Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 กรกฎาคม 2556 4 องค์กรสื่อยื่นหนังสือ ( เตือน!! ) ร่างฯ คุมสื่อ ขัดมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญ จำกัดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน


ประเด็นหลัก


นายก่อเขต กล่าวว่า เนื้อหาในร่างประกาศดังกล่าว เมื่อนำไปใช้สามารถตีความได้อย่างกว้าง ยังไม่มีการระบุรายละเอียดเฉพาะลงไป จะส่งผลต่อการจำกัดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน พร้อมแนะให้ กสทช.พิจารณาทบทวนมติที่ให้นำร่างประกาศดังกล่าวออกรับฟังความคิดเห็นสาธารณะด้วยความรอบคอบอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ มีความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และทำให้ร่างประกาศฉบับนี้มีสภาพบังคับใช้เป็นกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ

“ต้องการให้ร่างประกาศฉบับนี้รัดกุมมากขึ้น เพราะหากเป็นร่างของ กสทช. เช่น กรณีข่าวข้าวมีสารปนเปื้อนตกค้าง รัฐบาลอาจตีความว่าส่งผลกระทบการขายข้าวในประเทศ และสั่งระงับการออกอากาศทันที โดยใช้ร่างดังกล่าว ซึ่งคนที่เสียผลประโยชน์ คือ ประชาชน ที่หมดสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลว่าข้าวมีสารปนเปื้อน” นายก่อเขต กล่าว

นอกจากนี้ ตามมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญกำหนดให้สื่อมวลชนมีอิสระในการนำเสนอข่าวสารเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอยู่แล้ว ดังนั้น การเรียกร้องให้ทบทวนร่างครั้งนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของสื่อ แต่เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนที่จะต้องได้รับข้อมูลข่าวสารจากการนำเสนอของสื่อมวลชน


อย่างไรก็ตาม จึงขอให้ทบทวนและพิจารณาร่างประกาศดังกล่าวใหม่ เพื่อผลประโยชน์ที่ประชาชนต้องได้รับข้อมูลข่าวสารในการนำเสนอของสื่อมวลชน ซึ่งหากยังเดินหน้าร่างฯนี้  อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพราะมีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพสื่อมวลชน  การขยายอำนาจของกสทช.เกินกว่าม.37 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ. 2551




______________________________________





4 องค์กรสื่อยื่นหนังสือ กสทช. ค้านร่างฯ คุมเนื้อหา


4 องค์กรวิชาชีพสื่อ รุดยื่นหนังสือ กสทช. ทบทวนร่างประกาศฯ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ...

เมื่อวันที่ 19 ก.ค. นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ตัวแทน 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ประกอบด้วย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อคัดค้านร่าง ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ... โดยมี พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร เลขานุการประธาน กสท. รับเรื่อง

นายก่อเขต กล่าวว่า เนื้อหาในร่างประกาศดังกล่าว เมื่อนำไปใช้สามารถตีความได้อย่างกว้าง ยังไม่มีการระบุรายละเอียดเฉพาะลงไป จะส่งผลต่อการจำกัดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน พร้อมแนะให้ กสทช.พิจารณาทบทวนมติที่ให้นำร่างประกาศดังกล่าวออกรับฟังความคิดเห็นสาธารณะด้วยความรอบคอบอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ มีความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และทำให้ร่างประกาศฉบับนี้มีสภาพบังคับใช้เป็นกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ

“ต้องการให้ร่างประกาศฉบับนี้รัดกุมมากขึ้น เพราะหากเป็นร่างของ กสทช. เช่น กรณีข่าวข้าวมีสารปนเปื้อนตกค้าง รัฐบาลอาจตีความว่าส่งผลกระทบการขายข้าวในประเทศ และสั่งระงับการออกอากาศทันที โดยใช้ร่างดังกล่าว ซึ่งคนที่เสียผลประโยชน์ คือ ประชาชน ที่หมดสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลว่าข้าวมีสารปนเปื้อน” นายก่อเขต กล่าว

นอกจากนี้ ตามมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญกำหนดให้สื่อมวลชนมีอิสระในการนำเสนอข่าวสารเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอยู่แล้ว ดังนั้น การเรียกร้องให้ทบทวนร่างครั้งนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของสื่อ แต่เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนที่จะต้องได้รับข้อมูลข่าวสารจากการนำเสนอของสื่อมวลชน







โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/358214

_______________________________________

องค์กรสื่อ ยื่นคัดค้านร่างประกาศกำกับเนื้อหารายการ
วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2556 เวลา 12:02 น.

4 องค์กรวิชาชีพสื่อ รวมพลังยื่นหนังสือคัดค้าน (ร่าง)ประกาศ เรื่องการกำกับดูแลเนื้อหารายการ ชี้ห่วงการวิเคราะห์ข่าวถูกตีความเป็นการแสดงความคิดเห็น
วันนี้(19ก.ค.)หอประชุมชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)  4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ประกอบด้วย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ยื่นหนังสือคัดค้าน (ร่าง)ประกาศกสทช.เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ....  โดยมีพล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร เลขานุการประธานกสทช. เป็นตัวแทนรับหนังสือดังกล่าว


นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เปิดเผยว่า สำหรับร่างฯ ดังกล่าว องค์กรวิชาชีพสื่อมีความห่วงใย กรณีการวิเคราะห์ข่าว แต่อาจถูกตีความว่าเป็นการแสดงความคิดเห็น ในขณะเดียวกันที่ผ่านมา ได้รับฟังความคิดเห็นเฉพาะผู้ประกอบการที่รับใบอนุญาตแต่ยังไม่ได้รับฟังความคิดเห็นจากวิชาชีพสื่อ ซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ หรือ นอกเหนืออำนาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือ ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน


อย่างไรก็ตาม จึงขอให้ทบทวนและพิจารณาร่างประกาศดังกล่าวใหม่ เพื่อผลประโยชน์ที่ประชาชนต้องได้รับข้อมูลข่าวสารในการนำเสนอของสื่อมวลชน ซึ่งหากยังเดินหน้าร่างฯนี้  อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพราะมีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพสื่อมวลชน  การขยายอำนาจของกสทช.เกินกว่าม.37 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ. 2551

http://www.dailynews.co.th/technology/220174

_________________________________________________



4 องค์กรวิชาชีพสื่อร้องกสทช.ทบทวนร่างประกาศฯ
4 องค์กรวิชาชีพสื่อร้องกสทช.ทบทวนร่างประกาศฯ

4 องค์กรวิชาชีพสื่อยื่นหนังสือกสทช. ขอทบทวนร่างประกาศฯ คุมเนื้อหา หวั่นสื่อไร้อิสระนำเสนอข่าว

นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  ตัวแทน 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ประกอบด้วย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อคัดค้านร่าง ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ...

ทั้งนี้ ต้องการให้ทบทวนเนื้อหาในร่างประกาศดังกล่าว เนื่องจากพบว่าอาจเป็นร่างประกาศที่กสทช. กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ หรือ นอกเหนืออำนาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือ ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือ วิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายการววิเคราะห์ข่าว หรือ รายการข่าวเชิงลึก

“ต้องการให้ร่างประกาศฉบับนี้รัดกุมมากขึ้น เพราะหากเป็นร่างของกสทช. เช่น กรณีข่าวข้าวมีสารปนเปื้อนตกค้าง รัฐบาลอาจตีความว่าส่งผลกระทบการขายข้าวในประเทศ และสั่งระงับการออกอากาศทันที โดยใช้ร่างดังกล่าวซึ่งคนที่เสียผลประโยชน์ คือ ประชาชน ที่หมดสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลว่าข้าวมีสารปนเปื้อน” นายก่อเขตกล่าว

นอกจากนี้ ตามมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญกำหนดให้สื่อมวลชนมีอิสระในการนำเสนอข่าวสารเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอยู่แล้ว ดังนั้น การเรียกร้องให้ทบทวนร่างครั้งนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของสื่อที่จะทำอะ


http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8
%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/235311/4-
%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%
B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A
D%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A-
%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%
B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AF

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.