Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

2 กรกฎาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) เอกชนรุ่มจีบช่องวาไรตี้ 20 ราย // ช่องข่าว 16 ราย // ช่อง HD 13 ราย // ช่องเด็ก 10 ราย



ประเด็นหลัก



จากการเปิดให้แจ้งความประสงค์ลงทะเบียนทดลองประมูล ทีวีดิจิทัล โดยหนึ่งบริษัทสามารถประมูลลงทะเบียนได้มากกว่า 1 ช่อง พบว่ามีผู้แจ้งความประสงค์ประมูลช่องเด็ก 10 ราย ช่องข่าว 16 ราย, ช่องวาไรตี้ 20 ราย และ ช่องเอชดี 13 ราย

ขณะที่ผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนทดลองประมูลทีวีดิจิทัล ครั้งแรกในวันที่ 1 ก.ค. ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่สนใจประมูลทีวีดิจิทัล อาทิ ผู้ประกอบการฟรีทีวี รายเดิม คือ อสมท, บีบีทีวี (ช่อง 7), มีเดีย ซีน และ มีเดีย นาว ในเครือช่อง 7, ผู้ประกอบการด้านกิจการโทรคมนาคม เช่น ทรูฯ ชิน คอร์ปอเรชั่น (อินทัช) กลุ่มสามารถฯ, จัสมินฯ

กลุ่มผู้ประกอบกิจการทีวีดาวเทียม โพสต์ พับลิชชิ่ง, วอยซ์ทีวี, สปริงนิวส์, เนชั่น แชนแนล, โรส มีเดีย, อมรินทร์ทีวี, เดลินิวส์ทีวี, ไทยรัฐทีวี ส่วนกลุ่มคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น โพสต์ พับลิชชิ่ง, 3A มาร์เก็ตติ้ง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการรายใหม่สนใจเข้าร่วมทดลองประมูลทีวีดิจิทัลครั้งแรกด้วย อาทิ บริษัท บางกอก มีเดีย บรอดแคสติ้ง จำกัด (บีเอ็มบี) ถือหุ้นใหญ่โดย นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ สนใจประมูลทีวีดิจิทัล ประเภทเอชดี โดยต้องการช่องทีวีด้านการแพทย์สาธารณะ เพื่อให้ความรู้เชิงสังคม ก่อนหน้านี้ บางกอกแอร์เวย์ส ได้ลงทุนทำช่องรายการ “อิน แชนแนล” ออกอากาศทางทรูวิชั่นส์


______________________________________





แห่ทดลองประมูลทีวีดิจิทัล สน'ข่าว-วาไรตี้'






ผู้ประกอบกิจการบรอดแคสต์-โทรคมฯ-คอนเทนท์ โปรวายเดอร์ แห่"ทดลอง"เคาะประมูลชิงช่องทีวีดิจิทัล24 ช่องธุรกิจ กว่า30ราย รุม"ข่าว-วาไรตี้ เอชดี"


วานนี้ (1 ก.ค.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดให้ผู้ประกอบกิจการที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมทดลองทดสอบโปรแกรมประมูล “ทีวีดิจิทัล” (Pre Mock Auction) ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง ประกอบด้วยช่องเด็ก 3 ช่อง, ช่องข่าว 7 ช่อง, ช่องวาไรตี้ 7 ช่อง และช่องเอชดี 7 ช่อง โดยมีบริษัทต่างๆ สนใจเข้าร่วมทดลองโปรแกรมประมูลประมาณ 30 บริษัท แบ่งการทดลองประมูล 3 รอบ รอบละ 10 บริษัท โดย กสทช.กำหนดให้ผู้ประกอบการทดลองประมูลช่องวาไรตี้ พร้อมกันนี้ ให้สื่อมวลชนทดลองประมูลช่องเอชดี

จากการเปิดให้แจ้งความประสงค์ลงทะเบียนทดลองประมูล ทีวีดิจิทัล โดยหนึ่งบริษัทสามารถประมูลลงทะเบียนได้มากกว่า 1 ช่อง พบว่ามีผู้แจ้งความประสงค์ประมูลช่องเด็ก 10 ราย ช่องข่าว 16 ราย, ช่องวาไรตี้ 20 ราย และ ช่องเอชดี 13 ราย

ขณะที่ผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนทดลองประมูลทีวีดิจิทัล ครั้งแรกในวันที่ 1 ก.ค. ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่สนใจประมูลทีวีดิจิทัล อาทิ ผู้ประกอบการฟรีทีวี รายเดิม คือ อสมท, บีบีทีวี (ช่อง 7), มีเดีย ซีน และ มีเดีย นาว ในเครือช่อง 7, ผู้ประกอบการด้านกิจการโทรคมนาคม เช่น ทรูฯ ชิน คอร์ปอเรชั่น (อินทัช) กลุ่มสามารถฯ, จัสมินฯ

กลุ่มผู้ประกอบกิจการทีวีดาวเทียม โพสต์ พับลิชชิ่ง, วอยซ์ทีวี, สปริงนิวส์, เนชั่น แชนแนล, โรส มีเดีย, อมรินทร์ทีวี, เดลินิวส์ทีวี, ไทยรัฐทีวี ส่วนกลุ่มคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น โพสต์ พับลิชชิ่ง, 3A มาร์เก็ตติ้ง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการรายใหม่สนใจเข้าร่วมทดลองประมูลทีวีดิจิทัลครั้งแรกด้วย อาทิ บริษัท บางกอก มีเดีย บรอดแคสติ้ง จำกัด (บีเอ็มบี) ถือหุ้นใหญ่โดย นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ สนใจประมูลทีวีดิจิทัล ประเภทเอชดี โดยต้องการช่องทีวีด้านการแพทย์สาธารณะ เพื่อให้ความรู้เชิงสังคม ก่อนหน้านี้ บางกอกแอร์เวย์ส ได้ลงทุนทำช่องรายการ “อิน แชนแนล” ออกอากาศทางทรูวิชั่นส์

กสทช.เปิดทดลองรอบใหม่-ประมูลเดือนก.ย.นี้

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า การทดลองประมูลทีวีดิจิทัล วานนี้ (1 ก.ค.) จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ซอฟต์แวร์ Pre Mock Auction หลังจากนี้จะมีการปรับซอฟต์แวร์ ที่ให้ประมูลเสมือนจริง โดยจะกรอกตัวเลขการประมูลในการเคาะประมูลแต่ละครั้ง ได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น จะเปิดให้ผู้ประกอบการ “ทดลอง” ประมูลอีกครั้ง

โปรแกรมทดลองประมูลทีวีดิจิทัล จะแสดงข้อมูลราคาเริ่มต้นประมูลรายประเภท ประกอบด้วย 4 ประเภท คือ เด็ก ราคาช่องละ 140 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 1 ล้านบาท, ช่องข่าว ราคาช่องละ 220 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 2 ล้านบาท, ช่องวาไรตี้ ราคาช่องละ 380 ล้านบาท เคาะเพิ่ม ครั้งละ 5 ล้านบาท และ ช่องเอชดี ราคาช่องละ 1,510 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 10 ล้านบาท

ในการประมูล ผู้เข้าร่วมประมูลจะเห็น “ลำดับ” ของตัวเองในการเคาะประมูล ลำดับของผู้มีสิทธิชนะการประมูล การประมูลแต่ละประเภท กำหนด 60 นาที หากมีราคาเท่ากัน จะต่อเวลาประมูลครั้งละ 5 นาที

“จากการทดลองประมูลพบว่า ราคาเคาะประมูลของผู้มีสิทธิได้ใบอนุญาตแต่ละประเภทเกาะกลุ่ม ตามวัตถุประสงค์ที่ กสทช. ต้องการเห็น เพื่อต้องการให้ ผู้ประกอบการที่ชนะการประมูล นำงบประมาณไปผลิตคอนเทนท์ คุณภาพ เพื่อแข่งขันสร้างเรทติ้งผู้ชม” พ.อ.นที กล่าว

ทั้งนี้ คาดว่าระยะเวลาการประมูล ทีวีดิจิทัล 24 ช่องธุรกิจ จะอยู่ในช่วงปลายเดือนก.ย. ถึงต้นเดือนต.ค. นี้ โดยจะเปิดให้ผู้สนใจซื้อซองประมูลเดือนส.ค. นี้

เอกชนแห่ทดลองเคาะประมูล

นายวัชร วัชรพล ประธานกรรมการ บริษัท ทริปเปิล วี บรอดแคสติ้ง จำกัด ถือหุ้นโดย บริษัท วัชรพล จำกัด เจ้าของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ กล่าวว่าได้จัดตั้งบริษัททริปเปิล วี บรอดแคสติ้ง ขึ้นมาใหม่ เพื่อประมูลทีวีดิจิทัล กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาประมูลช่องข่าว, วาไรตี้ และ เอชดี โดยเตรียมงบเบื้องต้นไว้ 1,000 ล้านบาท

ขณะนี้ ได้รับบุคลากรใหม่รวม 200 คน เพื่อเตรียมผลิตคอนเทนท์ให้ช่อง “ไทยรัฐทีวี” โดยมองว่าทีวีดิจิทัล เป็นอีกหนึ่งโอกาสในการขยายตัวสู่ธุรกิจบรอดแคสต์ของไทยรัฐ โดยวานนี้ ได้เข้าร่วมทดลองประมูลทีวีดิจิทัล ที่ กสทช. จัดขึ้น

นายครรชิต ควะชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจดิจิทัลทีวี บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้เข้าร่วมทดลองทีวีดิจิทัล ที่ กสทช. จัดขึ้นด้วยเช่นกัน โดย แกรมมี่ ได้เตรียมงบลงทุนทีวีดิจิทัล รวม 4,000 ล้านบาท ประมูล 3 ช่อง คือ เอชดี, วาไรตี้ และ ช่องเด็ก อย่างไรก็ตาม ต้องการให้ กสทช. ประกาศราคาค่าโครงข่าย (Multiplex : Mux) โดยเร็ว เนื่องจากถือเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมงบลงทุน สำหรับการประมูลทีวีดิจิทัลครั้งนี้

“โทรคมฯ-ทีวีดาวเทียม” ร่วมวง

นายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ในเครือ ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ทรูวิชั่นส์ สนใจเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิทัลเต็มเพดานที่ กสทช.กำหนด ขณะนี้ 3 ช่อง คือ ช่องเอชดี, วาไรตี้ และ เด็ก มีความพร้อมด้านคอนเทนท์จากธุรกิจเพย์ทีวี ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และเห็นโอกาสที่จะขยายธุรกิจเข้าสู่ ทีวีดิจิทัล ที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ 15 ปี

สำหรับการทดลองประมูลทีวีดิจิทัล ครั้งแรก วานนี้ กลุ่มอินทัช ในนามชิน คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าร่วมทดลองการประมูลด้วยเช่นกัน โดย อินทัช ประกาศแผนลงทุนทีวีดิจิทัลมูลค่า 2,000 ล้านบาท สำหรับการประมูล 2 ช่อง คือ วาไรตี้และเด็ก

ขณะที่ บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น และ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ประกอบการจากกลุ่มโทรคมนาคมฯ ได้เข้าร่วมทดลองประมูลทีวีดิจิทัลด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการช่องทีวีดาวเทียม หลายช่องที่เข้าร่วมทดลองประมูล ประกอบด้วย เวิร์คพอยท์ทีวี, เดลินิวส์ทีวี, วอยซ์ทีวี, สปริงนิวส์, เนชั่น แชนแนล รวมทั้งผู้ประกอบกิจการฟรีทีวี อนาล็อก รายเดิมที่เข้าร่วมทดลองประมูลด้วยเช่นกัน

แห่ตั้งงบแข่งประมูลทีวีดิจิทัล

ขณะที่ นายพลากร สมสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้เข้าร่วมทดลองการประมูล พร้อมกับ นายนุติ เขมะโยธิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มีเดียซีน จำกัด บริษัทในเครือ

ขณะที่ นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท กล่าวว่าได้เตรียมงบสำหรับประมูลทีวีดิจิทัล 2,000 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างการศึกษาการประมูล 3 รูปแบบ คือ 1.ช่องเอชดี ช่องวาไรตี้ และ ช่องเด็ก รวม 3 ช่อง 2.ประมูล 3 ช่อง SD คือ เด็ก ข่าว และ วาไรตี้ และ 3.เอชดี และ วาไรตี้ รวม 2 ช่อง

พร้อมกันนี้ จัดสรรงบประมาณสำหรับการลงทุนโครงข่าย (Mux) มูลค่า 1,000 ล้านบาท และการลงทุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (เสาส่งสัญญาณ) 600 ล้านบาท

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.