Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กรกฎาคม 2556 สารี โชว์หลักฐาน(ผู้นำทางกฏหมายทั้ง5รายชื่อดัง)!! 19 เมษายน 2556 ชัดคลื่น1800 ไม่มีข้อใดที่อนุญาตให้สามารถขยายเวลาให้บริการต่อได้ แผนแม่บทที่ชัดกำหนดให้คืนคลื่นเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน


ประเด็นหลัก

  อนึ่งเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2556 มีการประชุมประเด็นข้อกฎหมายกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่  1800 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด โดยมีรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 5 คน ประกอบไปด้วย 1. ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2. ศ.เข็มชัย ชุติวงศ์ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด , 3.ศ.พิเศษ ไชยวัฒน์ บุนนาค บริษัทที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด 4. นายเธียรชัย ณ นคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ 5.  นายปกรณ์ นิลประพันธ์  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผลการประชุมในวันนั้นมีการสรุปไปในทิศทางเดียวกันว่า  ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่มีข้อใดที่อนุญาตให้สามารถขยายเวลาให้บริการต่อได้เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุด เนื่องจาก พ.ร.บ. องค์กรฯ พ.ศ. 2553  กำหนดระยะเวลาคืนคลื่นความถี่ที่ชัดเจนอยู่แล้วตามแผนแม่บทที่กำหนดให้คืนคลื่นเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน


______________________________________





'สารี'ขวางเอื้อทรูมูฟ-ดีพีซี




 องค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคเดินหน้ายื่นหนังสือถึง กสทช. คัดค้านออกร่างประกาศมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์  "สารี" ชี้เป็นการยื่นอายุสัญญาสัมปทานให้กับ "ทรูมูฟ และ ดีพีซี" เอื้อเอกชนส่อเค้าผิดกฎหมาย เสนอ กทค.ให้ กสท.เป็นผู้รับผิดชอบให้บริการต่อเนื่องป้องกันการแก้ปัญหาซิมดับ  ขณะที่ผลการประชุมเมื่อวันที่ 16 เมษายน ที่ผ่านมานักกฎหมาย 5 คน ระบุชัดผิดกฎหมาย

สารี อ๋องสมหวังสารี อ๋องสมหวัง    นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า  ขณะนี้องค์การอิสระ ตัวแทนจากคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนจะเข้ายื่นหนังสือต่อ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อเสนอความเห็นต่อแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 1800 เมกะเฮิรตซ์ระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  กับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี      ทั้งนี้จากกรณีที่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้ใช้วิธีการแก้ปัญหาการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน โดยการออก(ร่าง) ประกาศ มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญา การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... ซึ่งอาจจะเป็นการอนุญาตให้บริษัทตามสัญญาเดิมให้บริการต่อไปได้อีก 1 ปี นั้น  
    ในการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นักวิชาการด้านกฎหมายของคณะกรรมการ ได้มีความเห็นว่า แนวทางดังกล่าวมีความสุ่มเสี่ยงที่เป็นการทำผิดกฎหมายตามมาตรา 45 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ปี  2553  เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า การนำคลื่นความถี่ไปใช้นั้นจะทำได้โดยวิธีการประมูลเท่านั้น อีกทั้งการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานไม่ใช่เรื่องฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ แต่เป็นปัญหาที่ทราบล่วงหน้า และถูกเขียนไว้ในแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมตั้งแต่ปี 2555  รวมทั้งคณะอนุกรรมการอย่างน้อย 2  ชุด ซึ่ง กทค.เป็นผู้แต่งตั้งต่างได้เสนอความเห็นเพื่อให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ โดยวิธีการจัดการประมูลคลื่น และการเตรียมการโอนย้ายลูกค้า แต่กลับไม่ได้รับการพิจารณาจากบอร์ด กทค.
    " ทุกฝ่ายได้เร่งรัดให้รีบดำเนินการมาไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่เมื่อเหลือเวลาอีก 60 วัน จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน คือวันที่ 15 กันยายนนี้ กทค. กลับออกร่างประกาศคุ้มครองดังกล่าว โดยเอาผู้ใช้บริการคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เป็นตัวประกัน จากปัญหาซิมดับ ซึ่งเราไม่ต้องการให้เกิดปัญหาซิมดับสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้บริโภค แต่ไม่ต้องการเห็น กทค. ใช้วิธีการที่ผิดกฎหมาย " นางสาวสารี กล่าว
    นางสาวสารีกล่าวต่อไปว่า มาตรการคุ้มครองชั่วคราวแม้จะดูมีจุดมุ่งหมายที่ถูกต้อง แต่วิธีการซึ่งเสมือนเป็นการอนุญาตให้บริษัท ทรูมูฟฯ และ บริษัท ดีพีซีฯ ได้ใช้คลื่นความถี่ต่อไปโดยไม่ต้องประมูลนั้นนอกจากจะขัดต่อกฎหมายแล้ว ตลอดระยะเวลาอีก 1  ปี นี้บริษัททั้ง 2 ยังไม่ต้องจ่ายค่าประมูลคลื่นความถี่ และในร่างประกาศยังอนุญาตให้บริษัทจ่ายเงินเข้ากองทุนน้อยลง
    อนึ่งเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2556 มีการประชุมประเด็นข้อกฎหมายกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่  1800 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด โดยมีรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 5 คน ประกอบไปด้วย 1. ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2. ศ.เข็มชัย ชุติวงศ์ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด , 3.ศ.พิเศษ ไชยวัฒน์ บุนนาค บริษัทที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด 4. นายเธียรชัย ณ นคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ 5.  นายปกรณ์ นิลประพันธ์  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผลการประชุมในวันนั้นมีการสรุปไปในทิศทางเดียวกันว่า  ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่มีข้อใดที่อนุญาตให้สามารถขยายเวลาให้บริการต่อได้เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุด เนื่องจาก พ.ร.บ. องค์กรฯ พ.ศ. 2553  กำหนดระยะเวลาคืนคลื่นความถี่ที่ชัดเจนอยู่แล้วตามแผนแม่บทที่กำหนดให้คืนคลื่นเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=191194:2013-07-16-04-21-
15&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.