Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

1 กรกฎาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) นที พาเช็คระบบประมูลครั้งนี้ 7 ใบอนุญาต เร้าใจทุก 5นาทีถ้าหมด1ชม.แรก (เช็คระบบหน่อย baby ถ้าไม่เฟิร์มนะ honey เช็ดแล้วทิ้งเลย baby) MCOTบด HD แพงมาก



ประเด็นหลัก

พ.อ. ดร. นที ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ขั้นตอนการดำเนินการในวันนี้จะทำแบบจำลองลักษณะสถานการณ์จริง เริ่มจากสื่อมวลชนที่เข้าร่วมการทดลองทดสอบฯ จะแบ่งกลุ่มออกเป็น 15 กลุ่ม จากนั้นแต่ละกลุ่มก็จะส่งตัวแทนแต่ละบริษัทจะได้รับแบบจำลองธุรกิจพร้อมวงเงินสำหรับประมูลให้ด้วย โดยในรอบนี้จะกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลไว้ที่ 1,510 ล้านบาท กำหนดราคาขั้นต่ำไว้ที่ 1,510 ล้านบาท กำหนดการเสนอราคาเพิ่มครั้งละ 10 ล้านบาท ทั้งนี้ มีจำนวนใบอนุญาตสำหรับการประมูลครั้งนี้ 7 ใบอนุญาต




       นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ MCOT (ช่อง 9) กล่าวต่อไปถึงการประมูลทีวีดิจิตอลในวันจริงนั้น ช่อง 9 มีงบประมาณเบื้องต้นไว้ที่ 2,000 ล้านบาท ซึ่งมีแนวทางเลือกในการประมูลทีวีดิจิตอลครั้งนี้เอาไว้ 3 ทางเลือก คือ 1. ช่อง HD 1 ช่อง-ช่อง SD 1 ช่อง และช่องเด็ก 1 ช่อง 2. ประมูลเฉพาะช่อง SD ทั้ง 3 ช่อง และทางเลือกที่ 3. ช่อง HD วาไรตี 1 ช่อง และช่อง SD วาไรตี 1 ช่องเท่านั้น โดยทุกทางเลือกต้องรอดูสถานการณ์ในช่วงการประมูลจริงอีกครั้ง
   
       “เรามีงบประมาณเพียง 2,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งช่อง HD มองว่ามีราคาสูงเกินไป ดังนั้นช่อง 9 จะเน้นประมูลในช่อง SD วาไรตีเป็นหลักก่อน ส่วนในช่อง HD จะมีการอัปเกรดภายหลังจากนี้ 2-3 ปี”
   
       นอกจากนี้ ช่อง 9 ยังเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย จึงได้เตรียมงบประมาณเอาไว้อีก 1,000 ล้านบาทเพื่อการลงทุนในการให้บริการโครงข่าย และอีก 600 ล้านบาทในการลงทุนสิ่งอำนวยความสะดวก (เสาส่ง)
   
       นายพลากร สมสุวรรณ กรรมการผู้จัดการสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 กล่าวว่า ในตอนนี้เราต้องการความชัดเจนของร่างประกาศ กสทช.ต่างๆ ก่อน โดยเฉพาะรอร่างหลักเกณฑ์ วิธีการประมูลฯ ซึ่งช่อง 7 ตั้งเป้าจะประมูลทีวีดิจิตอลในช่อง HD 1 ช่อง SD 1 ช่อง และช่องเด็กอีก 1 ช่อง
   
       นายครรชิต ควะชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจดิจิตอลทีวี บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในตอนนี้อยากให้กฎเกณฑ์ และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประมูลฯ ออกอย่างชัดเจนก่อน โดยทางจีเอ็มเอ็มตั้งงบในการประมูลทีวีดิจิตอลไว้ที่ 4,000 ล้านบาท ซึ่งต้องการประมูลช่อง HD 1 ช่อง SD 1 ช่อง และช่องเด็ก 1 ช่อง
   
       นอกจากนี้ นายวัชร วัชรพล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทริปเปิลวี บรอดคาสท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยรัฐ กล่าวว่า เบื้องต้นได้เตรียมเงินขั้นต่ำสำหรับการประมูลทีวีดิจิตอลไว้ที่ 1,000 ล้านบาท เพื่อจะประมูลเอาช่องข่าว 1 ช่องเป็นอย่างน้อย
   
       อีกทั้งในตอนนี้ไทยรัฐยังรับทีมงานที่จะเข้ามาดูแลทีวีโดยเฉพาะเพื่อรองรับการมีช่องทีวีดิจิตอลในอนาคตถึง 200 คนเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน














______________________________________





กสท.ลุยทดลองประมูลทีวีดิจิตอล


       กสท.เปิดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมทดลองทดสอบการประมูลทีวีดิจิตอลครั้งแรก ทั้งผู้ประกอบการ-สื่อมวลชนตบเท้าเข้าร่วมเพียบ ฝั่งผู้ประกอบการต่างระบุห่วงเรื่องกฎเกณฑ์มากสุด “นที” ย้ำ ก.ย.-ต.ค.เปิดประมูลแน่
     
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังเปิดให้ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนที่สนใจเข้าร่วมทดลองทดสอบการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบทีวีดิจิตอลในกลุ่มช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่อง วันนี้ (1 ก.ค.) ว่า การทดลองวันนี้เป็นเพียงการเช็กในเรื่องกระบวนการประมูลเท่านั้น โดยไม่ได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในวันที่มีการประมูลจริงแต่อย่างใด เนื่องจากซอฟต์แวร์จริงจะเสร็จประมาณเดือน ส.ค.นี้
     
       เบื้องต้นการทดลองทดสอบการประมูลทีวีดิจิตอลครั้งนี้มีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 5, 7, 9, บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรืออินทัช, บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน), บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน), บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
     
       “คนที่จะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลในครั้งนี้จะต้องมีความเป็นมืออาชีพ ไม่ใช่ใครก็ได้ที่อยากเข้าร่วมประมูลเท่านั้น และอยากให้มีการเสนอราคาสมเหตุสมผลไม่ใช่สูงจนเกินความเป็นจริง”
     
       อย่างไรก็ดี การทดลองการจัดการประมูลทีวีดิจิตอลในครั้งนี้มีขึ้นเพื่อทดสอบ และทดลองใช้งานตามร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล (ทีวีดิจิตอล) ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ พศ. … เพื่อนำข้อมูล ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะไปพัฒนาโปรแกรมจำลองการประมูล
     
       โดยในส่วนของการประมูลจะใช้วิธีการประมูลแบบการแข่งขันเสนอราคาใบอนุญาตเพิ่มขึ้น หรือฟอร์เวิร์ดออกชัน เช่นเดียวกับการประมูลจริง ซึ่งมีการกำหนดให้ใช้เวลา 60 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่เท่ากับการประมูลจริง โดยภายใน 60 นาทีผู้เข้าประมูลแต่ละรายจะเคาะราคาเข้ามากี่ครั้งก็ได้ โดยการเคาะแต่ละครั้งจะมีราคาเพิ่มขึ้นตามที่กำหนด ในครั้งนี้คือครั้งละ 5 ล้านบาท กรณีที่ครบ 60 นาทีแล้วยังมีผู้เสนอราคาเท่ากันเกินกว่าจำนวนช่องที่เปิดประมูลจะต่อเวลาเพิ่มอีกครั้งละ 5 นาที
     
       เมื่อสิ้นสุดการขยายเวลา และไม่มีการเสนอราคาเพิ่มขึ้นระบบจะยุติการประมูลและให้ผู้เข้าร่วมการประมูลที่เสนอราคาเท่ากันจับฉลากหาผู้ชนะการประมูล หรือเมื่อจบการประมูลผู้เสนอราคาสูงสุดไล่ลงมาตามจำนวนช่องที่เปิดประมูลจะเป็นผู้ชนะการประมูล ส่วนกรณีครบ 5 นาทีแรกแล้วพบว่ามีจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาตที่มี ระบบจะขึ้นข้อความเตือน และจะยุติการประมูลในครั้งนี้
     
       อย่างไรก็ตาม ในการเปิดทดลองประมูลในครั้งนี้ตัวระบบได้เกิดเหตุขัดข้องขึ้น ซึ่งทาง กสทช.ให้เหตุผลว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้ในครั้งนี้เป็นคนละตัวกับซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในวันจริงจึงเกิดปัญหาทางด้านเทคนิค แต่ยังมั่นใจว่าหากเป็นการประมูลในวันจริงจะไม่เกิดเหตุดังกล่าวอย่างแน่นอน
     
       ขณะที่ อาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการทดสอบการประมูลทีวีดิจิตอลในครั้งนี้ กล่าวว่า ในการทดลองเสนอราคาการประมูลครั้งนี้ เบื้องต้นทางทรูวิชั่นส์ไม่ได้ติดใจสงสัยในวิธีการประมูลแบบฟอร์เวิร์ดออกชันแต่ประการใด
     
       อย่างไรก็ตาม ในการประมูลทีวีดิจิตอลครั้งนี้ ทางทรูวิชั่นส์สนใจที่จะเข้ามาประมูลจำนวนทั้งสิ้น 3 หมวดช่องรายการ ได้แก่ ช่องทั่วไปความคมชัดสูง (HD) ช่องทั่วไปแบบมาตรฐาน (SD) และช่องรายการเด็ก ส่วนเงินลงทุนยังไม่ขอเปิดเผยแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ ในส่วนของความพร้อมในการให้บริการทางทรูมีอย่างเต็มที่ เนื่องจากปัจจุบันทางบริษัทมีทั้งรายการลิขสิทธิ์และรายการที่ผลิตเองจำนวนมากที่ให้บริการอยู่บนทีวีบอกรับสมาชิกของทรูวิชั่นส์อยู่แล้ว
     
       นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ MCOT (ช่อง 9) กล่าวต่อไปถึงการประมูลทีวีดิจิตอลในวันจริงนั้น ช่อง 9 มีงบประมาณเบื้องต้นไว้ที่ 2,000 ล้านบาท ซึ่งมีแนวทางเลือกในการประมูลทีวีดิจิตอลครั้งนี้เอาไว้ 3 ทางเลือก คือ 1. ช่อง HD 1 ช่อง-ช่อง SD 1 ช่อง และช่องเด็ก 1 ช่อง 2. ประมูลเฉพาะช่อง SD ทั้ง 3 ช่อง และทางเลือกที่ 3. ช่อง HD วาไรตี 1 ช่อง และช่อง SD วาไรตี 1 ช่องเท่านั้น โดยทุกทางเลือกต้องรอดูสถานการณ์ในช่วงการประมูลจริงอีกครั้ง
     
       “เรามีงบประมาณเพียง 2,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งช่อง HD มองว่ามีราคาสูงเกินไป ดังนั้นช่อง 9 จะเน้นประมูลในช่อง SD วาไรตีเป็นหลักก่อน ส่วนในช่อง HD จะมีการอัปเกรดภายหลังจากนี้ 2-3 ปี”
     
       นอกจากนี้ ช่อง 9 ยังเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย จึงได้เตรียมงบประมาณเอาไว้อีก 1,000 ล้านบาทเพื่อการลงทุนในการให้บริการโครงข่าย และอีก 600 ล้านบาทในการลงทุนสิ่งอำนวยความสะดวก (เสาส่ง)
     
       นายพลากร สมสุวรรณ กรรมการผู้จัดการสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 กล่าวว่า ในตอนนี้เราต้องการความชัดเจนของร่างประกาศ กสทช.ต่างๆ ก่อน โดยเฉพาะรอร่างหลักเกณฑ์ วิธีการประมูลฯ ซึ่งช่อง 7 ตั้งเป้าจะประมูลทีวีดิจิตอลในช่อง HD 1 ช่อง SD 1 ช่อง และช่องเด็กอีก 1 ช่อง
     
       นายครรชิต ควะชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจดิจิตอลทีวี บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในตอนนี้อยากให้กฎเกณฑ์ และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประมูลฯ ออกอย่างชัดเจนก่อน โดยทางจีเอ็มเอ็มตั้งงบในการประมูลทีวีดิจิตอลไว้ที่ 4,000 ล้านบาท ซึ่งต้องการประมูลช่อง HD 1 ช่อง SD 1 ช่อง และช่องเด็ก 1 ช่อง
     
       นอกจากนี้ นายวัชร วัชรพล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทริปเปิลวี บรอดคาสท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยรัฐ กล่าวว่า เบื้องต้นได้เตรียมเงินขั้นต่ำสำหรับการประมูลทีวีดิจิตอลไว้ที่ 1,000 ล้านบาท เพื่อจะประมูลเอาช่องข่าว 1 ช่องเป็นอย่างน้อย
     
       อีกทั้งในตอนนี้ไทยรัฐยังรับทีมงานที่จะเข้ามาดูแลทีวีโดยเฉพาะเพื่อรองรับการมีช่องทีวีดิจิตอลในอนาคตถึง 200 คนเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน
     
       นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น หรืออินทัช จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อินทัชได้เตรียมงบประมาณไว้ในการประมูลทีวีดิจิตอลที่ 2,000 ล้านบาท โดยต้องการประมูลช่องวาไรตี และช่องเด็ก
     
       พ.อ.นทีกล่าวปิดท้ายว่า อย่างไรก็ดี กสทช.จะจัดให้มีการทดสอบการประมูลสำหรับผู้ประกอบการอีกครั้งภายหลังซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในวันประมูลจริงเสร็จแล้วหรือประมาณเดือน ส.ค. หลังจากได้ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกจากการยื่นซองประมูลก่อนจะเปิดประมูลจริงภายในเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้ต่อไป
     

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000079867


_______________________________________________



ทีวีดิจิตอลคืบ! กสทช.จัดทดสอบประมูล เอกชนแห่ทดลองคึก


กสทช. จัดทดสอบประมูลทีวีดิจิตอล แย้มระบบยังอยู่ระหว่างพัฒนา คาดเสร็จทันประมูลปลายปีนี้ ฟากเอกชนยันความพร้อมสุดขีด รอประมูลจริง จี้ กสทช. เร่งชี้แจงกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน...

เมื่อวันที่ 1 ก.ค. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ กสทช. ได้จัดการทดสอบประมูลคลื่นความถี่ (Pre-Mock Auction) เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ซึ่งเป็นการจัดขึ้นเพื่อทดสอบและทดลองใช้งานตาม (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลฯ เพื่อนำข้อมูล ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ไปพัฒนาโปรแกรมจำลองการประมูล โดยซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการทดสอบประมูลครั้งนี้เป็นโปรแกรมที่สำนักงาน กสทช. จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ





รองประธาน กสทช. กล่าวว่า กสทช.ต้องการให้ผู้ประมูลฯ สามารถเสนอราคาในระดับที่ตนเองต้องการ ซึ่งเป็นราคาที่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม เพื่อเกิดการให้บริการที่ดีและการแข่งขันที่ดีในตลาดต่อไป ส่วนรายละเอียดในการประมูลนั้น คาดว่าจะสามารถจัดประมูลได้ภายในช่วงปลายเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ โดยในการประมูลจะเปิดโอกาสให้แต่ละบริษัทสามารถเข้าประมูลได้ 3-5 คน ส่วนปัญหาและข้อเสนอแนะที่ได้จากการจัดทดสอบประมูลในวันนี้จะมีการนำไปพิจารณาและปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งมั่นใจว่าเมื่อถึงช่วงเวลาประมูลฯ จริง โปรแกรมและอุปกรณ์ที่ใช้จะพร้อมอย่างแน่นอน โดยหากระบบมีความพร้อม สำนักงาน กสทช. ก็จะจัดให้มีการทดสอบประมูลอีกเพื่อตรวจสอบความพร้อมของโปรแกรมและอุปกรณ์ก่อนทำการประมูลจริง

สำหรับรูปแบบการประมูลในการทดลองประมูลคลื่นความถี่ฯ ครั้งนี้ ใช้วิธีการประมูลแบบการแข่งขันเสนอราคาใบอนุญาตเพิ่มขึ้น หรือฟอร์เวิร์ด อ็อกชั่น เช่นเดียวกับการประมูลจริง โดยมีการกำหนดให้ใช้เวลา 60 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่เท่ากับการประมูลจริง ภายใน 60 นาที ผู้เข้าประมูลแต่ละรายจะเคาะราคาเข้ามากี่ครั้งก็ได้ โดยการเคาะแต่ละครั้งจะมีราคาเพิ่มขึ้นตามที่กำหนด กรณีที่ครบ 60 นาทีแล้วยังมีผู้เสนอราคาเท่ากันเกินกว่าจำนวนช่องที่เปิดประมูล จะต่อเวลาเพิ่มอีกครั้งละ 5 นาที เมื่อสิ้นสุดการขยายเวลาและไม่มีการเสนอราคาเพิ่มขึ้น ระบบจะยุติการประมูลและให้ผู้เข้าร่วมการประมูลที่เสนอราคาเท่ากันจับสลากหาผู้ชนะการประมูล เมื่อจบการประมูลผู้เสนอราคาสูงสุดไล่ลงมาตามจำนวนช่องที่เปิดประมูลจะเป็นผู้ชนะการประมูล สำหรับกรณีครบ 5 นาทีแรก แล้วพบว่ามีจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาตที่มี ระบบจะขึ้นข้อความเตือน และจะยุติการประมูล ทั้งนี้ ในการประมูล ผู้เข้าร่วมการประมูลสามารถเสนอราคาได้ไม่จำกัดในระหว่างการประมูล โดยระบบจะแสดงสถานะของผู้ประมูล ได้แก่ ลำดับผลสถานะ และการมีสิทธิเป็นผู้ชนะการประมูล ราคาที่เสนอปัจจุบัน และสถานะว่ายังมีสิทธิเป็นผู้ชนะ ราคาต่ำสุดของผู้มีสิทธิชนะการประมูล

ส่วนการจัดทดสอบประมูลฯ ในครั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ได้แบ่งรอบการทดสอบออกเป็นรอบผู้ประกอบการ จำนวน 3 รอบ และรอบสื่อมวลชน โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการทดสอบประมูลในครั้งนี้ ได้แก่ ไทยรัฐทีวี, เดลินิวส์, จีเอ็มเอ็ม แซท, ชิน คอร์ปอเรชั่น, ช่อง 3,ช่อง 7, ช่อง 9, ทรู วิชั่นส์, อาร์เอส, เวิร์คพอยท์ เป็นต้น







ด้าน นายวัชร วัชรพล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด กล่าวก่อนเข้าร่วมการทดสอบประมูลโทรทัศน์ดิจิตอลว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลโทรทัศน์ดิจิตอล โดยสนใจเข้าประมูลอย่างน้อยหนึ่งช่อง ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่องข่าวสารและสาระ และหากมีความพร้อมมากพอบริษัทก็ยังสนใจประมูลเพิ่มอีกหนึ่งช่องด้วย โดยบริษัทเตรียมงบประมาณในการลงทุนครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งจะประมูลใบอนุญาตฯ ในนามบริษัทที่ถือหุ้นโดยบริษัท วัชรพล จำกัด และคนในตระกูลวัชรพล

ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ กล่าวว่า เมื่อพูดถึงไทยรัฐ สิ่งแรกที่คนนึกถึงคือข่าว ดังนั้นความท้าทายในการประมูลทีวีดิจิตอลคงจะอยู่ที่การนำเสนอข่าวในรูปแบบใหม่ๆ โดยส่วนตัวยังมีความกังวลเกี่ยวกับความชัดเจนของกฎระเบียบต่างๆ ในการประมูลครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม โทรทัศน์ระบบดิจิตอลถือเป็นสิ่งใหม่ที่น่าตื่นเต้นสำหรับประเทศไทย ทั้งยังถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคอีกด้วย อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนจะออกอากาศไทยรัฐทีวีในช่วงกลางเดือนกันยายนนี้ผ่านซีทีเอชอีกด้วย

ส่วน นายครรชิต ควะชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจดิจิตอลทีวี บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทสนใจประมูลไลเซ่นส์โทรทัศน์ดิจิตอลจำนวน 3 ช่อง คือ ช่องทั่วไปความคมชัดสูง ช่องทั่วไปความคมชัดปกติ ช่องเด็กและเยาวชน โดยตั้งงบประมาณไว้ราว 4,000 ล้านบาท ขณะนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับรายละเอียดเครือข่าย ราคา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการ เนื่องจากมีผลกระทบต่อต้นทุนทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ในฐานะผู้ผลิตคอนเทนต์ บริษัทมองว่าการมีโทรทัศน์ดิจิตอลนั้นจะเติมเต็มศักยภาพในการประกอบธุรกิจ ขณะเดียวกันบริษัทมีช่องจีเอ็มเอ็ม วัน อยู่แล้ว ซึ่งหากประมูลไลเซ่นส์โทรทัศน์ดิจิตอลได้ก็สามารถนำออกอากาศได้ทันที.





โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/354610


_______________________________________



กสทช.เชิญผู้ประกอบการทดลองวิธีการประมูลทีวีดิจิทัล


กสทช. จัด พรี ม็อก อ็อกชั่น จำลองระบบประมูลทีวีดิจิทัลช่องธุรกิจ 24 ช่อง คาดซอฟต์แวร์จริง แล้วเสร็จเดือนส.ค.นี้
วันนี้(1ก.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(สำนักงาน กสทช.) มีการจัดการทดลองทดสอบประมูลคลื่นความถี่ (พรี ม๊อก  อ็อกชั่น) เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลประเภทธุรกิจ จำนวน 24 ช่อง ให้สื่อมวลชนและผู้ประกอบการโทรทัศน์ที่สนใจการประมูลทีวีดิจิทัลกว่า 40 คน  เข้าร่วมทดลองกระบวนการประมูล  อาทิ บริษัท อมรินทร์ แอคทีฟ จำกัด ,ช่อง 7, ช่อง 9 , จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บริษัท โมโน โปรดักชั่น จำกัด, บริษัท เนชั่น บรอดคแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน),บริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด ,บริษัท เวิร์คพอยท์ เอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด(มหาชน) ,บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ,  บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด และ  เดลินิวส์ ทีวี โดยมีนายปารเมศ เหตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตหนังสือพิมพ์เดลินิวส์เข้าร่วมด้วย


พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า สำหรับการ พรี ม๊อก ออกชั่น เป็นครั้งแรก โดยเป็นการทดลองกระบวนการประมูล แล้วหลังจากนั้นจะนำข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น ไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อนำไปลงซอฟต์แวร์จริงที่ได้จ้างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) หรือ (CAT)แคท เป็นผู้จัดการประมูลทีวีดิจิทัลทั้งหมด เบื้องต้นคาดว่าซอฟต์แวร์จะเสร็จประมาณเดือนส.ค.56 หลังจากนั้นจะมีการเปิดรอบทดลองระบบซอฟต์แวร์จริงอีกครั้ง  โดยต้องรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนประมูลทีวีดิจิทัลในเดือนก.ย.-ต.ค.56


“พรี ม๊อก อ็อกชั่นครั้งนี้เป็นระบบของสำนักงาน กสทช.ยังไม่ใช่ระบบจริงที่จะใช้ในการประมูลทีวีดิจิทัลในขณะที่ซอฟต์แวร์จริงจะมีความสมบูรณ์มากกว่านี้เนื่องจาก กสท.จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้ไปหารือและทำการแก้ไขระบบ ก่อนที่จะเปิดประมูลจริง ”พ.อ.ดร.นที กล่าว

http://www.dailynews.co.th/technology/216028


_______________________________________


กสทช. จัดรอบทดลองทดสอบโปรแกรมประมูลดิจิตอลทีวี

พ.อ. ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองประธาน กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ประธาน กสท.) กล่าวว่า การทดลองทดสอบประมูลคลื่นความถี่ (Pre-Mock Auction) เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลรอบก่อนจะจัดให้มีการจำลองประมูลสำหรับสื่อมวลชนที่จัดขึ้นในวันนี้ (1 กรกฎาคม 2556) เป็นการจัดขึ้น

เพื่อทดสอบและทดลองใช้งานตาม (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลฯ เพื่อนำข้อมูล ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ไปพัฒนาโปรแกรมจำลองการประมูล โดยโปรแกรม และฮาร์ดแวร์ ที่ใช้ในการ Pre-Mock Auction ครั้งนี้เป็นโปรแกรมที่สำนักงาน กสทช. จัดทำขึ้นโดยเฉพาะไม่ใช่โปรแกรมที่จะใช้ในการประมูลจริง รวมถึงได้กำหนดราคาเริ่มต้นสำหรับการประมูล ราคาในการเสนอราคาเพิ่ม (เคาะครั้งละ) และจำนวนใบอนุญาตที่จะนำมาประมูลสำหรับใช้ในครั้งนี้โดยเฉพาะด้วย

พ.อ. ดร. นที ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ขั้นตอนการดำเนินการในวันนี้จะทำแบบจำลองลักษณะสถานการณ์จริง เริ่มจากสื่อมวลชนที่เข้าร่วมการทดลองทดสอบฯ จะแบ่งกลุ่มออกเป็น 15 กลุ่ม จากนั้นแต่ละกลุ่มก็จะส่งตัวแทนแต่ละบริษัทจะได้รับแบบจำลองธุรกิจพร้อมวงเงินสำหรับประมูลให้ด้วย โดยในรอบนี้จะกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลไว้ที่ 1,510 ล้านบาท กำหนดราคาขั้นต่ำไว้ที่ 1,510 ล้านบาท กำหนดการเสนอราคาเพิ่มครั้งละ 10 ล้านบาท ทั้งนี้ มีจำนวนใบอนุญาตสำหรับการประมูลครั้งนี้ 7 ใบอนุญาต

เริ่มต้นการประมูลสื่อมวลชนจะทำการล็อคอินเข้าสู่ระบบด้วย User และPassword ที่ได้รับ ก็จะเข้ามาสู่หน้าจอการประมูล ซึ่งจะแสดงรายละเอียดข้อมูลการประมูลข้อมูลผู้เข้าร่วมประมูล เงื่อนไขการประมูลและปุ่มกดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประมูล เมื่อกรรมการให้เริ่มมีการประมูล สื่อมวลชนที่เข้าร่วมประมูลต้องกดเสนอราคาใน 5 นาทีแรก โดยราคาที่เสนอจะแสดงที่ราคาเริ่มต้นตามใบอนุญาตของแต่ละหมวดหมู่การให้บริการ จากนั้นสื่อมวลชนต้องกดยืนยันเพื่อยืนยันราคาที่ได้เสนอ ถ้าสื่อมวลชนผู้เข้าร่วมประมูลไม่เสนอราคาภายใน 5 นาทีแรก ผู้เข้าร่วมประมูลจะถูกตัดสิทธิการเป็นผู้เข้าร่วมประมูลทันที

ในการประมูลผู้เข้าร่วมการประมูลสามารถเสนอราคาได้ไม่จำกัดในระหว่างการประมูล โดยระบบจะแสดงสถานะของผู้ประมูลได้แก่ ลำดับผลสถานะ และการมีสิทธิเป็นผู้ชนะการประมูล ราคาที่เสนอปัจจุบัน และสถานะว่ายังมีสิทธิเป็นผู้ชนะ ราคาต่ำสุดของผู้มีสิทธิชนะการประมูล

รองประธาน กสทช. กล่าวว่า รูปแบบการประมูลในการทดลองทดสอบประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลรอบก่อนจะจัดให้มีการจำลองประมูล (PreMock Auction)จะใช้วิธีการประมูลแบบการแข่งขันเสนอราคาใบอนุญาตเพิ่มขึ้น หรือฟอร์เวิร์ด อ็อกชั่น เช่นเดี่ยวกับการประมูลจริง มีการกำหนดให้ใช้เวลา 60 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่เท่ากับการประมูลจริง โดยภายใน 60 นาที ผู้เข้าประมูลแต่ละรายจะเคาะราคาเข้ามากี่ครั้งก็ได้ โดยการเคาะแต่ละครั้งจะมีราคาเพิ่มขึ้นตามที่กำหนด ในครั้งนี้คือครั้งละ 5 ล้านบาท กรณีที่ครบ 60 นาทีแล้วยังมีผู้เสนอราคาเท่ากันเกินกว่าจำนวนช่องที่เปิดประมูล จะต่อเวลาเพิ่มอีกครั้งละ 5 นาที เมื่อสิ้นสุดการขยายเวลา และไม่มีการเสนอราคาเพิ่มขึ้น ระบบจะยุติการประมูลและให้ผู้เข้าร่วมการประมูลที่เสนอราคาเท่ากันจับฉลากหาผู้ชนะการประมูล เมื่อจบการประมูลผู้เสนอราคาสูงสุดไล่ลงมาตามจำนวนช่องที่เปิดประมูลจะเป็นผู้ชนะการประมูล สำหรับกรณีครบ 5 นาทีแรก แล้วพบว่ามีจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาตที่มี ระบบจะขึ้นข้อความเตือน และจะยุติการประมูลในครั้งนี้

หลังจากวันนี้ สำนักงาน กสทช. จะนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่ได้จากการทดลองทดสอบประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลรอบก่อนจะจัดให้มีการจำลองประมูล (Pre-Mock Auction) ในวันนี้ไปปรับปรุงพัฒนาต่อไป

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=189315:2013-07-01-08-56-48&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524


________________________________________________


กสทช.ทดลองทดสอบประมูลทีวีดิจิตอล


วันที่ 1 ก.ค. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ทดลองทดสอบประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล โดยให้ผู้ประกอบการและสื่อมวลชนเข้าทดสอบการประมูล ตาม(ร่าง)ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูล เพื่อนำข้อมูล ความเห็น และข้อเสนอแนะ ไปพัฒนาโปรแกรมจำลองการประมูล

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. กล่าวถึงวิธีการประมูลว่า ผู้ประมูลสามารถเสนอราคาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ภายในเวลา 60 นาที หากครบเวลาและมีผู้ชนะมากกว่าใบอนุญาต ระบบจะขยายเวลาการประมูลอัตโนมัติอีกครั้งละ 5 นาที เมื่อสิ้นสุดการขยายเวลาและไม่มีการเสนอราคาเพิ่มขึ้น ระบบจะยุติการประมูลและให้ผู้เข้าร่วมประมูลที่เสนอราคาเท่ากัน จับสลากหาผู้ชนะการประมูล เมื่อจบการประมูลผู้เสนอราคาสูงสุดไล่ลงมาตามจำนวนช่องที่เปิดประมูล จะเป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งหลังจากนี้ กสทช. จะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงก่อนถึงวันประมูลจริง

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1372679847

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.