Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 กรกฎาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.สุภิญญา ขอสงวนความเห็น ปรับ ลดสัดส่วนข่าว-สาระช่องข่าวเหลือ50% ชี้คนไทยเสียโอกาสในการรับชมและยังไม่เห็นรายงานการประเมินมูลค่าคลื่นฉบับเต็ม


ประเด็นหลัก


กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ส่วนตัวแม้จะสนับสนุนแนวความคิดและหลักการหลายเรื่องของร่างฯประมูลฉบับนี้ แต่ไม่สามารถรับหลักการบางเรื่องได้จึงจำเป็นต้องสงวนความเห็นต่อที่มติที่ประชุม เนื่องเพราะก่อนที่บอร์ดกสท. จะพิจารณาร่างฯ นี้ได้ จำเป็นที่จะต้องเห็นรายงานการประเมินมูลค่าคลื่นฉบับเต็มจากทีมวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบการพิจารณา ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการรายงานให้กรรมการรับทราบ มีเพียงการนำเสนอร่างรายงานเบื้องต้นในที่ประชุมเพียงครั้งเดียว

ทั้งนี้ การตัดสินใจครั้งสำคัญเช่นนี้ ส่วนตัวและกรรมการทุกท่านควรที่จะได้ศึกษารายงานฯ วิธีคิด การวิเคราะห์ในการประเมินมูลค่าคลื่นจากรายงานฉบับเต็ม และที่สำคัญทางสำนักงานได้เสนอแก้เงื่อนไขการประมูลช่องข่าว โดยปรับลดสัดส่วนเนื้อหารายการ จากเดิมที่กำหนดให้มีข่าวสารและสาระไม่น้อยกว่า 75% ให้เหลือ 50%  ซึ่งอาจตั้งคำถามได้ว่ามีนัยสำคัญอย่างไรหรือไม่ ต่อราคาตั้งต้นของราคาประมูล แม้ที่ประชุมได้ยืนยันว่ากรณีนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ตนเองยังเห็นว่าควรต้องได้รับการยืนยันจากรายงานของทีมวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ก่อน ว่าการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเนื้อหาช่องรายการในโค้งสุดท้ายนี้ไม่ได้มีผลกระทบแต่อย่างใด เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับทุกภาคส่วนว่า เรื่องนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยรอบคอบ ถูกต้อง ชัดเจน





______________________________________




สุภิญญา' สงวนความเห็นกรณีปรับสัดส่วนข่าวเหลือ 50%


“สุภิญญา” สงวนความเห็นการปรับลดสัดส่วนข่าวช่องข่าวทีวีดิจิตอลจาก 75% ให้เหลือ 50% เผยยังไม่เห็นรายงานมูลค่าคลื่นฉบับเต็ม...

เมื่อวันที่ 15 ก.ค. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า วันนี้คณะกรรมการ (บอร์ด) กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เสียงข้างมากมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ... หรือ ร่างฯ ประมูลทีวีดิจิตอล ซึ่งจากนี้ไปสำนักงาน กสทช. จะนำร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว เสนอต่อที่ประชุมใหญ่ กสทช. วันที่ 17 ก.ค.นี้ เพื่อให้มีมติเห็นชอบและมีผลบังคับใช้ต่อไป

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ส่วนตัวแม้จะสนับสนุนแนวความคิดและหลักการหลายเรื่องของร่างฯประมูลฉบับนี้ แต่ไม่สามารถรับหลักการบางเรื่องได้จึงจำเป็นต้องสงวนความเห็นต่อที่มติที่ประชุม เนื่องเพราะก่อนที่บอร์ดกสท. จะพิจารณาร่างฯ นี้ได้ จำเป็นที่จะต้องเห็นรายงานการประเมินมูลค่าคลื่นฉบับเต็มจากทีมวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบการพิจารณา ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการรายงานให้กรรมการรับทราบ มีเพียงการนำเสนอร่างรายงานเบื้องต้นในที่ประชุมเพียงครั้งเดียว

ทั้งนี้ การตัดสินใจครั้งสำคัญเช่นนี้ ส่วนตัวและกรรมการทุกท่านควรที่จะได้ศึกษารายงานฯ วิธีคิด การวิเคราะห์ในการประเมินมูลค่าคลื่นจากรายงานฉบับเต็ม และที่สำคัญทางสำนักงานได้เสนอแก้เงื่อนไขการประมูลช่องข่าว โดยปรับลดสัดส่วนเนื้อหารายการ จากเดิมที่กำหนดให้มีข่าวสารและสาระไม่น้อยกว่า 75% ให้เหลือ 50%  ซึ่งอาจตั้งคำถามได้ว่ามีนัยสำคัญอย่างไรหรือไม่ ต่อราคาตั้งต้นของราคาประมูล แม้ที่ประชุมได้ยืนยันว่ากรณีนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ตนเองยังเห็นว่าควรต้องได้รับการยืนยันจากรายงานของทีมวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ก่อน ว่าการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเนื้อหาช่องรายการในโค้งสุดท้ายนี้ไม่ได้มีผลกระทบแต่อย่างใด เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับทุกภาคส่วนว่า เรื่องนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยรอบคอบ ถูกต้อง ชัดเจน

นางสาวสุภิญญา กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ยังมีประเด็นอื่นที่ได้เคยสงวนไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่ได้มีการปรับแก้ในร่างฯนี้ ได้แก่ การจำกัดเพดานช่องการประมูล การเปิดให้ใช้หนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 เพราะการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้เข้าประมูลต้องวางหลักประกันเฉพาะที่เป็นเงินสด หรือเช็คที่ธนาคารสั่งจ่ายนั้นอาจเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายย่อย รวมทั้งกรณีที่เปิดให้ผู้ชนะการประมูลที่มีมูลค่ารวมสูงสุดมีสิทธิเลือกใช้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ หรือ Multiplexer เป็นรายแรกตามลำดับ และที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายรายแสดงความไม่เห็นด้วย โดยเห็นว่าควรให้สิทธิแก่กลุ่มผู้ที่ชนะประมูลด้วยราคาสูงสุดในแต่ละประเภท (เด็ก ข่าว วาไรตี้-SD วาไรตี้-HD) ก่อน



โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/357315


_________________________________________________


สุภิญญา สงวนความเห็นการปรับลดสัดส่วนช่องข่าวทีวีดิจิตอล
เผย! ยังไม่เห็นรายงานมูลค่าคลื่นฉบับเต็ม

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า วันนี้(จันทร์15 ก.ค.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) เสียงข้างมากมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ... หรือ ร่างฯ ประมูลทีวีดิจิตอล ซึ่งจากนี้ไปสำนักงาน กสทช. จะนำร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว เสนอต่อที่ประชุมใหญ่ กสทช. วันพุธที่ 17 ก.ค.นี้ เพื่อให้มีมติเห็นชอบและมีผลบังคับใช้ต่อไป ส่วนตนเองแม้จะสนับสนุนแนวความคิดและหลักการหลายเรื่องของร่างฯประมูลฉบับนี้ แต่ไม่สามารถรับหลักการบางเรื่องได้จึงจำเป็นต้องสงวนความเห็นต่อที่มติที่ประชุม เนื่องเพราะก่อนที่บอร์ดกสท. จะพิจารณาร่างฯ นี้ได้ จำเป็นที่จะต้องเห็นรายงานการประเมินมูลค่าคลื่นฉบับเต็มจากทีมวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบการพิจารณา ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการรายงานให้กรรมการรับทราบ มีเพียงการนำเสนอร่างรายงานเบื้องต้นในที่ประชุมเพียงครั้งเดียว     ซึ่งการตัดสินใจครั้งสำคัญเช่นนี้ ตนและกรรมการทุกท่านควรที่จะได้ศึกษารายงานฯ วิธีคิด การวิเคราะห์ในการประเมินมูลค่าคลื่นจากรายงานฉบับเต็ม และที่สำคัญทางสำนักงานได้เสนอแก้เงื่อนไขการประมูลช่องข่าว โดยปรับลดสัดส่วนเนื้อหารายการ จากเดิมที่กำหนดให้มีข่าวสารและสาระไม่น้อยกว่า 75%   ให้เหลือ 50%  ซึ่งอาจตั้งคำถามได้ว่ามีนัยสำคัญอย่างไรหรือไม่ต่อราคาตั้งต้นของราคาประมูล แม้ที่ประชุมได้ยืนยันว่ากรณีนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ตนเองยังเห็นว่าควรต้องได้รับการยืนยันจากรายงานของทีมวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ก่อน ว่าการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเนื้อหาช่องรายการในโค้งสุดท้ายนี้ไม่ได้มีผลกระทบแต่อย่างใด เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับทุกภาคส่วนว่า เรื่องนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยรอบคอบ ถูกต้อง ชัดเจน นอกจากนั้น ยังมีประเด็นอื่นที่ตนได้เคยสงวนไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่ได้มีการปรับแก้ในร่างฯนี้ ได้แก่ การจำกัดเพดานช่องการประมูล การเปิดให้ใช้หนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 เพราะการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้เข้าประมูลต้องวางหลักประกันเฉพาะที่เป็นเงินสดหรือเช็คที่ธนาคารสั่งจ่ายนั้นอาจเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายย่อย
รวมทั้งในกรณีที่เปิดให้ผู้ชนะการประมูลที่มีมูลค่ารวมสูงสุดมีสิทธิเลือกใช้บริการโครงข่ายโทรทัศน์หรือ Multiplexer เป็นรายแรกตามลำดับ และที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายรายแสดงความไม่เห็นด้วย     ซึ่งตนเห็นว่าควรให้สิทธิแก่กลุ่มผู้ที่ชนะประมูลด้วยราคาสูงสุดในแต่ละประเภท (เด็ก ข่าว วาไรตี้-SD วาไรตี้-HD) ก่อน.

จดหมาสข่าวที่ส่งถึงผม NBTC Rights

____________________________________________


แนวหน้า 15 กรกฎาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.