Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กรกฎาคม 2556 กันยายน2556 นี้รู้ผล!!(ช่วงก่อนหมดสป.) ICT นำเรื่องยึดคลื่น 1800 900 470 2300 ให้ครม.เห็นชอบในการปรับปรุงใช้ต่ออีก 13ปี ++ กสทช.ต้องหยุดการประมูล++(ตามแผนแม่บทที่ กสทช. ทำขึ้นสูตร 5-10-15)


ประเด็นหลัก


             น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวถึงความคืบหน้าในการเสนอครม. เพื่อให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)ใช้สิทธิการถือครองคลื่นความถี่ต่อไป หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน อาทิ คลื่นความถี่ย่าน 1800  เมกะเฮิรตซ์ (MHz)  ,2. 3 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)  900 MHz และ 470 MHz ว่า ล่าสุด คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอครม.มีความเห็นให้ กระทรวงไอซีทีนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ต่อไปเพื่อให้พิจารณาความเห็นชอบในการดำเนินการ

              ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) มีความเห็นขัดแย้งว่า หลังจากสัมปทานสิ้นสุดลงต้องส่งให้ กสทช.ไปจัดสรรใหม่เท่านั้น

                 รมว.ไอซีที กล่าวว่า ส่วนการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศระยะ พ.ศ.2557-2561 (ฉบับ 3) ล่าสุดอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะจากนั้นผ่านการกลั่นกรองจาก คณะกรรมการกำกับการจัดทำร่างแผนแม่บทฯ ของกระทรวงไอซีที ก่อนขอความเห็นชอบจากครม. แล้วจึงจัดทำแผนแม่บทไอซีทีฉบับที่3 ฉบับสมบูรณ์ โดยเบื้องต้นคาดว่าจะดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนกันยายน2556 นี้  โดยแผนแม่บทไอซีทีฉบับที่ 3  มีเป้าหมายคือการเพิ่มสัดส่วน ไอซีที ต่อ จีดีพี สูงขึ้นโดยเฉพาะจาก ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ,ดันอันดับประเทศไทยสูงขึ้นในสถาบันการจัดอันดับ ไอซีที e-Government ระดับสากลฯลฯ







  นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที เปิดเผยถึงกรณีสัมปทานคลื่นความถี่หมดสัมปทานว่า เรื่องดังกล่าวมีวิธีที่สามารถบริหารจัดการได้ 2 กรณี คือ 1.คืนคลื่นไปที่ กสทช.เพื่อนำไปประมูลใหม่ และ 2.ให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม หรือ บมจ.ทีโอที เป็นผู้ที่ได้รับสัมปทาน จะขอทาง กสทช.ในเรื่องของการปรับปรุงการใช้คลื่น ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเรื่องเพื่อให้กระทรวงไอซีทีพิจารณาแล้ว และทางไอซีทีได้ทำเป็นหนังสือเพื่อนำเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรี หลังจากนั้น เลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะส่งเรื่องเข้าคณะกลั่นกรองตามมติของคณะรัฐมนตรีต่อไป
    ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของคณะกลั่นกรองไปเมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้มีความเห็นที่จะนำข้อมูลเข้าสู่การรับทราบของคณะรัฐมนตรี โดยหลังจากบรรจุเข้าวาระก็จะทราบผลในเร็วๆ นี้ คาดว่าสิ้นเดือนนี้น่าจะทราบผล ทั้งนี้ แผนดังกล่าวเป็นแผนการบริหารทรัพย์สินหลังหมดสัมปทาน รวมไปถึงเรื่องการขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ มีทั้งคลื่น 1800 และ 2300 MHz








______________________________________











กรุงเทพธุรกิจ 13 กรกฎาคม 2556

______________________________________________________

ไทยรัฐ 13 กรกฎาคม 2556
______________________________________



ไอซีทีดันพรบ.คอมพ์ฯฉบับใหม่



“อนุดิษฐ์” ให้เหตุผลต้องยกร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ใหม่เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนไปมาก โดยฉบับใหม่ให้ “เจ้าของโครงข่ายอินเตอร์เนต”ระงับการใช้งานได้ทันที กรณีพบการกระทำผิด เผย คณะกลั่นกรองฯ ไฟเขียวให้ ไอซีที เสนอครม.ตัดสินสิทธิการถือครองคลื่น  ลุ้นให้ “กสท-ทีโอที” ถือครองต่อไม่ต้องส่งคืน กสทช.หลังสิ้นสุดอายุสัญญาสัมปทาน

                 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร(ไอซีที) เปิดเผยว่า ร่างพระราชบัญญัติ( พ.ร.บ.)ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์) ฉบับปรับปรุงใหม่ ที่ผ่านมาได้ผ่านกระบวนการทำประชาพิจารณ์ เสร็จสิ้นลงเมื่อกลางเดือนเมษายน2556 ที่ผ่านมา โดยขณะนี้ทาง กระทรวงฯอยู่ในระหว่างการทำการรวบรวมข้อมูลความเห็นที่ภาคส่วนต่างๆนำมาปรับแก้ในบางประเด็น คาดจะสามารถสรุปตัวร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จะนำเสนอ คณะรัฐมนตรี(ค.ร.ม.) พิจารณาภายใน 2 เดือนนี้ ส่วนการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ตามปกติแล้วจะใช้เวลาภายหลัง ครม. อนุมัติใน 6 เดือน – 2 ปี

               โดยเนื้อหาโดยหลักของร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯฉบับใหม่ ที่มีการปรับแก้มี 2 เรื่องด้วยกัน คือ1.ในเรื่องของพื้นฐานด้านเทคโนโลยี เนื่องจาก พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่ใช้ในปัจจุบัน  ได้อ้างอิงพื้นฐานของเทคโนโลยีใน 2540 เป็นต้นมาเป็นหลัก แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยียุคใหม่ เช่น เทคโนโลยีคลาวด์, สังคมออนไลน์(โซเชี่ยล เนตเวิร์ค)รวม ไปจนถึงเทคโนโลยีแอลทีอี หรือ 4Gที่จะมีขึ้นในอนาคต

               2.ในเรื่องของกฎหมายข้อบังคับ โดยจะเพิ่มในส่วนของที่มีการกำกับดูแลกันเอง เช่น ผู้ที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตกระทำความผิดทางกฎหมาย ผู้ที่เป็น “เจ้าของโครงข่ายอินเตอร์เนต”จะมีอำนาจโดยตรงในการระงับการใช้งานได้ทันที ทั้งนี้การปรับปรุงเนื้อหาใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯให้มีเนื้อหาทันกับยุคสมัยจะมีระยะเวลาราว 6 ปี

            “ตัวกฎหมายของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ส่วนใหญ่จะยังยึดตามกฎหมายเดิม แต่ได้เพิ่มส่วนของสิทธิเสรีภาพเข้าไป ส่วนตัวบทลงโทษก็ยังคงเป็นเหมือนเดิมตามประมวลกฎหมายอาญา ไม่มากและไม่น้อยไปกว่าเดิม”

             น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวถึงความคืบหน้าในการเสนอครม. เพื่อให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)ใช้สิทธิการถือครองคลื่นความถี่ต่อไป หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน อาทิ คลื่นความถี่ย่าน 1800  เมกะเฮิรตซ์ (MHz)  ,2. 3 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)  900 MHz และ 470 MHz ว่า ล่าสุด คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอครม.มีความเห็นให้ กระทรวงไอซีทีนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ต่อไปเพื่อให้พิจารณาความเห็นชอบในการดำเนินการ

              ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) มีความเห็นขัดแย้งว่า หลังจากสัมปทานสิ้นสุดลงต้องส่งให้ กสทช.ไปจัดสรรใหม่เท่านั้น

                 รมว.ไอซีที กล่าวว่า ส่วนการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศระยะ พ.ศ.2557-2561 (ฉบับ 3) ล่าสุดอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะจากนั้นผ่านการกลั่นกรองจาก คณะกรรมการกำกับการจัดทำร่างแผนแม่บทฯ ของกระทรวงไอซีที ก่อนขอความเห็นชอบจากครม. แล้วจึงจัดทำแผนแม่บทไอซีทีฉบับที่3 ฉบับสมบูรณ์ โดยเบื้องต้นคาดว่าจะดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนกันยายน2556 นี้  โดยแผนแม่บทไอซีทีฉบับที่ 3  มีเป้าหมายคือการเพิ่มสัดส่วน ไอซีที ต่อ จีดีพี สูงขึ้นโดยเฉพาะจาก ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ,ดันอันดับประเทศไทยสูงขึ้นในสถาบันการจัดอันดับ ไอซีที e-Government ระดับสากลฯลฯ

 http://www.naewna.com/business/59654

________________________________________
'ไอซีที'ชงครม.ตีตรา แผนจัดการคลื่น1800

เศรษฐกิจ 13 July 2556 - 00:00

  ไอซีทีเผยยื่นแผนการจัดการบริหารคลื่นความถี่หลังหมดสัมปทาน เตรียมเสนอวาระเข้า ครม. คาดไม่เกินสิ้นเดือนรู้ผล "สุภิญญา" จับตาเงื่อนไขใบอนุญาตทีวีสาธารณะประเภท 3
    นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที เปิดเผยถึงกรณีสัมปทานคลื่นความถี่หมดสัมปทานว่า เรื่องดังกล่าวมีวิธีที่สามารถบริหารจัดการได้ 2 กรณี คือ 1.คืนคลื่นไปที่ กสทช.เพื่อนำไปประมูลใหม่ และ 2.ให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม หรือ บมจ.ทีโอที เป็นผู้ที่ได้รับสัมปทาน จะขอทาง กสทช.ในเรื่องของการปรับปรุงการใช้คลื่น ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเรื่องเพื่อให้กระทรวงไอซีทีพิจารณาแล้ว และทางไอซีทีได้ทำเป็นหนังสือเพื่อนำเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรี หลังจากนั้น เลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะส่งเรื่องเข้าคณะกลั่นกรองตามมติของคณะรัฐมนตรีต่อไป
    ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของคณะกลั่นกรองไปเมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้มีความเห็นที่จะนำข้อมูลเข้าสู่การรับทราบของคณะรัฐมนตรี โดยหลังจากบรรจุเข้าวาระก็จะทราบผลในเร็วๆ นี้ คาดว่าสิ้นเดือนนี้น่าจะทราบผล ทั้งนี้ แผนดังกล่าวเป็นแผนการบริหารทรัพย์สินหลังหมดสัมปทาน รวมไปถึงเรื่องการขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ มีทั้งคลื่น 1800 และ 2300 MHz
    สำหรับการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด ซึ่งทางไอซีทีเองให้ความสำคัญในการแสดงความเห็นสาธารณะทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย และจะนำข้อคิดเห็นมาประยุกต์ใน พ.ร.บ.ตัวใหม่นี้ โดยจะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ภายใน 2 เดือน หรือประมาณเดือน ก.ย.นี้
    อย่างไรก็ตาม สาระสำคัญที่มีการเสนอแนะจำนวนมากมี 2 ประเด็น คือ 1.ปรับ พ.ร.บ.ให้เข้ากับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ปรับให้ทันสมัยมากขึ้น 2.สามารถตรวจตรากันเองได้ ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของพื้นที่นั้นๆ สามารถกำกับดูแลกันเองได้ แต่ทั้งนี้กระบวนการในการดำเนินการจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน-2 ปี
    ด้านนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. กล่าวหลังการจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะต่อร่างหนังสือเชิญเข้าร่วมขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล บริการสาธารณะ ประเภท 3 ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน ว่าเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าการพิจารณาให้ใบอนุญาตทีวีสาธารณะไม่มีการออกประกาศหลักเกณฑ์คัดเลือก หรือเกณฑ์บิวตี้คอนเทสต์ ซึ่งที่ผ่านมาตนได้สงวนความคิดเห็นไว้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องไว้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปอยากให้สังคมช่วยจับตาเงื่อนไขการออกใบอนุญาต ทั้งในเรื่องของการพิจารณาออกใบอนุญาตรายช่อง
    ยกตัวอย่างกรณีใบอนุญาตประเภทที่ 3 ที่คาดว่ามีแนวโน้มในการจัดสรรช่องนี้ให้กับรัฐสภา และถือเป็นโมเดลทีวีสาธารณะช่องแรกๆ ของการออกอากาศในระบบดิจิตอล ตนเห็นว่าควรเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่าย ทุกพรรคการเมือง รวมถึงวุฒิสภาด้วย และกลุ่มอื่นๆ ในสังคมที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสเข้าไปใช้สถานีนี้ด้วย เพราะเชื่อว่าช่องนี้จะส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนด้วยที่จะสามารถรับข้อมูลข่าวสารทุกฝ่ายรอบด้านอย่างเป็นกลางและตอบสนองผลประโยชน์สาธารณะ.


http://www.thaipost.net/news/130713/76328

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.