ่งหากทรูมูฟ และดีพีซี ต้องการที่จะให้บริการต่อไปจะต้องขอใบอนุญาตตาม ม. 7 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544

                ขณะที่ มาตรา 84 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ระบุว่า ความในมาตรา 46 ไม่ให้บังคับกับรัฐวิสาหกิจที่นำความถี่ ที่ได้รับจัดสรรไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาตสัมปททาน และให้ผู้ได้รับอนุญาต ประกอบกิจการต่อไปได้เฉพาะช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามการอนุญาต สัมปทาน โดยมาตรา 46 ระบุว่า ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมฯต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง จะมอบให้ผู้อื่นประกอบกิจการแทนไม่ได้ ซึ่ง กรณีที่มีการใช้คลื่นความถี่โดยมอบการบริหารทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ผู้อื่นบริหารจัดการแทนไม่ได้เป็นการขัดต่อมาตรา 46

                “เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง บริษัทที่ได้รับสัมปทาน ทรูมูฟ และดีพีซี ก็หมดสิทธิที่จะใช้คลื่นความถี่ที่ได้ใช้ตามสัญญาลงด้วย” รายงานข่าวระบุ

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้บอร์ด กสทช.ยังไม่สรุปว่าจะให้ กสท หรือ ทรูมูฟ , ดีพีซี เป็นผู้ให้บริการอีก1ปี นับตั้งแต่วันที่สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง

 http://www.naewna.com/business/57424

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.