Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 กรกฎาคม 2556 ICTคุย กสทช.(เตรียมยัดใส้มติ ครม.เปิดทาง CAT ยึดคลื่น1800 MHz ต่อไปจนถึงปี 2568) // อนุดิษฐ์ปล่อยคำคมผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นหลัก มากกว่าCAT


ประเด็นหลัก

เมื่อวันที่ 16 ก.ค. น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยภายหลังการหารือกับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า การหารือครั้งนี้ เพื่อแสดงจุดยืนร่วมกันว่าหลังสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) สิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย.2556 นี้ และวันที่ 16 ก.ย.2556 เป็นต้นไป จะไม่เกิดปัญหาซิมดับ หรือสัญญาณโทรศัพท์ขัดข้องอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม การหารือระหว่างกระทรวงไอซีทีกับ กสทช. จะต้องมีความชัดเจนก่อนสัญญาจะสิ้นสุด โดยเฉพาะความชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบการให้บริการหลังจากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดตามร่างประกาศมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด ซึ่ง กสทช. กำหนดไว้ว่าจะให้บริการได้ไม่เกิน 1 ปี ระหว่าง กสท กับคู่สัญญาสัมปทานระหว่างทรูมูฟ และดีพีซี โดยแนวทางที่เป็นไปได้มากสุด คือ กสท เป็นผู้ให้บริการต่อเนื่อง ส่วน กสท จะให้รายใดดำเนินการต่อไปจนกว่าการเจรจาเรื่องคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิตรซ์ (MHz) จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าคืนให้ กสทช. หรือ กสท มีสิทธิ์ใช้ต่อไปจนสิ้นสุดใบอนุญาตในปี 2568

       ส่วน กสท จะดำเนินการอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่ในแผนที่ กสท วางไว้ในการบริหารคลื่น แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจาอย่างเป็นทางการของคณะทำงานอีกครั้งว่าจะได้ข้อสรุปอย่างไร ส่วนแผนการขอใช้สิทธิการถือครองคลื่นความถี่ 1800 MHz ต่อไปจนถึงปี 2568 และคลื่นความถี่อื่นๆ ของ กสท ที่เสนอต่อไอซีทีนั้นคงต้องดูข้อกฎหมาย ผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นหลักมากกว่าผลประโยชน์ของ กสท
   
       “การที่ กสท กำหนดแผนต่างๆ เข้ามาให้ไอซีทีนั้นก็เพื่อผลประโยชน์ของ กสท แต่ในฐานะผู้กำกับดูแลจะต้องยึดหลักของกฎหมาย ผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นหลัก มากกว่าผลประโยชน์ขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง”
   
       พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. กล่าวเสริมว่า การหารือครั้งนี้เป็นการหารืออย่างไม่เป็นทางการ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้นจึงต้องมีการหารือกันนอกรอบก่อนเพื่อยืนยันร่วมกันว่าต้องไม่เกิดปัญหาซิมดับ เพื่อมิให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากกรณีสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้
   
       “เรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะด้านกฎหมายที่ขณะนี้ตีความแตกต่างกัน แต่ก็จะยึดหลักข้อกฎหมายเป็นที่ตั้ง และเชื่อว่าจะได้ข้อสรุปร่วมกันอย่างแน่นอน”






“ขณะนี้ยังมีความคิดเห็นและตีความแตกต่างกันในประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลผู้ใช้บริการที่มีอยู่ตามสัญญาสัมปทานทรูมูฟ 17 ล้านราย และดีพีซี 70,000 รายนั้น แม้ กสทช. จะออกร่างประกาศเยียวยาลูกค้าก็ตาม ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเร่งหาทางออกในเรื่องดังกล่าว และเชื่อว่าจะมีทางออกอย่างแน่นอน ซึ่งมีความเป็นไปได้อาจต้อง กสท เป็นผู้ดำเนินการไปก่อนตามแผนเยียวยาของ กสทช. แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจาและมติ ครม. ด้วย” พล.อ.อ.ธเรศ กล่าว









______________________________________





“ไอซีที” เปรย กสท ต้องบริหารคลื่นต่อช่วงเยียวยา




       “ไอซีที” เปรย กสท ต้องบริหารคลื่นต่อตามประกาศเยียวยา กสทช. ส่วนแผนการใช้คลื่นต่อถึงปี 2568 ต้องยึดกฎหมาย-ประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก ย้ำเรื่องต้องจบก่อนหมดสัมปทาน คาดภายใน ก.ค.นี้จะหารือเป็นทางการอีกครั้ง “ธเรศ” ยึดหลักกฎหมายเป็นที่ตั้งในการเจรจา
     
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายหลังเข้าพบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อหารือเบื้องต้นในประเด็นคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่มีบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด เป็นเจ้าของสัญญาสัมปทาน โดยมีลูกค้าอยู่ในระบบรวม 17 ล้านเลขหมาย ซึ่งแบ่งเป็นคู่สัญญาสัมปทานคือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด มีลูกค้าราว 16 ล้านเลขหมาย และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส หรือเอไอเอส) มีลูกค้าอยู่ประมาณ 80,000 เลขหมาย โดยสัญญาสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้ ก่อนนำคณะทำงานเข้าหารืออีกครั้งอย่างเป็นทางการภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้วภายในเดือน ก.ค.นี้
     
       เบื้องต้นไอซีทีต้องการให้บริษัท กสท โทรคมนาคม บริหารคลื่นความถี่ต่อภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานตาม (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ..... (ร่างเยียวยา 1800 MHz) ซึ่งมีระยะเวลาเยียวยา 1 ปี
     
       ส่วน กสท จะดำเนินการอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่ในแผนที่ กสท วางไว้ในการบริหารคลื่น แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจาอย่างเป็นทางการของคณะทำงานอีกครั้งว่าจะได้ข้อสรุปอย่างไร ส่วนแผนการขอใช้สิทธิการถือครองคลื่นความถี่ 1800 MHz ต่อไปจนถึงปี 2568 และคลื่นความถี่อื่นๆ ของ กสท ที่เสนอต่อไอซีทีนั้นคงต้องดูข้อกฎหมาย ผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นหลักมากกว่าผลประโยชน์ของ กสท
     
       “การที่ กสท กำหนดแผนต่างๆ เข้ามาให้ไอซีทีนั้นก็เพื่อผลประโยชน์ของ กสท แต่ในฐานะผู้กำกับดูแลจะต้องยึดหลักของกฎหมาย ผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นหลัก มากกว่าผลประโยชน์ขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง”
     
       พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. กล่าวเสริมว่า การหารือครั้งนี้เป็นการหารืออย่างไม่เป็นทางการ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้นจึงต้องมีการหารือกันนอกรอบก่อนเพื่อยืนยันร่วมกันว่าต้องไม่เกิดปัญหาซิมดับ เพื่อมิให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากกรณีสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้
     
       “เรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะด้านกฎหมายที่ขณะนี้ตีความแตกต่างกัน แต่ก็จะยึดหลักข้อกฎหมายเป็นที่ตั้ง และเชื่อว่าจะได้ข้อสรุปร่วมกันอย่างแน่นอน”


http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000087381&Keyword=%a1%ca%b7%aa


__________________________________________________

'อนุดิษฐ์'ถก กสทช. หาทางออกสิ้นสุดคลื่น1800


"รมว.ไอซีที" พบ กสทช. หาทางออกหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 1800 เมกะเฮิรตซ์ 15 ก.ย.นี้ เห็นพ้องมาตรการเยียวยา กสทช. ยึดประโยชน์ประชาชนและประเทศเป็นหลัก...

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 56 ได้มาเข้าพบ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรรมการ กกสทช. และเลขาธิการ กสทช. เพื่อหารือในเรื่องมาตรการรองรับ และการดำเนินการต่อไปเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน กสทช.  ใน 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรก กรณีการสิ้นอายุสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ระหว่างคู่สัญญาสัมปทานบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่จะสิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้ ในเรื่องมาตรการการเยียวยาผู้บริโภคที่อยู่ในระบบ ความเหมาะสมในการเตรียมพร้อม ระเบียบข้อกฎหมายต่างๆ ประเด็นที่ 2 แนวทางดำเนินการ หรือมาตรการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ การขอคืนคลื่นความถี่ สิทธิในการบริหารจัดการคลื่น

“การหารือที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจในทิศทางตรงกัน ตามระเบียบข้อกฎหมายภายใต้ประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง รับทราบเจตนา เป้าหมายของทั้งสองฝ่าย ในเรื่องหลักการ โดยยังไม่มีการเสนอแนวทางใดๆ จากกระทรวงไอซีที แต่จะหารือกันในเรื่องของเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินการ เพื่อให้บริการลูกค้า ภายใต้สัญญาสัมปทานได้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องในภายหลังหมดอายุสัมปทาน ทั้งนี้ ทั้งกระทรวงไอซีทีและ กสทช. มีความเห็นตรงกัน ที่จะไม่มีการยุติการให้บริการ หรือสวิตช์ ออฟ อย่างเด็ดขาด รวมถึงแนวทางการให้บริการจะต้องดำเนินการต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าที่ยังอยู่ในระบบหลักสิบล้าน” รมว.ไอซีที กล่าว

น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวต่อว่า การหารือวันนี้ ได้พูดกันเรื่องบริหารจัดการ วิธีการการดำเนินการต่างๆ จะอยู่ภายใต้กฎหมายกำหนด ไม่สามารถทำอะไรที่ผิดไปจากกฎหมายได้ กฎหมายกำหนดอย่างไรก็ดำเนินการตามนั้น ใช้เส้นทางนี้เป็นตัวกำหนดการดำเนินการให้ดีที่สุด โดยมองประโยชน์ประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง ต้องมีความขัดเจนในเรื่องการให้บริการต่อเนื่องกับลูกค้าที่ใช้บริการระบบ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งอย่างน้อยที่สุด กสทช.ได้มีมาตรการดำเนินการเยียวยาไว้ ทั้งนี้ เป็นสิ่งที่ กสทช. สามารถดำเนินการได้เพื่อให้มีการบริการอย่างต่อเนื่อง ในระยะเวลา 12 เดือน สำหรับการหาทางออกภายใต้ของกฎหมาย

ทางด้าน พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวว่า กสทช. ยืนยันการดำเนินการทุกขั้นตอนดำเนินการตามข้อกฎหมาย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องมีการหารือทำความเข้าใจ เพราะมีประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่หลายเรื่อง แต่สำคัญที่สุดต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ส่วนบางเรื่องต้องใช้เวลาก็มีระยะเวลามาตรการเยียวยาที่มีข้อกำหนดไว้ไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ ปัญหาทุกสิ่งย่อมมีทางออกเสมอ และการหารือระหว่าง 2 องค์กรในครั้งนี้ มีความเห็นพ้องกัน 100% จึงมั่นใจว่าจะมีทางออกทัน ช่วงเวลาก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแรกนี้ได้.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/357691

_____________________________________________



'ไอซีที-กสทช.' นั่งยันไร้ปัญหาซิมดับ หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน


“ไอซีที-กสทช.” ยันไร้ปัญหาซิมดับ เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 15,16 กันยายนนี้ โดยจะต้องมีผู้รับผิดชอบชัดเจน ...

เมื่อวันที่ 16 ก.ค. น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยภายหลังการหารือกับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า การหารือครั้งนี้ เพื่อแสดงจุดยืนร่วมกันว่าหลังสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) สิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย.2556 นี้ และวันที่ 16 ก.ย.2556 เป็นต้นไป จะไม่เกิดปัญหาซิมดับ หรือสัญญาณโทรศัพท์ขัดข้องอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม การหารือระหว่างกระทรวงไอซีทีกับ กสทช. จะต้องมีความชัดเจนก่อนสัญญาจะสิ้นสุด โดยเฉพาะความชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบการให้บริการหลังจากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดตามร่างประกาศมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด ซึ่ง กสทช. กำหนดไว้ว่าจะให้บริการได้ไม่เกิน 1 ปี ระหว่าง กสท กับคู่สัญญาสัมปทานระหว่างทรูมูฟ และดีพีซี โดยแนวทางที่เป็นไปได้มากสุด คือ กสท เป็นผู้ให้บริการต่อเนื่อง ส่วน กสท จะให้รายใดดำเนินการต่อไปจนกว่าการเจรจาเรื่องคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิตรซ์ (MHz) จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าคืนให้ กสทช. หรือ กสท มีสิทธิ์ใช้ต่อไปจนสิ้นสุดใบอนุญาตในปี 2568

“ขณะนี้ยังมีความคิดเห็นและตีความแตกต่างกันในประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลผู้ใช้บริการที่มีอยู่ตามสัญญาสัมปทานทรูมูฟ 17 ล้านราย และดีพีซี 70,000 รายนั้น แม้ กสทช. จะออกร่างประกาศเยียวยาลูกค้าก็ตาม ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเร่งหาทางออกในเรื่องดังกล่าว และเชื่อว่าจะมีทางออกอย่างแน่นอน ซึ่งมีความเป็นไปได้อาจต้อง กสท เป็นผู้ดำเนินการไปก่อนตามแผนเยียวยาของ กสทช. แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจาและมติ ครม. ด้วย” พล.อ.อ.ธเรศ กล่าว

พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวว่า การหารือครั้งนี้เป็นการหารืออย่างไม่เป็นทางการ เนื่องจากการหารือเบื้องต้นและแสดงจุดยืนร่วมกันว่าต้องไม่เกิดปัญหาซิมดับ เพื่อมิให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน จากกรณีสัญญาสัมปทานสิ้นสุด

“ยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบครบทุกมติ โดยเฉพาะด้านกฎหมายที่ขณะนี้ตีความแตกต่างกัน ซึ่งต้องทำให้ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันก่อน และหลังจากนี้เชื่อว่าปัญหาจะมีทางออกอย่างแน่นอน” พล.อ.อ.ธเรศ กล่าว

โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
http://m.thairath.co.th/content/tech/357569

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.