Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

1 กรกฎาคม 2556 นักวิชาการ NIDA ชี้ กสทช.เปิดทาง1800MHzเอื้อเอกชน++ กำลังละเมิดเจตนารมย์ของกฎหมายเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานสู่ระบบใบอนุญาต



ประเด็นหลัก


นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในฐานะนักวิจัยประจำโครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBCT Policy Watch)ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) เปิดเผยรายงานผลการศึกษาเรื่อง “ขยายระยะเวลาคืนคลื่น 1800 MHz:เพื่อผู้บริโภคหรือเพื่อใคร?” กรณีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์  และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ..... (ประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ) โดยให้ต่ออายุสัญญาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บนคลื่นความถี่ 1800 MHz แก่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด (ดีพีซี) ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมที่มีกำหนดสิ้นสุดในเดือนกันยายนนี้ ไม่สามารถทำได้ หากพิจารณาในทางกฎหมาย เพราะถือเป็นการละเมิดเจตนารมย์ของกฎหมายที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานสู่ระบบใบอนุญาต เพื่อความโปร่งใส

______________________________________





นักวิชาการอัด กสทช.ขยายสัมปทาน1800MHzเอื้อเอกชน




นักวิชาการ ชี้มติ กสทช.ขยายอายุสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ให้ ทรูมูฟ-ดีพีซี   ละเมิดเจตนารมย์ของกฎหมาย  จี้ตอบคำถามสังคม ขยายสัมปทานเพื่อผู้บริโภคหรือเอกชน...

นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในฐานะนักวิจัยประจำโครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBCT Policy Watch)ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) เปิดเผยรายงานผลการศึกษาเรื่อง “ขยายระยะเวลาคืนคลื่น 1800 MHz:เพื่อผู้บริโภคหรือเพื่อใคร?” กรณีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์  และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ..... (ประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ) โดยให้ต่ออายุสัญญาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บนคลื่นความถี่ 1800 MHz แก่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด (ดีพีซี) ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมที่มีกำหนดสิ้นสุดในเดือนกันยายนนี้ ไม่สามารถทำได้ หากพิจารณาในทางกฎหมาย เพราะถือเป็นการละเมิดเจตนารมย์ของกฎหมายที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานสู่ระบบใบอนุญาต เพื่อความโปร่งใส

นายวรพจน์ ตั้งข้อสังเกตุว่า กสทช.โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) รู้ล่วงหน้าว่าอายุสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายนปีนี้ ในขณะที่ กทค. รับตำแหน่งปี 54 มีเวลาเตรียมตัวตั้งคณะทำงานฯ แต่เหตุใดจึงไม่ดำเนินการ หรืออย่างน้อยก็ตั้งแต่แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาในต้นเดือนเมษายน 2555 ขณะเดียวกันยังเสนอทางเลือกอื่ๆ เพิ่มเติม เช่น ตั้งคณะทำงานฯ เตรียมความพร้อม ควบคู่ไปกับการแจ้งข่าวสารให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูล  ขยายขีดความสามารถในการให้บริการคงสิทธิเลขหมาย (mobile number portability) รวมทั้งจัดให้มีการประมูลก่อนสิ้นสุดอายุสัญญา 6 เดือน ปัญหาซิมดับก็จะไม่เกิดขึ้น และไม่ต้องขยายสัมปทาน ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ทรูมูฟ และดีพีซี มากกว่าผู้บริโภค

นอกจากนี้ยังเสนอให้นำคลื่น 1800 MHz ในช่วงคลื่นที่ยังว่างอยู่มาใช้รองรับลูกค้าคงค้างเป็นการชั่วคราว ทำให้สังคมมีข้อกังขาว่า กสทช.เยียวผู้บริโภคไม่ให้เกิดเหตุซิมดับ หรือขยายอายุสัญญาสัมปทาน เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อทรูมูฟและดีพีซี ที่ได้ประโยชน์จากการที่ไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทาน 30% ให้ กสท และอาจไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างๆ เกือบ 6% ให้ กสทช.เพราะไม่ใช่การให้บริการในรูปแบบการออกใบอนุญาต ดังนั้น  กทค. ต้องตอบคำถามกับสังคมให้ได้ว่า มาตรการดังกล่าวเป็นการเยียวยาผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการ.


โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/eco/354325

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.