Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กรกฎาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.มีมติ ห้ามผู้เข้าประมูลควบสื่อไม่เกิน 2 ประเภท จาก 3 ประเภทสื่อ คือ ทีวี วิทยุ และ หนังสือพิมพ์ เช่นห้ามถือหุ้นไขว้


ประเด็นหลัก



นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อนำไปรับฟังความเห็นสาธารณะ โดยกำหนดเนื้อหารายการที่ห้ามออกอากาศ คือ รายการที่มีเนื้อหาล้มล้างสถาบันกษัตริย์ กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ กระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม และรายการที่มีเนื้อหาเข้าลักษณะลามกอนาจารหรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง

นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในฐานะที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขัน กล่าวว่า ได้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษารายละเอียดการร่างประกาศห้ามถือครองสิทธิข้ามสื่อ โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะกำหนดให้ผู้เข้าประมูลต้องประกอบกิจการสื่อได้ไม่เกิน 2 ประเภท จาก 3 ประเภทสื่อ คือ ทีวี วิทยุ และ หนังสือพิมพ์

______________________________________





คุมชิงทีวีดิจิตอลห้ามควบเกิน2สื่อ



บอร์ด กสทช. เข้มร่างประกาศครองสิทธิข้ามสื่อ ห้ามควบ2 กิจการก่อนเข้าประมูลทีวีดิจิตอล

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช. เมื่อวันที่ 17 ก.ค. มีมติผ่านร่าง ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ พศ... โดยให้มีร่างประกาศเพิ่มเติมใน 2 เรื่อง คือ ร่างประกาศห้ามถือครองสิทธิข้ามสื่อ และร่างประกาศ ห้ามถือหุ้นไขว้ระหว่างผู้เข้าประมูล โดยจะเร่งร่างประกาศให้เสร็จภายในเดือน ต.ค.

นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อนำไปรับฟังความเห็นสาธารณะ โดยกำหนดเนื้อหารายการที่ห้ามออกอากาศ คือ รายการที่มีเนื้อหาล้มล้างสถาบันกษัตริย์ กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ กระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม และรายการที่มีเนื้อหาเข้าลักษณะลามกอนาจารหรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง

นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในฐานะที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขัน กล่าวว่า ได้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษารายละเอียดการร่างประกาศห้ามถือครองสิทธิข้ามสื่อ โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะกำหนดให้ผู้เข้าประมูลต้องประกอบกิจการสื่อได้ไม่เกิน 2 ประเภท จาก 3 ประเภทสื่อ คือ ทีวี วิทยุ และ หนังสือพิมพ์

ทั้งนี้ การห้ามถือครองสิทธิข้ามสื่อเป็นไปตาม พ.ร.บ. กสทช. ที่ป้องกันการผูกขาด และการครอบงำความคิด โดยเฉพาะสื่อรายใหญ่อย่างฟรีทีวี ซึ่งอนุกรรมการฯ จะกำหนดนิยามของผู้ประกอบการรายใหญ่ว่าต้องมีส่วนแบ่งการตลาดเท่าไร เช่นเดียวกับร่างประกาศห้ามถือหุ้นไขว้ที่จะต้องทำควบคู่กัน เพื่อให้ ทั้ง 2 ร่าง เสร็จทันพร้อมเงื่อนไขของผู้เข้าร่วมประมูลและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหลังจากประมูลไปแล้ว

สำหรับร่างประกาศการประมูลทีวีดิจิตอลนั้น ได้สงวนความเห็นในหลายประเด็น เช่น การปรับลดสัดส่วนเนื้อหารายการข่าวในช่องข่าวจาก 75% เหลือ 50% ควรศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับราคาเริ่มต้นการประมูลช่องข่าวด้วย การเพิ่มเคาะราคาช่องเด็กจาก 1 ล้านเป็น 2 ล้านบาทที่ยังขาดเหตุผลสนับสนุนที่เพียงพอ และควรเพิ่มระยะเวลาการชำระเงินประมูลขั้นต่ำจากภายในปีแรกออกไปเป็น 3 ปี เป็นต้น

ทั้งนี้ ในวันที่ 18 ก.ค. องค์กรวิชาชีพสื่อ 4 สถาบัน คือ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จะประชุมและทักท้วงการลดสัดส่วนข่าวในช่องข่าวเหลือ 50% ที่เอื้อต่อผู้ประกอบการในเชิงธุรกิจมากเกินไป

http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8
%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/235066/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%
B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4
%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%
B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%992%E0%B8%A
A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD

______________________________________


กสทช.ผ่านร่างประมูลทีวีดิจิตอล

ด้วยมติไม่เอกฉันท์8/3เสียง

เร่งประกวดราคาให้ทันปีนี้

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)มีการประชุมคณะกรรมการ กสทช. ครั้งที่ 7/2556 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและแนวทางดำเนินการต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ... หรือ ร่างฯ การประมูลทีวีดิจิตอล

โดยก่อนหน้านั้น น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการปรับลดสัดส่วนเนื้อหาข่าวสารสาระจาก 75% เหลือ 50% แล้วเพิ่มสาระเพิ่มบันเทิงแทนนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า บอร์ด กสทช. มีมติเห็นชอบ ผลการประชาพิจารณ์ ต่อ ร่างดังกล่าวแล้ว ด้วยมติ 8 ต่อ 3 โดย กรรมการที่ได้สงวนความคิด ได้แก่ 1.นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ 2.น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน 3.นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการ

โดยที่ประชุมตั้งข้อสังเกตการครองสิทธิข้ามสื่อ เนื่องจากกฎหมายกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ มาตรา 31 ระบุห้ามการครองสิทธิข้ามสื่อ ระหว่างสื่อประเภทต่างๆ จึงให้สำนักงาน กสทช.ไปจัดทำร่างประกาศเพิ่มเติมเพื่อประกาศออกมาประมาณ 14 สิงหาคม 2556 ทั้งนี้เจตนาของ กสทช. ไม่ต้องการให้ประชาชนรับสื่อ เพียงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อชักจูงแนวคิดแบบผูกขาดมากเกินไป คาดว่าร่างประกาศด้านครองสิทธิข้ามสื่อจะประกาศออกมาได้ก่อนจะมีการประมูล ดังนั้นกิจการหนังสือพิมพ์จะสามารถยื่นประมูลทีวีดิจิตอลได้ นอกจากนี้ ยังเห็นชอบการห้ามไม่ให้เอกชนผู้เข้าร่วมประมูลช่องข่าวและสาระ กับช่องความคมชัดสูง (HD) เป็นคนกลุ่มเดียวกัน

สำหรับประเด็นการครองสิทธิข้ามสื่อโดยขณะนี้ นายธวัชชัยอยู่ในระหว่างการจัดทำร่างประกาศ เรื่องการครองสิทธิข้ามสื่อ ใต้อำนาจ และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ก่อนประกาศใช้ คาดว่าจะเสร็จก่อนการประมูลทีวีดิจิตอลในเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน 2556

สำหรับการประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่องจะแบ่งเป็น ประเภทวาไรตี้ทั่วไป ความคมชัดมาตราชัด (HD) 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องๆ ละ 1,510 ล้านบาท เคาะครั้งละ 10 ล้านบาท, ประเภทวาไรตี้ทั่วไป ความคมชัดมาตรฐานทั่วไป (SD) 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 380 ล้านบาท เคาะครั้งละ 5 ล้านบาท ประเภทข่าวและสาระ 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 220 ล้าน เคาะราคาครั้งละ 2 ล้าน และประเภทเด็ก 3 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูล 140 ล้านบาท เคาะครั้งละ 2 ล้านบาท

ด้านนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กล่าวว่าร่างประกาศฯ เรื่องการครองสิทธิข้ามสื่อ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน โดยแนวทางดังกล่าวผู้ประกอบการที่ต้องการประมูลทีวีดิจิตอลที่เป็นบริษัทรายใหญ่ จะต้องเลือกการครองสิทธิข้ามสื่อได้ 2 ใน 3 กิจการ คือ 1.สื่อสิ่งพิมพ์ 2.วิทยุ 3.โทรทัศน์ ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่จะสามารถใช้สิทธิได้แค่ 2 ใน 3 แต่ถ้าเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก สามารถใช้สิทธิได้ทั้ง 3 กิจการ


http://www.naewna.com/business/60361

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.